บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
[ว่าด้วยอนาปัตติวาร] บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อสญฺจิจฺจ ได้แก่ ไม่ได้คิดว่า เราจักฆ่าผู้นี้ ด้วยความพยายามนี้. จริงอยู่ เมื่อผู้อื่นแม้ตายไปด้วยความพยายามที่ตนไม่ได้คิดทำอย่างนั้น ไม่เป็นอาบัติ. ประหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุ ไม่เป็นอาบัติเพราะไม่แกล้ง. บทว่า อชานนฺตสฺส ได้แก่ ไม่รู้ว่า ผู้นี้จักตายด้วยความพยายามนี้. เมื่อผู้อื่นแม้ตายไปด้วยความพยายาม ไม่เป็นอาบัติ. ดังพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในเรื่องบิณฑ ข้อว่า น มรณาธิปฺปายสฺส ได้แก่ ไม่ปรารถนาจะให้ตาย. จริงอยู่ ผู้อื่นจะตายด้วยความพยายามใด, ครั้นเมื่อผู้นั้น แม้ถูกฆ่าตายด้วยความพยายามนั้น ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้ไม่ประสงค์จะให้ตาย ดังพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุ ไม่เป็นอาบัติแก่เธอผู้ไม่ประสงค์จะให้ตาย. ภิกษุบ้าเป็นต้น มีนัยดังกล่าวแล้วในก่อนนั่นแล. ก็แลภิกษุทั้งหลายผู้ฆ่ากันและกันเป็นต้นบัญญัติในสิกขาบทนี้ ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุเหล่านั้น. แต่คงเป็นอาบัติแก่ภิกษุทั้งหลายที่เหลือ มีภิกษุผู้พรรณ [ตติยปาราชิกสิกขาบทมีสมุฏฐาน ๓] สิกขาบทนี้มีสมุฏฐาน ๓ คือ เกิดแต่กายกับจิต ๑ เกิดแต่วาจากับจิต ๑ เกิดแต่กายวากับจิต ๑, เป็นกิริยา เป็นสัญญาวิโมกข์ เป็นสจิตตกะ เป็นโลกวัชชะ เป็นกาย จริงอยู่ ถ้าแม้นพระราชาเสด็จขึ้นสู่พระที่บรรทมอันทรงสิริ เสวยสุขในราชสมบัติอยู่ เมื่อราชบุรุษกราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ โจรถูกนำมาแล้ว ตรัสทั้งที่ทรงรื่น [เรื่องพรรณนาคุณความตาย] บทว่า การุญฺเญน ความว่า ภิกษุเหล่านั้นเห็นความทุกข์เพราะความเป็นไข้อย่างมากของเธอแล้ว เกิดความกรุณาขึ้น ทั้งเป็นผู้มีความต้องการจะให้ตายด้วย แต่ไม่ทราบว่าเธอมีความต้องการจะตาย จึง แต่ท่านพระอุบาลีเถระกล่าวไว้ด้วยอำนาจโวหารว่า ภิกษุเหล่านั้นได้พรรณ จริงอยู่ ถ้าภิกษุผู้อาพาธนั้นได้ฟังการพรรณนาของภิกษุนั้นแล้ว มรณภาพลงในระหว่าง ในเมื่ออายุแม้ยังเหลืออยู่ [เรื่องภิกษุนั่งทับเด็กตาย] ในเรื่องที่ ๒ มีวินิจฉัยดังนี้ :- ถามว่า อาสนะ เช่นไรต้องพิจารณา เช่นไรไม่ต้องพิจารณา? แก้ว่า อาสนะล้วนๆ ไม่มีเครื่องปูลาดข้างบน และอาสนะที่เขาปูลาดต่อหน้าพวกภิกษุผู้มายืนดูอยู่ ไม่ต้องพิจารณา, ควรนั่งได้. แม้บนอาสนะที่ชาวบ้านเขาเอามือปรบๆ เองแล้วถวายว่า ขอนิมนต์นั่งบนอาสนะนี้เถิด ขอรับ ดังนี้ ก็ควรนั่งได้. ถ้าแม้นว่า ภิกษุหลายรูปมานั่งอยู่ก่อนแล้วแล ภายหลังจึงขยับขึ้นไปข้างบนหรือถอยร่นลงมาข้างล่าง, ไม่มีกิจที่จะต้องพิจารณา. แม้บนอาสนะที่เขาเอาผ้าบางๆ คลุมไว้ให้มองเห็นพื้น (อาสนะ) ได้ ไม่มีกิจที่จะต้องพิจารณา. ส่วนอาสนะใดซึ่งเป็นของที่เขาเอาผ้าปาวารและผ้าโกเชาว์เป็นต้น ปูลาดไว้ก่อนทีเดียว, ภิกษุควรเอามือลูบคลำกำหนดดูอาสนะนั้นเสียก่อนจึงนั่ง. แต่ในมหาปัจจรี ท่านกล่าวไว้ว่า ในอาสนะใด แม้ที่เขาเอาผ้าสาฎกที่หนาปูลาดไว้ รอยย่นย่อมไม่ปรากฏ, อาสนะนั้น ไม่ต้องพิจารณา. [เรื่องภิกษุทำสากล้มฟาดถูกเด็กตาย] บทว่า อสญฺจิจฺโจ ได้แก่ ผู้ไม่มีเจตนาจะฆ่า. จริงอยู่ ภิกษุนั้นมีความประกอบผิดพลาดไป; เพราะฉะนั้น เธอจึงกราบทูลว่า ข้าพระพุทธเจ้ามิได้แกล้ง เรื่องครกมีเนื้อความชัดเจนแล้วแล. [เรื่องภิกษุผู้บุตรผลักภิกษุผู้บิดาล้มตาย] (ภิกษุผู้บุตรได้กล่าวกะภิกษุผู้บิดา) ว่า ท่านอย่าได้ทำให้ภิกษุสงฆ์เป็นกังวลดังนี้ จึงผลัก (ภิกษุผู้บิดา) ไป. ในเรื่องที่ ๒ มีวินิจฉัยดังนี้ :- (ภิกษุผู้บุตรถูกเพื่อนพรหมจารี) กล่าวล้อเลียนอยู่ทั้งในท่ามกลางสงฆ์บ้าง ในท่ามกลางคณะบ้างว่า บุตรของพระเถระแก่ อึดอัดอยู่ด้วยคำพูดนั้นจึงได้ผลัก (ภิกษุผู้บิดา) ไปด้วยคิดว่า พระขรัวตานี้จงตายเสียเถิด. ในเรื่องที่ ๓ มีวินิจฉัยดังนี้ :- เป็นถุลลัจจัยแก่ภิกษุผู้บุตร เพราะก่อทุกข์ให้เกิดแก่ภิกษุผู้บิดานั้น. ๓ เรื่องถัดจากนั้นไป มีเนื้อความชัดเจนทั้งนั้น. [เรื่องภิกษุฉันบิณฑบาตเจือยาพิษตาย] ภิกษุผู้บำเพ็ญสาราณียธรรมนั้น ถวายบิณฑบาตส่วนเลิศแก่เพื่อนสพรหมจารีทั้งหลายเสียก่อนจึงฉัน. เพราะเหตุนั้น ท่านพระอุบาลีเถระจึงกล่าวไว้ว่า ได้ถวายบิณฑ บทว่า อคฺคการิกํ ได้แก่ บิณฑบาตที่ตนได้มาครั้งแรก ซึ่งทำให้เป็นส่วนเลิศ. อีกอย่างหนึ่ง อธิบายว่า บิณฑบาตที่ยอดเยี่ยมคือที่ประณีตๆ. ก็กิริยาที่ทำให้เป็นส่วนเลิศ กล่าวคือการให้ของภิกษุนั้น ใครๆ ไม่อาจถวายได้. จริงอยู่ ถึงบิณฑบาต (ตามปกติ) เธอก็ได้ถวายตั้งต้นแต่อาสนะพระเถระลงไป. สองบทว่า เต ภิกฺขู ได้แก่ ภิกษุเหล่านั้น คือผู้ฉันบิณฑบาตตั้งต้นแต่อาสนะพระเถระลงไป. ได้ยินว่า ภิกษุเหล่านั้นได้มรณภาพทั้งหมดทุกรูป. คำที่เหลือในเรื่องนี้ชัดเจนทั้งนั้น. อันภิกษุได้บิณฑบาตที่ประณีตโดยเคารพ ในตระกูลพวกมิจฉาทิฏฐิผู้ไม่มีศรัทธายังไม่ได้พิจารณา ตนเองไม่ควรฉันด้วย ทั้งไม่ควรถวายแก่ภิกษุเหล่าอื่นด้วย. ภิกษุได้ภัตตาหารหรือของควรขบฉันแม้สิ่งใด ที่เป็นของค้างคืนมาจากตระกูลมิจฉาทิฏฐินั้น, ภัตตาหารเป็นต้นแม้นั้น ไม่ควรฉัน. เพราะว่า ตระกูลเหล่านั้นย่อมถวายแม้วัตถุที่เขาไม่ได้เอาอะไรปิดไว้ ซึ่งมีงูและแมงป่องเป็นต้นนอนทับอยู่ เป็นของที่จะต้องทิ้งเป็นธรรมดา. ภิกษุไม่ควรรับบิณฑบาตแม้ที่เปื้อนด้วยวัตถุมีของหอมและขมิ้นเป็นต้น จากตระกูลมิจฉาทิฏฐินั้น. จริงอยู่ ตระกูลมิจฉาทิฏฐิเหล่านั้นย่อมสำคัญซึ่งภัตตาหารอันตนเอาเช็ดถูที่มีโรคในร่างกายแล้วเก็บไว้ว่า เป็นของควรถวายแล. [เรื่องภิกษุทดลองยาพิษ] ภิกษุเมื่อจะทดลอง จึงทดลองทั้ง ๒ อย่าง (ทดลองยาพิษและบุคคล) คือ ทดลองยาพิษด้วยคิดว่า ยาพิษขนานนี้จะสามารถฆ่าบุคคลคนนี้ตายหรือไม่หนอ? หรือทดลองบุคคลด้วยคิดว่า บุคคลนี้ดื่มยาพิษขนานนี้แล้วจะพึงตายหรือไม่หนอ? เมื่อภิกษุให้ยาพิษด้วยความประสงค์จะทดลองแม้ทั้ง ๒ อย่าง เขาจะตายหรือไม่ก็ตาม เป็นถุลลัจจัย. แต่เมื่อภิกษุให้ยาพิษด้วยคิดอย่างนี้ว่า ยาพิษขนานนี้จงฆ่าบุคคลนี้ให้ตาย หรือว่า บุคคลคนนี้ดื่มยาพิษขนานนี้แล้วจงตาย ดังนี้, ถ้าบุคคลนั้นตาย เป็นปาราชิก, ถ้าไม่ตาย เป็นถุลลัจจัย. เรื่องการส่งศิลา ๓ เรื่องถัดจากเรื่องทดลองยาพิษนี้ไป และเรื่องก่ออิฐ เรื่องส่งมีดและเรื่องส่งกลอนอย่างละ ๓ เรื่อง มีเนื้อความชัดเจนทั้งนั้น. ก็ความแตกต่างแห่งอาบัติและอนาบัตินี้ หามีด้วยอำนาจแห่งศิลาเป็นต้นอย่างเดียวเท่านั้นไม่. แต่ย่อมมีได้ด้วยอำนาจแม้แห่งวัตถุมีไม้พลอง ค้อน สิ่วและฟีนเป็นต้นเหมือนกัน. เพราะฉะนั้น วัตถุมีไม้พลองเป็นต้นนั้น แม้มิได้มาในพระบาลี ก็พึงทราบโดยนัยที่มาแล้วนั่นเอง. [เรื่องภิกษุผูกร่างร้าน] เตียงเหินฟ้า๑- ซึ่งเป็นของที่พวกชนผูกไว้ เพื่อประโยชน์แก่การงาน มีเสตกรรม (ฉาบทาสีขาว) มาลากรรม (เขียนลายดอกไม้) และลดากรรม (เขียนลายเถาวัลย์) เป็นต้น เขาเรียกว่า ร่างร้าน. ในเรื่องผูกร่างร้านนั้น ภิกษุผู้มีความประสงค์จะให้ตาย กล่าวหมายเอาสถานที่ซึ่งภิกษุผู้ยืนอยู่ แล้วจะพึงพลัดตกลงกระทบตอ หรือจะพึงมรณภาพไป ในบ่อและเหวเป็นต้นว่า อาวุโส คุณจงยืนผูกที่ตรงนี้. ก็บรรดาสถานที่เหล่านี้ ภิกษุบางรูปย่อมกำหนดที่ข้างบนไว้ด้วยคิดว่า เขาจักพลัดตกจากที่นี่ตาย บางรูปย่อมกำหนดที่ข้างล่างไว้ด้วยคิดว่า เขาจักพลัดตกตายจากที่นี้ บางรูปย่อมกำหนดที่แม้ทั้ง ๒ แห่งด้วยคิดว่า เขาจักพลัดตกจากที่นี้ แล้วตายในที่นี้. บรรดาสถานที่ๆ ภิกษุกำหนดไว้นั้น ผู้ใดไม่พลัดตกไปจากที่ๆ ภิกษุกำหนดไว้ข้างบน พลัดตกไปจากที่อื่นก็ดี, ไม่พลัดตกไปในที่ๆ ภิกษุกำหนดไว้ข้างล่าง พลัดตกไปในที่อื่นก็ดี, พลัดตกพลาดไปในบรรดาที่กำหนดไว้ทั้ง ๒ แห่ง แห่งใดแห่งหนึ่งก็ดี, เมื่อผู้นั้นตาย ชื่อว่าไม่เป็นอาบัติเพราะมีความลักลั่น. แม้ในเรื่องมุงวิหารก็นัยนี้. ____________________________ ๑- เตียงที่ผูกไว้บนอากาศ หรือขัดห้างที่เขาทำไว้บนต้นไม้สำหรับพักเพื่อดักยิงสัตว์ เรียกว่าเตียงเหินฟ้า หรือขัดห้าง. [เรื่องภิกษุโจนลงเหวทับช่างสานตาย] ได้ยินว่า ภิกษุนั้นเห็นความฟุ้งซ่านขึ้นแห่งอกุศลวิตกทั้งหลายมีกามวิตกเป็นต้น เมื่อไม่อาจห้ามได้ ทั้งไม่ยินดีในพระศาสนา จึงเป็นผู้มุ่งหน้าไปเพื่อเป็นคฤหัสถ์ แต่ภายหลังคิดได้ว่า เราจักตาย ตราบเท่าที่เรายังไม่เสียศีล. คราวนั้น เธอจึงขึ้นภูเขานั้นแล้วโจนลงไปในเหว ทับช่างสานคนใดคนหนึ่งตาย. บทว่า วิลิวาการํ แปลว่า ช่างสานไม้ไผ่. หลายบทว่า น จ ภิกฺขเว อตฺตานํ ปาเตตพฺพํ ความว่า ตนอันภิกษุไม่พึงให้ตกลงไป. ก็บทว่า อตฺตานํ นั่น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสด้วยวิภัตติเปลี่ยนแปลงไป. แต่ในอธิการว่าด้วยการยังตนให้ตกไปนี้ ภิกษุไม่ควรยังตนให้ตกไปอย่างเดียวก็หาไม่, ถึงบุคคลอื่นก็ไม่ควรฆ่าด้วยความพยายามอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยที่สุดแม้ด้วยการอดอาหาร. จริงอยู่ แม้ภิกษุใดอาพาธมีความประสงค์จะตาย เมื่อเภสัชและผู้อุปัฏฐากมีอยู่ ก็ตัดอาหารเสีย, ภิกษุ แม้เมื่อภิกษุผู้ไม่อาพาธ เกิดความสังเวชขึ้นแล้ว ตัดอาหารเสีย ด้วยหัวข้อกรรมฐาน เพราะคิดได้ว่า ชื่อว่าการแสวงหาอาหารเป็นที่เนิ่นช้า เราจักตามประกอบกรรม [เรื่องภิกษุฉัพพัคคีย์กลิ้งศิลาเล่นทับคนเลี้ยงโคตาย] บทว่า ทวาย แปลว่า ด้วยการเล่น คือด้วยการหัวเราะ. อธิบายว่า ด้วยการเล่นคะนอง. ที่ชื่อว่า ศิลา ได้แก่ ก้อนหิน. และไม่ใช่แต่หินอย่างเดียว ถึงท่อนไม้หรือก้อนอิฐอย่างใดอย่างหนึ่งแม้อื่น ภิกษุจะใช้มือหรือเครื่องยนต์กลิ้ง ย่อมไม่ควร. พวกภิกษุ พวกภิกษุ เมื่อจะทำนวกรรมแม้อย่างอื่นเช่นนี้ หรือจะซักสิ่งของ ยกต้นไม้หรือท่อนไม้สำหรับซักขึ้นแล้ว กลิ้งไป, ข้อนั้นย่อมควร. ในเวลาทำภัตกิจเป็นต้น ภิกษุขว้างท่อนไม้หรือกระเบื้องถ้วยไปไล่ฝูงกา และเหล่าสุนัขให้หนีไป, ข้อนั้น ย่อมควร. เรื่องทั้งหลายมีเรื่องนึ่งตัวเป็นต้น มีเนื้อความชัดเจนทั้งหมดแล้วแล. อนึ่ง ในวิสัยแห่งเรื่องนึ่งตัวเป็นต้นนี้ อันภิกษุไม่ควรทำคิลานุปัฏฐาก ด้วยคิดว่า เรามีความรังเกียจทุกอย่าง พึงเข้าไปกำหนดกำลังหรือไม่มีกำลัง ความชอบใจและความสบายของภิกษุอาพาธ แล้วทำโดยความเป็นผู้หวังประโยชน์เกื้อกูล. [เรื่องภิกษุทำยาให้หญิงมีครรภ์กับชู้ตกไปเป็นต้น] บทว่า ปวุฏฺฐปติกา แปลว่า หญิงผู้มีสามีหย่าร้างไปนานแล้ว. บทว่า คพฺภปาตนํ ได้แก่ เภสัชเช่นกับขนานที่หญิงบริโภคแล้ว เป็นเหตุให้ครรภ์ตกไป. เรื่องหญิงร่วมผัว ๒ คนมีเนื้อความชัดเจนแล้วแล. ในเรื่องรีดลูก มีวินิจฉัยดังนี้ :- หญิงมีครรภ์นั้น เมื่อภิกษุบอกว่า จงรีดให้ตกไปเองเถิด วานให้ผู้อื่นรีด ทำให้ตกไป, เป็นผิดความมุ่งหมาย. แม้เมื่อภิกษุบอกว่า จงวานผู้อื่นรีดทำให้ตกไปเถิด แต่นางรีดทำให้ตกไปเสียเอง, เป็นผิดความมุ่งหมายเหมือนกัน. ชื่อว่าปริยาย ในมนุสสวิคคหะ ย่อมไม่มี; เพราะเหตุนั้น เมื่อภิกษุพูดว่า ขึ้นชื่อว่าครรภ์ถูกรีดแล้ว จะตกไปเอง, หญิงมีครรภ์นั้นจงรีดเองหรือจงวานให้ผู้อื่นรีดให้ตกไปก็ตาม, ไม่มีความลักลั่น เป็นปาราชิกทีเดียว. แม้ในเรื่องนาบครรภ์ให้ร้อนก็นัยนี้เหมือนกัน. [เรื่องภิกษุทำยาให้หญิงหมันมีบุตรตาย] หญิงผู้ไม่ตั้งครรภ์ ชื่อว่าหญิงหมัน. ธรรมดาหญิงไม่ตั้งครรภ์ ย่อมไม่มี, แต่ว่าครรภ์แม้ที่หญิงคนใดตั้งขึ้นแล้ว ไม่ดำรงอยู่, ข้อนี้ ท่านกล่าวหมายเอาหญิงนั้น. ได้ยินว่า ในคราวมีระดู หญิงทุกจำพวกย่อมตั้งครรภ์, แต่อกุศลวิบากมาประจวบ จริงอยู่ ในขณะปฏิสนธิใหม่ๆ นั่นเอง ครรภ์ตั้งอยู่ไม่ได้ ด้วยอาการ ๒ อย่างคือด้วยลม หรือสัตว์เล็กๆ เพราะกรร แม้ในเรื่องที่ ๒ ก็นัยนี้เหมือนกัน. [ภิกษุไม่ควรทำยาแก่ชนอื่นแต่ควรทำให้สหธรรมิกทั้ง ๕] จริงอยู่ สหธรรมิกทั้ง ๕ เหล่านั้นเป็นผู้มีศีล ศรัทธาและปัญญาเสมอกัน ทั้งประกอบในไตรสิกขาด้วย ภิกษุจะไม่ทำเภสัชให้ย่อมไม่ได้, และเมื่อจะทำ ถ้าสิ่งของๆ สหธรรมิกเหล่านั้นมีอยู่, พึงถือเอาสิ่งของๆ สหธรรมิกเหล่านั้น ปรุงให้. ถ้าไม่มี ควรเอาของๆ ตนทำให้. ถ้าแม้ของๆ ตนก็ไม่มี พึงแสวงหาด้วยภิกขาจารวัตร หรือจากที่แห่งญาติและคนปวารณา (ของตน). เมื่อไม่ได้ ควรนำสิ่งของมาทำให้ แม้ด้วยการไม่ทำวิญญัติ (คือ ควรทำยาให้แก่คน ๕ จำพวกแม้อื่นอีก คือ มารดา ๑ บิดา ๑ คนบำรุงมารดาบิดานั้น ๑ ไวยาวัจกรของตน ๑ คนปัณฑุปลาส ๑. คนผู้ที่ชื่อว่าปัณฑุปลาส ได้แก่ คนผู้เพ่งบรรพชา ยังอยู่ในวิหารตลอดเวลาที่ยังตระเตรียมบาตรและจีวร. บรรดาชน ๕ จำพวกเหล่านั้น ถ้ามารดาและบิดาเป็นใหญ่ ไม่หวังตอบแทนไซร้, จะไม่ทำให้ก็ควร. แต่ถ้าท่านทั้ง ๒ ดำรงอยู่ในราชสมบัติ ยังหวังตอบแทนอยู่, จะไม่ทำ ไม่ควร. เมื่อท่านทั้ง ๒ หวังเภสัช ควรให้เภสัช. เมื่อท่านทั้ง ๒ ไม่รู้วิธีประกอบยาควรประกอบยาให้. ควรแสวงหาเภสัชเพื่อประโยชน์แก่ชน ๕ จำพวกมีมารดาเป็นต้นแม้ทั้งหมด โดยนัยดังที่กล่าวแล้วในสหธรรมิกนั่นแล. ก็ถ้าภิกษุนำมารดามาปรนนิบัติอยู่ในวิหาร, อย่า ชนเหล่าใดย่อมบำรุงประคับประคองมารดาและบิดา, ภิกษุควรทำเภสัชแม้แก่ชนเหล่านั้น อย่างนั้นเหมือนกัน. คนผู้ที่ชื่อว่าไวยาวัจกร ได้แก่ ผู้รับเอาค่าจ้างแล้ว ตัดฟืนในป่า หรือทำการงานอะไรๆ อย่างอื่น. เมื่อเกิดเป็นโรคขึ้นแก่เขา ภิกษุควรทำเภสัชให้จนกว่าพวกญาติจะพบเห็น. ส่วนผู้ใดเป็นเพียงคนอาศัยภิกษุ ทำการงานทุกอย่าง, ภิกษุควรทำเภสัชให้แก่คนคนนั้นเหมือนกัน. แม้ในปัณฑุปลาสก็ควรปฏิบัติเหมือนในสามเณร ฉะนั้น. [ภิกษุควรทำยาให้คน ๑๐ จำพวก] ก็เมื่อภิกษุใช้ให้ญาตินำจตุปัจจัยมาตราบเท่าจนถึง ๗ ชั่วเครือสกุล โดยสืบๆ กันมาแห่งบุตรของญาติ ๑๐ จำพวกมีพี่ชายเป็นต้นเหล่านั้น ไม่เป็นการทำวิญญัติ. เมื่อทำเภสัช (แก่ชนเหล่านั้น) ก็ไม่เป็นเวชกรรม หรือไม่เป็นอาบัติ เพราะประทุษร้ายสกุล. ถ้าพี่สะใภ้ น้องสะใภ้ หรือพี่เขย น้องเขย เป็นไข้, ถ้าเขาเป็นญาติ, จะทำเภสัชแก่ญาติแม้เหล่านั้น ก็ควร. ถ้าเขามิใช่ญาติพึงทำให้แก่พี่ชายและพี่หญิง ด้วยสั่งว่า จงให้ในที่ปฏิบัติของพวกท่าน. อีกอย่างหนึ่ง พึงทำให้แก่บุตรของเขา ด้วยสั่งว่า จงให้แก่มารดาและบิดาของพวกเจ้าเถิด. พึงทราบวินิจฉัยในบททั้งปวงโดยอุบายนี้. อันภิกษุเมื่อจะใช้สามเณรทั้งหลายให้นำเภสัชมาจากป่าเพื่อประโยชน์แก่พี่สะใภ้ น้องสะใภ้เป็นต้นเหล่านั้น ควรใช้พวกสามเณรที่เป็นญาติให้นำมา หรือพึงให้นำมาเพื่อประโยชน์แก่ตนแล้วจึงให้ไป. แม้พวกสามเณรผู้ไม่ใช่ญาติเหล่านั้น ก็ควรนำมาด้วยหัวข้อวัตรว่า พวกเราจะนำมาถวายพระอุปัช ในโยมมารดาและบิดาของสัทธิวิหาริก แม้พระอุปัชฌายะก็ควรปฏิบัติเหมือนอย่างนั้นเหมือนกัน. ในอาจารย์และอันเตวาสิกก็นัยนี้. [ภิกษุควรทำยาให้แก่คน ๕ จำพวก] ก็ถ้าพวกเขารู้สิ่งที่ควร เรียนถามอย่างนี้ว่า ท่านขอรับ เขาปรุงเภสัชอะไรแก้โรคชื่อโน้น? ภิกษุจะตอบว่า เขาเอาสิ่งนี้และสิ่งนี้ ทำ (เภสัช) ดังนี้ ก็ควร. ก็ภิกษุถูกคฤหัสถ์เรียนถามอย่างนี้ว่า ท่านขอรับ มารดาของกระผมเป็นไข้ ขอได้โปรดบอกเภสัชด้วยเถิด ดังนี้ ไม่ควรบอก. แต่ควรสนทนาถ้อยคำกะกันและกันว่า อาวุโส ในโรคชนิดนี้ของภิกษุชื่อโน้น เขาปรุงเภสัชอะไรแก้? ภิกษุทั้งหลายเรียนว่า เขาเอาสิ่งนี้และนี้ปรุงเภสัช ขอรับ ฝ่ายชาวบ้านฟังคำสนทนานั้นแล้ว ย่อมปรุงเภสัชแก่มารดา; ข้อที่ภิกษุสนทนากันนั้น ย่อมควร. [เรื่องพระมหาปทุมเถระสนทนาเรื่องยาแก้โรค] [เรื่องสวดพระปริตร] ภิกษุถูกชาวบ้านอาราธนาว่า โปรดทำพระปริตรแก่คนไข้เถิด ขอรับ ดังนี้ ไม่ควรทำ, แต่เมื่อเขาอาราธนาว่า โปรดสวดเถิด, ควรทำ. ถ้าแม้ภิกษุนั้นมีความวิตกว่า ธรรมดามนุษย์ทั้งหลายย่อมไม่รู้, เมื่อเราไม่ทำ จักเป็นผู้เดือดร้อน ดังนี้, ก็ควรทำ. ส่วนภิกษุถูกอาราธนาว่า โปรดทำน้ำพระปริตร เส้นด้ายพระปริตรให้เถิด ดังนี้ ควรเอามือ (ของ พวกชาวบ้านส่งคนไปยังวิหาร เพื่อประโยชน์แก่คนไข้ ภายในบ้านด้วยสั่งว่า ขอภิกษุทั้งหลายโปรดสวดพระปริตร ดังนี้, ภิกษุควรสวด. เมื่อโรคหรือความจัญไรเกิดขึ้นในพระราชมณเฑียรเป็นต้น ภายในบ้าน อิสรชนมีกษัตริย์เป็นต้น รับสั่งให้อาราธนาภิกษุมาแล้ว นิมนต์ให้สวด (พระปริตรเป็นต้น). ภิกษุพึงสวดพระสูตรทั้งหลายมีอาฏานาฏิยสูตรเป็นต้น. แม้เมื่อพวกชาวบ้านส่งคนไปนิมนต์ว่า ขอภิกษุทั้งหลายจงมาให้สิกขา พวกชาวบ้านนิมนต์ว่า ขอภิกษุทั้งหลายจงมาเพื่อเป็นบริวาร (เพื่อน) ของคนตาย, ไม่ควรไป, ภิกษุจะไปด้วยมุ่งกรรม ____________________________ ๑- อุทกนฺติ ทกฺขิโณทกํ. บทว่า อุทกํ ได้แก่ น้ำทักษิโณทก. สารัตถทีปนี ๒/๔๒๗. [ว่าด้วยเรื่องอนามัฏฐบิณฑบาต] ถามว่า อนามัฏฐบิณฑบาตควรให้แก่ใคร ไม่ควรให้แก่ใคร? แก้ว่า ควรให้แก่มารดาและบิดาก่อน. ก็หากว่าบิณฑบาตนั้นจะเป็นของมีราคาตั้งกหาปณะ ก็ไม่จัดว่าเป็นการยังศรัทธาไทยให้ตกไป, ควรให้แม้แก่คนเหล่านี้ คือ พวกคนบำรุงมารดาบิดา ไวยาวัจกร คนปัณฑุปลาส. บรรดาคนเหล่านั้น สำหรับคนปัณฑุปลาส จะใส่ในภาชนะให้ ก็ควร. เว้นคนปัณฑุปลาสนั้นเสีย จะใส่ในภาชนะให้แก่คฤหัสถ์เหล่าอื่น แม้เป็นมารดาบิดา ก็ไม่ควร. เพราะว่า เครื่องบริโภคของบรรพชิตตั้งอยู่ในฐานเป็นเจดีย์ของพวกคฤหัสถ์. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่าอนามัฏฐบิณฑบาตนี้พึงให้แก่โจรผู้ลือชื่อบ้าง ทั้งแก่อิสรชนบ้าง ผู้มาถึงเข้า. เพราะเหตุไร? เพราะเหตุว่า ชนเหล่านั้นแม้เมื่อไม่ให้ ก็โกรธว่า ไม่ให้ แม้เมื่อจับต้องให้ ก็โกรธว่า ให้ของเป็นเดน. ชนเหล่านั้นโกรธแล้วย่อมปลงจากชีวิตเสียบ้าง ย่อมทำอันตรายแก่พระศาสนาบ้าง. ก็ในข้อนี้ พึงแสดงเรื่องพระเจ้าโจรนาคผู้เที่ยวปรารถนาราชสมบัติ (เป็นอุทาหรณ์). ภิกษุควรปฏิบัติในบิณฑบาต ดังพรรณนามาฉะนี้. [ว่าด้วยเรื่องปฏิสันถาร] ถามว่า ปฏิสันถาร ควรทำแก่ใคร ไม่ควรทำแก่ใคร. แก้ว่า ชื่อว่าปฏิสันถาร อันภิกษุควรทำทั้งนั้นแก่ผู้ใดผู้หนึ่งที่มาถึงวิหาร จะเป็นคนจรมา คนเข็ญใจเป็นโจร หรือเป็นอิสรชนก็ตาม. ถามว่า พึงทำอย่างไร. แก้ว่า เห็นอาคันตุกะหมดเสบียงลง มาถึงวิหาร พึงให้น้ำดื่มก่อน ด้วยกล่าวว่า เชิญดื่มน้ำเถิด, พึงให้น้ำมันทาเท้า. อาคัน และเพื่อแสดงอานิสงส์ปฏิสันถาร พระอรรถกถาจารย์จึงกล่าวเรื่องไว้หลายเรื่อง ในมหาอรรถกถา โดยพิสดารมีอาทิอย่างนี้ คือ เรื่องพระเจ้าโจรนาค เรื่องพระเจ้ามหานาคผู้เสด็จไปชมพูทวีปพร้อมกับพระราชภาดา เรื่องอำมาตย์ ๔ นาย ในรัชสมัยแห่งพระเจ้าปิตุราช เรื่องอภัยโจร. [เรื่องพระอภัยเถระทำปฏิสันถารกับอภัยโจร] ดังได้สดับมาในเกาะสิงหล โจรชื่ออภัย มีบริวารประมาณ ๕๐๐ คน ตั้ง พระเถระถามว่า เนยใสและน้ำอ้อยเป็นต้นมีไหม? พวกคนวัด. มี ขอรับ พระเถระ. พวกท่านจงให้แก่พวกโจร. พระเถระ. ข้าวสารมีไหม? พวกคนวัด. มี ขอรับ ข้าวสาร ผักดองและโครส ที่เขานำมาเพื่อประโยชน์แก่สงฆ์. พระเถระ. พวกท่านจงจัดภัตให้แก่พวกโจร. พวกคนวัดทำตามพระเถระสั่งแล้ว. พวกโจรบริโภคภัตแล้ว จึงถามว่า ใครทำการต้อนรับ?. พวกคนวัด. พระอภัยเถระผู้เป็นเจ้าของพวกเรา. พวกโจรไปยังสำนักของพระเถระ ไหว้แล้ว กราบเรียนว่า พวกกระผมมาด้วยหมายใจว่า จักปล้นเอาของสงฆ์และของเจดีย์แต่กลับเลื่อมใสด้วยปฏิสันถารนี้ของพวกท่าน, ตั้งแต่วันนี้ไป การรักษาที่ชอบธรรมในพระวิหารจงเป็นหน้าที่ของพวกกระผม, พวกชาวเมืองจงมาถวายทาน จงไหว้พระเจดีย์. และตั้งแต่วันนั้นมา เมื่อชาวเมืองมาถวายทาน พวกโจรก็ไปต้อนรับถึงริมฝั่งแม่น้ำทีเดียว คอยรักษานำไปพระวิหาร. เมื่อพวกชาวเมืองกำลังถวายทานอยู่แม้ในพระวิหาร ก็พากันยืนทำการรักษาอยู่. แม้ชาวเมืองเหล่านั้นก็ให้ภัตที่เหลือจากภิกษุทั้งหลายฉันแล้วแก่พวกโจร. แม้ในเวลากลับไป พวกโจรเหล่านั้นก็ช่วยส่งชาวเมืองถึงริมฝั่งแม่น้ำแล้วจึงกลับ. [พระเถระถูกพวกภิกษุโพนทะนา] ลำดับนั้น ภิกษุทั้งหลายกล่าวว่า ปฏิสันถารที่พระเถระทำแล้ว เป็นอันทำชอบแล้ว, ใครๆ ไม่ได้เพื่อจะโจท หรือเพื่อทำให้ท่านให้การ, ไม่มีสินใช้ หรืออวหาร. ปฏิสันถารมีอานิสงส์มากอย่างนี้ ภิกษุผู้บัณฑิตกำหนดดังกล่าวมานี้แล้ว ควรทำปฏิสัน [เรื่องภิกษุฉัพพัคคีย์จี้ภิกษุสัตตรวัคคีย์เป็นต้น] บทว่า อุตฺตสนฺโต ได้แก่ ผู้เหน็ดเนื่อย. บทว่า อนสฺสาสโก ได้แก่ ผู้หายใจออกไม่ทัน. ก็แลอาบัติที่จะพึงมีในเรื่องนี้ ทรงแสดงไว้แล้วในพวกขุททก ในเรื่องอันมีในลำดับแห่งเรื่องจี้ด้วยนิ้วมือนั้น มีวินิจฉัยดังนี้ :- บทว่า โอตฺถริตฺวา แปลว่า เหยียบแล้ว. ได้สดับมาว่า ภิกษุรูปนั้นล้มลง ถูกพวกภิกษุสัตตรสวัคคีย์เหล่านั้นฉุดลากไปอยู่. ภิกษุรูปหนึ่งขึ้นนั่งทับท้องของเธอ. ภิกษุ ๑๕ รูปแม้ที่เหลือก็ช่วยกันทับลงไปที่แผ่นดินจนตาย เหมือนหินฟ้าถล่มทับมฤคตาย ฉะนั้น. ก็เพราะภิกษุสัตตรสวัคคีย์เหล่านั้นมีความประสงค์จะลงโทษ หามีความประสงค์จะฆ่าให้ตายไม่ ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงไม่ปรับเป็นปาราชิก. [เรื่องภิกษุฆ่ายักษ์ ต้องถุลลัจจัย] สองบทว่า ยกฺขํ มาเรสิ ความว่า พวกอาจารย์ผู้ขับไล่ภูตผี ต้องการจะปลดเปลื้องบุคคลผู้ถูกยักษ์เข้าสิง จึงเรียกยักษ์ให้ออกมาแล้วพูดว่า จงปล่อย, ถ้ายักษ์ไม่ปล่อย, อาจารย์หมอผีก็เอาแป้งหรือดินเหนียว ทำเป็นรูปหุ่นแล้วตัดอวัยวะมีมือและเท้าเป็นต้นเสีย. อวัยวะใดๆ ของรูปหุ่นนั้นขาดไป, อวัยวะนั้นๆ ของยักษ์ย่อมชื่อว่าเป็นอันหมอผีตัดแล้วเช่นกัน. เมื่อศีรษะ (ของรูปหุ่นนั้น) ถูกตัด แม้ยักษ์ก็ตาย. ภิกษุหมอผีแม้นั้นได้ฆ่ายักษ์ตาย ด้วยวิธีดังกล่าวมานี้. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงปรับเป็นถุลลัจจัย. เป็นถุลลัจจัยแก่ภิกษุผู้ฆ่ายักษ์อย่างเดียวเท่านั้น ก็หาไม่. จริงอยู่ แม้ภิกษุใดพึงฆ่าท้าวสักกเทวราชตาย, ภิกษุแม้นั้นก็ต้องถุลลัจจัยเหมือนกัน. [เรื่องส่งภิกษุไปสู่ที่มีสัตว์ร้ายและยักษ์ดุ] บทว่า วาฬยกฺขวิหารํ ความว่า (ส่งไป) สู่วิหารที่มียักษ์ดุร้ายอยู่, จริงอยู่ ภิกษุใด เมื่อไม่ทราบวิหารเห็นปานนั้น จึงได้ส่ง (ภิกษุบางรูป) ไป เพื่อต้องการให้พักอยู่อย่างเดียว, ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุนั้น. ภิกษุใดมีความประสงค์จะให้ตาย จึงส่งไป, ภิกษุนั้นต้องปาราชิกในเพราะภิกษุนอกนี้ตาย ต้องถุลลัจจัย เพราะไม่ตาย. บัณฑิตพึงทราบความต่างกันแห่งอาบัติและอนาบัติ แม้ของภิกษุผู้ส่ง (ภิกษุอีกรูปหนึ่ง) ไปสู่วิหารที่ดุร้ายซึ่งมีพวกมฤคมีราชสีห์และเสือโคร่งที่ดุร้ายเป็นต้น หรือมีทีฆชาติทั้งหลายมีงูเหลือมและงูเห่าเป็นต้นอยู่อาศัย เหมือนอย่างภิกษุส่งภิกษุอีกรูปหนึ่งไปสู่วิหารที่มียักษ์ดุร้าย ฉะนั้น. นัยที่พ้นจากบาลี มีดังต่อไปนี้ :- บัณฑิตพึงทราบความต่างแห่งอาบัติของภิกษุผู้ส่งแม้ยักษ์ที่ดุร้ายไปสู่สำนักของภิกษุ เหมือนอย่างภิกษุส่งภิกษุไปสู่วิหารที่มียักษ์ดุร้าย ฉะนั้น. ในเรื่องทั้งหลายมีทางกันดารด้วยสัตว์ร้ายเป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน. จริงอยู่ ในเรื่องทางกันดารมีสัตว์ร้ายเป็นต้นนี้ มีเพียงใจความเฉพาะบทอย่างเดียวเท่านั้นเป็นชื่อ (ที่ต่างกัน) อย่างนี้ คือทางกันดารที่มีพวกมฤคที่ดุร้าย หรือมีทีฆชาติอยู่ ชื่อวาฬกันดาร; ทางกันดารที่มีพวกโจรอยู่ชื่อโจรกันดาร. อันธรรมดาว่า มนุสสวิคคหปาราชิกนี้ละเอียด ย่อมไม่พ้นด้วยปริยายกถา (กถาโดยทางอ้อม). เพราะฉะนั้น ภิกษุใดพึงกล่าวว่า ผู้ใดตัดศีรษะของโจร ผู้นั่งอยู่ในโอกาสชื่อโน้นแล้วนำมา, ผู้นั้นย่อมได้สักการะวิเศษจากพระราชา ดังนี้. ถ้ามีใครได้ฟังคำของภิกษุนั้นแล้วไปฆ่าโจรนั้นเสีย, ภิกษุนี้ย่อมเป็นปาราชิกแล. [เรื่องสำคัญว่าเป็นภิกษุคู่เวรแน่จึงฆ่าเสีย] ได้ยินว่า ภิกษุนั้นใคร่จะฆ่าภิกษุผู้มีเวรของตน จึงคิดว่า การที่เราจะฆ่าภิกษุผู้คู่เวรนี้ในกลางวัน หนีไปโดยความปลอดภัย ไม่พึงเป็นสิ่งที่ทำได้ง่าย เราจักฆ่าภิกษุนั้นในกลางคืน, ครั้นกำหนดไว้แล้ว มาในกลางคืนสำคัญว่าภิกษุผู้คู่เวรนั้นแน่ ในสถานที่ภิกษุมากรูปจำวัด จึงปลงภิกษุรูปนั้นนั่นเองจากชีวิต, อีกรูปหนึ่งสำคัญว่าภิกษุผู้คู่เวรนั้นแน่ แต่ปลงภิกษุรูปอื่นจากชีวิต, อีกรูปหนึ่งสำคัญว่าภิกษุอื่นแน่ซึ่งเป็นสหายของภิกษุผู้คู่เวรนั้นนั่นเอง แต่ก็ปลงภิกษุผู้คู่เวรนั้นจากชีวิต, อีกรูปหนึ่งสำคัญว่า ภิกษุอื่นแน่ซึ่งเป็นสหายของภิกษุผู้คู่เวรนั้นนั่นเอง แต่ก็ปลงภิกษุอื่นซึ่งเป็นสหายของภิกษุผู้คู่เวรนั้นนั่นแลจากชีวิต เป็นปาราชิกแก่เธอทั้งหมดเหมือนกัน. [เรื่องผีเข้าสิงภิกษุ] ภิกษุอีกรูปหนึ่งได้ให้การประหาร (แก่ภิกษุผู้ถูกผีเข้าสิงนั้น) ด้วยคิดว่า จักขับไล่ยักษ์ให้หนีไป. ภิกษุนอกจากนี้คิดว่า คราวนี้ ยักษ์นี้ไม่สามารถจะทำพิรุธได้, เราจักฆ่ามันเสีย ได้ให้การประหาร. และในเรื่องของภิกษุผู้ถูกผีเข้าสิงเรื่องแรกนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้ไม่มีความประสงค์จะให้ตาย เพราะเหตุนั้น ด้วยพระพุทธดำรัสเพียงเท่านี้นั่นแล ภิกษุจึงไม่ควรให้การประหารแก่ภิกษุผู้ถูกผีสิง, แต่พึงเอาใบตาลหรือเส้นด้ายพระปริตรผูกไว้ที่มือหรือเท้า. พึงสวดพระปริตรทั้งหลายมีรัตนสูตรเป็นต้น พึงทำธรรมกถาว่า ท่านอย่าเบียดเบียนภิกษุผู้มีศีล ดังนี้. เรื่องพรรณนาสวรรค์เป็นต้น มีเนื้อความชัดเจนแล้ว. ก็คำที่จะพึงกล่าวในเรื่องพรรณนาสวรรค์เป็นต้นนี้ ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้แล้วแล. [เรื่องภิกษุตัดต้นไม้] แต่มีความแปลกกันดังต่อไปนี้ :- ภิกษุใด แม้ถูกต้นไม้ล้มทับแล้ว ยังไม่มรณภาพ และเธอสามารถจะตัดต้นไม้หรือขุดแผ่นดินแล้วออกไปโดยข้างๆ หนึ่งได้, และในมือของเธอก็มีมีดและจอบ๑- อยู่, ภิกษุแม้นั้นควรสละชีวิตเสีย, และไม่ควรตัดต้นไม้หรือไม่ควรขุดดิน. เพราะเหตุไร? เพราะเหตุว่า ภิกษุเมื่อทำอย่างนั้น ย่อมต้องปาจิตตีย์ ย่อมหักรานเสียซึ่งพุทธอาณา ย่อมไม่ทำศีลให้มีชีวิตเป็นที่สุด; เพราะเหตุนั้น ถึงแม้ชีวิตก็ควรสละเสีย แต่ไม่ควรสละศีล; ครั้นภิกษุคำนวณได้รอบคอบดังกล่าวมาแล้วนี้ ไม่พึงทำ (การตัดต้นไม้และขุดดิน) ด้วยอาการอย่างนี้. การตัดต้นไม้หรือขุดดิน แล้วนำภิกษุนั้นออก ย่อมควรแก่ภิกษุรูปอื่น. ถ้าเธอจะพึงถูกเขากลิ้งต้นไม้ไปด้วยครกยนต์นำออก, ควรตัดเอาต้นไม้นั้นนั่นเอง ใช้เป็นครกแล. พระมหาสุมัตเถระกล่าวว่า จะตัดเอาต้นไม้แม้อื่นก็ควร. พระมหาปทุมเถระกล่าวว่า ในการผูกพะอง (บันได) ช่วยคนแม้ผู้ตกลงไปในบ่อเป็นต้นให้ขึ้นได้ก็นัยนี้เหมือนกัน, ภิกษุไม่ควรตัดภูตคามทำพระองด้วยตนเอง. การทำ (พะอง) แล้วยกขึ้น ย่อมสมควรแก่ภิกษุเหล่าอื่น. ____________________________ ๑- กธารี ผึ่งถากไม้, ขวานโยน, จอบ. [เรื่องภิกษุฉัพพัคคีย์เผาป่า] สองบทว่า ทายํ ลิมฺเปสุํ๑- ความว่า พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ได้จุดไฟในป่า. ก็ในเรื่องเผาป่านี้ บัณฑิตพึงทราบว่าเป็นปาราชิกเป็นต้น โดยสมควรแก่วัตถุแห่งปาราชิก อนันตริยกรรม ถุลลัจจัยและปาจิตตีย์ ด้วยอำนาจประโยคที่เจาะจงและไม่เจาะจง และความเป็นกองอกุศล โดยนัยดังกล่าวแล้วในก่อนนั่นแล. พระอรรถกถาจารย์กล่าวไว้ในสังเขปอรรถกถาว่า ก็เมื่อภิกษุเผาด้วยคิดว่า หญ้าสดและไม้เจ้าป่าทั้งหลายจงถูกไฟไหม้ เป็นปาจิตตีย์, เมื่อเผาด้วยคิดว่า เครื่องอุปกรณ์ไม้ทั้งหลายจงพินาศไป เป็นทุกกฏ, เมื่อเผาแม้ด้วยความประสงค์จะเล่น ก็เป็นทุกกฏ. เมื่อเผาด้วยคิดว่า ไม้สดและไม้แห้งชนิดใดชนิดหนึ่ง ซึ่งมีอินทรีย์และไม่มีอินทรีย์ก็ตามจงถูกไฟไหม้ พึงทราบว่า เป็นปาราชิก ถุลลัจจัย ปาจิตตีย์และทุกกฏ ด้วยอำนาจแห่งวัตถุ. ก็การจุดไฟรับและทำการป้องกัน พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตไว้แล้ว. เพราะฉะนั้น การที่ภิกษุเห็นไฟที่พวกวนกรรมิกชนจุด หรือเกิดขึ้นเองในป่ากำลังลุกลามมา แล้วจุดไฟรับไฟซึ่งจะเป็นเหตุให้ไฟลุกลามมาบรรจบกันเข้าไหม้เชื้อหมดแล้วดับไป ด้วยตั้งใจว่า กระท่อมหญ้าทั้งหลายจงอย่าพินาศ ดังนี้ ย่อมควร. การที่ภิกษุจะทำแม้เครื่องป้องกัน คือการถากพื้นดินหรือขุดคูไว้โดยรอบกระท่อมมุงหญ้า โดยประการที่ไฟซึ่งลุกลามมา ไม่ได้เชื้อแล้วจะดับไปเอง ก็ควร. และเมื่อไฟลุกลามขึ้นแล้วเท่านั้น จึงควรทำกิจมีจุดไฟรับเป็นต้นทั้งหมดนั้น. เมื่อไฟยังไม่ลุกลามขึ้น พึงใช้อนุปสัมบันให้ทำด้วยกัปปิยโวหาร, และเมื่อจะให้ดับด้วยน้ำ ควรใช้น้ำที่ไม่มีตัวสัตว์เท่านั้นรด. ____________________________ ๑- บาลีเป็น อาลิมฺเปสุํ [เรื่องภิกษุสั่งนายเพชฌฆาตให้ประหารหนเดียว] เป็นปาราชิก เพราะคำสั่งประหารครั้งเดียว ฉันใด, แม้ในคำสั่งเป็นต้นว่า ทฺวีหิ ปหาเรหิ ก็พึงทราบว่า เป็นปาราชิก ฉันนั้น. ก็เมื่อภิกษุสั่งว่า ทฺวีหิ ดังนี้ แม้เมื่อนักโทษถูกนายเพชฌฆาตฆ่าตาย ด้วยการประหารครั้งเดียว ชื่อว่าเป็นปาราชิก เพราะหยั่งลงสู่เขตแล้วนั่นเอง. แต่เมื่อนักโทษถูกนายเพชฌฆาตฆ่าตาย ด้วยการประหาร ๓ ครั้ง เป็นผิดที่หมาย. เมื่อถูกฆ่าตาย ในเขตตามที่กำหนดไว้ หรือในร่วมในที่กำหนดไว้ ย่อมไม่ผิดที่หมาย ด้วยประการฉะนี้. แต่ (เมื่อถูกฆ่าตาย) ในเมื่อล่วงเลยที่กำหนดไว้ ย่อมลักลั่น ในที่ทุกแห่ง, ภิกษุผู้สั่งย่อมพ้น เพชฌฆาตผู้ฆ่าเท่านั้นมีโทษ. เหมือนอย่างว่านัยที่กล่าวไว้แล้ว ในการประหารหลายครั้ง เป็นฉันใด ข้อนี้ก็ฉันนั้น บัณฑิตพึงทราบว่า เมื่อภิกษุสั่งว่า แม้บรรดาบุรุษทั้งหลาย บุรุษนายหนึ่งจงฆ่าบุคคลคนหนึ่งให้ตายดังนี้, เมื่อบุคคลนั้นถูกบุรุษนายหนึ่งนั่นเองฆ่าตาย ภิกษุต้องปาราชิก, เมื่อบุคคลนั้นถูกบุรุษสองนายฆ่าตาย เป็นผิดสังเกต. เมื่อภิกษุสั่งว่า บุรุษสองคนจงพากันฆ่าบุรุษคนหนึ่งให้ตาย ดังนี้ เมื่อบุคคลนั้นถูกบุรุษนายหนึ่งหรือสองนายฆ่าตาย ภิกษุต้องปาราชิก, เมื่อถูกบุรุษสามนายฆ่าตาย เป็นผิดสังเกต. เมื่อมีผู้ถามกล่าวว่า ภิกษุรูปหนึ่งเอาดาบตัดศีรษะของบุรุษผู้วิ่งไป โดยเร็วในสนามรบขาด, ตัวกพันธ์ พระเถระจำนวนครึ่งกล่าวแก้ว่า เป็นปาราชิกแก่ภิกษุผู้ตัดการไป. พระโคทัตตเถระผู้ชำนาญพระอภิธรรมกล่าวแก้ว่า เป็นปาราชิกแก่ภิกษุผู้ตัดศีรษะ. ในการแสดงเนื้อความแห่งเรื่องนี้ บัณฑิตควรกล่าวเรื่องทั้งหลายแม้เห็นปานฉะนี้แล. [เรื่องภิกษุสั่งให้บุรุษด้วนดื่มเปรียงตาย] เมื่อภิกษุสั่งไม่กำหนดว่า พวกท่านจงให้บุรุษผู้มีมือและเท้าด้วนนั้นดื่มเปรียง ดังนี้, เมื่อบุรุษนั้นถูกพวกญาติให้ดื่มเปรียงชนิดใดชนิดหนึ่งตายไป, ภิกษุต้องปาราชิก. แต่เมื่อภิกษุสั่งกำหนดไว้ว่า จงให้ดื่มเปรียงโค เปรียงกระบือเปรียงแพะ หรือสั่งไว้ว่า จงให้ดื่มเปรียงที่เย็น เปรียงที่ร้อน เปรียงที่รมควัน ที่ไม่ได้รมควัน เมื่อบุรุษนั้นถูกพวกญาติให้ดื่มเปรียงชนิดอื่น จากเปรียงที่ภิกษุสั่งไว้นั้นตายไป เป็นผิดสังเกต. [เรื่องยาดองพิเศษชื่อโลณะโสจิรกะ] เภสัชขนานหนึ่งซึ่งปรุงด้วยข้าวทุกชนิด ชื่อว่า โลณะโสจิรกะ. เมื่อเขาจะทำเภสัชขนานนั้น เอาน้ำฝาดแห่งผลสมอ มะขามป้อมและสมอพิเภก ธัญชาติทุกชนิด อปรัณ ตติยปาราชิกวรรณนา ในอรรถกถาพระวินัย ชื่อสมันตปาสาทิกา จบ. ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา ตติยปาราชิกสิกขาบท อนาปัตติวาร วินีตวัตถุ อุทานคาถา เรื่องพรรณนาเป็นต้น จบ. |