บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
อรรถกถาปายาสิราชัญญสูตร ในปายาสิราชัญญสูตรนั้น พรรณนาตามลำดับบท ดังต่อไปนี้. ประวัติท่านพระกุมารกัสสป คำว่า กุมารกัสสป เป็นชื่อของท่าน. ก็เพราะท่านบวชครั้งยังเป็นเด็กรุ่น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า พวกเธอจงเรียกกัสสปมา จงให้ผลไม้นี้บ้าง ของเคี้ยวนี้บ้างแก่กัสสป ดังนี้ ภิกษุทั้งหลายสงสัยว่า กัสสปองค์ไหน (เพราะพระที่ชื่อกัสสปมีหลายองค์) จึงพากันขนานนามว่า กุมารกัสสป. ตั้งแต่นั้นมา แม้ครั้งท่านแก่เฒ่า ก็ยังเรียกกันว่า กุมารกัสสป อยู่นั่นเอง. อีกนัยหนึ่ง เพราะท่านเป็นบุตรเลี้ยงของพระเจ้าปเสนทิโกศล คนทั้งหลายจึงจำหมายเรียกท่านว่ากุมารกัสสป. จะกล่าวเรื่องของท่านให้แจ่มแจ้ง ตั้งแต่ปุพพประโยค ดังต่อไปนี้. เล่ากันว่า พระเถระ (กุมารกัสสป) เป็นบุตรเศรษฐี ครั้งพระผู้มีพระ นัยว่า ครั้งนั้น เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว พระ บรรดาภิกษุ ๓ รูป ที่เสวยสมบัติในเทวดาและมนุษย์ตลอดพุทธันดรหนึ่งนั้น รูปหนึ่งไปบังเกิดในราชตระกูลในกรุงตักกสิลา เป็นพระราชาพระนามว่า ปุกกุสาติ บวชอุทิศพระผู้มีพระภาคเจ้า มุ่งมายังกรุงราชคฤห์ ได้สดับพระธรรม รูปหนึ่งไปบังเกิดในเรือนของตระกูลที่ท่าเรือชื่อสุปัฏฏนะ ใกล้ทะเลแห่งหนึ่ง โดยสารเรือๆ แตกต้องเอาไม้ทำผ้านุ่ง ได้ลาภสักการะ (ที่คนเขาหลงผิดคิดว่าเป็นพระอรหันต์บูชา) ตัวเองก็เกิดคิดว่าตัวเป็นพระอรหันต์ เทวดาผู้หวังดีต้องเตือนว่า ท่านไม่ใช่พระอรหันต์ดอก จงไปเฝ้าพระศาสดาทูลถามปัญหา ก็กระทำตามเทวดาเตือน ได้บรรลุพระอรหัตตผล. รูปหนึ่งไปเกิดในครรภ์ของกุลสตรีผู้หนึ่ง ณ กรุงราชคฤห์. กุลสตรีผู้นั้นอ้อนวอนมารดาก่อน ก็ไม่ได้บวช จนมีสามี ไม่รู้ตัวว่าตั้งครรภ์ เอาใจสามีๆ ก็อนุญาต จึงบวชเป็นภิกษุณี อยู่ในสำนักภิกษุณี. ภิกษุณีทั้งหลายเห็นนางมีครรภ์ จึงถามพระเทวทัต. พระเทวทัตก็บอกว่า นางไม่เป็นสมณะ. แล้ว (ยังสงสัย) ก็ไปทูลถามพระทศพลเจ้า. พระศาสดารับสั่งให้พระอุบาลีเถระรับเรื่องไปวินิจฉัย. พระเถระเชิญตระกูลชาวกรุงสาวัตถี และนางวิสาขา อุบาสิกาให้ตรวจ (ได้ข้อเท็จจริงแล้ว) จึงวินิจฉัยว่า นางตั้งครรภ์มาก่อน บรรพชาจึงไม่เสีย. พระศาสดาประทานสาธุการรับรองแก่พระเถระว่า อุบาลีวินิจฉัยอธิกรณ์ชอบแล้ว. ภิกษุณีนั้นคลอดบุตร เช่นกับหล่อด้วยแท่งทองคำ. พระเจ้าปเสนทิโกศลโปรดให้รับทารกนั้นมาชุบเลี้ยง. พระราชทานนามว่ากัสสป ต่อมาทรงเลี้ยงกัสสปเติบโตพอแล้ว จึงทรงนำไปฝากไว้ยังสำนักพระศาสดา ให้บรรพชา. คนทั้งหลายจึงจำหมาย เรียกท่านว่ากุมารกัสสป เพราะเป็นบุตรเลี้ยงของพระราชาด้วยประการฉะนี้. วันหนึ่ง ท่านกระทำสมณธรรมอยู่ที่ป่าอันธวัน เทวดาผู้หวังดีจึงให้ท่านเรียนปัญหาแล้ว บอกให้ท่านไปทูลถามปัญหาเหล่านี้กะพระผู้มีพระภาคเจ้า. พระเถระทูลถามปัญหาแล้วก็บรรลุพระอรหัต ตอนจบการวิสัชนาปัญหา. แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงสถาปนาท่านไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นยอดของภิกษุผู้กล่าวธรรมได้วิจิตร. คำว่า เสตพฺยา เป็นชื่อของนครนั้น. คำว่า อุตฺตเรน เสตพฺยํ คือ ทิศด้านเหนือของเสตัพยนคร. คำว่า ราชญฺโญ คือ เจ้าผู้มิได้รับมุรธาภิเษก. คำว่า ทิฎฺฐิคตํ ก็คือ ทิฏฐิ ความเห็นนั่นเอง. เมื่อมีคำที่กล่าวกันว่า คูถคตํ มุตฺตคตํ ดังนี้ ของสิ่งอื่นนอกจากคูถเป็นต้น ย่อมไม่มี ฉันใด ทิฏฐินั่นแล ก็คือทิฏฐิคตะฉันนั้น. คำว่า แม้เพราะเหตุนี้ จึงไม่มี ดังนี้ ความว่า พระยาปายาสิกล่าวว่า ถึงจะอ้างเหตุนั้นๆ อย่างนี้ โลกอื่น ฯลฯ ก็ไม่มี. คำว่า ปุรา ฯเปฯ สญฺญาเปติ ความว่า ยังเข้าใจกันไม่ได้เพียงใด. คำว่า อิเม โภ กสฺสป จนฺทิมสุริยา ความว่า นัยว่า พระยาปายาสินั้นถูกพระเถระถามแล้ว คิดว่า สมณะผู้นี้นำเอาพระจันทร์พระอาทิตย์มาอุปมาก่อน จักเป็นผู้ที่คนอื่นครอบงำไว้ไม่ได้ด้วยปัญญา เช่นเดียวกับพระจันทร์พระอาทิตย์ ก็ถ้าเราจักตอบว่า พระจันทร์พระอาทิตย์มีอยู่ในโลกนี้ สมณะผู้นี้ก็จักทำให้เราตื่นด้วยปัญหากรรมเป็นต้นว่า พระจันทร์พระอาทิตย์เหล่านั้นอาศัยอะไร กว้างยาวเท่าไร สูงเท่าไร เราก็ไม่สามารถจะผูกเธอไว้ได้ จักตอบเธอว่า มีอยู่ในโลกอื่นเท่านั้น เพราะฉะนั้น พระยาปายาสิ ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสุธาโภชนียชาดกมาเมื่อไม่นาน ก่อนปายาสิราชัญญ ด้วยเหตุนั้น พระยาปายาสินั้นคิดว่า เราไม่อาจกล่าวว่า เทพบุตรทั้งหลายที่อยู่ประจำในดวงจันทร์ดวงอาทิตย์นั้นไม่มี จึงกล่าวตอบว่า พระจันทร์พระอาทิตย์นั้นเป็นเทวดา ไม่ใช่มนุษย์ คำว่า อตฺถิ ปน ราชญฺญ ปริยาโย ความว่า พระเถระถามว่า เหตุยังมีอยู่หรือ. คำว่า อาพาธิกา คือ ผู้ประกอบด้วยความเจ็บป่วย กล่าวคือผู้มีเวทนาที่ไม่ถูกกัน. คำว่า ทุกฺขิตา คือ ถึงทุกข์. คำว่า พาฬฺหคิลานา คือ เป็นไข้ มีประมาณยิ่ง. คำว่า สทฺธายิกา ความว่า เราเชื่อพวกท่านๆ เป็นผู้ควรเชื่อ มีวาจาที่เชื่อถือได้ของเรา. คำว่า ปจฺจยิกา ความว่า เราไว้ใจพวกท่านๆ ก็เป็นผู้ที่น่าไว้ใจ น่าเชื่อใจของเรา. คำว่า อุทฺทิสิตฺวา ความว่า แสดงตัวและสิ่งของที่เก็บงำไว้แก่คนเหล่านั้น ให้รับไว้. คำว่า วิปฺปลปนฺตสฺส คือ พร่ำรำพันว่า ลูกชายของเรา ลูกหญิงของเรา ทรัพย์ของเรา. คำว่า นิรยปาเลสุ คือ ผู้ลงโทษสัตว์ในนรก. ก็คนพวกใดกล่าวว่า กรรมนั่นแหละลงโทษ นายนิรยบาลไม่มี คนพวกนั้นก็ค้านเทว คำว่า เวฬุโปสิกาหิ แปลว่า ด้วยซีกไม้ไผ่. คำว่า สุนิมฺมชฺชิตํ ความว่า คูถ เป็นของครูดออกด้วยดีโดยประการใด ก็ครูดออกไปโดยประการนั้น. อธิบายว่า จงครูดออก นำออกไปโดยประการนั้น. คำว่า อสุจิ คือ ไม่น่าพอใจ. คำว่า อสุจิสงฺขาโต คือ ที่เป็นส่วนไม่สะอาด หรือที่รู้กันว่าเป็นของไม่สะอาด. คำว่า ทุคฺคนฺโธ คือ กลิ่นเหม็นเหมือนซากศพ. คำว่า เชคุจฺ คำว่า อุพฺพาธติ ความว่า กลิ่นของพวกมนุษย์ แม้จะเป็นจักรพรรดิเป็นต้น ซึ่งอาบน้ำวันละ ๒ ครั้ง เปลี่ยนผ้าวันละ ๓ ครั้ง ตกแต่งประดับประดาแล้ว ก็ยังคลุ้งไปเหมือนซากศพที่ห้อยคอเทวดาซึ่งอยู่ไกลถึงร้อยโยชน์. คำว่า ตาวตึสานํ ความว่า ท่านกล่าวอีกด้วยอำนาจคนที่สมาทานศีล ๕ มีเว้นปาณาติบาตเป็นต้น ประพฤติอยู่. และกล่าวอธิบายคำว่า แห่งเทวดาชั้นดาวดึงส์ว่า เทวดาผู้เกิดในที่ไกล อย่ามาก่อน เพราะเหตุไร เทวดาเหล่านี้จึงไม่มา. คำว่า ชจฺจนฺธูปโม มญฺเญ ปฏิภาสิ คือ ปรากฏประหนึ่งคนตาบอดแต่กำเนิด. คำว่า อรญฺญฺวนปฎฺฐานิ อธิบายว่า ที่ชื่อว่าอรัญ เพราะประกอบด้วยองคคุณของผู้อยู่ป่า ที่ชื่อว่าแนวป่า เพราะเป็นแนวป่าใหญ่. คำว่า ปนฺตานิ คือ ไกล. คำว่า กลฺยาณธมฺเม คือ มีธรรมอันดี เพราะศีลนั้นนั่นแหละ. คำว่า ทุกฺขปฏิกูเล คือ ผู้ไม่ปรารถนาทุกข์. คำว่า เสยฺโย ภวิสฺสติ อธิบายว่า จักมีสุคติสุข ในโลกอื่น. คำว่า อุปวิชญฺญา คือ เวลาคลอดใกล้เข้ามาแล้ว ครรภ์แก่แล้ว. อธิบายว่า จักคลอดไม่นานเทียว. บทว่า อุปโภคา ภวิสฺสติ คือ จักเป็นนางบำเรอ. บทว่า อนยพฺยสนํ ได้แก่ ทุกข์ใหญ่. สุขชื่อว่า อยะ ไม่ใช่อยะ ชื่อว่าอนยะ คือทุกข์ ทุกข์นั่นนั้นย่อมขับ คือเขี่ยสุขออกไปโดยประการทั้งปวง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อพยสนะ พยสนะ คือทุกข์ ชื่อว่า อนพยสนะ อธิบายว่าทุกข์ใหญ่ด้วยประการฉะนี้. คำว่า อโยนิโส คือ โดยไม่ใช่อุบาย. คำว่า อปกฺกํ น ปริปาเจนฺติ อธิบายว่า เข้าไปตัดอายุที่ยังไม่เปลี่ยน ยังไม่สิ้นให้ขาดในระหว่าง หามิได้. คำว่า ปริปากํ อาคเมนฺติ คือ รอเวลาที่อายุงอม. แม้ท่านพระธรรมเสนาบดีก็กล่าวไว้ว่า
คำว่า รามเณยฺยกํ คือ น่ารื่นรมย์. คำว่า เจลาวิกา คือ เด็กหญิงที่ง่วนด้วยการเล่น. คำว่า โกมาริกา คือ เด็กหญิงวัยรุ่น. คำว่า ตุยฺหํ ชีวํ ความว่า หญิงเหล่านั้นแล เห็นชีวะที่ออกไปที่เข้าไป ขณะ คำว่า ชิยาย ความว่า รัดชีวะไว้ด้วยสายธนู. คำว่า ปตฺถินฺนตโร กระด้าง คือแข็งทื่อ. พระยาปายาสิแสดงอะไรด้วยคำนี้. พระปายาสิแสดงความข้อนี้ว่า ท่านทั้งหลายกล่าวว่า เวลายังเป็นอยู่ สัตว์มีขันธ์ ๕ แต่เวลาตายเหลืออยู่เพียงรูปขันธ์เท่านั้น ขันธ์ ๓ ก็เป็นไปไม่ได้ วิญญาณขันธ์ก็ไป รูปขันธ์ที่ยังเหลือ ควรจะเบา แต่กลับหนัก เพราะฉะนั้น อะไรๆ ไปที่ไหน ไม่มีดังนี้. คำว่า นิพฺพุตํ คือ มีเตโชธาตุอันสงบแล้ว. คำว่า อนุปหจฺจ คือ ไม่ให้เสียหาย. คำว่า อทฺธมโต โหติ คือ เริ่มตายช้าๆ. คำว่า โอธุนาถ แปลว่า ลากมาข้างนี้. คำว่า สนฺธุนาถ แปลว่า ลากไปข้างโน้น. คำว่า นิทฺธุนาถ แปลว่า ลากไปลากมา. คำว่า ตญฺจายตนํ น ปฏิสํเวเทติ ความว่า รูปายตนะนั้นไม่รู้แจ้งด้วยจักษุนั้น. ทุกบทก็นัยนี้. คำว่า สงฺขธโม แปลว่า คนเป่าสังข์. คำว่า อุปฬาสิตฺวา แปลว่า เป่า. คำว่า อคฺคิโก แปลว่า ผู้บำเรอไฟ. คำว่า อาปาเทยฺยํ คือ พึงให้สำเร็จ หรือพึงถึงอายุ. คำว่า โปเสยฺยํ คือ พึงเลี้ยงด้วยโภชนะ เป็นต้น. คำว่า วฑฺเฒยฺยํ คือ พึงถึงความเติบโต. คำว่า อรณีสหิตํ คือ คู่ไม้สีไฟ. คำว่า ติโรราชาโน พระราชาภายนอก ความว่า พระราชาทั้งหลายในภายนอกแคว้น คือในชนบทอื่น ก็รู้. คำว่า อพฺยตฺโต คือ ผู้ไม่มีปัญญากล้า ผู้ไม่ฉลาด. คำว่า โกเปนปิ ความว่า คนเหล่าใด กล่าวกะเราอย่างนี้ ข้าพเจ้าก็จักชัก จักนำ จักพาเขา ซึ่งมีทิฏฐิอย่างนั้นเที่ยวไป ด้วยความโกรธที่เกิดในคนเหล่านั้น. คำว่า มกฺเขน ด้วยมักขะ คือความลบหลู่ ที่มีลักษณะลบหลู่เหตุที่ท่านกล่าวแล้ว. คำว่า ปลาเสน ด้วยปลาสะ คือความตีตนเสมออันมีลักษณะที่ถือว่าเป็นคู่ (เคียง) กับท่าน. คำว่า หรีตกปณฺณํ ในสมอ คือสมอ ชนิดใดชนิดหนึ่ง. อธิบายว่า โดยที่สุด แม้ใบหญ้าอ่อนก็ไม่มี. คำว่า อาสนฺนทฺธกลาปํ คือ ผู้มีแล่งธนูอันผูกสอดไว้แล้ว. คำว่า อาสิตฺโตทกานิ วฏุมานิ คือ หนทางและห้วยละหาร มีน้ำบริบูรณ์. คำว่า โยคฺคานิ คือ ยานเทียมโคงาน. คำว่า พหุนิกฺขนฺตโร ความว่า ออกไปมาก ออกไปนานแล้ว. คำว่า ยถาภเตน ภณฺเฑน ความว่า สิ่งของ คือหญ้าไม้และน้ำอันใดที่พวกท่านบรรทุกมา ก็จงยังหมู่เกวียนให้เป็นไปด้วยสิ่งของที่ท่านนำมา บรรทุกมา พามานั้นเถิด. คำว่า อปฺปสารานิ คือ มีค่าน้อย. คำว่า ปณิยานิ แปลว่า สิ่งของทั้งหลาย. คำว่า มม จ สูกรภตฺตํ ความว่า นี้เป็นอาหารแห่งสุกรทั้งหลายของข้าพเจ้า. คำว่า อุคฺฆรนฺตํ แปลว่า ไหลขึ้น. คำว่า ปคฺฆรนฺตํ แปลว่า ไหลลง. คำว่า ตุมฺเห เขฺวตฺถ ภเณ แปลว่า แน่ะพนาย พวกท่านต่างหาก เป็นบ้าเสียจริต ในเรื่องนี้. อีกอย่างหนึ่ง บาลีก็อย่างนี้เหมือนกัน. คำว่า ตถา หิ ปน เม สูกรภตฺตํ แปลว่า แต่ถึงอย่างนั้น คูถนี้ก็เป็นอาหารแห่ง ประเทศแห่งบ้านที่อยู่ ท่านเรียกคามปัชชะ บาลีว่า คามปท ก็มี. ความก็อย่างนี้เหมือนกัน. คำว่า ห่อป่าน คือ ห่อเปลือกป่าน. คำว่า สุสนฺนทฺโธ แปลว่า ผูกไว้ ดีแล้ว. คำว่า ตฺวํ ปชานาหิ แปลว่า ท่านจงรู้. อธิบายว่า ท่านจงรับไว้ ถ้าท่าน คำว่า โขมํ แปลว่า เปลือกไม้. คำว่า อยสํ แปลว่า เหล็ก (โลหะดำ). คำว่า โลหํ แปลว่า ทองแดง (โลหะแดง). คำว่า สชฺฌุ แปลว่า เงิน. คำว่า สุวณฺณํ แปลว่า ทองมาสก. คำว่า อภินนฺทึสุ แปลว่า ยินดีแล้ว. คำว่า อตฺตมโน แปลว่า มีใจของตน คือมีจิตยินดีแล้ว. คำว่า อภิลทฺโธ แปลว่า เลื่อมใสยิ่งแล้ว. คำว่า ปญฺหปฏิภาณานิ แปลว่า ความปรากฏชัดแห่งปัญหา. คำว่า ปจฺจนีกํ กาตพฺพํ ความว่ากระทำประหนึ่งว่าเป็นข้าศึก คือผู้ทำผิดๆ. คำว่า อวมญฺญิสฺสํ ความว่า ยืนหยัดถือกลับกันเสีย. คำว่า สงฺฆาตํ อาปชฺชนฺติ แปลว่า ถึงฆาต พินาศ มรณะ. คำว่า น มหปฺผโล ความว่า ไม่มีผลมากโดยผลวิบาก. คำว่า น มหานิสํโส ความว่า ไม่มีอานิสงส์มาก โดยอานิสงส์คือคุณ. คำว่า น มหาชุติโก ความว่า ไม่มีความรุ่งเรือง โดยความรุ่งเรืองด้วยอานุภาพ. คำว่า น มหาวิปฺผาโร ความว่า ไม่มีความแผ่ไพศาล โดยความแผ่ไปแห่งวิบาก. คำว่า พีชนงฺคลํ แปลว่า พืช (เมล็ดพันธุ์) และไถ. คำว่า ทุกฺเขตฺเต แปลว่า ในนาเลว นาไร้สาระ. คำว่า ทุพฺภูเม แปลว่า พื้นดินไม่สม่ำเสมอ. คำว่า ปติฎฺฐาเปยฺย แปลว่า พึงทรงไว้. คำว่า ขณฺฑานิ คือ หักและแตก. คำว่า ปูตีนิ คือ ไร้สาระ. คำว่า วาตาตปหตานิ คือ ถูกลม คำว่า อสุขสยิตานิ คือ พืชเหล่าใด ที่เขาทำให้แห้งแล้ว เกลี่ยไว้ในยุ้งฉาง พืชเหล่านั้น ชื่อว่าสุขสยิต. แต่พืชเหล่านั้นไม่เป็นเช่นนั้น. คำว่า น อนุปฺปเวจฺเฉยฺย คือ ฝนไม่หลั่งลงมา คือไม่ตกโดยชอบ (ถูกต้องตามฤดูกาล). อธิบายว่า ไม่ตกทุกกึ่งเดือน ทุกสิบวัน ทุกห้าวัน. คำว่า อปิ นุ ตานิ ความว่า เมื่อนามีพืชแลฝนเป็นโทษอยู่อย่างนี้ พืชเหล่านั้นจะพึงเติบโตสูงขึ้น งอกงามลงรากและแผ่ไพบูลย์โดยรอบด้วยหน่อรากและใบเป็นต้น ได้หรือ. คำว่า เอวรูโป โข ราชญฺญ ยญฺโญ ความว่า ดูก่อนท่านพระยา ทานเห็นปานนี้ ย่อมไม่มีผลมาก เพราะไม่บริสุทธิ์โดยปัจจัยที่การทำร้ายผู้อื่นก่อให้เกิดขึ้นบ้าง โดยทายกบ้าง โดยปฏิ คำว่า เอวรูโป โข ราชญฺญ อญฺโญ ความว่า ดูก่อนท่านพระยา ทานเห็นปานนี้ย่อมมีผลมาก โดยปัจจัยที่เกิดขึ้น เพราะการไม่ทำร้ายผู้อื่นบ้าง โดยทายกผู้มีศีลเพราะไม่ทำร้ายผู้อื่นบ้าง โดยปฏิคาหกผู้ถึงพร้อมด้วยคุณมีสัมมาทิฏฐิเป็นต้นบ้าง. ก็ถ้าทานได้ปฏิคาหกผู้ออกจากนิโรธ ยิ่งยวดด้วยคุณ (คุณาติโรกสัมปทา) และเจตนาของทายกไพบูลย์ไซร้ ก็จะให้วิบากทันตาเห็นทีเดียว. ก็ท่านพระยาปายาสิสดับธรรมกถาของพระเถระ นิมนต์พระเถระถวายมหาทาน ๗ วัน ตั้งทานประจำแก่คนทั้งปวงตั้งแต่นั้นมา. ท่านหมายถึงทานนั้น จึงกล่าวว่า ครั้งนั้นแล ท่านพระยาปายาสิเป็นต้น บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กาณาชิกํ คือข้าวที่หุงจากข้าวสารหักมีรำ. คำว่า พิลงฺคทุติยํ แปลว่า มีน้ำส้ม (พะอูม) เป็นที่สอง. คำว่า โจรกานิ จ วตฺถานิ แปลว่า ผ้าที่มีเส้นด้ายหยาบ. คำว่า คุฬวาลกานิ คือ ผ้าที่คลุกชิ้นน้ำอ้อยงบ. อธิบายว่า ผ้าผืนใหญ่ที่วางไว้เป็นกองๆ. คำว่า เอวมนุทฺทิสติ คือ ชี้แจงไว้อย่างนี้. คำว่า ปาทาปิ แปลว่า แม้ด้วยเท้า. คำว่า อสกฺกจฺจํ คือ เว้นศรัทธา ให้ทานด้วยไม่มีศรัทธา. คำว่า อสหตฺถา แปลว่า ไม่ใช่ด้วยมือของตนเอง. คำว่า อจิตฺตีกตํ คือเว้นการกระทำความยำเกรงให้ทาน. เข้าไปตั้งการกระทำความยำเกรง หามิได้ ให้ทานกระทำให้ประณีตหามิได้. คำว่า อปวิทฺธํ คือ ทิ้งขว้างตกแตกเรี่ยราด. คำว่า สุญฺญํ เสรีสกํ ความว่า เข้าไปสู่วิมานเงินที่ว่างเปล่าวิมานหนึ่ง ชื่อเสรี เรื่องท่านพระควัมปติ สมัยต่อมา เทพบุตรนั้นไปบังเกิดในหมู่มนุษย์ ในสมัยของพระผู้มีพระภาคเจ้าของเรา ฟังธรรมกถาของพระศาสดา ก็บรรลุพระอรหัต. แต่ด้วยอำนาจความเคยชิน พระเถระก็ไปยังวิมานนั้นนั่นแหละอยู่เนืองๆ เพื่อพักกลางวัน. นัยว่า วิมานนั้นเป็นที่มีสุขตามฤดูกาลของพระเถระนั้น ท่านหมายเอาเหตุอันนั้น จึงกล่าวว่า สมัยนั้นแล ท่านพระควัมปติ ดังนี้เป็นต้น. คำว่า โส สกฺกจฺจํ ทานํ ทตฺวา ความว่า อุตตรมานพนั้นให้ทานแม้เป็นของๆ ผู้อื่นก็โดยเคารพ. คำว่า เอวมาโรเจหิ ความว่า ท่านจงบอก (มนุษย์) ด้วยนัยเป็นต้นว่า ท่านทั้งหลายจงให้ทานโดยเคารพ ดังนี้. ก็แล มหาชนฟังการบอกกล่าวของพระเถระนั้นแล้ว ก็ให้ทานโดยเคารพไปบังเกิดในเทวโลก. ส่วนนางบำเรอ (ปริจาริกา) ของพระยาปายาสิ แม้ให้ทานโดยเคารพ ก็ไปบังเกิดในสำนักของพระยาปายาสินั่นแล ด้วยอำนาจความปรารถนา นัยว่าเสรีสกวิมานนั้น เป็นวิมานสำหรับเทพผู้จาริกมาแต่ทุกทิศมีอยู่ในดงชื่อ วัฏฏนี (ลับแล). ก็ในวันหนึ่ง ปายาสิเทพบุตรแสดงตัวแก่เหล่าพ่อค้าทั้งหลายแล้วกล่าวกรรมที่ตนกระทำไว้แล้วแล. จบอรรถกถาปายาสิราชัญญสูตรที่ ๑๐ แห่งอรรถกถาทีฆนิกาย ชื่อสุมัง รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ ๑. มหาปทานสูตร ๒. มหานิทานสูตร ๓. มหาปรินิพพานสูตร ๔. มหาสุทัสสนสูตร ๕. ชนวสภสูตร ๖. มหาโควินทสูตร ๗. มหาสมัยสูตร ๘. สักกปัญหสูตร ๙. มหาสติปัฏฐานสูตร ๑๐. ปายาสิราชัญญสูตร ทั้งหมดนี้รวมเรียกว่ามหาวรรค ฯ .. อรรถกถา ทีฆนิกาย มหาวรรค ปายาสิราชัญญสูตร จบ. |