![]() |
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
![]() |
![]() | |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ภิกษุผู้นั่งดื่มหรือขบฉันยาคูและของเคี้ยวเป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว แม้มีมือว่างก็ไม่ควรให้ลุก จนกว่าภิกษุอื่นจะมา เพราะว่าเธอนับว่าเป็นผู้ฉันค้างเหมือนกัน. ข้อว่า สเจ วุฏฺฐาเปติ มีความว่า ถ้าแม้เธอแกล้งล่วงอาบัติให้ลุกขึ้นจนได้. ข้อว่า ปริวาริโต จ โหติ มีความว่า เธอจะให้ภิกษุใดลุก, ถ้าภิกษุนี้เป็นผู้ห้ามโภชนะแล้ว, เธออันภิกษุนั้นพึงกล่าวว่า จงไปหาน้ำมา. จริง ข้อนี้แล เป็นสถานอันหนึ่ง ที่ภิกษุหนุ่มให้ภิกษุแก่กว่าได้. ถ้าเธอไม่หาน้ำมาให้. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจะทรงแสดงหน้าที่ซึ่งภิกษุผู้อ่อนกว่าจะพึงกระทำ จึงตรัสคำเป็นต้นว่า พึงกลืนเมล็ดข้าวให้เรียบร้อย. [ว่าด้วยเสนาสนะที่เหมาะแก่ภิกษุอาพาธ] ภิกษุใดเป็นผู้อาพาธ ด้วยโรคหืดหรือโรคริดสีดวง และโรคลงแดงเป็นต้น, ภาชนะมีกระโถนและหม้ออุจจาระเป็นต้น เป็นของอันภิกษุนั้นควรเตรียมไว้. อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุเป็นโรคเรื้อน ย่อมทำเสนาสนะให้เสีย, ควรให้ภายใต้ปราสาทมณฑปและศาลาเป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่งเป็นเสนาสนะส่วนหนึ่ง แก่ภิกษุเห็นปานนั้น. เมื่อภิกษุผู้อาพาธรูปใดอยู่ จะไม่ทำเสนาสนะให้เสียหาย. แม้ที่นอนประณีต ก็ควรให้แก่ภิกษุรูปนั้นแท้. ฝ่ายภิกษุใดทำยาอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นต้นว่า ยาแดง ยาถ่ายและยานัตถุ์ ภิกษุนั้นทั้งหมดจัดว่าผู้อาพาธด้วย. พึงกำหนดให้เสนา บทว่า เลสกปฺเปน ได้แก่ สักว่าปวดศีรษะเป็นต้นเล็กน้อย. ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา จุลวรรค ภาค ๒ เสนาสนะขันธกะ เรื่องให้ภิกษุกำลังฉันค้างอยู่ลุกขึ้น จบ. |