ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 1 / 1อ่านอรรถกถา 1 / 614อรรถกถา เล่มที่ 1 ข้อ 630อ่านอรรถกถา 1 / 631อ่านอรรถกถา 1 / 657
อรรถกถา เตรสกัณฑ์
บทสรุปสังฆาทิเสส

               [แก้อรรถบทสรูปสังฆาทิเสส]               
               ในคำว่า อุทฺทิฏฺฐา โข ฯเปฯ เอวเมตํ ธารยามิ นี้ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
               ธรรมเหล่านี้มีการต้องแต่แรก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ปฐมาปัตติกะ.
               อธิบายว่า พึงต้องในครั้งแรก คือ ในขณะที่ล่วงละเมิดทีเดียว.
               ส่วนธรรมทั้งหลายนอกนี้ พึงทราบว่าเป็น ยาวตติยกะ ด้วยอรรถว่ามี (เป็นอาบัติ) ในเพราะสมนุภาสนกรรมครั้งที่ ๓ เหมือนโรคไข้เชื่อม (โรคผอม) มี (เป็น) ในวันที่ ๓ และที่ ๔ เขาเรียกว่า โรคที่ ๓ ที่ ๔ ฉะนั้น.
               ข้อว่า ยาวตีหํ ชานํ ปฏิจฺฉาเทติ มีความว่า รู้อยู่ ปกปิดไว้ คือไม่บอกแก่เพื่อนสพรหมจารีทั้งหลายว่า ข้าพเจ้าต้องอาบัติชื่อนี้ สิ้นวันมีประมาณเท่าใด.
               บทว่า ตาวตีหํ ความว่า (ต้องอยู่ปริวาสด้วยความไม่ปรารถนา) สิ้นวันมีประมาณเท่านั้น.
               ข้อว่า อกามา ปริวตฺตพฺพํ มีความว่า ไม่ใช่ด้วยความปรารถนา คือไม่ใช่ด้วยอำนาจ (ของตน), ที่แท้พึงสมาทานปริวาสอยู่ด้วยความไม่ปรารถนา คือ ด้วยมิใช่อำนาจ (ของตน).
               สองบทว่า อุตฺตรึ ฉารตฺตํ คือ สิ้น ๖ ราตรี เพิ่มขึ้นจากปริวาส.
               บทว่า ภิกฺขุมานตฺตาย ได้แก่ เพื่อความนับถือของภิกษุทั้งหลาย.
               มีคำอธิบายว่า เพื่อประโยชน์ให้ภิกษุทั้งหลายยินดี.
               ภิกษุสงฆ์นั้น ชื่อว่า วีสติคณะ เพราะมีคณะนับได้ ๒๐ รูป.
               บทว่า ตตฺถ มีความว่า ในสีมาที่ภิกษุสงฆ์ มีคณะ ๒๐ รูป โดยกำหนดอย่างต่ำกว่าเขาทั้งหมด.
               บทว่า อพฺเภตพฺโพ มีความว่า อันภิกษุสงฆ์พึงอัพภาน คือ พึงรับรอง.
               มีคำอธิบายว่า พึงเรียกเข้าด้วยอำนาจแห่งอัพภานกรรม.
               อีกอย่างหนึ่ง มีใจความว่า สงฆ์พึงเรียกเข้าหมู่.
               บทว่า อนพฺภิโต ได้แก่ เป็นผู้อันสงฆ์ไม่ได้อัพภาน คือไม่ได้รับรอง.
               มีคำอธิบายว่า ยังไม่ได้ทำอัพภานกรรม.
               อีกอย่างหนึ่ง มีใจความว่า สงฆ์ยังไม่ได้เรียกเข้าหมู่.
               บทว่า สามีจิ แปลว่า ตามธรรมดา.
               มีคำอธิบายว่า โอวาทานุสาสนีอันคล้อยตามโลกุตรธรรม เป็นสามีจิ คือเป็นธรรมดา (สามีจิกรรม).
               บทที่เหลือในคำว่า อุทฺทิฏฺฐา โข เป็นต้นนี้ มีนัยดังกล่าวแล้วทั้งนั้นแล.

               เตรสกัณฑวรรณนา ในอรรถกถาพระวินัย               
               ชื่อสมันตปาสาทิกา จบ.               
               ------------------------------------------------------------               
               หัวข้อประจำเรื่อง               
               สังฆาทิเสส ๑๓ สิกขาบท คือ
                         ปล่อยสุกกะ ๑
                         เคล้าคลึงกาย ๑
                         วาจาชั่วหยาบ ๑
                         บำเรอกามของตน ๑
                         ชักสื่อ ๑
                         ทำกุฎี ๑
                         ทำวิหาร ๑
                         โจทด้วยอาบัติปาราชิกไม่มีมูล ๑
                         โจทอ้างเลศบางอย่าง ๑
                         ทำลายสงฆ์ ๑
                         ประพฤติตามภิกษุผู้ทำลายสงฆ์นั่นแหละ ๑
                         ว่ายาก ๑
                         ประทุษร้ายสกุล ๑
               ดังนี้แล.
               ------------------------------------------------------------               

.. อรรถกถา เตรสกัณฑ์ บทสรุปสังฆาทิเสส จบ.
อ่านอรรถกถา 1 / 1อ่านอรรถกถา 1 / 614อรรถกถา เล่มที่ 1 ข้อ 630อ่านอรรถกถา 1 / 631อ่านอรรถกถา 1 / 657
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=1&A=19202&Z=19218
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=2&A=3113
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=2&A=3113
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๘  พฤศจิกายน  พ.ศ.  ๒๕๕๕
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :