![]() |
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
![]() |
![]() | |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ฝ่ายภิกษุใดเป็นผู้ใหญ่กว่ากัน หรือเป็นเด็กกว่าเพียงพรรษาเดียว ก็หรือว่า ภิกษุใดมีพรรษาเท่ากัน ไม่มีคำจะพึงกล่าวในภิกษุนั้นเลย. จริงอยู่ ภิกษุทั้งหมดนี้ ย่อมได้เพื่อนั่งเป็นคู่ๆ กันบนเตียงหรือบนตั่งอันเดียวกัน. ที่นั่งใด พอแก่ ๓ คน, ที่นั่งนั้น จะเป็นของเคลื่อนที่ได้ หรือเคลื่อนที่ไม่ได้ก็ตามที ; ย่อมได้เพื่อนั่งบนที่นั่งเห็นปานนั้น. ใช่แต่เท่านั้น บนแผ่นกระดาน จะนั่งร่วมแม้กับอนุปสัมบัน ก็ควร. [ว่าด้วยคิหิวิกัติ] ได้ยินว่า คำว่า หัตถินขกะ นี้เป็นชื่อแห่งปราสาทที่ทำอย่างนั้น. หลายบทว่า สพฺพํ ปาสาทํ ปริโภคํ มีความว่า บานหน้าต่าง เตียงตั่ง พัดใบตาล วิจิตรด้วยทองและเงินเป็นต้นก็ดี หม้อน้ำ ขันน้ำทำด้วยทองและเงินก็ดี หรือว่าเครื่องใช้สิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งจำหลักลวดลายงดงามก็ดี ควรทุกอย่าง. ชนทั้งหลายกล่าวว่า ข้าพเจ้าให้ทาส ทาสี นา สวน โค กระบือแก่ปราสาท. ไม่มีกิจจะรับแผนกหนึ่ง เมื่อรับปราสาท ก็เป็นอันรับไว้ด้วยแท้. จะใช้สอยผ้าปูลาดโกเชาว์เป็นต้น บนเตียงและตั่ง ในกุฏีเป็นของส่วนตัวบุคคล ไม่ควร. แต่ที่เขาปูลาดไว้บนธรรมาสน์ ย่อมได้เพื่อใช้สอยโดยทำนองคิหิวิกัติ. แม้บนธรรมาสน์นั้น ไม่ควรนอน. ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา จุลวรรค ภาค ๒ เสนาสนะขันธกะ วินัยกถา จบ. |