ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 7 / 1อ่านอรรถกถา 7 / 613อรรถกถา เล่มที่ 7 ข้อ 614อ่านอรรถกถา 7 / 618อ่านอรรถกถา 7 / 664
อรรถกถา จุลวรรค ภาค ๒ ปัญจสติกขันธกะ
เรื่องพระมหากัสสปเถระเป็นต้น

               ปัญจสติกักขันธกวรรณนา               
               วินิจฉัยในปัญจสติกักขันธกะ พึงทราบดังนี้ :-
               สองบทว่า ปญฺจ นิกาเย ปุจฺฉิ มีความว่า ท่านพระมหากัสสปะถามนิกาย ๕ คือ ทีฆนิกาย มัชฌิมนิกาย อังคุตตรนิกาย สังยุตตนิกาย ขุททกนิกาย.
               คำอย่างนี้ว่า เว้นปาราชิก ๔ เสีย สิกขาบทที่เหลือ เป็นสิกขาบทเล็กและเล็กน้อย เป็นอาทิ พระสังคาหกเถระทั้งหลายกล่าวแล้วโดยปริยาย เพื่อแสดงความที่สิกขาบททั้งปวง อันท่านฟังรวบรวมเอาไว้ ไม่ละทิ้งแม้สิกขาบทเดียว.
               หลายบทว่า อิทํ โว สมณานํ มีความว่า นี้ สมควรแก่สมณะทั้งหลาย.
               โว อักษร ใช้ในอรรถสักว่ายังบทให้เต็ม.
               บทว่า ธูมกาลิกํ มีความว่า ควันแห่งจิตกาธารเป็นที่ปรินิพพานของพระสมณะ ยังปรากฏอยู่เพียงใด, กาลเพียงนั้น เป็นกาลแห่งสิกขาบทที่พระสมณะทรงบัญญัติแล้วแก่สาวกทั้งหลาย.
               คำว่า อิทํปิ เต อาวุโส อานนฺท ทุกฺกฏํ นี้ อันพระเถระทั้งหลายเพียงแต่จะติว่า กรรมนี้อันทำไม่ดีแล้ว จึงกล่าวแล้ว, หาได้กล่าวหมายถึงอาบัติไม่. อันพระเถระเหล่านั้นจะไม่รู้จักอาบัติ และมิใช่อาบัติหามิได้.
               จริงอยู่ ในบัดนี้เอง ท่านพระมหากัสสปะได้ประกาศคำนี้ว่า สงฆ์ไม่บัญญัติสิกขาบทที่พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงบัญญัติไว้, ไม่เลิกถอนสิกขาบทที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้ว.
               อนึ่ง แม้คำว่า เทเสหิ ตํ อาวุโส ทุกฺกฏํ นี้ อันพระเถระทั้งหลายกล่าวหมายถึงความประสงค์นี้ว่า ท่านจงปฏิญญาการไม่ทูลถามนั้นว่า เป็นการทำเสีย อย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าทำไม่ดีจริง จะกล่าวหมายถึงการแสดงอาบัติ หามิได้.
               ฝ่ายพระเถระไม่ทูลถามแล้ว เพราะระลึกไม่ได้ หาใช่เพราะไม่เอื้อเฟื้อไม่ ; เพราะฉะนั้น ท่านเมื่อกำหนดไม่ได้ แม้ซึ่งความเป็นการทำเสีย เพราะไม่ทูลถามนั้นๆ จึงกล่าวว่า ข้าพเจ้าไม่เห็นความทำเสียนั้น เมื่อจะแสดงความเคารพในพระเถระทั้งหลาย จึงกล่าวว่า แต่ข้าพเจ้าเชื่อ๑- ท่านทั้งหลายขอแสดงความทำเสียนั้น.
               มีคำอธิบายว่า ท่านทั้งหลายกล่าวอย่างใด, ข้าพเจ้ายอมปฏิญญาอย่างนั้น. ในสถานทั้ง ๔ แม้ที่เหลือมีนัยเหมือนกัน.
               ท่านพระอานนท์กล่าวว่า มา ยิมา วิกาเลอเหสุ โดยอธิบายว่า การไปในเวลาวิกาลของสตรี อย่าได้มีแล้ว.
               สองบทว่า รโชหรณํ กริสฺสาม มีความว่า อาตมภาพทั้งหลายจักชุบน้ำบิดแล้วเช็ดพื้นที่ทำบริกรรม.
               สองบทว่า น กุลวํ คเมนฺติ มีอธิบายว่า สมณศากยบุตรเหล่านี้ไม่เก็บงำไว้ในคลัง.
               สองบทว่า ยทคฺเคน ตยา มีความว่า ถ้าว่า พระอรหัตอันท่านทำให้แจ้งแล้ว ในกาลเริ่มแรกทีเดียว ฉะนี้แล.
               คำใดที่จะพึงกล่าว ซึ่งยังเหลือ จะพึงมีในปัญจสติกักขันธกะนี้ คำนั้นข้าพเจ้าได้กล่าวในนิทานวรรณนาเสร็จแล้ว
____________________________
๑- ในโยชนาเป็น สทฺธาย.

               ปัญจสติกักขันธกวรรณนา จบ.               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา จุลวรรค ภาค ๒ ปัญจสติกขันธกะ เรื่องพระมหากัสสปเถระเป็นต้น จบ.
อ่านอรรถกถา 7 / 1อ่านอรรถกถา 7 / 613อรรถกถา เล่มที่ 7 ข้อ 614อ่านอรรถกถา 7 / 618อ่านอรรถกถา 7 / 664
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=7&A=7298&Z=7369
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=3&A=9323
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=3&A=9323
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๑๑  พฤศจิกายน  พ.ศ.  ๒๕๕๖
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :