![]() |
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
![]() |
![]() | |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ทรงประกาศจตุตถปาราชิกใดไว้แล้ว, บัดนี้ มาถึงลำดับสังวรรณนาแห่งจตุตถปาราชิกนั้น แล้ว; เพราะเหตุนั้น คำใดที่จะพึงรู้ได้ง่าย และคำที่ข้าพเจ้าได้ประกาศแล้วในเบื้องต้น, สังวรรณนานี้ แห่งจตุตถปาราชิกแม้นั้นจะเว้น คำนั้นๆ เสีย. [เรื่องภิกษุพวกจำพรรษาริมฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทา] บทว่า ทูเตยฺยํ ได้แก่ การงานของทูต. บทว่า อุตฺตริมนุสฺสธมฺมสฺส ได้แก่ ธรรมที่ล่วงเลยพวกมนุษย์ไป. อธิบายว่า ธรรมที่ล่วงเลยพวกมนุษย์ไปให้ลุถึงความเป็นพรหม หรือพระนิพพาน. อีกอย่างหนึ่ง ได้แก่ ธรรมของมนุษย์ผู้ยวดยิ่ง คือบุรุษผู้ประเสริฐสุดซึ่งเป็นผู้ได้ฌาน และเป็นพระอริยเจ้า. ในคำว่า อสุโก ภิกฺขุ เป็นต้น มีวินิจฉัยดังนี้ :- ภิกษุทั้งหลายปรึกษากับตนอย่างนั้นแล้ว ภายหลัง เมื่อกล่าวแก่พวกคฤหัสถ์พึงทราบว่า ได้กล่าวสรรเสริญด้วยอำนาจแห่งชื่อทีเดียว อย่างนี้ว่า ภิกษุชื่อพุทธรักขิตได้ปฐมฌาน ชื่อธรรมรักขิตได้ทุติยฌานดังนี้เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น ข้อว่า เอโสเยว โข อาวุโส เสยฺโย มีความว่า การช่วยอำนวยกิจการ และการนำข่าวสาส์นไปด้วยความเป็นทูต มีข้าศึกมาก มีการแข่งดีกันมาก ทั้งเป็นของไม่สมควรแก่สมณะ, ส่วนข้อที่พวกเราพากันกล่าวชมอุตริมนุสธรรมของกันและกันแก่พวกคฤหัสถ์นี้แล เป็นสิ่งที่น่าสรรเสริญกว่า คือ ยอดเยี่ยมกว่าได้แก่ ดีกว่ากิจทั้งสองนั้นเป็นไหนๆ. ท่านกล่าวอธิบายไว้อย่างไร? กล่าวไว้ว่า ข้อที่พวกเราจักพากันกล่าวชมอุตริมนุสธรรมของกันและกันแก่พวกคฤหัสถ์ ผู้ถามถึงหรือผู้มิได้ถามถึงภิกษุผู้นั่งพัก อิริยาบถอยู่หรือโดยมีอาทิอย่างนี้ว่า ภิกษุชื่อโน้นนี้ได้ปฐมฌาน นี้แลประเสริฐที่สุด. [อธิบายศัพท์กิริยาอนาคต] สองบทว่า วณฺณวา๑- อเสสุ ความว่า วรรณะแห่งสรีระที่ใหม่เอี่ยมอย่างอื่นนั่นแล เกิดขึ้นแก่ภิกษุเหล่านั้น, ภิกษุเหล่านั้นได้เป็นผู้มีน้ำนวลด้วยวรรณะนั้น. บทว่า ปินินฺทฺริยา ความว่า ชื่อว่าเป็นผู้มีอินทรีย์อิ่ม โดยความที่อินทรีย์ทั้งหลายมีใจเป็นที่ ๖ ไม่เหี่ยวแห้ง เพราะโอกาสที่ประสาททั้ง ๕ ตั้งมั่น เป็นของบริบูรณ์. บทว่า ปสนฺนมุขวณฺณา มีความว่า เป็นผู้มีน้ำนวลโดยไม่แปลกกัน แม้ก็จริง, ถึงกระนั้น สีหน้าของภิกษุเหล่านั้นก็ผ่องใสเกินไป กว่าวรรณะแห่งสรีระ. อธิบายว่า ผ่องใสไม่หม่นหมอง คือบริสุทธิ์. บทว่า วิปฺปสนฺนจฺฉวิวณฺณา มีความว่า ก็ภิกษุเหล่านั้นเป็นผู้มีน้ำนวลด้วยวรรณะใด ซึ่งเป็นเช่นกับดอกกรรณิการ์, วรรณะเช่นนั้นของมนุษย์ทั้งหลายแม้เหล่าอื่น ก็มีอยู่,๒- เหมือนอย่างว่า (วรรณะเช่นนั้น) ของมนุษย์เหล่านี้เป็นฉันใด, ของภิกษุเหล่านั้นไม่เป็นฉันนั้น คือผิวพรรณของภิกษุเหล่านั้นผุดผ่อง. เพราะเหตุนั้น พระธรรมสังคา ____________________________ ๑- บาลีเป็น วณฺณวนฺโต ๒- น่าจะเป็น กตฺถิ ตามในอัตถโยชนา ๒/๔๑๙ เพราะรูปเรื่องก็เป็นเช่นนั้น คือพวกภิกษุมีสีหน้าผ่องใส แต่พวกมนุษย์ไม่ผ่องใสเหมือนพวกภิกษุ. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามพวกภิกษุที่อยู่ฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทา ข้อว่า กิจฺจิ ภิกฺขเว ขมนิยํ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! สรียนต์นี้ของพวกเธอซึ่งมีจักร ๔ มีทวาร ๙ ยังพอทนได้แบบหรือ? คือพวกเธอยังอาจเพื่ออดทนอดกลั้น เพื่อบริหารได้ละหรือ? สรีรยนต์ของพวกเธอไม่ให้ทุกข์อะไรๆ เกิดขึ้นบ้างหรือ? ข้อว่า กจฺจิ ยาปนิยํ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า พวกเธอยังอาจเพื่อให้สรีรยนต์เป็นไป คือให้ดำเนินไปในกิจทั้งปวงบ้างหรือ? สรีรยนต์ของพวกเธอไม่แสดงอันตรายอะไรๆ บ้างหรือ? สองบทว่า กุจฺฉิ ปริกนฺโต ความว่า ท้องอันพวกเธอคว้านแล้วพึงเป็นของดีกว่า. ปาฐะว่า กุจฺฉิ ปริกตฺโถ บ้าง ก็ใช้ได้. [โจรภายนอกศาสนาเที่ยวปล้นบ้านชายแดนเป็นต้น] บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า สนฺโต สํวิชฺชมานา มีคำอธิบายว่า มีอยู่ และหาได้อยู่. บทว่า อิธ คือ ในสัตว์โลกนี้. สองบทว่า เอวํ โหติ ความว่า ความปรารถนาในส่วนเบื้องต้นย่อมเกิดขึ้นอย่างนี้. ศัพท์ว่า สุ ในคำว่า กทาสุ นามาหํ นี้เป็นนิบาต. ความว่า ชื่อ เมื่อไรหนอ? ข้อว่า โส อปเรน สมเยน ความว่า มหาโจรนั้น ครั้นคิดในส่วนเบื้องต้นอย่างนั้นแล้ว ก็เพิ่มพูนบริษัทขึ้นโดยลำดับ กระทำกรรมมีอาทิอย่างนี้ คือกรรมเป็นเหตุประทุษ [มหาโจรในพระศาสนาเที่ยวย่ำยีสิกขาบทน้อยใหญ่] บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปาปภิกฺขุโน ความว่า ในที่อื่นๆ ภิกษุผู้ต้องปาราชิกมีมูลขาดแล้ว ท่านเรียกว่า ภิกษุผู้เลวทราม. ส่วนในสิกขาบทนี้ ภิกษุผู้มิได้ต้องปาราชิก แต่ตั้งอยู่ในอิจฉาจารเที่ยวย่ำยีสิกขาบทน้อยใหญ่ ท่านประสงค์เอาว่า ภิกษุผู้เลวทราม. ความปรารถนาในส่วนเบื้องต้นย่อมเกิดขึ้น แม้แก่ภิกษุผู้เลวทรามนั้น เหมือนเกิดขึ้นแก่มหาโจรภายนอกอย่างนี้ว่า เมื่อไรหนอ? เราจึงจักเป็นผู้อันภิกษุร้อยหนึ่งหรือพันหนึ่งแวดล้อมแล้ว เที่ยวจาริกไปในคามนิคมและราชธานี อันคฤหัสถ์และบรรพชิตสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ยำเกรง ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชปริขาร. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สกฺกโต ได้แก่ ผู้ประสบสักการะ. บทว่า ครุกโต ได้แก่ ผู้ได้รับความเคารพ. บทว่า มานิโต ได้แก่ ผู้อันเขารักด้วยน้ำใจ. บทว่า ปูชิโต ได้แก่ ผู้อันเขาบูชาแล้ว ด้วยการบูชา คือนำมาเฉพาะซึ่งปัจจัยทั้ง ๔. บทว่า อปจิโต ได้แก่ ผู้ลุถึงความยำเกรง. บรรดาบุคคลเหล่านั้น ชนทั้ง ข้อว่า โส อปเรน สมเยน มีความว่า ภิกษุผู้เลวทรามนั้น ครั้นคิดในส่วนเบื้องต้น อย่างนั้นแล้ว สงเคราะห์พวกภิกษุเลวทรามผู้ไม่มีความเคารพกล้าในสิกขา ฟุ้งซ่าน จองหอง หลุกหลิก ปากจัด พูดพร่ำเพรื่อ หลงลืมสติ ไม่มีสัมปชัญญะ มีอินทรีย์เปิด (ผู้ไม่สำรวมอินทรีย์) ที่พระอาจารย์และอุปัชฌาย์สละทิ้งแล้ว ผู้หนักในลาภ โดยลำดับ แล้วให้สำเหนียกธรรมเนียมของคนหลอกลวงทั้งหลาย มีการวางกิริยาท่าทางเป็นต้น เป็นผู้มีคุณอันพวกภิกษุเลวทราม ผู้ทำความสั่งสม ในนิทานชาดกเป็นต้น สมบูรณ์ด้วยกระแสเสียง สามารถเพื่อลวงต้มชาวโลก สรรเสริญอยู่ ด้วยอุบายทั้งหลายมีการพรรณนาถึงเสนาสนะที่ชาวโลกสมมติเป็นต้น อย่างนี้ว่า พระเถระรูปนี้เข้าจำพรรษาอยู่ในเสนาสนะชื่อโน้น บำเพ็ญวัตรปฏิบัติอยู่ออกพรรษาแล้วก็จะออกไป เป็นผู้อันภิกษุร้อยหนึ่ง หรือพันหนึ่งแวดล้อม เที่ยวจาริกไปในคามนิคมและราชธานี อันคฤหัสถ์และบรรพชิต สักการะ เคารพ นับถือ บูชา ยำเกรง ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร. [มหาโจรในพระศาสนามี ๕ จำพวก] บทว่า ตถาคตปฺปเวทิตํ ความว่า อันพระตถาคตแทงตลอดแล้ว คือ กระทำให้ประจักษ์แล้ว หรือยังผู้อื่นให้รู้แล้ว. สองบทว่า อตฺตโน ทหติ มีความว่า ภิกษุผู้เลวทราม เทียบเคียงบาลีและอรรถกถา อยู่ในท่ามกลางบริษัท กล่าวพระสูตรอันเป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใส ด้วยเสียงอันไพเราะ ถูกวิญญูชนผู้เกิดมีความอัศจรรย์ใจไต่ถามในที่สุดแห่งธรรมกถาว่า โอ! ท่านผู้เจริญ บาลีและอรรถกถา บริสุทธิ์, พระคุณเจ้าเรียนเอาในสำนักของใคร? ดังนี้ กล่าวว่า ใครจะสามารถให้คนเช่นเราเรียนแล้วไม่แสดงอาจารย์ประกาศธรรมวินัยที่ตนแทงตลอดเอง คือที่ตนได้บรรลุด้วยสยัมภูญาณ. ภิกษุผู้ขโมยธรรมที่พระตถาคตทรงบำเพ็ญบารมีสิ้น ๔ อสงไขยยิ่งด้วยแสนกัป ได้ตรัสรู้โดยแสนยากลำบาก นี้จัดเป็นมหาโจรจำพวกที่ ๒. ข้อว่า สุทฺธํ พฺรหฺมจารึ ได้แก่ ภิกษุผู้สิ้นอาสวะแล้ว. ข้อว่า ปริสุทฺธํ พฺรหฺมจริยํ จรนฺตํ ได้แก่ เพื่อนพรหมจารีผู้ประพฤติจริยาที่ประเสริฐ อันหาอุปกิเลสมิได้. อีกอย่างหนึ่ง ได้แก่ผู้ประพฤติพรหมจรรย์ที่บริสุทธิ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความไม่เดือดร้อนเป็นต้นแม้อื่น ตั้งต้นแต่พระอนาคามีตราบเท่าถึงปุถุชนผู้มีศีล. ข้อว่า อมูลเกน อพฺรหฺมจริเยน อนุทฺธเสติ มีความว่า ภิกษุผู้เลวทรามย่อมกล่าวหาคือโจทด้วยอันติมวัตถุ ซึ่งไม่มีอยู่ในบุคคลนั้น. ภิกษุผู้ลบหลู่คุณที่มีอยู่ ขโมยอริยคุณนี้ จัดเป็นมหาโจรจำพวกที่ ๓. ในสองบทว่า ครุภณฺฑานิ ครุปริกฺขารานิ นี้ พึงทราบวินิจฉัยดังนี้ :- ในอทินนาทานสิกขาบท ภัณฑะมีราคา ๕ มาสก ท่านจัดว่า ครุภัณฑ์ ในคำว่า ชน ๔ คนชวนกันลักครุภัณฑ์๑- นี้ฉันใด, ในสิกขาบทนี้จะได้จัดฉันนั้น หามิได้. โดยที่แท้ ภัณฑะที่จัดเป็นครุภัณฑ์ ก็เพราะเป็นของที่ไม่ควรจำหน่าย โดยพระบาลีว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ภัณฑะ ๕ หมวดนี้ไม่ควรจำหน่าย อย่าจำหน่าย, สงฆ์ หรือคณะ หรือบุคคล แม้จำหน่ายไปก็ไม่เป็นอันจำหน่าย; ภิกษุใดพึงจำหน่าย ปรับอาบัติถุลลัจจัยแก่ภิกษุนั้น; ภัณฑะ ๕ หมวด คืออะไรบ้าง? คือ อาราม อารามวัตถุ ฯลฯ ภัณฑะไม้ ภัณฑะดิน๒- บริขารที่จัดเป็นครุบริขาร โดยความเป็นบริขารสาธารณะ เพราะเป็นของไม่ควรแจก โดยพระบาลีว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! บริขาร ๕ หมวดนี้ก็ไม่ควรแจก อย่าแจก, สงฆ์หรือคณะ หรือบุคคล แม้แจกไปแล้ว ไม่เป็นอันแจก, ภิกษุใดพึงแจกปรับอาบัติถุลลัจจัยแก่ภิกษุนั้น; บริขาร ๕ หมวดคืออะไรบ้าง? คืออาราม อารามวัตถุ ฯลฯ ภัณฑะไม้ ภัณฑะดิน. คำใดที่ควรกล่าวในบทว่า อาราโม อารามวตฺถุ เป็นต้น ข้าพเจ้าจักกล่าวคำนั้นทั้งหมดในวรรณนาแห่งสูตร ซึ่งมาในขันธกะว่า ปญฺจิมานิ ภิกฺขเว อวิสชฺชิยานิ นั่นเทียว. ____________________________ ๑- วิ. ปริวาร. ๘/ข้อ ๑๓๐๙. ๒- วิ. จุล. ๗/ข้อ ๒๙๒. ข้อว่า เตหิ คิหี สงฺคณฺหาติ มีความว่า ให้ครุภัณฑ์ ครุบริขารมีอารามเป็นต้นเหล่านั้น สงเคราะห์คืออนุเคราะห์พวกคฤหัสถ์. บทว่า อุปลาเปติ มีความว่า ทำให้พวกคฤหัสถ์บ่นถึง คือให้เป็นผู้ติดใจ ได้ ข้อว่า อยํ อคฺโค มหาโจโร มีความว่า ภิกษุที่ลักฉ้อโลกุตรธรรม ซึ่งสุขุมละเอียดนัก เป็นไปล่วงการถือเอาด้วยอินทรีย์ ๕ นี้ จัดเป็นโจรใหญ่ที่สุดของมหาโจรเหล่านี้, ขึ้นชื่อว่าโจรผู้เช่นกับภิกษุนี้ ย่อมไม่มี. ถามว่า ก็โลกุตรธรรม บุคคลอาจลวงคือลักฉ้อเอา เหมือนทรัพย์มีเงินและทองเป็นต้นหรือ?. แก้ว่า ไม่อาจ. ด้วยเหตุนั้นนั่นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ภิกษุใดกล่าวอวดอุตริมนุสธรรม ที่ไม่มีอยู่ ไม่เป็นจริง. แท้จริง ภิกษุนี้ย่อมกล่าวอวดธรรมที่ไม่มีอยู่ในตนอย่างเดียวว่า ธรรมนี้ของเรา มีอยู่. แต่ไม่อาจให้อุตริมนุสธรรมนั้นเคลื่อนไปจากที่ได้ หรือไม่อาจทำให้มีอยู่ในตนได้. ถามว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น เพราะเหตุไร จึงกล่าวว่า เป็นโจรเล่า?. แก้ว่า เพราะว่าภิกษุนี้กล่าวอวดอุตริมนุสธรรมนั้นแล้ว ถือเอาปัจจัยที่เกิดขึ้น เพราะการอวดคุณที่ไม่มีอยู่; เพราะเหตุนั้น ปัจจัยเหล่านั้นย่อมเป็นอันเธอผู้ถือเอา (ด้วยการอวดธรรมที่ไม่มีอยู่) อย่างนั้น ล่อลวงคือลักฉ้อ เอาด้วยอุบายอันสุขุม. ด้วยเหตุนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ข้อนั้นเพราะเหตุไร? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะเหตุที่ก้อนข้าวของชาวแว่นแคว้น อันภิกษุนั้นฉันแล้ว ด้วยความเป็นขโมย. อันเนื้อความในคำว่า ตํ กิสฺส เหตุ นี้ พึงทราบดังต่อไปนี้ :- เราได้กล่าวคำใดว่า ภิกษุใดกล่าวอวดอุตริมนุสธรรมที่ไม่มี ไม่จริง, ภิกษุนี้เป็นยอดมหาโจร; ถ้าจะมีผู้โจทก์ท้วงว่า ข้อนั้นเพราะเหตุไร? คือ เราได้กล่าวคำนั้นด้วยเหตุอะไร? เราพึงเฉลยว่า เพราะเหตุที่ก้อนข้าวของชาวแว่นแคว้น อันภิกษุนั้นฉันแล้ว ด้วยความเป็นขโมยแล ภิกษุทั้งหลาย! อธิบายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะก้อนข้าวของชาวแว่นแคว้น เป็นอันภิกษุนั้นฉันแล้วด้วยไถยจิต; เพราะเหตุนั้น เราจึงได้กล่าวคำนั้น. จริงอยู่ โว ศัพท์ ในคำว่า เถยฺยาย โว นี้ เป็นนิบาตลงในอรรถสักว่าเป็นเครื่องทำบทให้เต็ม เหมือน โว ศัพท์ในคำว่า เย หิ โว อริยาอรญฺญวนปฏฺฐานิ เป็นอาทิ แปลว่า จริงอยู่ พระอริยเจ้าทั้งหลายแลย่อมเสพราวไพรในป่า. เพราะเหตุนั้น ผู้ศึกษาไม่พึงเห็นเนื้อความแห่ง โว ศัพท์นั้น อย่างนี้ว่า ตุมฺเหหิ ภุตฺโต แปลว่า อันท่านทั้งหลายฉันแล้ว ดังนี้. [แก้อรรถนิคมคาถา] บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า อญฺญถา สนฺตํ ความว่า อันมีอยู่โดยอาการอื่นซึ่งมีกายสมาจารไม่บริสุทธิ์เป็นต้น. บาทคาถาว่า อญฺญถา โย ปเวทเย ความว่า ภิกษุรูปใดพึงประกาศด้วยอาการอย่างอื่น ซึ่งมีกายสมาจารบริสุทธิ์เป็นต้น คือให้ชนอื่นเข้าใจอย่างนี้ว่า เราเป็นผู้บริสุทธิ์อย่างยิ่ง โลกุตรธรรมมีอยู่ในภายในของเรา. ก็แลครั้นประกาศแล้ว (แสดงตน) ดุจพระอรหันต์ ฉันโภชนะที่เกิดขึ้น เพราะการประกาศนั้น. บทว่า นิกจฺจ ในสองบาทคาถาว่า นิกจฺจ กิตวสฺเสว ภุตตํ เถยฺเยน ตสฺส ตํ นี้ แปลว่า ล่อลวง คือแสดงตนอันมีอยู่โดยอาการอื่น ด้วยอาการอย่างอื่น ได้แก่แสดงตนซึ่งไม่ใช่พุ่มไม้และไม่ใช่กอไม้เลย ให้เป็นเหมือนพุ่มไม้และให้เหมือนกอไม้ เพราะเอากิ่งไม้ ใบไม้และใบอ่อนเป็นต้นปิดบังไว้. บทว่า กิตวสฺเสว ความว่า ดุจพรานนกผู้ลวง คือหลอกจับนกตัวที่มาแล้วๆ ในป่า ด้วยมีความสำคัญว่า เป็นพุ่มไม้และกอไม้แล้วเลี้ยงชีวิตฉะนั้น. บทคาถาว่า ภุตฺตํ เถยฺเยน ตสฺส ตํ ความว่า เมื่อภิกษุแม้นั้นผู้ไม่ใช่พระอรหันต์เลย แสดงว่าเป็นพระอรหันต์ ฉันโภชนะที่ตนได้มา, โภชนะที่เธอฉัน ชื่อว่าเป็นอันเธอฉันแล้ว ด้วยความเป็นขโมย เพราะเธอฉันโภชนะที่ตนล่อลวงมนุษย์ทั้งหลายแล้วได้มา เปรียบเหมือนนายพรานนกผู้มีเครื่องปกปิด ล่อคือลวงจับนก ฉะนั้น. ก็ภิกษุเหล่าใด เมื่อไม่รู้อำนาจแห่งประโยชน์นี้ ย่อมฉันด้วยอาการอย่างนั้น, ภิกษุเป็นอันมาก มีผ้ากาสาวะพันคอ มีธรรมเลวทรามไม่สำรวมแล้ว, ภิกษุผู้เลวทรามเหล่านั้นย่อมเข้าถึงซึ่งนรก เพราะกรรมทั้งหลายที่เลวทราม. บทว่า กาสาวกณฺฐา ได้แก่ ผู้มีคอที่พันด้วยผ้ากาสาวะ. มีคำอธิบายว่า คุณเครื่องเป็นสมณะ คือพระอรหัตผล ย่อมไม่มีแก่บุคคลเหล่าใด, บุคคลเหล่านั้นมีแต่การทรงไว้ซึ่งธงชัยแห่งพระอริยะเพียงนี้เท่านั้น. คำว่า ผู้มีผ้ากาสาวะพันคอ นี้เป็นชื่อแห่งบรรพชิตผู้ทุศีล ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้อย่างนี้ว่า ดูก่อนอานนท์! ก็แลโคตรภูสงฆ์ทั้งหลายผู้มีผ้ากาสาวะพันคอ จักมีในกาลอนาคต. บทว่า ปาปธมฺมา ได้แก่ ผู้มีธรรมลามก. บทว่า อสญฺญตา ได้แก่ ผู้ไม่สำรวมทางกายเป็นต้น. บทว่า ปาปา ได้แก่ บุคคลลามก. สองบทว่า ปาเปหิ กมฺเมหิ ความว่า เพราะกรรมที่เลวทรามทั้งหลายมีการล่อลวงผู้อื่นเป็นต้นเหล่านั้น อันตนทำแล้ว เพราะไม่เห็นโทษในเวลากระทำ. บาทคาถาว่า นิรยนฺเต อุปปชฺชเร ความว่า ภิกษุผู้เลวทรามเหล่านั้นย่อมเข้าถึงทุคติ ที่หมดความแช่มชื่น. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสพระคาถาว่า เสยฺ พึงทราบเนื้อความแห่งพระคาถานั้นว่า ถ้าบุคคลผู้ทุศีล ไม่สำรวมตั้งอยู่ในอิจฉาจาร เป็นผู้ลวงโลกด้วยกิริยาหลอกลวงนี้ พึงบริโภคคือพึงกลืนกินก้อนเหล็กแดงดังเปลวไฟ, การที่ผู้ทุศีลพึงฉันก้อนข้าวของชาวแว่นแคว้นนี้ ๑ การที่บุคคลพึงกินก้อนเหล็กแดงนี้ ๑ ใน ๒ อย่างนั้น ก้อนเหล็กเทียวอันภิกษุนั้นบริโภคแล้ว พึงเป็นของประเสริฐกว่า คือ ดีกว่าและประณีตกว่า; เพราะว่า ภิกษุนั้นจะไม่เสวยทุกข์ซึ่งมีการกำหนดรู้ได้ยาก แม้ด้วยสัพพัญญุตญาณ ในสมปรายภพ เพราะบริโภคก้อนเหล็กแดง, แต่จะได้เสวยทุกข์มีประการดังกล่าวแล้วในสัมปรายภพ เพราะเธอบริโภคก้อนข้าวของชาวแว่นแคว้น ซึ่งตนได้มาแล้วด้วยอาการอย่างนั้น. จริงอยู่ อาชีพนี้จัดเป็นมิจฉาชีพขั้นสุดยอด. .. อรรถกถา จตุตถปาราชิกสิกขาบท เรื่องภิกษุพวกฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทา จบ. |