![]() |
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
![]() |
![]() | |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปญฺจหากาเรหิ ได้แก่ ด้วยเหตุ ๕ อย่าง. มีคำอธิบายว่า ด้วยองค์ ๕. ในคำว่า ปญฺจหากาเรหิ เป็นต้นนั้นมีเนื้อความย่อดังต่อไปนี้ :- คือ ปาราชิกย่อมมีแก่ภิกษุผู้ถือเอาทรัพย์ที่เจ้าของไม่ได้ให้ ด้วยอาการ ๕ อย่างที่ตรัสไว้โดยนัยเป็นต้นว่า ทรัพย์อันผู้อื่นหวงแหน ๑ เพราะไม่ครบองค์ ๕ นั้น จึงไม่เป็นปาราชิก. ในคำนั้นมีอาการ ๕ อย่างเหล่านี้ คือ ทรัพย์อันผู้อื่นหวงแหน ๑ เข้าใจว่าทรัพย์อันผู้อื่นหวงแหน ๑ ความที่บริขารเป็นครุภัณฑ์ ๑ มีไถยจิต ๑ การทำให้เคลื่อนจากฐาน ๑. ส่วนในบริขารที่เป็นลหุภัณฑ์ ท่านแสดงถุลลัจจัยและทุกกฏไว้โดยความต่างกันแห่งวัตถุ ด้วยวาระทั้ง ๒ อื่นจากอาการ ๕ อย่างนี้. [อาการ ๖ อย่างที่ให้ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก] มิใช่มีความสำคัญว่าเป็นของตน ๑ มิใช่ถือเอาด้วยวิสาสะ ๑ มิใช่ขอยืม ๑ ความที่บริขารเป็นครุภัณฑ์ ๑ มีไถยจิต ๑ การทำให้เคลื่อนจากฐาน ๑. ก็บรรดาวารทั้ง ๓ แม้นี้ในปฐมวาร ท่านปรับเป็นปาราชิก ทุติยวารและตติยวารท่านปรับเป็นถุลลัจจัยและทุกกฏ โดยความต่างกันแห่งวัตถุ. ส่วนในความต่างกันแห่งวัตถุ แม้ที่มีอยู่ในวารทั้ง ๓ อื่นจาก ๓ วารนั้น ท่านปรับเป็นทุกกฏอย่างเดียว เพราะเป็นวัตถุอันชนเหล่าอื่นไม่ได้หวงแหน. วัตถุที่ท่านกล่าวใน ๓ วารนั้นว่า มิใช่ของอันผู้อื่นหวงแหน จะเป็นวัตถุที่ยังมิได้ครอบครองก็ตาม จะเป็นของที่เขาทิ้งแล้วหมดราคา หาเจ้าของมิได้ หรือจะเป็นของๆ ตนก็ตาม, วัตถุแม้ทั้ง ๒ ย่อมถึงความนับว่า มิใช่ของอันผู้อื่นหวงแหน. ก็ในทรัพย์ ๒ อย่าง ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา ทุติยปาราชิกสิกขาบท อาการแห่งอวหาร จบ. |