บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
อ่าน อรรถกถาหน้าต่างที่ [หน้าสารบัญ] [๑] [๒] [๓] [๔] [๕] [๖] [๗] [๘] ในสังคีติสูตรนั้น มีคำอธิบายไปตามลำดับบท ดังต่อไปนี้. คำว่า จาริกญฺจรมาโน หมายถึง เสด็จเที่ยวไปอย่างนิพัทธจาริก. ได้ยินว่า ในครั้งนั้น พระศาสดาทรงแผ่ข่าย คือพระญาณไปในหมื่นจักรวาล ตรวจดูสัตว์โลกอยู่ ได้ทรงเล็งเห็นเหล่ามัลลราช ชาวเมืองปาวา จึงทรงคำนึงว่า "ราชาเหล่านี้มาปรากฏในข่ายคือสัพพัญญุตญาณของเรา. จะมีอะไรหรือหนอ?" ก็ได้ทรงเห็นความข้อนี้ว่า "ราชาทั้งหลายให้สร้างสัณฐาคารขึ้นแห่งหนึ่ง เมื่อเราไปก็จักให้เรากล่าวมงคล, เรากล่าวมงคลแก่ราชาเหล่านั้นแล้ว ส่ง (กลับ) ไปแล้ว จักบอกสารีบุตรว่า "เธอจงกล่าวธรรมกถาแก่หมู่ภิกษุ. สารีบุตรพิจารณาโดยพระไตรปิฎกแล้ว จักกล่าวสังคีติสูตรแก่หมู่ภิกษุ ประดับไปด้วยปัญหา ๑,๐๑๔ ข้อ, ภิกษุ ๕๐๐ รูปรำลึกถึงพระสูตร (นี้) แล้ว จักบรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา" ดังนี้ จึงได้เสด็จจาริกไป. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า มลฺเลสุ จาริกญฺจรมาโน อุพฺภตกนวสณฺฐาคารวณฺณนา คำว่า เยน ภควา เตนุปสงฺกมึสุ ความว่า พวกเจ้ามัลละได้สดับ (ข่าวว่า) พระผู้มีพระภาคเสด็จมา จึงดำริว่า "แม้พวกเราจะมิได้ไปทูลเชิญพระผู้มีพระภาคมา ทั้งมิได้ส่งทูตไปกราบทูลให้เสด็จมา แต่พระองค์ก็เสด็จมาที่อยู่ของพวกเราเอง มีภิกษุหมู่ใหญ่เป็นบริวาร, แลพวกเราก็ได้สร้างสัณฐาคารศาลาขึ้นแล้ว, เราจักเชิญเสด็จพระทศพลมาให้ทรงกล่าวมงคล ณ สัณฐาคารศาลานี้" ดังนี้ จึงได้เข้าไปเฝ้า. คำว่า เยน สณฺฐาคารํ เตนุปสงฺกมึสุ ความว่า พวกเจ้ามัลละเหล่านั้นคิดว่า "ได้ทราบว่า ช่างทำจิตรกรรมในสัณฐาคารเสร็จแล้ว แต่พวกป้อมยาม (หอคอย) เพิ่งจะเสร็จในวันนั้น และธรรมดาพระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงมีพระอัธยาศัย (ชอบ) ป่า ยินดีในป่า พึงทรง (พอพระทัย) ประทับอยู่ภายในบ้านหรือไม่ (ก็ไม่อาจทราบได้) เพราะฉะนั้น เราทราบถึงพระทัยของพระผู้มีพระภาคก่อนแล้ว จึงจักเตรียมการ" ดังนี้แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค. แต่บัดนี้ พวกเจ้ามัลละประสงค์จะเตรียมการให้ต้องพระทัยพระผู้มีพระภาคจึงเข้าไปยังสัณฐาคาร. คำว่า สพฺพสนฺถรึ หมายความว่า ปูลาดอย่างพร้อมสรรพ. อนึ่ง ในคำว่า เยน ภควา เตนุปสงฺกมึสุ นี้มีความว่า พวกเจ้ามัลละเหล่านั้นจัดแจงสัณฐาคารเสร็จแล้ว จึงให้แผ้วถางถนนในเมือง ให้ยกธงขึ้นแล้วตั้งหม้อน้ำเต็มเปี่ยม ทั้งต้นกล้วย ณ ประตูบ้านทั้งหลาย ทำเมืองทั้งสิ้นให้เกลื่อนกล่นไปด้วยระเบียบแห่งโคมไฟ ประหนึ่งว่าดวงดาว แล้วให้ป่าวประกาศว่า "พวกทารกที่ยังไม่อดนม จงให้ดื่มนมเสีย, พวกเด็กรุ่นๆ จงรีบให้บริโภค (ข้าวปลาอาหาร) แล้วให้นอนเสีย อย่าได้ส่งเสียงอึกทึกครึกโครม, วันนี้ พระศาสดาจักประทับภายในหมู่บ้านคืนหนึ่ง, อันพระพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมทรงพอพระทัยในความสงบเงียบ" ดังนี้แล้ว พากันถือคบเพลิงด้วยตัวเอง เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ. คำว่า ภควนฺตํเยว ปุรกฺขิตฺวา แปลว่า กระทำพระผู้มีพระภาคไว้เบื้องหน้า. พระผู้มีพระภาคประทับนั่งในท่ามกลางภิกษุและอุบาสกทั้งหลาย ในสัณฐาคารนั้นย่อมไพโรจน์ยิ่งนัก เป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใสโดยรอบ มีพระฉวีวรรณเพียงทองงดงามน่าชม. พระรัศมีมีพรรณเพียงดังทองพวยพุ่งจากพระกายเบื้องหน้าแผ่ไปถึง ๘๐ ศอก. พระรัศมีมีพรรณเพียงดังทองพวยพุ่งจากพระกายท่ามกลางจากพระหัตถ์เบื้องขวา จากพระหัตถ์เบื้องซ้ายก็แผ่ไปได้ข้างละ ๘๐ ศอก (ดุจกัน). พระรัศมีมีพรรณเพียงสร้อยคอมยุราพวยพุ่งจากกลุ่มพระเกษาทั้งหมด ตั้งแต่ริมพระเกษาเบื้องบนแผ่ไปใน สรรพทิศาภาคก็กระจ่างแจ้งดังว่าโปรยปรายไปด้วยดอกจำปาทอง ประหนึ่งว่าโรยรดด้วยสุวรรณรสอันไหลจากหม้อทอง ปานว่าดาดาดลาดไปด้วยแผ่นทอง และประดุจว่าเกลื่อนกล่นไปด้วยผงดอกทองกวาว และกรรณิการ์อันฟุ้งตลบด้วยเวรัมภวาต. แม้พระวรกายแห่งพระผู้มีพระภาคอันรุ่งเรืองด้วยอนุพยัญชนะ ๘๐ ประการ พระรัศมี (โดยปรกติ) ประมาณวาหนึ่ง และวรลักษณ์ ๓๒ ประการ ก็ไพโรจน์เพียงพื้นอัมพรอันพร่างพราวด้วยดวงดาว ประหนึ่งดอกประทุมอันบานสะพรั่ง ดุจดังปาริฉัตรประมาณ ๑๐๐ โยชน์ ผลิบานเต็มต้น ราวกับจะเผยพระสิริ ครอบงำเสียซึ่งสิริแห่งพระอาทิตย์ พระจันทร์ พระเจ้าจักรพรรดิ ท้าวเทวราช (และ) มหาพรหม อย่างละ ๓๒ อันตั้งวางไว้โดยลำดับกัน (ให้อับรัศมีไป) ฉะนั้น. แม้ภิกษุทั้งสิ้นอันนั่งแวดล้อมอยู่นั้น ก็ล้วนเป็นผู้มักน้อย สันโดษ สงบไม่พลุก พระผู้มีพระภาคอันภิกษุเหล่านั้นแวดล้อมแล้ว ไพโรจน์ประหนึ่งท่อนทองอันห่อหุ้มด้วยผ้ากัมพลแดง ประดุจเรือนทองอันลอยลำอยู่ในท่ามกลางดงประทุมแดง เสมือนปราสาททอง อันล้อมรอบไปด้วยเวทีแก้วประพาฬ. ฝ่ายพระอสีติมหาเถระทรงผ้าบังสกุลสีปานเมฆ เป็นมหานาค ปานว่า จอมปลวกแก้วมณี คลายราคะแล้ว ทำลายกิเลสสิ้นแล้ว ถางชัฏออกหมดแล้ว ตัดเครื่องผูกได้แล้ว ไม่ติดข้องในตระกูลหรือในหมู่คณะ ก็นั่งแวดล้อมพระผู้มีพระภาค ด้วยประการดังนี้. พระผู้มีพระภาคผู้ทรงบำราศจากโทสะด้วยพระองค์เอง อันท่านผู้บำราศจากโทสะแวดล้อมแล้ว. ผู้ทรงบำราศจากโมหะด้วยพระองค์เอง อันท่านผู้บำราศจากโมหะแวดล้อมแล้ว. ผู้ทรงไร้ตัณหาด้วยพระองค์เอง อันท่านผู้ไร้ตัณหาแวดล้อมแล้ว. ผู้ทรงไร้กิเลสด้วยพระองค์เอง อันท่านผู้ไร้กิเลสแวดล้อมแล้ว. ผู้ทรงเป็นพุทธะด้วยพระองค์เอง อันท่านผู้เป็นพุทธะ ผู้พหูสูตแวดล้อมแล้ว. ประหนึ่งเกสรอันแวดล้อมไปด้วยกลีบ ประดุจกรรณิกาอันแวดล้อมไปด้วยเกสร เสมือนพญาช้างฉัททันต์อันแวดล้อมไปด้วยช้างบริวารทั้งแปดพัน ปานว่าจอมหงส์ธตรัฐอันแวดล้อมไปด้วยหงส์บริวารเก้าแสน ดังว่าพระเจ้าจักรพรรดิอันแวดล้อมไปด้วยเหล่าเสนางคนิกร ประดุจท้าว ได้ประทับนั่งในท่ามกลางบริษัทเหล่านั้น ด้วยพุทธเพศอันหาที่เสมอเหมือนมิได้ ด้วยพุทธวิลาศอันหาประมาณมิได้ ทรงยังพวกเจ้ามัลละแห่งนครปาวาให้เห็น ฯลฯ ด้วยธรรมีกถาตลอดราตรีเป็นอันมาก แล้วทรงส่งไป. และในที่นี้พึงทราบว่า ปกิณกกถา อันประกอบไปด้วยคำอนุโมทนาในสัณฐาคาร ชื่อว่า ธรรมกถา. แท้จริงในคราวนั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสปกิณกกถาอันนำมาซึ่งประโยชน์และความสุขแก่เจ้ามัลละแห่งนครปาวา ประหนึ่งว่ายังอากาศคงคาให้หลั่งลงอยู่ เสมือนว่าทรงรวบรวมมาซึ่งโอชะแห่งปฐพี ปานว่าทรงจับยอดต้นมหาชมพู แล้วสั่นให้หวั่นไหวอยู่ และประดุจว่าทรงคั้นรวงผึ้งอันควรแก่การคั้นด้วยเครื่องจักร แล้วยังบุคคลให้ดูดดื่มเอาซึ่งน้ำหวาน ฉะนั้น. คำว่า ตุณฺหีภูตํ ตุณฺหีภูตํ ความว่า ทรงเหลียวดูทิศใดๆ หมู่ภิกษุในทิศนั้นๆ นิ่งสงบทีเดียว. คำว่า อนุวิโลเกตฺวา ความว่า เหลียวดูโดยทิศนั้นๆ ด้วยจักษุ ๒ อย่าง คือ มังส จริงอยู่ ทรงกำหนดอิริยาบถภายนอกของภิกษุเหล่านั้นด้วยมังส อนึ่ง ทรงเจริญอาโลก (แสงสว่าง) จนเห็นหทัยรูปของภิกษุเหล่านั้นแล้ว ทรงตรวจดูศีลภายใน ด้วยทิพยจักษุ. พระองค์ได้ทรงเห็นศีลอันเข้าถึงพระอรหัตของภิกษุหลายร้อย ประดุจว่าประทีปอันสว่างโพลงอยู่ภายในหม้อ. แท้จริงภิกษุเหล่านั้นเป็นผู้ปรารภวิปัสสนา. ได้ทรงเห็นศีลของภิกษุเหล่านั้นด้วยประการดังนี้แล้ว ทรงดำริว่า "ภิกษุเหล่านี้คู่ควรแก่เรา ทั้งเราก็คู่ควรแก่ภิกษุเหล่านี้" แล้วทรงตั้งนิมิตไว้ในพื้นจักษุ ตรวจดูหมู่สงฆ์ แล้วตรัสเรียกท่านพระสารีบุตรว่า " เราเมื่อยหลัง." เพราะเหตุไร จึงทรงเมื่อยหลัง? เพราะเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบำเพ็ญความเพียรอย่างแรงกล้าอยู่ถึง ๖ ปี ได้เกิดความลำบากพระวรกายเป็นอันมาก. ครั้นกาลต่อมาถึงคราวทรงพระชรา ลมเสียดหลังย่อมเกิดขึ้นแก่พระองค์ได้ (เป็นธรรมดา). คำว่า สงฺฆาฏึ ปญฺญเปตฺวา ความว่า ได้ยินว่า เจ้ามัลละเหล่านั้นให้ปูลาดเตียงอันเป็นกัปปิยะไว้ที่ข้างด้านหนึ่งของสัณฐาคาร ด้วยความมุ่งหมายว่า บางทีพระศาสดาจะพึงบรรทมบ้าง. ฝ่ายพระศาสดาทรงดำริว่า "เตียงที่เราใช้สอยด้วยอิริยาบถทั้ง ๔ จักมีผลานิสงส์มากแก่เจ้ามัลละเหล่านี้" จึงรับสั่งให้ปูลาดผ้าสังฆาฏิบนเตียงนั้น แล้วบรรทม. ภินฺนนิคณฺฐวตฺถุวณฺณนา คำว่า อามนฺเตสิ ความว่า ทรงประสงค์จะแสดงสวากขาตธรรมอันกระทำความสงบระงับเหตุมีการบาดหมางกันเป็นต้น จึงได้ตรัสเรียก. เอกกวณฺณนา คำว่า น วิวทิตพฺพํ ความว่า ไม่ควรกล่าวแย้งกันในอรรถะก็ตาม ในพยัญชนะก็ตาม. คำว่า เอโก ธมฺโม ความว่า พระเถระมีความประสงค์จะแสดงสามัคคีรสมากๆ อย่าง เช่น หมวดหนึ่ง หมวดสอง หมวดสาม เป็นต้น จึงกล่าวว่า เอโก ธมฺโม (ธรรมหนึ่ง) ดังนี้เป็นอันดับแรก. คำว่า สพฺเพ สตฺตา หมายถึง สัตว์ทั้งปวงในภพทั้งปวง เช่นในกามภพเป็นต้น ในสัญญีภพเป็นต้น และในเอกโวการภพเป็นต้น. คำว่า อาหารฏฺฐิติกา มีบทนิยามว่า สัตว์เหล่านั้นดำรงอยู่ได้เพราะอาหาร ดังนั้นจึงชื่อว่า อาหารฏฺฐิติกา ผู้ดำรงอยู่ได้เพราะอาหาร. อาหารย่อมเป็นเหตุแห่งการดำรงอยู่ได้แห่งสรรพสัตว์ ด้วยประการดังนี้. พระเถระแสดงความหมายว่า "ท่านทั้งหลาย ธรรมหนึ่ง คือสัตว์ทั้งหลายดำรงอยู่ได้เพราะอาหารนี้ พระศาสดาของเราทั้งหลายทรงทราบตามความเป็นจริงแล้ว ได้ตรัสไว้เป็นอันถูกต้อง." ก็เมื่อเป็นอย่างนี้ คำที่ตรัสไว้ว่า "เทพจำพวกอสัญญสัตตะ เป็นอเหตุกะ ไม่มีอาหาร ไม่มีผัสสะ"๑- ดังนี้เป็นต้น จะมิเป็นอันคลาดเคลื่อนไปละหรือ. ไม่คลาดเคลื่อน ทั้งนี้เพราะเทพพวกนั้นก็มีฌานเป็นอาหาร. ____________________________ ๑- อภิ. วิ. เล่ม ๓๕/ข้อ ๑๐๙๙ ถึงอย่างนั้นก็เถอะ แม้คำที่ตรัสไว้ว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันว่าอาหารเพื่อความดำรงอยู่ของสัตว์ทั้งหลายที่เกิดมาแล้ว หรือเพื่อการตามประคับประคองพวกสัมภ แม้คำนี้ก็ไม่คลาดเคลื่อน เพราะว่าในพระสูตรนั้น ตรัสธรรมทั้งหลายที่มีลักษณะเป็นอาหารโดยตรงนั่นแลว่า อาหาร. แต่ในที่นี้ตรัสเรียกปัจจัยโดยอ้อมว่า "อาหาร". ____________________________ ๒- สํ. นิ. เล่ม ๑๖/ข้อ ๒๘ จริงอยู่ ปัจจัยควรจะได้แก่ธรรมทั้งปวง. และปัจจัยนั้นยังผลใดๆ ให้เกิด ก็ย่อมชื่อว่านำมาซึ่งผลนั้นๆ เพราะฉะนั้น จึงเรียกได้ว่า อาหาร. ด้วยเหตุนั้นแล จึงตรัสไว้ว่า๓- ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้อวิชชา เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิใช่ไม่มีอาหาร. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นอาหารของอวิชชา ควรจะกล่าวนิวรณ์ ๕ เป็นอาหารของอวิชชา. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้นิวรณ์ ๕ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิใช่ไม่มีอาหาร. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อะไรเล่าเป็นอาหารของนิวรณ์ ๕ ควรจะกล่าวว่า อโยนิโสมนสิการเป็นอาหารของนิวรณ์ ๕ ดังนี้. ____________________________ ๓- องฺ. ทสก. เล่ม ๒๔/ข้อ ๖๑ อาหารคือปัจจัยนี้ประสงค์เอาในพระสูตรนี้. ก็เมื่อถือเอาปัจจัยเป็นอาหารอย่างหนึ่งแล้ว ก็ย่อมเป็นอันถือเอาทั้งหมด ทั้งอาหารโดยอ้อม ทั้งอาหารโดยตรง. ในอสัญญภพนั้น ย่อมได้ปัจจัยอาหาร. เมื่อพระพุทธเจ้ายังมิได้อุบัติขึ้น พวกนักบวชในลัทธิเดียรถีย์ ทำบริกรรมในวาโยกสิณแล้ว ยังฌานที่ ๔ ให้เกิดขึ้นได้แล้ว ออกจากฌานนั้นแล้ว ให้เกิดความยินดีชอบใจว่า "น่าติเตียนจิต จิตนี้น่าติเตียนแท้, ชื่อว่าการไม่มีจิตนั่นแลเป็นความดี, เพราะอาศัยจิต จึงเกิดทุกข์อันมีการฆ่าและการจองจำเป็นต้นเป็นปัจจัย, เมื่อไม่มีจิต ทุกข์นั้นก็ย่อมไม่มี " ดังนี้ ไม่เสื่อมฌาน สิ้นชีวิตแล้วไปเกิดในอสัญญภพ. ผู้ใดตั้งมั่นอิริยาบถใด ในมนุษยโลก, ผู้นั้นก็เกิดโดยอิริยาบถนั้น เป็นผู้ยืนบ้าง นั่งบ้าง นอนบ้างตลอด ๕๐๐ กัป, เป็นประดุจว่านอนอยู่ตลอดกาลนานถึงเพียงนี้. แม้สัตว์ทั้งหลายที่มีรูปอย่างนี้ ก็ย่อมได้ปัจจัยอาหาร. แท้จริง สัตว์เหล่านั้นเจริญฌานใด แล้วไปเกิด. ฌานนั้นแหละย่อมเป็นปัจจัยของสัตว์เหล่านั้น. ปัจจัยคือฌาน ยังมีอยู่ตราบใด ก็ย่อมดำรงอยู่ได้ตราบนั้น อุปมาเหมือนลูกศรที่ยิงไปด้วยแรงส่งแห่งสาย, แรงส่งแห่งสายยังมีเพียงใดก็พุ่งไปได้เพียงนั้น ฉะนั้น. เมื่อปัจจัยคือฌานนั้นหมดลง สัตว์เหล่านั้นก็ย่อมตกไป ดุจลูกศรที่สิ้นแรงส่งแห่งสายฉะนั้น. ส่วนพวกสัตว์นรกที่ท่านกล่าวไว้ว่า มิได้เป็นอยู่ด้วยผลแห่งความหมั่น ทั้งมิได้เป็นอยู่ด้วยผลแห่งบุญ เหล่านี้มีอะไรเป็นอาหาร. กรรมนั่นเองเป็นอาหารของสัตว์นรกเหล่านั้น. ถ้าจะถามว่า อาหารมี ๕ อย่าง กระนั้นหรือ?. (ก็ต้องตอบว่า) คำว่า "๕ อย่างหรือไม่ใช่ ๕ อย่าง" นี้ไม่ควรพูด. ท่าน จริงอยู่ น้ำลายนั้นในนรกนับว่าเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา ในสวรรค์นับว่าเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา จัดว่าเป็นปัจจัยได้. ____________________________ ๔- ม. อุ. เล่ม ๑๔/ข้อ ๕๑๙ ดังนั้น ในกามภพโดยตรงมีอาหาร ๔ อย่าง ในรูปภพและอรูปภพ ยกเว้นอสัญญสัตตะ ที่เหลือนอกนั้นมีอาหาร ๓ อย่าง, สำหรับอสัญญ พระเถระกล่าวปัญหาข้อหนึ่งว่า สัตว์ทั้งปวงดำรงอยู่ได้เพราะอาหาร ด้วยอาหารตามที่แสดงมานี้แล้ว ได้แก้ไขปัญหาข้อที่ ๒ ว่า "สัตว์ทั้งปวงดำรงอยู่ได้เพราะสังขาร" ดังนี้ โดยมิได้กำหนดหมายอย่างว่านี้ อยํ โข อาวุโส (นี้แลท่านทั้งหลาย) ทั้งมิได้ไขความอีกว่า อตฺถิ โข อาวุโส (มีอยู่แล ท่านทั้งหลาย). เพราะเหตุไร จึงมิได้กำหนดหมาย ทั้งมิได้ไขความอีก. เพราะการที่จะเรียนและสอนในเมื่อมัวแต่กำหนดหมาย ทั้งมัวแต่ไขความอยู่นั้น เป็นเรื่องยาก ฉะนั้น ท่านจึงแก้ไขทั้งสองประเด็นรวมกันไปเลย. แม้ในการแก้ไขปัญหาข้อที่ ๒ นี้ ปัจจัยที่ได้กล่าวมาแล้วในหนหลังนั่นเอง ก็เรียกว่าสังขาร เพราะปรุงแต่งผลของตน. อาหารปัจจัยได้กล่าวมาแล้วในหนหลัง. ความแตกต่างกันอย่างน้อยที่สุดในปัญหาข้อนี้ ก็คือข้อนี้ - ในที่นี้ เป็นสังขารปัจจัย. (แต่) พระมหาสิวเถระกล่าวว่า เมื่อถือเอาอย่างนี้ว่า อาหารโดยตรงถือเอาแล้วในหนหลัง ในที่นี้หมายเอาอาหารโดยอ้อมดังนี้ ความแตกต่างกันก็จะปรากฏขึ้น แต่ว่าท่านมิได้ถือเอา (อย่างนั้น). แท้จริง ธรรมทั้งที่เนื่องด้วยอินทรีย์ ทั้งที่ไม่เนื่องด้วยอินทรีย์ ควรที่จะได้ปัจจัยแล. ขึ้นชื่อว่าธรรม เว้นจากปัจจัยย่อมไม่มี. บรรดาธรรม ๒ อย่างนั้น ธรรมที่ไม่เนื่องด้วยอินทรีย์ เช่นหญ้า ต้นไม้ และเครือเถาเป็นต้นย่อมมีรสแผ่นดินและรสน้ำเป็นปัจจัย. เพราะเมื่อฝนไม่ตก หญ้าเป็นต้นก็เหี่ยว. แต่จะสดเขียว เมื่อฝนตก. รสแผ่นดินและรสน้ำเป็นปัจจัยของหญ้าเป็นต้นเหล่านั้นด้วยประการดังนี้. ธรรมที่เนื่องด้วยอินทรีย์มีสิ่งเป็นต้นว่า อวิชชา ตัณหา กรรม อาหาร เป็นปัจจัย. ปัจจัยในหนหลังนั่นแล ท่านเรียกว่าอาหาร (แต่) ในที่นี้ ท่านเรียกว่าสังขาร ความแตกต่างกันในเรื่องนี้มีเพียงเท่านี้แล. บทว่า อยํ โข อาวุโส ความว่า ท่านทั้งหลาย ธรรมหนึ่งอันนี้ พระศาสดาของพวกเราประทับนั่ง ณ มหาโพธิมณฑล ทรงทำให้แจ้งด้วยพระองค์ด้วยพระสัพพัญญุตญาณแล้วได้ทรงแสดงไว้ อันเป็นธรรมหนึ่งที่ท่านทั้งหลายพึงสังคายนาพร้อมเพรียงกัน ไม่พึงโต้แย้งกัน. คำว่า ยถยิทํ พฺรหฺมจริยํ ความว่า ศาสนพรหมจรรย์นี้พึงตั้งมั่นอยู่ได้ ดังที่เมื่อท่านทั้งหลายสังคายนาอยู่. คือ เมื่อภิกษุรูปหนึ่งกล่าวว่า "ท่านทั้งหลายธรรมหนึ่งอันพระศาสดาตรัสไว้ชอบแล้วมีอยู่, ธรรมหนึ่งคืออะไร คือสัตว์ทั้งปวงดำรงอยู่ได้เพราะอาหาร สัตว์ทั้งปวงดำรงอยู่ได้เพราะสังขาร" ดังนี้. ภิกษุรูปหนึ่งได้ฟังคำกล่าวของภิกษุรูปนั้นแล้วก็บอกกล่าวต่อไป อีกรูปหนึ่งได้ฟังก็บอกกันต่อไปอีก โดยกำหนดคำบอกกล่าวสืบๆ กันไป ด้วยประการอย่างนี้แล พรหมจรรย์นี้ก็จักดำรงอยู่ตลอดกาลนาน เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่โลกพร้อมทั้งเทวโลก. ท่านพระธรรมเสนาบดีสารีบุตรเถระได้แสดงสามัคคีรสด้วยอำนาจธรรมหมวดหนึ่งด้วยประการดังนี้แล. .. อรรถกถา ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค สังคีติสูตร |