ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 8 / 1อ่านอรรถกถา 8 / 979อรรถกถา เล่มที่ 8 ข้อ 988อ่านอรรถกถา 8 / 992อ่านอรรถกถา 8 / 1366
อรรถกถา ปริวาร
เอกุตตริกะ หมวด ๖

               [พรรณนาหมวด ๖]               
               วินิจฉัยในหมวด ๖ พึงทราบดังนี้ :-
               สองบทว่า ฉ สามีจิโย ได้แก่ สามีจิกรรม ๖ เฉพาะในภิกขุปาฏิโมกข์เหล่านี้ คือ ภิกษุนั้นก็เป็นอันมิได้อัพภาน, และภิกษุทั้งหลายเหล่านั้นก็เป็นอันพระพุทธเจ้าจะพึงทรงติเตียน นี้เป็นสามีจิกรรมในเรื่องนั้น, ว่า ท่านจงทวงเอาทรัพย์ของท่านคืน, ทรัพย์ของท่านอย่าได้ฉิบหายเสียเลย ดังนี้ นี้เป็นสามีจิกรรมในเรื่องนั้น, ว่า ภิกษุ นี้บาตรของท่าน พึงทรงไว้ กว่าจะแตก ดังนี้ นี้เป็นสามีจิกรรมในเรื่องนั้น, นำออกจากที่นั้นแล้วพึงแบ่งปันกับภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นสามีจิกรรมในเรื่องนั้น, อันภิกษุผู้ศึกษาอยู่ ควรรู้ถึง, ควรสอบถาม, ควรตริตรอง, นี้เป็นสามีจิกรรมในเรื่องนั้น, ด้วยหมายว่า ของผู้ใด ผู้นั้นจักได้เอาไป นี้เป็นสามีจิกรรมในเรื่องนั้น.
               สองบทว่า ฉ เฉทนกา ได้แก่ อาบัติ ๕ ที่กล่าวไว้ในหมวด ๕ กับผ้าสำหรับอาบน้ำของภิกษุณีรวมเป็น ๖.
               บทว่า ฉหากาเรหิ ได้แก่ ความเป็นผู้ไม่ละอาย, ความไม่รู้, ความเป็นผู้สงสัยแล้วขืนทำ, ความเป็นผู้มีความสำคัญว่าควร ในของที่ไม่ควร, ความเป็นผู้มีความสำคัญว่าไม่ควร ในของที่ควร, ความลืมสติ.
               ในอาการ ๖ นั้น เมื่อต้องอาบัติ เพราะไตรจีวรและสัตตาหกาลิกก้าวล่วง ๑ ราตรี ๖ ราตรีและ ๗ วันเป็นต้น ชื่อว่าต้องเพราะความลืมสติ. ที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั้นแล.
               หลายบทว่า ฉ อานิสํสา วินยธเร ได้แก่ อานิสงส์ ๕ ที่กล่าวแล้วในหมวด ๕ รวมเป็น ๖ กับทั้งอานิสงส์นี้ คืออุโบสถเป็นหน้าที่ของพระวินัยธรนั้น.
               สองบทว่า ฉ ปรมานิ มีความว่า พึงทรงอติเรกจีวรไว้ ๑๐ วันเป็นอย่างยิ่ง, ภิกษุนั้นพึงเก็บจีวรนั้นไว้ ๑ เดือนเป็นอย่างยิ่ง, ภิกษุนั้น พึงยินดีจีวรมีอุตราสงค์กับอันตรวาสกเป็นอย่างยิ่งจากจีวรเหล่านั้น, พึงเข้าไปยืนนิ่งต่อหน้า ๖ ครั้งเป็นอย่างยิ่ง. อนึ่ง ภิกษุให้ทำสันถัตใหม่แล้ว พึงทรงไว้ให้ได้ ๖ ปี เพราะฉะนั้น สันถัตใหม่อันภิกษุพึงทรงไว้โดยกาลมี ๖ ปีเป็นอย่างยิ่ง, (ขนเจียมเหล่านั้น) อันภิกษุ ... พึงถือไปด้วยมือของตนเอง ตลอดระยะทาง ๓ โยชน์เป็นอย่างยิ่ง, พึงทรงอติเรกบาตรไว้ได้ ๑๐ วันเป็นอย่างยิ่ง, พึงเก็บ (เภสัชเหล่านั้น) ไว้ฉันได้ ๗ วันเป็นอย่างยิ่ง, ภิกษุนั้น พึงอยู่ปราศจากจีวรนั้นได้ ๖ คืนเป็นอย่างยิ่ง, ภิกษุณีพึงจ่ายผ้าห่มหนาวมีราคา ๑๖ กหาปณะเป็นอย่างยิ่ง. ภิกษุณี พึงจ่ายผ้าห่มฤดูร้อน มีราคา ๑๐ กหาปณะเป็นอย่างยิ่ง, ภิกษุณี (เมื่อทำความสะอาดด้วยน้ำ) พึงล้วงได้ ๒ องคุลีเป็นอย่างยิ่ง, เขียงเท้าเตียงให้มี ๘ นิ้วเป็นอย่างยิ่ง, ไม้ชำระฟันให้มี ๘ นิ้วเป็นอย่างยิ่ง, รวมเป็นอย่างยิ่ง ๑๔ นี้ด้วยประการฉะนี้.
               ในอย่างยิ่ง ๑๔ นั้น ๖ ข้อแรกเป็นหมวด ๖ อันหนึ่ง, ต่อไปนั้นพึงจัดหมวด ๖ เหล่าอื่นบ้าง โดยนัยมีอาทิ คือชักออกเสียหมวดหนึ่ง ที่ยังเหลือจัดเข้าเป็นหมวดอันหนึ่งๆ.
               สองบทว่า ฉ อาปตฺติโย ได้แก่ หมวดหก ๓ หมวดที่กล่าวแล้วในอันตรเปยยาล.
               สองบทว่า ฉ กมฺมานิ ได้แก่ ตัชชนียกรรม นิยสกรรม ปัพพาชนียกรรม ปฏิสารณียกรรม รวมเป็น ๔ ทั้งกรรม ๒ ที่กล่าว เพราะไม่เห็นอาบัติและเพราะไม่ทำคืนอาบัติ รวมเป็น ๑, กรรม ๑ เพราะไม่ยอมสละทิฏฐิลามก.
               บทว่า ฉ นหาเน ได้แก่ (อนุบัญญัติ ๖) เพราะอาบน้ำ ยังหย่อนกึ่งเดือน.
               หมวดหก ๒ หมวดว่าด้วยจีวรที่ทำค้างเป็นต้น ได้อธิบายไว้แล้วในกฐินขันธกะ.
               คำที่เหลือในที่ทั้งปวง ตื้นทั้งนั้นฉะนี้แล.

               พรรณนาหมวด ๖ จบ.               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา ปริวาร เอกุตตริกะ หมวด ๖ จบ.
อ่านอรรถกถา 8 / 1อ่านอรรถกถา 8 / 979อรรถกถา เล่มที่ 8 ข้อ 988อ่านอรรถกถา 8 / 992อ่านอรรถกถา 8 / 1366
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=8&A=8287&Z=8352
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=3&A=10606
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=3&A=10606
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๒๑  พฤศจิกายน  พ.ศ.  ๒๕๕๖
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :