![]() |
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
![]() |
![]() | |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ข้าพเจ้าจะขอกล่าวต่อไป :- ในอนิยตสิกขาบทที่ ๒ นั้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :- ในคำว่า ภควตา ปฏิกฺขิตฺตํ เป็นต้น ผู้ศึกษาพึงทราบสัมพันธ์อย่างนี้ว่า ภิกษุรูปเดียวพึงสำเร็จการนั่งใด ในที่ลับคืออาสนะกำบังพอจะทำการได้กับมาตุคามผู้เดียว. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้ามการสำเร็จการนั่งนั้น. จริงอยู่ เมื่อจะถือเอาใจความโดยประการอื่นควรจะตรัสว่า เอกสฺส เอกาย. ถามว่า เพราะเหตุไร? ตอบว่า เพราะท่านกล่าวคำว่า ทรงห้ามแล้ว. อีกอย่างหนึ่ง คำว่า เอโก นี้ พึงทราบว่า เป็นปฐมาวิภัตติลงในอรรถแห่งฉัฏฐีวิภัตติ. [อธิบายว่าด้วยสถานที่ลับทำให้ต้องอาบัติ] คำที่เหลือพึงทราบโดยนัยแห่งสิกขาบทที่ ๑ นั่นแล. ก็ในสิกขาบทนี้มีความแปลกกันเพียงอย่างเดียวนี้ว่า คนรู้เดียงสาผู้หนึ่งผู้ใดเป็นหญิงก็ตาม ชายก็ตาม ไม่เป็นคนตาบอด และหูหนวก ยืนหรือนั่งอยู่ในโอกาสภายใน ๑๒ ศอก มีจิตฟุ้งซ่านไปบ้าง เคลิ้มไปบ้าง ก็คุ้มอาบัติได้. ส่วนคนหูหนวก แม้มีตาดี หรือคนตาบอดแม้หูไม่หนวก ก็คุ้มไม่ได้. และพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงลดอาบัติปาราชิกลงมา ปรับอาบัติเพราะวาจาชั่วหยาบ. คำที่เหลือเป็นเช่นกับสิกขาบทก่อนนั่นแล. แม้ในสิกขาบททั้งสอง ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุบ้า และภิกษุผู้เป็นต้นบัญญัติ. ในสมุฏฐานเป็นต้น สิกขาบทนี้มีสมุฏฐาน ๓ เกิดจากกายกับจิต วาจากับจิต กายวาจากับจิต เป็นกิริยา เป็นสัญญาวิโมกข์ เป็นสจิตตกะ โลกวัชชะ กายกรรม วจีกรรม อกุศลจิต มีเวทนา ๒ โดยเป็นสุขเวทนาและอุเบกขาเวทนา. บทที่เหลือมีอรรถตื้นทั้งนั้นแล. อนิยตวรรณนาในอรรถกถาพระวินัย ชื่อสมันตปาสาทิกา จบ ปฐมสมันตปาสาทิกา วินัยวรรณนา จบ. ------------------------------------------------------------ .. อรรถกถา อนิยตกัณฑ์ อนิยต สิกขาบทที่ ๒ จบ. |