บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
คือเมื่อภิกษุมีความพร้อมเพรียงด้วยปฏิเสวนจิตก็เป็นอาบัติ นอกนี้ไม่เป็นอาบัติ จึงตรัสพระดำรัสว่า ภิกฺขุปจฺจตฺถิกา มนุสฺสิตฺถึ เป็นต้น. ในคำว่า ปจฺจตฺถิกา เป็นต้นนั้น มีวินิจฉัยดังนี้ :- เหล่าชนผู้ชื่อว่าเป็นข้าศึก เพราะอรรถว่าต้องการ คือปรารถนาเป็นปฏิปักษ์. ข้าศึกทั้งหลายคือพวกภิกษุ ชื่อว่า ภิกฺขุปจฺจตฺถิกา (ภิกษุผู้เป็นข้าศึก). คำว่า ภิกขุปัจจัตถิกา นั่นเป็นชื่อของพวกภิกษุผู้ก่อเวร ซึ่งเป็นวิสภาคกัน. หลายบทว่า มนุสฺสิตฺถึ ภิกฺขุโน สนฺติเก อาเนตฺวา ความว่า พวกภิกษุผู้มีความริษยาปรารถนาจะทำให้ภิกษุนั้นฉิบหาย เอาอามิสหลอกล่อ หรือพูดด้วยอำนาจมิตร หลายบทว่า วจฺจมคฺเคน องฺคชาตํ อภินิสีเทนฺติ ความว่า จับภิกษุรูปนั้นที่มีอวัยวะมีมือเท้าและศีรษะเป็นต้นอย่างมั่น คือให้ดิ้นรนไม่ได้ แล้วให้นั่งคร่อม คือให้ประกอบองคชาติของภิกษุรูปนั้น ด้วยวัจจมรรคของหญิง. ในคำว่า โส เจ เป็นต้น มีวินิจฉัยดังนี้ :- ถ้าภิกษุรูปนั้นยินดีคือยอมรับการสอดองคชาตของตนเข้าไปในร่วมในแห่งวัจจมรรค (ของหญิง) คือเธอให้เสวนจิตปรากฏขึ้นในขณะนั้น ยินดีคือยอมรับการเข้าไปแล้ว, ในเวลาที่เข้าไปแล้ว เธอก็ให้เสวนจิตปรากฎขึ้นทั้งยินดี คือยอมรับการหยุดอยู่, ในเวลาที่องคชาตถึงที่เธอก็ให้เสวนจิตปรากฏขึ้นในเวลาที่หลั่งน้ำสุกกะ ทั้งยินดี คือยอมรับการถอนออก, ในเวลาที่ชักออก เธอก็ให้ปฏิเสวนจิตปรากฏขึ้น. ภิกษุเมื่อยินดีในฐานะ ๔ อย่างดังอธิบายมาแล้วนี้ ย่อมไม่ได้เพื่อจะพูด (แก้ตัว) ว่า อันสมณะผู้ก่อเวรทั้งหลายทำกรรมนี้แก่เราแล้ว, ย่อมต้องอาบัติปาราชิกทีเดียว. เหมือนอย่างว่า ภิกษุเมื่อยินดีฐานะทั้ง ๔ เหล่านี้ย่อมต้องอาบัติ ฉันใด, เธอไม่ยินดีฐานะข้อหนึ่งซึ่งเป็นข้อแรกแต่ยินดี ๓ ฐานะอยู่ก็ดี ไม่ยินดี ๒ ฐานะแต่ยินดี ๒ ฐานะอยู่ก็ดี ไม่ยินดี ๓ ฐานะแต่ยินดีฐานะเดียวอยู่ก็ดี ย่อมต้องอาบัติเหมือนกัน ฉันนั้น. ส่วนภิกษุเมื่อไม่ยินดีโดยประการทั้งปวง สำคัญองคชาตเหมือนเข้าไป จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงรักษาบุคคลผู้เจริญวิปัสสนาเห็นปานนี้ๆ ไม่มีความห่วงใยในกายและชีวิต เล็งเห็นอายตนะทั้งปวงดุจถูกไฟ ๑๑ อย่างให้ลุกโชนทั่วแล้ว ทั้งเล็งเห็นเบญจกามคุณเป็นเหมือนเพชฌฆาตผู้เงื้อดาบขึ้นแล้วฉะนั้น และเมื่อจะทรงทำการกำจัดมโนรถแห่งพวกที่เป็นข้าศึกของบุคคลผู้ไม่ยินดีนั้น จึงทรงนำ ____________________________ ๑- วิ. มหา. เล่ม ๑/ข้อ ๔๐/หน้า ๕๔. จบกถาว่าด้วยจตุกกะแรก [กถาว่าด้วยจตุกกะ ๒๖๙ ที่เหลือ] อธิบายว่า นำหญิงผู้ส่งใจไปในอารมณ์อื่น คือผู้ฟุ้งซ่านมา, บางพวกนำหญิงผู้ตายแล้วที่สัตว์ยังมิได้กัดกินมา. อธิบายว่า นำหญิงผู้ตายซึ่งมีนิมิต อันสัตว์ทั้งหลายมีสุนัขจิ้งจอกเป็นต้นยังมิได้กัดกินมา, บางพวกนำหญิงผู้ตายแล้วที่สัตว์ยังมิได้กัดกินโดยมากมา, หญิงตายที่ชื่อว่าสัตว์ยังมิได้กัดกินโดยมาก คือที่วัจจมรรคก็ดี ปัสสาวมรรคก็ดี ปากก็ดี อันเป็นนิมิต มีโอกาสที่สัตว์ยังมิได้กัดกินมากกว่า. บางพวกนำหญิงผู้ตายที่สัตว์กัดกินแล้วโดยมากมา, หญิงตายที่ชื่อว่าสัตว์กัดกินแล้วโดยมาก คืออวัยวะที่นิมิตมีวัจจมรรคเป็นต้นถูกสัตว์กัดกินเป็นส่วนมาก ที่ยังมิได้กัดกินมีน้อย และจะนำมาแต่หญิงมนุษย์อย่างเดียวเท่านั้นหามิได้ โดยที่แท้ นำหญิงอมนุษย์บ้าง สัตว์ดิรัจฉานตัวเมียบ้างมา, ทั้งจะนำมาเฉพาะหญิงมีประการดังกล่าวแล้ว อย่างเดียวหามิได้, นำอุภโตพยัญชนกบ้าง บัณเฑาะก์บ้าง ผู้ชายบ้างมา, จึงตรัสคำเป็นต้นว่า ภิกษุผู้เป็นข้าศึกนำหญิงมนุษย์ผู้ตื่นอยู่มา.๑- ____________________________ ๑- วิ. มหา. เล่ม ๑/ข้อ ๔๑/หน้า ๕๗. [มรรคของมนุษย์ผู้หญิงมี ๒๗ จตุกกะ] ด้วยอำนาจมรรคทั้ง ๓ ของมนุษย์ผู้หญิงมี ๒๗ จตุกกะ คือสุทธิจตุกกะ (จตุกกะว่าด้วยมรรคล้วนๆ) ๓, ชาครันตีจตุกกะ (จตุกกะว่าด้วยหญิงผู้ตื่นอยู่) ๓, สุตตจตุกกะ (จตุกกะว่าด้วยหญิงผู้หลับ) ๓, มัตตจตุกกะ (จตุกกะว่าด้วยหญิงผู้เมา) ๓, อุมมัตตจตุกกะ (จตุกกะว่าด้วยหญิงบ้า) ๓, ปมัตตจตุกกะ (จตุกกะว่าด้วยหญิงผู้ประมาท) ๓, มตอักขยิตจตุกกะ (จตุกกะว่าด้วยหญิงตายที่สัตว์ยังมิได้กัดกิน) ๓, เยภุยเยนอักขยิตจตุกกะ (จตุกกะว่าด้วยนิมิตที่สัตว์ยังมิได้กัดกินโดยมาก) ๓, เยภุยเยนขยิตจตุกกะ (จตุกกะว่าด้วยนิมิตที่สัตว์กัดกินโดยมาก) ๓. ด้วยอำนาจมรรคทั้ง ๓ ของอมนุษย์ผู้หญิงก็มี ๒๗ จตุกกะเหมือนกัน, ของสัตว์ดิรัจฉานตัวเมียก็มี ๒๗ จตุก ส่วนในปัณฑกปุริสวาระ ด้วยอำนาจมรรคทั้ง ๒ จึงมีจตุก ก็ทุกๆ วาระ บรรดาฐานะเหล่านั้น ในฐานะนี้ว่า หญิงตายที่สัตว์ยังมิได้กัดกินโดยมาก และที่สัตว์กัดกินแล้วโดยมาก มีวินิจฉัยดังนี้:- [เรื่องพระวินัยธร ๒ รูป] คราวนั้น พระมหาปทุมเถระกล่าวว่า พระวินัยธรผู้ละทิ้งอาจารย์ซึ่งยังมีชีวิตทีเดียว สำคัญข้อที่ตนพึงพักอยู่ในที่อื่น นี้เป็นผู้กล้าจริงหนอ! เมื่ออาจารย์ยังมีชีวิต เธอถึงเรียนเอาพระวินัยปิฎก และอรรถกถาหลายครั้งแล้วก็ตาม ก็ไม่ควรสลัดทิ้งเสีย ควรฟังเป็นนิตยกาล ควรสาธยายทุกกึ่งปี. ในกาลแห่งภิกษุทั้งหลายผู้หนักในพระวินัยอย่างนั้น วันหนึ่ง พระอุปติสสเถระนั่งพรรณนาบาลีประเทศนี้ในปฐมปาราชิกสิกขาบทแก่เหล่าอันเต [เรื่องอันเตวาสิกถามปัญหาวินัยพระเถระ] พระเถระกล่าวว่า อาวุโส ธรรมดาว่าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย เมื่อจะทรงบัญญัติปาราชิก หาทรงบัญญัติให้มีส่วนเหลือไว้ไม่ ทรงรวบเอาเขตปาราชิกทั้งหมดไม่ให้มีส่วนเหลือเลย ทรงตัดช่องทางแล้วบัญญัติปาราชิกในวัตถุแห่งปาราชิกทีเดียว. จริงอยู่ สิกขาบทนี้ เป็นโลกวัชชะ ไม่ใช่เป็นปัณณัตติวัชชะ เพราะเหตุนั้น ถ้าว่า ในเพราะซากศพที่สัตว์กัดกินกึ่งหนึ่ง พึงเป็นปาราชิกไซร้, พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็พึงทรงบัญญัติปาราชิกไว้, แต่ในเพราะซากศพที่สัตว์กัดกินกึ่งหนึ่งนี้ ฉายาปาราชิก ย่อมไม่ปรากฏ ปรากฏเฉพาะแต่ถุลลัจจัยเท่านั้น. อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงบัญญัติปาราชิกไว้ในเพราะสรีระที่ตายแล้ว ก็ทรงตั้งปาราชิกไว้ในเพราะซากศพที่สัตว์ยังมิได้กัดกินโดยมาก, ต่อจากซากศพที่สัตว์ยังมิได้กัดกินโดยมากนั้นไป ทรงบัญญัติถุลลัจจัย เพื่อแสดงว่า ไม่มีปาราชิก จึงทรงตั้งถุลลัจจัยไว้ในเพราะซากศพที่สัตว์กัดกินแล้วโดยมาก, ถัดจากซากศพที่สัตว์กัดกินแล้วโดยมากนั้นไป พึงทราบว่า เพื่อแสดงว่า ไม่มีถุลลัจจัย. ก็ขึ้นชื่อว่า ซากศพที่สัตว์กัดกินและยังมิได้กัดกินนั้น ควรเข้าใจ เฉพาะในสรีระที่ตายแล้วเท่านั้น ไม่ควรเข้าใจในสรีระที่ยังเป็นอยู่. เพราะว่า ในสรีระที่ยังเป็นอยู่ เมื่อเนื้อหรือเอ็น แม้มีประมาณเท่าหลังเล็บยังมีอยู่ ย่อมเป็นปาราชิกทีเดียว. แม้หากว่า นิมิตถูกสัตว์กัดกินแล้วโดยประการทั้งปวง ผิวหนังไม่มี, แต่สัณฐานนิมิต ยังปรากฏอยู่, สำเร็จการสอด (องคชาต) เข้าไป, เป็นปาราชิกเหมือนกัน. ก็เมื่อสัปเหร่อตัดที่นิมิตทั้งหมดออกไม่ให้มีสัณฐานนิมิตเหลือเลย ถากเถือชำแหละออกโดยรอบ ย่อมเป็นถุลลัจจัย ด้วยอำนาจสังเขปว่าเป็นแผล. เมื่อภิกษุพยายามที่ชิ้นเนื้อ ซึ่งตกไปจากนิมิตนั้น เป็นทุกกฏ. ส่วนในสรีระที่ตายแล้ว หากว่าสรีระทั้งหมด ถูกสัตว์กัดกินแล้วบ้าง, ยังมิได้กัดกินบ้าง, แต่มรรคทั้ง ๓ สัตว์ยังมิได้กัดกิน, เมื่อภิกษุพยายามในมรรคทั้ง ๓ นั้น ย่อมเป็นปาราชิก. ในเพราะสรีระที่สัตว์ยังมิได้กัดกินโดยมากเป็นปาราชิกทีเดียว, ในเพราะสรีระที่สัตว์กัดกินกึ่งหนึ่งและที่กัดกินแล้วโดยมาก เป็นถุลลัจจัย. เมื่อภิกษุสอดองคชาตเข้าไปที่ตา จมูก ช่องหู หัวไส้และฝักองคชาต หรือที่บาดแผลซึ่งถูกฟันด้วยศัสตราเป็นต้น ในสรีระที่ยังเป็นอยู่ของมนุษย์ทั้งหลาย ด้วยความกำหนัดในเมถุน แม้เพียงเมล็ดงาเดียว ก็เป็นถุลลัจจัยเหมือนกัน. เมื่อสอดเข้าไปในอวัยวะทั้งหลายมีรักแร้ เป็นต้นในสรีระที่เหลือ เป็นทุกกฏ. เมื่อสอดเข้าไปในซากศพที่สรีระยังสดอยู่ ในเขตแห่งปาราชิก เป็นปาราชิก, ในเขตแห่งถุลลัจจัย เป็นถุลลัจจัย, ในเขตแห่งทุกกฎ เป็นทุกกฎ. แต่ในกาลใด สรีระเป็นของขึ้นพอง สุกปลั่ง มีแมลงวันหัวเขียวไต่ตอม มีหมู่หนอนคลาคล่ำ ใครๆ ไม่อาจแม้จะเข้าไปใกล้ได้ เพราะเป็นซากศพที่มีหนองไหลออกทั่วไปจากปากแผลทั้ง ๙ แห่ง, ในกาลนั้น วัตถุแห่งปาราชิกและวัตถุแห่งถุลลัจจัย ย่อมละไป, เมื่อภิกษุพยายามในสรีระเช่นนั้นแห่งใดแห่งหนึ่ง เป็นทุกกฏอย่างเดียว. เมื่อพยายามในจมูกของสัตว์ดิรัจฉานทั้งหลาย (ที่ตายแล้ว) มีช้าง ม้า โค แพะ อูฐและกระบือเป็นต้น เป็นถุลลัจจัย. เมื่อพยายามในหัวไส้และฝัก องคชาตเป็นถุลลัจจัยเหมือนกัน. เมื่อพยายามในตา หู และบาดแผลของสัตว์ดิรัจฉานแม้ทั้งหมด (ที่ตายแล้ว) เป็นทุกกฏ, แม้ในสรีระที่เหลือนี้ ก็เป็นทุกกฎเหมือนกัน. เมื่อพยายามในสรีระที่ยังสดของสัตว์ดิรัจฉานที่ตายแล้ว ในเขตแห่งปาราชิก เป็นปาราชิก, ในเขตแห่งถุลลัจจัย เป็นถุลลัจจัย, ในเขตแห่งทุกกฎ เป็นทุกกฎ. เมื่อพยายามในซากศพที่สุกปลั่ง เป็นทุกกฎ ในที่ทุกแห่งโดยนัยดังกล่าวแล้วในเบื้องต้นนั่นเอง. ภิกษุเมื่อไม่ได้สอดหัวไส้และฝักองคชาตของบุรุษผู้ยังเป็นอยู่เข้าไป ด้วยความกำหนัดในอันเคล้าคลึงกายหรือด้วยความกำหนัดในเมถุน แต่ทำนิมิตถูกต้องที่นิมิต เป็นทุกกฎ. เมื่อไม่ได้สอด (องคชาตของตน) เข้าไปในนิมิตของหญิง ด้วยความกำหนัดในเมถุน แต่ทำนิมิตกับนิมิตถูกต้องกัน เป็นถุลลัจจัย. ส่วนในมหาอรรถกถา ท่านกล่าวว่า ภิกษุถูกต้องนิมิตของหญิงด้วยปาก ด้วยความกำหนัดในเมถุน เป็นถุลลัจจัย. เพราะความไม่แปลกกันแห่งเรื่องที่เกิดขึ้นนี้ว่า ภิกษุฉัพพัคคีย์ จับแม่โคทั้งหลายกำลังข้ามแม่น้ำอจิรวดี ที่เขาบ้าง ที่หูบ้าง ที่คอบ้าง ที่หางบ้าง ขึ้นขี่หลังบ้าง มีจิตกำหนัดถูกต้ององคชาตโคบ้าง๑- ดังนี้ พระผู้มีพระภาคจึงตรัสในจัมมขันธกะว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง องคชาตอันภิกษุมีจิตกำหนัด ไม่พึงถูกต้อง, ภิกษุใดพึงถูกต้อง ภิกษุนั้นต้องอาบัติถุลลัจจัย. บัณฑิตควรเทียบเคียงคำนั้นแม้ทั้งหมดดูแล้ว ถือเอาโดยอาการที่ไม่ผิดเถิด. ก็คำนั้น ไม่ผิดอย่างไร? ไม่ผิดอย่างนี้ คือ :- ได้ยินว่า ในคำที่ท่านกล่าวไว้ในมหาอรรถกถาก่อนว่า ถูกต้องด้วยปาก ด้วยความกำหนัดในเมถุน ปากคือนิมิต ท่านประสงค์ว่า ปาก. ก็เนื้อความนี้แล บัณฑิตพึงทราบว่า เป็นความประสงค์ในมหาอรรถกถานั้น แม้เพราะท่านกล่าวว่า ด้วยความกำหนัดในเมถุน. จริงอยู่ ความพยายามในเมถุน ด้วยปากธรรมดาในนิมิตของหญิงหามีไม่. บัณฑิตพึงทราบสันนิษฐานว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายเอาภิกษุฉัพพัคคีย์ผู้ขี่หลัง (แม่โค) แล้วถูกต้ององคชาตโค ด้วยองคชาต (ของตน) ด้วยความกำหนัดในเมถุน จึงตรัสถุลลัจจัยไว้แม้ในขันธกะ. อันที่จริงเมื่อถูกต้องโดยประสงค์อย่างอื่น เป็นทุกกฎ. ส่วนอาจารย์บางพวกกล่าวไว้ว่า แม้ในขันธกะ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายเอาการถูกต้องด้วยปากธรรมดา จึงตรัสว่า เป็นถุลลัจจัย เพราะความเป็นกรรมที่หยาบ, แม้ในอรรถกถา ท่านก็ถือพระสูตรที่ตรัสหมายถึงกรรมหยาบนั้นแล จึงกล่าวว่า ภิกษุถูกต้องด้วยปากธรรมดา ด้วยความกำหนัดในเมถุน เป็นถุลลัจจัย ดังนี้. เพราะเหตุนั้น ในคำวินิจฉัยทั้งสองควรกำหนดให้ดีแล้วเชื่อถือแต่คำวินิจฉัยที่ถูกต้องกว่า. แต่นักปราชญ์ทั้งหลายผู้รู้พระวินัย ย่อมสรรเสริญคำวินิจฉัยข้อแรก. ก็เมื่อภิกษุผู้ถูกต้องนิมิตของหญิงด้วยปากธรรมดาก็ดี ด้วยปากคือนิมิตก็ดี ด้วยความกำหนัดในอันเคล้าคลึงกาย เป็นสังฆาทิเสส. เมื่อถูกต้องปัสสาวมรรคของสัตว์ดิรัจฉานตัวเมีย ด้วยปากคือนิมิตเป็นถุลลัจจัย โดยนัยดังที่กล่าวแล้วนั่นแล เมื่อถูกต้องด้วยความกำหนัดในอันเคล้าคลึงกาย เป็นทุกกฎ ฉะนี้แล. ____________________________ ๑- วิ. มหา. เล่ม ๕/ข้อ ๑๓/หน้า ๒๓-๒๔. จบกถาว่าด้วยจตุกกะ ๒๖๙ จตุกกะที่เหลือ. กถาว่าด้วยองคชาตมีเครื่องลาดและไม่มี บาปภิกษุเหล่านั้นจักไม่มีที่พึ่งในศาสนาอย่างนี้ ดังนี้แล้ว เมื่อจะทรงแยกแสดง บรรดาจตุกกะ ๒๗๐ จตุกกะเหล่านั้น แต่ละจตุกกะ โดยความต่างแห่งองคชาตที่ลาดแล้วเป็นต้น ๔ อย่าง จึงตรัสคำว่า พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงมาในสำนักของภิกษุ แล้วให้นั่งทับองคชาตด้วยวัจจมรรค ปัสสาวมรรค มุขมรรคของหญิงที่มีเครื่องลาด ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ดังนี้เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น ในสองบทเป็นต้นว่า สนฺถตาย อสนฺถตสฺส พึงทราบโยชนาโดยนัยนี้ว่า ให้นั่งทับองคชาตของภิกษุที่ไม่มีเครื่องลาด ด้วยวัจจมรรค ปัสสาวมรรค มุขมรรค ของหญิงที่มีเครื่องลาด. บรรดามรรคทั้ง ๓ มรรคใดมรรคหนึ่งของหญิง ที่ชื่อว่ามีเครื่องลาด ในบรรดามรรคที่มีเครื่องลาดและไม่มีเครื่องลาดเหล่านั้น ได้แก่มรรคที่เขาเอาผ้าหรือใบไม้ เปลือกปอหรือหนัง หรือแผ่นดีบุกและสังกะสีเป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่ง พันหรือสอดเข้าไปสวมไว้ในภายใน. องคชาตของชายที่ชื่อว่ามีเครื่องลาดนั้น ได้แก่ องคชาตที่เขาเอาบรรดาวัตถุอย่างใดอย่างหนึ่งมีผ้าเป็นต้นเหล่านั้นนั่นเองมาสวมไว้. ในมรรคทั้ง ๓ เหล่านั้น อนุปาทินนกะ (คือกายินทรีย์ที่ไม่มีใจครอง) กับอุปาทินนกะ (คือกายินทรีย์ที่มีใจครอง) จะกระทบกันก็ตาม อุปาทินนกะกับอนุปาทินนกะจะกระทบกันก็ตาม อนุปาทินนกะกับอนุปาทินนกะจะกระทบกันเองก็ตาม อุปาทินนกะกับอุปาทินนกะจะกระทบกันเองก็ตาม ถ้าองคชาตเข้าไปตลอดประเทศที่พระอาจารย์ทั้งหลายกล่าวว่า เมื่อองคชาตเข้าไปแล้ว เป็นปาราชิก ดังนี้ไซร้ เมื่อภิกษุยินดีในทุกๆ มรรค ในเขตแห่งปาราชิกเป็นปาราชิก ในเขตแห่งถุลลัจจัยเป็นถุลลัจจัย ในเขตแห่งทุกกฎเป็นทุกกฎทีเดียว. ถ้านิมิตหญิงเขาสวมปลอกกันไว้ เมื่อภิกษุกระทบปลอก เป็นทุกกฎ. ถ้านิมิตของชายเขาสวมปลอกกันไว้ เมื่อภิกษุสอดปลอกเข้าไปเป็นทุกกฎ. ถ้านิมิตทั้งสองเขาสวมปลอกกันไว้ เมื่อภิกษุกระทบปลอกกับปลอก เป็นทุกกฎ. ถ้าเขาเอาบรรดาวัตถุมีปล้องไม้ไผ่และไม้อ้อเป็นต้นไรๆ สวมไว้ในนิมิตของหญิง แม้หากภิกษุสอด (องค์กำเนิด) เข้าไปถูกส่วนภายใต้แห่งวัตถุที่สวมไว้นั้น เพียงเท่าเมล็ดงาเดียว เป็นปาราชิก. หากสอดเข้าไปถูกส่วนเบื้องบนก็ดี ถูกข้างๆ หนึ่งบรรดาข้างทั้งสองก็ดี เป็นปาราชิก. เมื่อสอดเข้าไปไม่ให้ถูก ข้างทั้ง ๔ แม้หากถูกพื้นภายในแห่งไม้ไผ่และไม้อ้อเป็นต้นนั้น ก็เป็นปาราชิก. ก็ถ้าว่าสอดเข้าไปไม่ให้ถูกที่ข้างหรือที่พื้น ให้เชิดไปในอากาศอย่างเดียวแล้วชักออก เป็นทุกกฎ ถูกต้องปลอกในภายนอก เป็นทุกกฎเหมือนกัน. บัณฑิตพึงทราบลักษณะในทุกๆ มรรคมีวัจจมรรคเป็นต้น เหมือนอย่างที่ท่านกล่าวไว้ในนิมิตหญิงฉะนั้นแล. พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสประเภทแห่งสันถตจตุกกะอย่างนั้นแล้ว บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงประเภทนั้น (ซ้ำอีก) เพราะเหตุที่พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก หาใช่จะนำชนมีมนุษย์ผู้หญิงเป็นต้นมาในสำนักของภิกษุอย่างเดียวไม่ โดยที่แท้ ยังนำแม้ภิกษุมาในสำนักของมนุษย์ผู้หญิงเป็นต้นเหล่านั้น จึงทรงนำจตุกกะเหล่านั้นทั้งหมดมาแสดงซ้ำอีก โดยนัยมีอาทิว่า พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึกนำภิกษุมาในสำนักของมนุษย์ผู้หญิง ดังนี้. ในจตุกกะเหล่านั้น บัณฑิตพึงทราบวินิจฉัยโดยนัยดังที่กล่าวมาแล้วนั่นเทียวแล. จบการพรรณนาความต่างแห่งจตุกกะ ด้วยอำนาจภิกษุผู้เป็นข้าศึก [เรื่องพระราชาและโจรผู้เป็นข้าศึกต่อภิกษุเป็นต้น] ในคำว่า ราชปจฺจตฺถิกา เป็นต้นนั้นมีวินิจฉัยดังนี้ :- ข้าศึกทั้งหลาย คือพระราชา ชื่อว่าราชปัจจัตถิกา (พระราชาผู้เป็นข้าศึก) ก็พระราชาเหล่านั้นทรงนำมาเองบ้าง ให้คนเหล่าอื่นนำมาบ้าง (ซึ่งมนุษย์ผู้หญิงเป็นต้น) พึงทราบว่า ทรงนำมาทั้งนั้น. ข้าศึกทั้งหลาย คือโจร ชื่อว่า โจรปัจจัตถิกา (โจรผู้เป็นข้าศึก). ชนชาวเมืองและบุรุษผู้ทำการหลอกลวง ซึ่งขวนขวายในการเล่นเนื่องด้วยเมถุนก็ดี นักเลงหญิงและนักเลงสุราเป็นต้นก็ดี ชื่อว่านักเลง. ข้าศึกทั้งหลาย คือนักเลงชื่อว่า ธุตตปัจจัตถิกา (นักเลงผู้เป็นข้าศึก). หทัย ท่านเรียกว่า คันธะ.๑- พวกข้าศึกที่ชื่อว่า อุปปลคันธะ เพราะอรรถว่า ชำแหละหทัยนั้น. ข้าศึกทั้งหลาย คือผู้ตัดหัวใจ ชื่อว่า อุปปลคันธปัจจัตถิกา. ____________________________ ๑- ฟุตโน้ต ปฐมปาราชิกวณฺณนา หน้า ๓๒๑ ว่า อุปฺปลนฺติ วุจฺจติ หทยํ หทัยเรียกว่า อุบล. [ข้าศึกสังหารภิกษุเซ่นไหว้เทวดาเพื่อสำเร็จการงาน] เขาเหล่านั้นจับเอาภิกษุผู้มีศีลแล้ว ได้สำนึกอยู่ว่า ชื่อว่าการฆ่าผู้มีศีล ย่อมเป็นของหนัก เพื่อจะทำลายศีลของภิกษุนั้นให้พินาศไป จึงนำมนุษย์ผู้หญิงเป็นต้นมา หรือนำภิกษุนั้นไปในสำนักของมนุษย์ผู้หญิงเป็นต้นนั้น. ในเรื่องว่าด้วยพระราชาผู้เป็นข้าศึกเป็นต้นนี้ มีความแปลกกันเท่านี้. เรื่องที่เหลือพึงทราบโดยนัยดังที่กล่าวแล้วนั่นแหละ. และพึงทราบจตุกกะทั้งหลายในวาระแม้ทั้ง ๔ เหล่านี้ โดยนัยดังที่กล่าวแล้วในภิกขุปัจจัตถิกาวาระนั่นเอง. แต่ในพระบาลี พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้วโดยย่อ. จบกถาว่าด้วยประเภทแห่งจตุกกะโดยอาการทั้งปวง. [เรื่องภิกษุเสพเมถุนธรรมทางมรรคและมิใช่มรรค] บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า มคฺเคน มคฺคํ ความว่า ภิกษุสอดองคชาตของตนเข้าไปทางบรรดามรรคทั้ง ๓ ของหญิงมรรคใดมรรคหนึ่ง. อีกอย่างหนึ่ง บรรดามรรคทั้ง ๒ ที่ระคนกัน ภิกษุสอดวัจจมรรคเข้าไปทางปัสสาวมรรค หรือสอดปัสสาวมรรคเข้าไปทางวัจจมรรค. สองบทว่า มคฺเคน อมคฺคํ ความว่า ครั้นสอดเข้าไปทางปัสสาวมรรคเป็นต้นแล้ว จึงชักออกมาทางบาดแผล โดยรอบแห่งมรรคนั้น. สองบทว่า อมคฺเคน มคฺคํ ความว่า ครั้นสอดเข้าไปทางบาดแผลโดยรอบแล้ว จึงชักออกทางมรรค. สองบทว่า อมคฺเคน อมคฺคํ บรรดาบาดแผลทั้ง ๒ ที่ระคนกัน ครั้นสอดเข้าไปทางบาดแผลที่หนึ่งแล้ว จึงชักออกทางบาดแผลที่สอง. ในการกำหนดว่าเป็นบาดแผล พึงทราบว่า เป็นถุลลัจจัยในที่ทุกแห่งด้วยอำนาจอนุโลมตามพระสูตรนี้. [ภิกษุเสพเมถุนธรรมในทวารของภิกษุหลับไม่พ้นอาบัติ] พระอุบาลีเถระจึงกล่าวคำว่า ภิกฺขุ สุตฺตภิกฺขุมฺหิ เป็นต้น. ในคำว่า ภิกฺขุ เป็นต้นนั้น มีอธิบายดังต่อไปนี้ :- ภิกษุรูปใดตื่นขึ้นแล้วยินดี ภิกษุรูปนั้นพูดว่า เธอรูปนี้ ปฏิบัติผิดในข้าพเจ้าผู้หลับ ข้าพเจ้าไม่รู้สึกตัว ย่อมไม่พ้น (จากอาบัติ). ก็ในสองบทว่า อุโภ นาเสตพฺพา นี้ ความว่า พระวินัยธรพึงให้นาสนะเสียแม้ทั้ง ๒ รูปด้วยลิงคนาสนะ. บรรดาผู้ประทุษร้ายและผู้ถูกประทุษร้ายทั้ง ๒ รูปนั้น ผู้ประทุษร้ายไม่มีการทำปฏิญญา แต่ผู้ถูกประทุษร้าย พระวินัยธรสอบถามแล้ว พึงให้นาสนะเสียด้วยคำปฏิญญา ถ้าเธอไม่ยินดี ไม่ควรให้นาสนะ. แม้ในวาระสามเณร ก็นัยนี้. [ภิกษุผู้ถูกปฏิบัติผิดไม่รู้ ไม่ยินดีไม่เป็นอาบัติ] ในคำว่า อชานนฺตสฺส เป็นต้นนั้น มีวินิจฉัยดังนี้ :- ภิกษุรูปที่ชื่อว่าผู้ไม่รู้สึกตัวนั้น ได้แก่ ผู้ที่หยั่งลงสู่ความหลับอย่างมาก ย่อมไม่รู้สึก แม้ความพยายามที่คนอื่นทำแล้ว ภิกษุเห็นปานนั้น ไม่เป็นอาบัติเหมือนภิกษุ ผู้ไปพักกลางวันในป่ามหาวัน ใกล้เมืองไพศาลีฉะนั้น. สมจริงดังคำที่พระธรรมสังคาหกาจารย์กล่าวไว้ว่า ภิกษุกราบทูลว่า ข้าพระพุทธเจ้าไม่รู้สึกตัว พระพุทธเจ้าข้า พระองค์ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เมื่อภิกษุไม่รู้สึกตัว ไม่เป็นอาบัติ. ภิกษุที่ชื่อว่าไม่ยินดีนั้น ได้แก่ ผู้ที่แม้รู้สึกตัวแล้ว ก็ไม่ยินดี, ภิกษุเห็นปานนั้น ไม่เป็นอาบัติ เหมือนภิกษุผู้รีบลุกขึ้นทันทีในป่ามหาวัน ใกล้เมืองไพศาลีนั้นนั่นเอง ฉะนั้น. สมจริงดังคำที่พระธรรมสังคาหกาจารย์กล่าวไว้ว่า ภิกษุกราบทูลว่า ข้าพระพุทธเจ้าไม่ยินดี พระพุทธเจ้าข้า พระองค์ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เมื่อไม่ยินดี ไม่เป็นอาบัติ. [ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุบ้าและมีจิตฟุ้งซ่าน] จริงอยู่ ดีมี ๒ อย่าง คือ ดีที่มีฝัก ๑ ดีที่ไม่มีฝัก ๑. ดีที่ไม่มีฝัก ซึมซาบไปทั่วสรรพางค์ ดุจโลหิตฉะนั้น. เมื่อดีที่ไม่มีฝักนั้นกำเริบ พวกสัตว์ ย่อมมีสรีระสั่นเทาไป เพราะหิดเปื่อยและหิดตอเป็นต้น. หิดเปื่อยและหิดตอเป็นต้นเหล่านั้น จะหายได้เพราะการทายา. ส่วนดีที่มีฝักตั้งอยู่ในฝักของดี. เมื่อดีที่มีฝักนั้นกำเริบ พวกสัตว์ย่อมเป็นบ้า. ภิกษุผู้มีสัญญาวิปลาส (มีความจำคลาดเคลื่อน) ละทิ้งหิริและโอตตัปปะเสียแล้ว ย่อมเที่ยวประพฤติกรรมที่ไม่สมควร. แม้ย่ำยีสิกขาบททั้งเบาและหนักอยู่ ก็ไม่รู้สึกตัว. ชื่อว่าเป็นผู้แก้ไขไม่ได้ แม้เพราะการเยียวยา, ภิกษุผู้เป็นบ้าเห็นปานนั้น ไม่เป็นอาบัติ. ภิกษุชื่อว่า มีจิตฟุ้งซ่าน ได้แก่ ผู้ปล่อยจิต (ไปตามอารมณ์) ท่านเรียกว่า เป็นบ้าเพราะยักษ์เข้าสิง. ได้ยินว่า พวกยักษ์แสดงอารมณ์ทั้งหลายที่น่ากลัว หรือสอดมือเข้าทางปากแล้ว บีบคั้นหทัยรูป กระทำพวกสัตว์ให้มีความจำคลาดเคลื่อน. ภิกษุผู้มีจิตฟุ้งซ่านเห็นปานนั้นไม่เป็นอาบัติ. ส่วนความแปลกกันแห่งภิกษุผู้เป็นบ้าสองพวกนั้น มีดังต่อไปนี้ :- ภิกษุผู้เป็นบ้าเพราะดี (กำเริบ) จัดว่าเป็นบ้าตลอดกาลเป็นนิตย์ทีเดียว ไม่ได้สัญญาตามปกติ. ผู้เป็นบ้าเพราะยักษ์เข้าสิง ยังกลับได้สัญญาตามปกติในบางครั้งบางคราวบ้าง. แต่ในปฐมปาราชิกสิกขาบทนี้ ผู้เป็นบ้าเพราะดี (กำเริบ) ก็ดี ผู้เป็นบ้าเพราะยักษ์เข้าสิงก็ดี จะยกไว้, ภิกษุรูปใดหลงลืมสติโดยประการทั้งปวง วัตถุอะไรๆ จะเป็นไฟก็ตาม ทองก็ตาม คูถก็ตาม แก่นจันทน์ก็ตาม ก็ไม่รู้จัก ย่อมเที่ยวย่ำเหยียบเป็นเช่นเดียวกันหมด, ภิกษุบ้าเห็นปานนั้น ไม่เป็นอาบัติ แต่เมื่อกลับได้สัญญาขึ้นในบางครั้งบางคราว แล้วทำทั้งที่รู้ เป็นอาบัติทีเดียว. ภิกษุชื่อว่ากระสับกระส่ายเพราะเวทนานั้น ได้แก่ ผู้ที่ทุรนทุรายเพราะทุกข ภิกษุชื่อว่า อาทิกัมมิกะนั้น ได้แก่ผู้เป็นต้นเดิมในกรรมนั้นๆ. ส่วนในปฐมปาราชิกสิกขาบทนี้ พระสุทินนเถระเป็นอาทิกัมมิกะ, พระเถระนั้นไม่เป็นอาบัติ. ภิกษุทั้งหลายที่เหลือมีสมณะผู้เสพเมถุนกับนางลิง และภิกษุชาววัชชีบุตรเป็นต้น เป็นอาบัติทีเดียวฉะนี้แล. พรรณนาบทภาชนีย์จบ. สมุฏฐานที่เกิดแห่งอาบัติมี ๖ อย่าง สมุฏฐาน ๑ กิริยา ๑ สัญญา ๑ สจิตตกะ ๑ โลกวัชชะ ๑ กรรมและกุศลพร้อมด้วยเจตนา ๑. ในปกิณกะเหล่านั้น ที่ชื่อว่าสมุฏฐานนั้น ได้แก่สมุฏฐานแห่งสิกขาบทมี ๖ ด้วยอำนาจประมวลทั้งหมด. สมุฏฐานเหล่านั้นจักมีแจ้งในคัมภีร์บริวาร. แต่เมื่อกล่าวโดยย่อแล้ว ขึ้นชื่อว่าสิกขาบทมีสมุฏฐาน ๖ ก็มี มีสมุฏฐาน ๔ ก็มี มีสมุฏฐาน ๓ ก็มี มีสมุฏฐานอย่างกฐินสิกขาบทก็มี มีสมุฏฐานอย่างเอฬกโลมสิกขาบทก็มี มีสมุฏฐานอย่างธุรนิกเขปสิกขาบทก็มี. แม้ในสิกขาบทนั้นเล่า บางสิกขาบทเกิดเพราะทำ บางสิกขาบทเกิดเพราะไม่ทำ บางสิกขาบทเกิดเพราะทำและไม่ทำ, บางสิกขาบท บางคราวเกิดเพราะทำ บางคราวเกิดเพราะไม่ทำ, บางสิกขาบท บางคราวเกิดเพราะทำ บางคราวเกิดเพราะทั้งทำและไม่ทำ. [อธิบายสิกขาบทที่เป็นสจิตตกะและอจิตตกะ] สิกขาบทที่เป็นอจิตตกะก็มี ที่เป็นสจิตตกะก็มีอีก. สิกขาบทใดต้องพร้อมด้วยจิตเท่านั่น สิกขาบทนั้นเป็นสจิตตกะ. สิกขาบทใดแม้เว้นจากจิตก็ต้อง สิกขาบทนั้นเป็นอจิตตกะ. สิกขาบทนั้นแม้ทั้งหมดเป็น ๒ อย่างคือ เป็นโลกวัชชะ ๑ เป็นปัณณัตติวัชชะ ๑ ลักษณะแห่งสิกขาบทที่เป็นโลกวัชชะและปัณณัตติวัชชะนั้น ได้กล่าวแล้ว. [อธิบายสิกขาบทที่เป็นกายกรรมเป็นต้น] อนึ่ง สิกขาบทที่เป็นกุศลก็มี ที่เป็นอกุศลก็มี ที่เป็นอัพยากฤตก็มี. จริงอยู่ จิตที่ให้เกิดอาบัติมี ๓๒ ดวงเท่านั้น คือ กามาวจรกุศลจิต ๘ อกุศลจิต ๑๒ กามาวจรกิริยาจิต ๑๐ อภิญญาจิต ๒ โดยกุศลและกิริยา. ในจิตเหล่านั้น สิกขา อนึ่ง สิกขาบทมีเวทนา ๓ ก็มี มีเวทนา ๒ ก็มี มีเวทนาเดียวก็มี. ในสิกขาบทเหล่านั้น เมื่อต้องสิกขาบทใด เป็นผู้พร้อมเพรียงด้วยบรรดาเวทนา ๓ อย่างใดอย่างหนึ่ง จึงต้อง, สิกขาบทนั้น พึงทราบว่ามีเวทนา ๓. เมื่อภิกษุจะต้องสิกขาบทใด เป็นผู้พร้อมเพรียงด้วยสุขหรือเป็นผู้พร้อมเพรียงด้วยอุเบกขา จึงต้อง, สิกขาบทนั้น พึงทราบว่ามีเวทนา ๒. เมื่อภิกษุจะต้องสิกขาบทใด เป็นผู้พร้อมเพรียงด้วยทุกขเวทนาเท่านั้น จึงต้อง, สิกขาบทนั้น พึงทราบว่ามีเวทนาเดียว. ครั้นได้ทราบปกิณกะนี้ คือ สมุฏฐาน ๑ กิริยา ๑ สัญญา ๑ สจิตตกะ ๑ โลกวัชชะ ๑ กรรมและกุศลพร้อมด้วยเวทนา ๑ อย่างนี้แล้ว พึงทราบว่า บรรดาปกิณกะมีสมุฏฐานเป็นต้นนั้น สิกขาบทนี้ว่าโดยสมุฏฐานมีสมุฏฐานเดียว, ว่าด้วยอำนาจองค์เกิดด้วยองค์ ๒ คือเกิดเพราะกายกับจิต, และสิกขาบทนี้เกิดเพราะทำ. จริงอยู่ เมื่อทำอยู่เท่านั้น จึงต้องอาบัตินั้น, เป็นสัญญาวิโมกข์ เพราะพ้นด้วยไม่มีกามสัญญา ซึ่งปฏิสังยุตด้วยเมถุน. จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้ไม่รู้สึก ไม่ยินดี, เป็นสจิตตกะ เพราะภิกษุต้องอาบัตินั้นด้วยจิตปฏิสังยุตด้วยเมถุนเท่านั้น เว้นจากจิตไม่ต้อง, เป็นโลกวัชชะ เพราะจะพึงต้องอาบัตินั้นด้วยอำนาจราคะกล้าเท่านั้น, เป็นกายกรรม เพราะเกิดทางกายทวารเท่านั้น. ส่วนจิตสักว่าเป็นองค์ในสิกขาบทนี้ จะจัดเป็นกรรมด้วยอำนาจจิตนั้นไม่ได้, เป็นอกุศลจิต เพราะจะพึงต้องด้วยโลภจิต, มีเวทนา ๒ เพราะว่า ภิกษุมีความพร้อมเพรียงด้วยสุข หรือมีความพร้อมเพรียงด้วยอุเบกขา จึงต้องอาบัตินั้น. ก็แล ปกิณกะทั้งปวงมีสมุฏฐานเป็นต้นนี้ ย่อมสมในอาบัติ. แต่ในอรรถกถาทั้งปวง ท่านยกขึ้นแสดงด้วยหัวข้อสิกขาบท เพราะฉะนั้นจึงต้องกล่าวอย่างนั้น ฉะนี้แล. ------------------------------------------------ .. อรรถกถา ปฐมปาราชิกสิกขาบท บทภาชนีย์ อสันถตภาณวาร - อนาปัตติวาร จบ. |