บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
อ่าน อรรถกถาหน้าต่างที่ [หน้าสารบัญ] [๑] [๒] [๓] [๔] [๕] หน้าต่างที่ ๕ / ๕. บรรดาบทเหล่านั้น ในบทว่า ตถาคโต มีวินิจฉัยดังนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ท่านเรียกว่า ตถาคต ด้วยเหตุ ๘ อย่างคือ (๑) เรียกว่าตถาคต เพราะอรรถว่าเสด็จมาแล้วอย่างนั้น, (๒) เรียกว่าตถาคต เพราะอรรถว่าเสด็จไปแล้วอย่างนั้น, (๓) เรียกว่าตถาคต เพราะอรรถว่าเสด็จมาสู่ลักษณะอันแท้, (๔) เรียกว่าตถาคต เพราะอรรถว่าตรัสรู้พร้อมเฉพาะซึ่งธรรมอันแท้ตามเป็นจริง, (๕) เรียกว่าตถาคต เพราะทรงเห็นแท้จริง, (๖) เรียกว่าตถาคต เพราะตรัสวาจาจริง, (๗) เรียกว่าตถาคต เพราะทรงทำจริง, (๘) เรียกว่าตถาคต เพราะอรรถว่าครอบงำ. ตถาคตผู้เสด็จมาแล้วอย่างนั้น ตอบว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ ทรงถึงการขวนขวายเสด็จมาเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ชาวโลกทั้งปวงโดยประการใด เหมือนอย่างว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า วิปัสสี ๑ ทรงพระนามว่า สิขี ๑ ทรงพระนามว่า เวสสภู ๑ ทรงพระนามว่า กกุสันธะ ๑ ทรงพระนามว่า โกนาคมนะ ๑ ทรงพระนามว่า กัสสปะ ๑ เสด็จมาเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ชาวโลกฉันใด (พระผู้มีพระภาคเจ้าของเรานี้ ก็เสด็จมาเพื่อประโยชน์สุขแก่ชาวโลกฉันนั้นเหมือนกัน). ท่านกล่าวอธิบายไว้อย่างไร? ท่านกล่าวอธิบายไว้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเหล่านั้นเสด็จมาด้วยอภินิหารใด พระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลายก็เสด็จมาด้วยอภินิหารนั้นเหมือนกัน. อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่าวิปัสสี ฯลฯ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่ากัสสปะ ทรงบำเพ็ญทานบารมี ศีลบารมี เนกขัมมบารมี ปัญญาบารมี วิริย อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่าวิปัสสี ฯลฯ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่ากัสสปะ เสด็จมาบำเพ็ญเพิ่มพูนสติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ มรรคมีองค์ ๘ ฉันใด แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลายก็เสด็จมาฉันนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมาแล้วโดยประการนั้น อย่างนี้ เพราะฉะนั้น พระองค์จึงทรงพระนามว่า พระตถาคต. พระมุนีทั้งหลายมีวิปัสสีพุทธเจ้าเป็นต้น ได้เสด็จมา ถึงความเป็นพระสัพพัญญูในโลกนี้ โดยประการใด แม้พระศากยมุนีก็เสด็จมาโดยประการนั้น ด้วยเหตุ นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มีจักษุ ท่านจึงเรียกว่า พระตถาคต ดังนี้แล. พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมาแล้วโดยประการนั้น ดังพรรณนามาอย่างนี้ ฉะนั้น จึงทรงพระนามว่า พระตถาคต. ตถาคตผู้เสด็จไปแล้วอย่างนั้น ตอบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่าวิปัสสี ฯลฯ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่ากัสสปะ ประสูติได้ครู่เดียวก็เสด็จดำเนินไปได้ฉันใด พระผู้มีพระภาคเจ้าของเราก็เสด็จดำเนินไปได้ฉันนั้น. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าของเรานั้น เสด็จดำเนินไปได้อย่างไร? (อย่างนี้คือ) ประสูติได้ครู่เดียว ประทับยืนอยู่บนพื้นปฐพี ด้วยพระบาทอันเรียบ ก็การเสด็จไปนั้นของพระองค์นั้น เป็นอย่างนั้น ไม่ผิดจากนั้นโดยเป็นบุพพนิมิตแห่งการบรรลุคุณวิเศษอย่างมากมาย. ก็ข้อที่พระองค์ประสูติได้ครู่หนึ่ง และประทับยืนอยู่บนพื้นปฐพีด้วยพระบาทอันเรียบเสมอนี้นั้น เป็นบุพพนิมิตแห่งการได้อิทธิบาท ๔. ข้อที่พระองค์หันพระพักตร์ไปทางทิศอุดรนั้น เป็นบุพพนิมิตแห่งความที่พระ การย่างพระบาทดำเนินได้ ๗ ก้าว เป็นบุพพนิมิตแห่งการได้รัตนะ คือโพช การยกจามรที่กล่าวไว้ในบทว่า จามรมีด้ามเป็นทองผ่านไปดังนี้ขึ้น เป็นบุพพนิมิตแห่งการย่ำยีพวกเดียรถีย์ทั้งหมด. การที่ทรงเศวตฉัตร เป็นบุพพนิมิตแห่งการได้เศวตฉัตรอันประเสริฐวิเศษ ปราศจากมลทิน คือการหลุดพ้นด้วยอำนาจความเป็นพระอรหันต์. การที่ทรงตรวจดูไปทั่วทิศนั้น เป็นบุพพนิมิตแห่งการได้ญาณอันประเสริฐ คือพระสัพพัญญุตญาณ. การที่ทรงเปล่งอาสภิวาจา เป็นบุพพนิมิตแห่งการประกาศธรรมจักรอันประเสริฐไม่มีใครคัดค้านได้. แม้พระผู้มีพระภาคเจ้านี้เสด็จไปโดยประการนั้น และการเสด็จไปของ ด้วยเหตุนั้น ท่านพระโบราณาจารย์จึงกล่าวไว้ว่า :- พระโคดมนั้นพอประสูติแล้วได้ครู่เดียวเท่านั้น ก็เหยียบ พื้นพสุธาด้วยพระบาทอันเรียบเสมอ แล้วเสด็จดำเนินไป ได้ ๗ ก้าว เหมือนโคผู้นำฝูงเดินนำหน้าฝูงโคไปฉะนั้น และหมู่เทวดาทั้งหลาย ก็ได้กางกั้นเศวตฉัตรถวายพระ โคดมนั้น ครั้นย่างพระบาทไปได้ ๗ ก้าวแล้ว ทรงตรวจ ดูทั่วทุกทิศอย่างสม่ำเสมอโดยรอบ ได้เปล่งพระสุรเสียงอัน ประกอบด้วยองค์ ๘ เหมือนพญาราชสีห์ยืนอยู่บนยอด ภูเขาเปล่งสีหนาทฉะนั้น ดังนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไปแล้วโดยประการนั้น ดังพรรณนามาอย่างนี้ ฉะนั้น พระองค์จึงทรงพระนามว่า ตถาคต. อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า วิปัสสี ฯลฯ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่ากัสสปะ เป็นฉันใด พระผู้มีพระภาคเจ้าของเราแม้นี้ก็เป็นฉันนั้นเหมือนกัน คือพระองค์ทรงละกามฉันท์ด้วยเนกขัมมะเสด็จไปแล้ว, ทรงละพยาบาทด้วยความไม่พยาบาท ทรงละถีนมิทธะด้วยอาโลกสัญญา ทรงละอุทธัจจกุกกุจจะด้วยความไม่ฟุ้งซ่าน ทรงละวิจิกิจฉาด้วยการกำหนดธรรมเสด็จไปแล้ว, ทรงทำลายอวิชชาด้วยญาณเสด็จไปแล้ว, ทรงบรรเทาความไม่ยินดีด้วยความปราโมทย์ ทรงเพิกถอนเครื่องกั้นคือนิวรณ์ด้วยปฐมฌาน ยังความมืดคือวิตกวิจารให้สงบระงับด้วยทุติยฌาน ทรงสำรอกปีติด้วยตติยฌาน ทรงละสุขและทุกข์ด้วยจตุตถฌาน ทรงล่วงพ้นรูปสัญญา ปฏิฆสัญญา และนานัตตสัญญาด้วยอากาสานัญจายตนสมาบัติ ทรงล่วงพ้นอากาสานัญจายตนสัญญาด้วยวิญ พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไปแล้วอย่างนั้น ด้วยอาการดังพรรณนามาอย่างนี้ ฉะนั้น จึงทรงพระนามว่า ตถาคต. ตถาคตผู้เสด็จมาสู่ลักษณะอันแท้จริง ตอบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมาแล้ว คือถึงโดยไม่ผิด ได้แก่บรรลุโดยลำดับ ซึ่งลักษณะแห่งปฐวีธาตุว่าเป็นความแข้นแข็งอย่างถูกต้องไม่ผิด ซึ่งลักษณะแห่งอาโปธาตุว่าเป็นเครื่องไหล ลักษณะแห่งเตโชธาตุว่าเป็นของร้อน ลักษณะแห่งวาโยธาตุว่าเคลื่อนไหว ลักษณะอากาสธาตุว่าถูกต้องไม่ได้ ลักษณะแห่งวิญญาณธาตุว่าเป็น ลักษณะของสัทธาพละว่าความที่จิตไม่หวั่นไหวในเพราะสิ่งไม่ควรเชื่อ ลักษณะแห่งวิริย ลักษณะของสติสัมโพชฌงค์ว่าความปรากฏชัด ลักษณะแห่งธรรมวิจย ลักษณะของสัมมาทิฏฐิว่าการเห็น ลักษณะของสัมมาสังกัปปะว่าการยกจิตขึ้น ลักษณะของสัมมาวาจาว่าการกำหนดจิต ลักษณะของสัมมากัมมันตะว่าความขยันหมั่นเพียร ลักษณะของสัมมาอาชีวะว่าความผ่องแผ้วของจิต ลักษณะของสัมมาวายามะว่าการประคองจิต ลักษณะของสัมมาสติว่าความปรากฏชัด ลักษณะของสัมมาสมาธิว่าการที่จิตไม่ฟุ้งซ่าน ลักษณะของอวิชชาว่าความไม่รู้ ลักษณะของสังขารว่าเจตนา ลักษณะของวิญญาณว่าความรู้ชัด ลักษณะของนามว่าการน้อมจิตไป ลักษณะของรูปว่าความย่อยยับไป ลักษณะของอายตนะ ๖ ว่าบ่อเกิด ลักษณะของผัสสะว่าการถูกต้อง ลักษณะของเวทนาว่าการเสวยอารมณ์ ลักษณะของตัณหาว่าเหตุแห่งทุกข์ ลักษณะของอุปาทานว่าความยึดถือ ลักษณะของภพว่าการประมวลไว้ ลักษณะของชาติว่าการเกิด ลักษณะของชราว่าความแก่ ลักษณะของมรณะว่าจุติ ลักษณะของธาตุว่าความว่างเปล่า ลักษณะของอายตนะว่าบ่อเกิด ลักษณะของสติ ลักษณะของศีลวิสุทธิว่าการระวังรักษา ลักษณะของจิตตวิสุทธิว่าความไม่ฟุ้งซ่าน ลักษณะ พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมาถึง คือถึงได้แก่บรรลุซึ่งลักษณะที่เป็นจริงอย่างนี้ อย่างแท้จริงคือไม่ผิด ฉะนั้น พระองค์จึงทรงพระนามว่า ตถาคต. พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมาถึงลักษณะอันแท้จริงอย่างนี้ ฉะนั้น จึงทรงพระนามว่า ตถาคต. ตถาคตผู้ตรัสรู้ธรรมที่แท้จริง ตอบว่า ที่ชื่อว่าธรรมที่จริงแท้ ได้แก่อริยสัจ ๔. เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสัจ ๔ เหล่านี้เป็นของจริงแท้ ไม่แปรผัน ไม่เป็นอย่างอื่น. อริยสัจ ๔ อะไรบ้าง? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ว่า นี้ทุกข์ นั่นเป็นของจริงแท้ ไม่แปรผัน ไม่เป็นอย่างอื่น ดังนี้เป็นต้น. ความพิสดาร (นักศึกษาพึงตรวจดูเอาเอง). ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสรู้พร้อมเฉพาะซึ่งอริยสัจ ๔ เหล่านั้น เพราะเหตุนั้น จึงได้รับขนานพระนามว่าตถาคต เพราะตรัสรู้พร้อมเฉพาะอริยสัจทั้งหลายที่จริงแท้. แท้จริง คต ศัพท์ในคำว่า ตถาคโต นี้ มีความหมายว่า ตรัสรู้พร้อมเฉพาะ. อีกอย่างหนึ่ง สภาวะที่ชราและมรณะเกิดมีเพราะมีชาติเป็นปัจจัย เป็นสภาวะที่แท้จริง ไม่แปรผัน ไม่เป็นอย่างอื่น ฯลฯ สภาวะที่สังขารทั้งหลายเกิดมีเพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัย เป็นสภาวะที่จริงแท้ ไม่แปรผัน ไม่เป็นอย่างอื่น. อนึ่ง สภาวะที่อวิชชาเป็นปัจจัยแห่ง (ให้เกิด) สังขารทั้งหลาย สภาวะที่สังขารทั้งหลายเป็นปัจจัยแห่ง (ให้เกิด) วิญญาณ ฯลฯ สภาวะที่ชาติเป็นปัจจัยแห่ง (ให้เกิด) ชราและมรณะเป็นสภาวะที่จริงแท้ ไม่แปรผัน ไม่เป็นอย่างอื่น. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสรู้พร้อมเฉพาะซึ่งสภาวะนั้นทั้งหมด แม้เพราะเหตุนั้น จึงได้รับขนานนามว่า ตถาคต. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่าตถาคต เพราะตรัสรู้พร้อมเฉพาะซึ่งธรรมที่จริงแท้ตามความเป็นจริง ด้วยประการดังพรรณนามาฉะนี้. ตถาคตผู้ปกติเห็นอารมณ์ที่จริงแท้ ตอบว่า อารมณ์ใดที่ชื่อว่า รูปารมณ์ (อารมณ์คือรูป) ซึ่งมาปรากฏในจักษุทวารของสัตว์ทั้งหลายไม่มีปริมาณ มีอยู่ทั้งในโลกกับทั้งเทวโลก ฯลฯ ในหมู่สัตว์กับทั้งเทวดาและมนุษย์ (และ) ในโลกธาตุไม่มีปริมาณ (กำหนดนับไม่ได้) อารมณ์นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรู้ คือทรงเห็นโดยอาการทั้งหมด. อารมณ์นั้นพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นทรงรู้และทรงเห็นอยู่อย่างนี้ จำแนกออกไปตามชื่อเป็นอเนก ตามวาระ ๑๓ วาระ (และ) ตามนัย ๕๒ นัย โดยนัยมีอาทิว่า รูป คือรูปายตนะนั้นเป็นไฉน? รูปใดที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นรูปที่มีวรรณะ (สี) มองเห็นได้ ถูกต้องได้ เป็นรูปสีเขียว เป็นรูปสีเหลือง (นี้แหละเรียกว่ารูป) ด้วยอำนาจเป็นรูปที่น่าปรารถนา และไม่น่าปรารถนาเป็นต้นบ้าง ด้วยอำนาจที่จะได้ในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน กลิ่น รส โผฏฐัพพะที่ได้ทราบ และธรรมารมณ์ที่ได้รู้แจ้งบ้าง ย่อมเป็นของจริงแท้ทีเดียว ไม่มีแปรผัน. ในบรรดาอารมณ์มีเสียงเป็นต้นที่มาปรากฏในโสตทวารเป็นต้นก็นัยนี้. สมจริงด้วยพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อารมณ์ใดที่โลกกับทั้งเทวโลก ฯลฯ ที่หมู่สัตว์กับทั้งเทวดาและมนุษย์ได้เห็น ได้สดับ ได้ทราบ ได้รู้แจ้ง ได้บรรลุ ได้แสวงหา ได้คิดค้น ตถาคตรู้อารมณ์ ตถาคตรู้อย่างแท้จริงซึ่งอารมณ์นั้น อารมณ์นั้นตถาคตรู้ อารมณ์นั้นปรากฏแล้วในตถาคต. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่าตถาคต เพราะทรงมีปกติเห็นอารมณ์ที่แท้จริงด้วยประการดังพรรณนามาฉะนี้. ในบทว่า ตถาคโต นั้น นักศึกษาพึงทราบการใช้บทว่า ตถาคโต ลงในความหมายว่า ผู้มีปกติเห็นอารมณ์ที่จริงแท้. ตถาคตผู้มีปกติตรัสวาทะที่จริงแท้ ตอบว่า การที่พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งบนอปราชิตบัลลังก์ (บัลลังก์ที่ เพราะเหตุนั้น พระโบราณาจารย์จึงกล่าวว่า การที่พระตถาคตตรัสรู้พร้อมเฉพาะซึ่งพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณในตอนกลางคืนก็ดี การที่พระตถาคตปรินิพพานด้วย แท้จริง คต ศัพท์ในคำว่า ตถาคโต นี้ มีความหมายเท่ากับ คทะ (ตรัส, พูด). พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะทรงมีปกติตรัสวาทะที่จริงแท้ ด้วยประการดังพรรณนามาฉะนี้. อนึ่ง การกล่าวชื่อว่า อาคทะ อธิบายว่า ได้แก่คำพูด. การตรัสของพระตถาคต ตถาคต-ผู้มีปกติทำจริง ตอบว่า ก็กายกรรมของพระผู้มีภาคเจ้าย่อมคล้อยตามวจีกรรม ทั้งวจีกรรมก็คล้อยตามกายกรรม เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ามีปกติตรัสอย่างใด จึงทรงมีปกติทำอย่างนั้น และมีปกติทำอย่างใด ก็ทรงมีปกติตรัสอย่างนั้น. อธิบายว่า วจีกรรมของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นผู้ทรงเป็นอย่างนี้เป็นฉันใด แม้กายกรรมก็เป็นไปฉันนั้น เพราะเหตุนั้น จึงทรงพระนามว่า ตถาคต. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตมีปกติพูดอย่างใด ก็มีปกติทำอย่างนั้น มีปกติทำอย่างใด ก็มีปกติพูดอย่างนั้น เพราะเหตุที่มีปกติพูดอย่างใด จึงมีปกติทำอย่างนั้น มีปกติทำอย่างใด จึงมีปกติพูดอย่างนั้น ฉะนั้น จึงได้รับขนานพระนามว่า ตถาคต. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่าตถาคต เพราะเป็นผู้มีปกติทำจริงดังพรรณ ตถาคต-ผู้ครอบงำ ตอบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมครอบงำ (มีอำนาจเหนือ) ในเบื้องบนตั้งแต่ เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเป็นผู้ครอบงำ (แต่) ไม่มีใครครอบงำได้ เป็นผู้เห็นอย่างถ่องแท้ เป็นผู้แผ่อำนาจได้ในโลกกับทั้งเทวโลก ฯลฯ ในหมู่สัตว์กับทั้งเทวดาและมนุษย์. เพราะเหตุนั้น จึงได้รับขนานพระนามว่า ตถาคต. ในบทว่า ตถาคต นั้น พึงทราบบทสำเร็จรูปอย่างนี้. สิ่งที่เป็นเหมือนโอสถ ชื่อว่า อคทะ. ก็โอสถนั้นคืออะไร? คือ การยักย้ายเทศนา (ตามอุปนิสัยของผู้ฟัง) และการเพิ่มพูนแห่งบุญ. ก็เพราะโอสถนั่น พระผู้มีพระภาคเจ้านั่นจึงเป็นหมอที่มีอานุภาพมาก ทรงครอบงำผู้ที่ยึดถือลัทธิอื่นทั้งหมดและโลกกับทั้งเทวโลก เหมือนกับปราบงู (พิษ) ด้วยทิพโอสถฉะนั้น. โอสถในการครอบงำโลกทั้งหมดของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น อันสำเร็จมาจากการยักย้ายเทศนา และสำเร็จมาจากบุญเป็นของจริงแท้ ไม่แปรผัน เพราะเหตุนั้น พึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้รับขนานพระนามว่า ตถาคต เพราะแปลง ท อักษร เป็น ต อักษร ด้วยประการดังกล่าวมานี้. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะหมายความว่าครอบงำ ดังพรรณนามาฉะนี้. ตถาคต-ผู้ถึงด้วยความจริงแท้ บทว่า คโต หมายความว่า หยั่งถึง พ้นแล้ว บรรลุแล้ว ดำเนินไปถึงแล้ว. ในคำเหล่านั้นพึงทราบอธิบายดังต่อไปนี้ :- พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงถึงแล้ว คือหยั่งถึงแล้วซึ่งโลกทั้งหมด ด้วยความจริงแท้ คือตีรณปริญญา เพราะเหตุนั้น จึงทรงพระนามว่า ตถาคต. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงถึงแล้ว คือพ้นแล้วซึ่งเหตุเกิดของโลกด้วยความจริงแท้ คือปหานปริญญา เพราะเหตุนั้น จึงทรงพระนามว่า ตถาคต. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงถึงแล้ว คือบรรลุแล้วซึ่งความดับของโลกด้วยความจริงแท้ คือการกระทำให้แจ้ง เพราะเหตุนั้น จึงทรงพระนามว่า ตถาคต. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงถึงแล้ว คือ ดำเนินไปถึงแล้วซึ่งความจริงแท้ คือข้อปฏิบัติอันเป็นเหตุให้ถึงความดับโลก เพราะเหตุนั้น จึงทรงพระนามว่า ตถาคต. เพราะเหตุนั้น คำใดที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โลกอันตถาคตตรัสรู้พร้อมเฉพาะแล้ว ตถาคตหลุดพ้นไปแล้วจากโลก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหตุเกิดของโลกอันตถาคตตรัสรู้พร้อมเฉพาะแล้ว ตถาคตละเหตุเกิดของโลกได้แล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความดับโลกอันตถาคตตรัสรู้พร้อมเฉพาะแล้ว ตถาคตทำให้แจ้งความดับโลกได้แล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อปฏิบัติซึ่งเป็นเหตุให้ถึงความดับโลกอันตถาคตตรัสรู้พร้อมเฉพาะแล้ว ตถาคตเจริญข้อปฏิบัติซึ่งเป็นเหตุให้ถึงความดับโลกได้แล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งใด (มีอยู่) แก่โลกกับทั้งเทว ความหมายแห่งคำนั้น นักศึกษาพึงทราบแม้อย่างนี้. และแม้ถ้อยคำดังว่ามานี้ ก็เป็นเพียงมุขกถาในการแสดงถึงภาวะที่พระตถาคตเป็นผู้เข้าถึงความจริงแท้เท่านั้น. ก็พระตถาคตเท่านั้นพึงพรรณนาภาวะที่พระตถาคตเป็นผู้เข้าถึงความจริงได้โดยอาการทุกอย่าง. อธิบาย อรหํ สมฺมาสมฺพุทฺโธ อันดับแรก พระผู้มีพระภาคเจ้าพึงทราบว่าเป็นพระอรหันต์ ด้วยเหตุเหล่านี้คือ ๑. เพราะทรงไกล (จากกิเลส) ๒. เพราะทรงกำจัดข้าศึกทั้งหลาย ๓. เพราะทรงหักซี่กำ (แห่งสังสารจักร) ทั้งหลาย ๔. เพราะเป็นผู้ควรแก่ปัจจัยเป็นต้น ๕. เพราะไม่มีความลับในการทำบาป ส่วนที่ชื่อว่า สัมมาสัมพุทธะ เพราะตรัสรู้ธรรมทั้งปวงโดยชอบและด้วย ปริญญาตวาระ อันที่จริง พระพุทธเจ้าทั้งลายกับเหล่าพระสาวกไม่มีความแตกต่างกันในการละกิเลสด้วยมรรคนั้นๆ ก็จริง ถึงกระนั้นก็ยังมีความแตกต่างกันอยู่ในเรื่องปริญญา (ความรอบรู้) เพราะว่า เหล่าพระสาวกพิจารณาธาตุ ๔ เพียงบางส่วนเท่านั้นก็บรรลุนิพพานได้ แต่สำหรับพระพุทธเจ้าทั้งหลาย สังขารแม้มีประมาณน้อย ที่ยังมิได้เห็น ยังมิได้ไตร่ตรอง ยังมิได้พิจารณา ยังมิได้ทำให้แจ้งด้วยพระญาณ ย่อมไม่มี. ส่วนวาระว่าด้วยนิพพาน คือวาระมีอาทิว่า นันทิ (ความเพลิดเพลิน) เป็นมูลรากของทุกข์นี้ใดที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้แล้ว วาระนั้นควรขยายความให้พิสดารแม้ในวาระว่าด้วยปฐวีธาตุ เป็นต้น. วาระนี้เป็นวาระว่าด้วยสิ่งที่ทรงกำหนดรู้ และเมื่อจะขยายความให้พิสดารออกไป วาระที่ว่า ปริญฺญาตนฺตํ ตถาคตสฺส ควรประกอบเข้ากับบททุกบท (ทั้ง) คำว่า นันทิ เป็นมูลรากของทุกข์เป็นต้น ก็ควรประกอบเข้ามาอีก. ส่วนเทศนา พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงย่อไว้ด้วยทรงสำคัญว่า วัตถุ (ซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งการสำคัญยึดถือ) เป็นอันกล่าว แก้บท นนฺทิ ทุกฺขสฺส มูลํ บทว่า นนฺทิ ได้แก่ ตัณหาครั้งแรก. บทว่า ทุกฺขํ ได้แก่ เบญจขันธ์. บทว่า มูลํ ได้แก่ รากเหง้า. บทว่า อิติ วิทิตฺวา ความว่า เพราะทราบนันทิ (ความเพลิดเพลิน, ยินดี) ในภพครั้งแรกนั้นอย่างนี้ว่า เป็นมูลรากของทุกข์นี้. บทว่า ภวา ได้แก่ เพราะกรรมภพ. บทว่า ชาติ ได้แก่ วิบากขันธ์ (ขันธ์ที่เป็นวิบาก คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ). แท้จริง วิบากขันธ์เหล่านั้น เพราะเหตุที่เกิด ฉะนั้น จึงตรัสเรียกว่า ชาติ. อีกอย่างหนึ่ง เทศนานี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าแสดงไว้โดยยกถึงชาติ (การเกิดของวิบากขันธ์) เป็นหัวข้อ. แม้เมื่อเป็นอย่างนี้จึงควรประกอบเข้ากับคำนี้ว่า อิติ วิทิตฺวา. ก็ในคำนี้มีอธิบายดังนี้ว่า ก็เพราะทราบอย่างนี้ว่า เพราะกรรมภพ (เจตนาที่ทำกรรม) จึงมีอุปปัตติภพ. บทว่า ภูตสฺส แปลว่า ของสัตว์. บทว่า ชรามรณํ แปลว่า ชราและมรณะ. มีคำอธิบายอย่างนี้ว่า ก็เพราะทราบอย่างนี้ว่า ชราและมรณะย่อมมีแก่ขันธ์ของสัตว์ผู้เกิดมาแล้ว เพราะอุปปัตติภพนั้น. พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งโดยอปราชิตบัลลังก์ ณ โคนต้นโพธิ์ ทรงพิจารณาปฏิจจ อธิบายปฏิจจสมุปบาท ตอบว่า ก็ในคำว่า นนฺทิ ทุกฺขสฺส มูลํ นี้ มีอธิบายว่า ศัพท์ว่า นนฺทิ นี้เป็นสังเขปที่ ๑ ทุกข์เป็นสังเขปที่ ๒ เพราะพระบาลีว่า ทุกฺขสฺส ภพเป็นสังเขปที่ ๓ เพราะพระบาลีว่า ภวา ชาติ ชาติ ชราและมรณะเป็นสังเขปที่ ๔. พึงทราบสังเขป ๔ ด้วยคำเพียงเท่านี้ดังพรรณนามาฉะนี้. (บทว่า สังเขป) อธิบายว่า ได้แก่ ส่วนทั้งหลาย. ระหว่างตัณหากับทุกข์ เป็นสนธิที่ ๑ ระหว่างทุกข์กับภพเป็นสนธิที่ ๒ ระหว่างภพกับชาติเป็นสนธิที่ ๓ พึงทราบสนธิ ๓ ระหว่างสังเขป ๔ ซึ่งเหมือนกับระหว่างนิ้วมือทั้ง ๔ ดังพรรณนามาฉะนี้. ในปฏิจจสมุปบาทนั้น นันทิเป็นอตีตัทธา (กาลที่เป็นอดีต) ชาติ ชราและมรณะ เป็นอนาคตัทธา (กาลที่เป็นอนาคต) ทุกข์และภพ เป็นปัจจุปันนัทธา (กาลที่เป็นปัจจุบัน) พึงทราบอัทธา ๓ ดังพรรณนามาฉะนี้แล. อนึ่ง ในอตีตัทธา ในบรรดาอาการ ๕ ด้วยคำว่า นันทิ ตัณหา จึงมาแล้วหนึ่ง แม้ตัณหานั้น จะยังไม่มา (อาการ ๔ คือ) อวิชชา สังขาร อุปาทาน และภพก็เป็นอันจัดเข้าแล้วทีเดียว ด้วยลักษณะที่เป็นปัจจัย. อนึ่ง ด้วยคำว่า ชาติ ชราและมรณะ เพราะเหตุที่อธิบายไว้ว่า ขันธ์เหล่าใดมีชาติ ชราและมรณะนั้น ขันธ์เหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้แล้วทีเดียวในอนาคตัทธา จึงเป็นอันรวมเอาวิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะและเวทนาเข้าไว้ด้วยเช่นกัน. ในกรรมภพซึ่งเป็นภพแรกมีธรรม ๕ ประการนี้ คือ โมหะได้แก่อวิชชา การประมวลมาได้แก่สังขาร ความใคร่ได้แก่ตัณหา การเข้าไปยึดถือได้แก่อุปาทาน เจตนาได้แก่ภพ เป็นปัจจัยของปฏิสนธิในปัจจุปันนัทธา ในเพราะกรรมภพซึ่งเป็นภพแรก. ในปัจจุปันนัทธามีธรรม ๕ ประการนี้คือ ปฏิสนธิ คือวิญญาณ สิ่งที่ก้าวลงคือนามรูป ปสาทรูปคืออายตนะ. อาการที่ถูกต้องคือผัสสะ อาการที่เสวยอารมณ์คือเวทนา เป็นปัจจัยของกรรมที่ทำไว้ก่อน ในเพราะอุปปัตติภพในปัจจุปันนัทธา. แต่เพราะในปัจจุปันนัทธา อายตนะทั้งหลายเจริญได้ที่แล้วจึงมีธรรม ๕ ประการเหล่านี้คือ โมหะคืออวิชชา การประมวลมาคือสังขาร ความใคร่คือตัณหา การเข้าไปยึดถือคืออุปาทาน เจตนาคือกรรมภพ เป็นปัจจัยของปฏิสนธิในอนาคตัทธา ในเพราะกรรมภพในปัจจุปันนัทธา. ในอนาคตัทธามีธรรม ๕ ประการนี้คือ ปฏิสนธิคือวิญญาณ สิ่งที่ก้าวลง (เกิดขึ้น) คือนามรูป ปสาทรูปคืออายตนะ อาการที่ถูกต้องคือผัสสะ อาการที่เสวยอารมณ์คือเวทนา เป็นปัจจัยของกรรมที่ทำไว้แล้วในปัจจุปันนัทธา ในเพราะอุปปัตติภพในอนาคตัทธา. พึงทราบอาการ ๒๐ เหล่านี้ ในปฏิจจสมุปบาทนี้ ซึ่งมีลักษณะดังแสดงไว้แล้วอย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้แล. ปฏิจจสมุปบาทซึ่งมีสังเขป ๔ มีสนธิ ๓ มีอัทธา ๓ (และ) มีอาการ ๒๐ แม้ทั้งหมดพึงทราบว่า ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้วด้วยพระดำรัสเพียงเท่านี้ว่า เพราะทราบอย่างนี้ว่า นันทิ (ความเพลิดเพลิน, ยินดี) เป็นรากเหง้าของทุกข์ จึงทราบต่อไปว่า เพราะภพจึงมีชาติ สัตว์ที่เกิดมาแล้วย่อมมีชราและมรณะ ด้วยประการดังพรรณ แก้บท ขยา วิราคา ปฏินิสฺสคฺคา บทว่า ตสฺมา ติห มีอธิบายว่า ได้แก่ ตสฺมา (เพราะเหตุนั้น) นั่นเอง. (เพราะว่า) ติ อักษร และ ห อักษร เป็นนิบาต. คำว่า สพฺพโส นั่น เป็นคำกล่าวไม่มีส่วนเหลือ. บทว่า ตณฺหานํ ได้แก่ตัณหาทั้งหมดที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้อย่างนี้ว่า นันทิ. บทว่า ขยา แปลว่า เพราะความสิ้นไปโดยเด็ดขาดด้วยโลกุตตรมรรค. คำว่า วิราคะ (สำรอก) เป็นต้น เป็นไวพจน์ของคำว่า ขยะ (ความสิ้นไป). อธิบายว่า ตัณหาเหล่าใดสิ้นไปแล้ว ตัณหาเหล่านั้นย่อมเป็นอันสำรอกแล้วบ้าง ดับแล้วบ้าง สละทิ้งแล้วบ้าง สลัดคืนบ้าง. อีกอย่างหนึ่ง คำว่า ขยา นั่น เป็นคำใช้ทั่วไปแก่กิจของมรรคทั้ง ๔. เพราะเหตุนั้น จึงควรอธิบายประกอบความว่า เพราะสำรอกได้ด้วยมรรคที่ ๑ (โสดาปัตติมรรค) มรรคที่ ๒ (สกทาคามิมรรค) เพราะสละทิ้งได้ด้วยมรรคที่ ๓ (อนาคามิมรรค) เพราะสละคืน (เด็ดขาด) ด้วยมรรคที่ ๔ (อรหัตตมรรค). อีกอย่างหนึ่ง พึงทำอธิบายประกอบความในพระดำรัสตอนนี้ (อีก) อย่างนี้ว่า ปุถุชนพึงหมายรู้ปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุด้วยตัณหาเหล่าใด เพราะความสิ้นไปแห่งตัณหาเหล่านั้น ปุถุชนพึงสำคัญซึ่งปฐวีธาตุด้วยตัณหาเหล่าใด เพราะสำรอกเสียได้ซึ่งตัณหาเหล่านั้น ปุถุชนพึงสำคัญในปฐวีธาตุด้วยตัณหาเหล่าใด เพราะดับตัณหาเหล่านั้นเสียได้ ปุถุชนพึงสำคัญจากปฐวีธาตุด้วยตัณหาเหล่าใด เพราะสละทิ้งซึ่งตัณหาเหล่านั้นเสียได้ ปุถุชนพึงสำคัญว่า ปฐวีธาตุของเราด้วยตัณหาเหล่าใด เพราะสละคืนตัณหาเหล่านั้นเสียได้. อีกอย่างหนึ่ง ปุถุชนพึงสำคัญปฐวีธาตุด้วยตัณหาเหล่าใด เพราะความสิ้นไปแห่งตัณหาเหล่านั้น ฯลฯ ปุถุชนพึงยินดีปฐวีธาตุด้วยตัณหาเหล่าใด เพราะสละคืนตัณหาเหล่านั้นเสียได้. (ความทั้งสองนี้) ไม่มีอะไรที่ขัดแย้งกัน. บทว่า อนุตฺตรํ คือเว้นจากบุคคลผู้ยิ่งกว่า ได้แก่ประเสริฐกว่าคนอื่นทั้งหมด. ความหมายของคำว่า โพธิ บทว่า โพธิ หมายถึง ต้นไม้บ้าง มรรคบ้าง สัพพัญญุตญาณบ้าง นิพพานบ้าง. อธิบายว่า ต้นไม้ เรียกว่า โพธิ (เช่น) ในอาคตสถานที่ว่า โพธิรุกฺขมูเล ปฐมาภิสมฺพุทฺโธ (แปลว่า แรกตรัสรู้ ณ โคนต้นโพธิ์) และว่า อนฺตรา จ โพธึ อนฺตรา จ คยํ (แปลว่า ระหว่างต้นโพธิ์กับตำบลคยา). มรรคเรียกว่า โพธิ (เช่น) ในอาคตสถานที่ว่า จตุมคฺเคสุ ญาณํ (แปลว่า ญาณในมรรค ๔) สัพพัญญุตญาณเรียกว่า โพธิ (เช่น) ในอาคตสถานที่ว่า ปปฺโปติ โพธึ วรภูมิ เมธโส (แปลว่า พระผู้มีปัญญาอันประเสริฐจอมปราชญ์ทรงบรรลุพระโพธิญาณ). นิพพานเรียกว่า โพธิ (เช่น) ในอาคตสถานที่ว่า ปตฺวาน โพธึ อมตํ อสงฺขตํ (แปลว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบรรลุโพธิอันเป็นอมตะไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง). แต่ในที่นี้ ประสงค์เอาอรหัตตมรรคญาณของพระผู้มีพระภาคเจ้า. อาจารย์อีกพวกหนึ่งกล่าวว่า ประสงค์เอาสัพพัญญุตญาณ ดังนี้บ้าง. ถามว่า อรหัตตมรรคของพระสาวกทั้งหลายจัดเป็นโพธิญาณอันยอดเยี่ยมหรือไม่? ตอบว่า ไม่จัด ถามว่า เพราะเหตุไร? ตอบว่า เพราะให้คุณไม่ได้ทุกอย่าง เป็นความจริง บรรดาพระสาวกเหล่านั้น อรหัตตมรรคของบางท่านให้ได้เฉพาะอรหัตตผลเท่านั้น. ของบางท่านให้วิชชา ๓ ของบางท่านให้อภิญญา ๖ ของบางท่านให้ปฏิสัมภิทา ๔ ของบางท่านให้สาวกบารมีญาณ. แม้ของพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ก็ให้เฉพาะปัจเจกโพธิญาณเท่านั้น ส่วนอรหัตตมรรคของพระพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมให้คุณสมบัติทุกอย่าง เปรียบเหมือนการอภิเษก (ในราชสมบัติ) ของพระราชาย่อมให้ความเป็นใหญ่ในโลกทั้งหมด เพราะฉะนั้น โพธิญาณของใครๆ อื่นจึงไม่จัดว่ายอดเยี่ยม. บทว่า อภิสมฺพุทฺโธ หมายความว่า รู้ยิ่งแล้ว คือแทงตลอดแล้ว. อธิบายว่า ถึงแล้ว คือบรรลุแล้ว. บทว่า อิติ วทามิ ความว่า เราตถาคตย่อมกล่าว คือบอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก กระทำให้ง่าย ด้วยประการฉะนี้. ในคำนั้นมีอธิบายขยายความดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ตถาคต ฯลฯ ย่อมไม่สำคัญปฐวีธาตุ ฯลฯ ย่อมไม่ยินดีปฐวีธาตุ ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะทราบอย่างนี้ว่า นันทิ (ความเพลิดเพลิน, ยินดี) เป็นรากเหง้าของทุกข์ เพราะภพจึงมีชาติ สัตว์ที่เกิดมาแล้วมีชราและมรณะ. อิติ อักษร ในบทว่า อิติ วิทิตฺวา (ที่มา) ในคำว่า นนฺทิ ทุกฺขสฺส มูลํ ฯเปฯ ชรา มรณนฺติ อิติ วิทิตฺวา นั้นมีความหมายว่า การณะ (เป็นเหตุ) เพราะเหตุนั้น จึงมีอธิบายว่า เพราะรู้แจ้ง คือเพราะแทงตลอดซึ่งปฏิจจสมุปบาทนี้. พึงทราบเพิ่มเติมขึ้นอีกนิดหน่อย. เพราะเหตุที่พระตถาคตทรงรู้แจ้งปฏิจจสมุปบาทนี้อย่างนี้ จึงทรงละตัณหาที่ตรัสไว้ว่า นันทินั้นได้แม้ทุกประการ และเพราะตัณหาเหล่านั้นสิ้นไปทั้งหมด พระตถาคตจึงได้ตรัสรู้พร้อมเฉพาะซึ่งพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ เพราะฉะนั้น ตถาคตจึงกล่าวว่า พระตถาคตย่อมไม่สำคัญปฐวีธาตุ ฯลฯ ไม่ยินดีปฐวีธาตุ. อธิบายว่า เพราะตรัสรู้พร้อมเฉพาะอย่างนี้ ตถาคตจึงกล่าวว่า พระตถาคตไม่สำคัญ ไม่ยินดี (ซึ่งปฐวีธาตุ). อีกอย่างหนึ่ง เพราะเหตุที่พระตถาคตทรงรู้แจ้งปฏิจจสมุปบาทโดยนัยมีอาทิว่า นันทิเป็นรากเหง้าของทุกข์ จึงทรงถึงความสิ้นไปแห่งตัณหา ในทุกบทก็มีนัยอย่างเดียวกันนี้. เหตุผลที่พระไม่ชื่นชมภาษิตของพระพุทธเจ้า ก็แล พระผู้มีพระภาคเจ้าแม้จะตรัสพระสูตรนี้อันประกอบด้วยนัยอันวิจิตร และความวิลาสแห่งเทศนาด้วยพระสุรเสียงดุจเสียงพรหม ซึ่งไพเราะดุจเสียงของนกการเวก (และ) เป็นเช่นกับได้ทรงราดรดหทัยของชนด้วยน้ำอมฤต เพราะระรื่นหูอยู่อย่างนี้ (ภิกษุเหล่านั้นก็ยังมิได้ชื่นชมพระภาษิต). บทว่า น เต ภิกฺขู ภควโต ภาสิตํ อภินนฺทุํ ความว่า ภิกษุ ๕๐๐ รูปเหล่านั้นมิได้ ถามว่า เพราะเหตุไร? ตอบว่า เพราะไม่เข้าใจ. ว่ากันว่า ภิกษุเหล่านั้นไม่เข้าใจเนื้อหาของสูตรนี้ ฉะนั้นจึงไม่ชื่นชม. จริงอยู่ ในสมัยนั้นพระสูตรนั่นแม้จะประกอบด้วยนัยอันวิจิตร และความวิลาสแห่งเทศนาอย่างนี้ สำหรับภิกษุเหล่านั้นได้เป็นเหมือนคนที่เขาเอาผืนผ้าหนาๆ ผูกปากไว้แล้วเอาของกินที่ถูกใจมาวางตรงหน้า (ไม่สามารถจะกินได้) ฉะนั้น. ถามว่า ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบำเพ็ญพระบารมีมาถึง ๔ อสงไขย แล้วได้บรรลุพระสัพพัญญุตญาณก็เพื่อสอนคนอื่นให้เข้าใจธรรมที่พระองค์ทรงแสดงมิใช่หรือ ไฉนพระองค์จึงทรงแสดงธรรมแก่ภิกษุเหล่านั้น โดยที่ภิกษุเหล่านั้นไม่เข้าใจ (เนื้อหา) เล่า? ตอบว่า คำตอบนี้ ท่านกล่าวไว้แล้วในการวิจารณ์บทตั้งของสูตรนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเริ่มเทศนาไว้อย่างนี้ว่า สพฺพธมฺมมูลปริยายํ ก็เพื่อหักรานมานะ (ของภิกษุเหล่านั้น) ฉะนั้น ในที่นี้จึงไม่มีอะไรที่ต้องกล่าวซํ้าอีก. ก็แล ครั้นได้ฟังสูตรนี้ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง เพื่อหักรานมานะอย่างนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นจึงคิดกันว่า ได้ยินว่า ปุถุชนมี (มิจฉาทิฏฐิ) ทิฏฐิเป็นแนวดำเนิน ย่อมหมายรู้ปฐวีนั้นนั่นแล ฝ่ายพระเสขะ พระอรหันต์ และพระตถาคตย่อมทราบอย่างแน่ชัดว่า สิ่งนี้คืออะไร สิ่งนี้เป็นอย่างไร ดังนี้ เป็นผู้หมดมานะ เหมือนอสรพิษที่ถูกถอนเขี้ยวแล้วฉะนั้น ด้วยระลึกได้ว่า เมื่อก่อนพวกเราย่อมรู้ทั่วถึงพระดำรัสอย่างใดอย่างหนึ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วอย่างเร็วพลันทีเดียว แต่มาบัดนี้กลับไม่รู้ไม่เห็นที่สุดหรือเงื่อนแห่ง ภิกษุ ๕๐๐ รูปได้บรรลุอรหัตตผล ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกจากพระคันธกุฎีไปประทับนั่งบนบวรพุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้ในธรรมสภาด้วยปาฏิหาริย์ที่เหมาะสมกับขณะนั้น แล้วได้ตรัสกับภิกษุเหล่านั้นว่า ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายสนทนากันด้วยเรื่องอะไรหนอ. ภิกษุเหล่านั้นได้ทูลบอกเนื้อความนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสคำนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ใช่แต่บัดนี้เท่านั้น แม้ในกาลก่อน เราตถาคตก็ได้ทำภิกษุเหล่านี้ซึ่งเที่ยวลำพองอยู่ด้วยมานะให้หมดมานะแล้วเหมือนกัน. จากนั้น เพราะเกิดเรื่องนี้เป็นเหตุ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงนำอดีตนิทานนี้มาเล่าว่า :- ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว พราหมณ์ทิศาปาโมกข์คนหนึ่งอาศัยอยู่ในเมืองพาราณ พราหมณ์นั้นได้สอนมนต์ให้มาณพ ๕๐๐ คน. พวกมาณพที่เป็นคนฉลาดย่อมเรียนได้มาก จำได้เร็วและแม่นยำ มนต์ที่มาณพเหล่านั้นเรียนแล้วไม่เลอะเลือนเลย. แม้พราหมณ์นั้นก็มิได้หวงแหนวิชาเป็นเหมือนเทนํ้าลงไปในหม้อในมาณพเหล่านั้นเรียนศิลปะจนหมดแล้ว ได้กล่าวกะมาณพเหล่านั้นดังนี้ว่า ศิลปะนี้เพียงเท่านี้ ก็เป็นประโยชน์ทั้งในปัจจุบันและภายภาคหน้า. มาณพเหล่านั้นก็เกิดมานะขึ้นมาว่า อาจารย์ของพวกเราย่อมรู้สิ่งใด แม้พวกเราก็รู้สิ่งนั้น บัดนี้ แม้พวกเราก็เป็นอาจารย์ได้แล้ว ตั้งแต่นั้นมาก็ขาดความเคารพทอดทิ้งวัตรในอาจารย์อยู่. อาจารย์ทราบแล้วคิดว่า เราจักทำการข่มมานะของมาณพเหล่านั้น. วันหนึ่ง ท่านอาจารย์ได้กล่าวกะมาณพเหล่านั้นผู้มายังสถานที่บำรุงไหว้แล้วนั่งอยู่ว่า พ่อคุณทั้งหลายเอ๋ย อาจารย์จักถามปัญหากะพวกพ่อ (สักข้อหนึ่ง) พวกพ่อจะสามารถกล่าวแก้ได้ไหม? มาณพเหล่านั้นก็พากันรีบเรียนอย่างคนที่เมาการศึกษาว่า ถามเลย ท่านอาจารย์ ถามเลย ท่านอาจารย์. อาจารย์จึงกล่าวว่า กาลย่อมกินสรรพสัตว์กับทั้งตัวมันเอง แต่ว่าสัตว์ใดเล่า ที่กินกาล ได้เผาไหม้ตัณหาที่เผาไหม้สัตว์ไปด้วยได้? แล้วกล่าวต่อไปว่า พ่อคุณทั้งหลาย พวกพ่อจงแก้ปัญหานี้ซิ. มาณพเหล่านั้นคิดแล้วแต่ไม่รู้ (คำตอบ) จึงได้พากันนิ่งเงียบ. อาจารย์จึงกล่าวว่า เอาละพ่อทั้งหลาย วันนี้กลับไปก่อน พรุ่งนี้ค่อย (มา) กล่าวแก้ ดังนี้แล้วส่งมาณพเหล่านั้นกลับไป. มาณพเหล่านั้น (จากอาจารย์มาแล้ว) จับกลุ่มกัน ๑๐ คนบ้าง ๒๐ คนบ้าง (พิจารณาปัญหา) ก็ยังมองไม่เห็นเบื้องต้น ไม่เห็นเบื้องปลายแห่งปัญหานั้น. พวกเขาจึงได้พากันมาบอกอาจารย์ว่า พวกผมไม่เข้าใจความหมายของปัญหานี้เลย. เพื่อต้องการข่มมาณพเหล่านั้น อาจารย์จึงได้กล่าวคาถานี้ว่า
ในเขาเหล่านี้ใครเล่าเป็นผู้มีหู คาถา (นี้) มีอธิบายว่า ศีรษะของคนจำนวนมากปรากฏอยู่ และศีรษะเหล่านั้นทั้งหมดก็มีผม ทั้งหมดเป็นศีรษะใหญ่ตั้งอยู่บนคอ แต่ว่ามือเอื้อมไม่ถึง เช่นเดียวกับผลตาล (ที่มือเอื้อมไม่ถึง) ฉะนั้น ศีรษะเหล่านั้นกับศีรษะเหล่านี้ไม่มีความแตกต่างกัน. แต่ในที่นี้ อาจารย์กล่าวว่า โกจิเทว กณฺณวา ดังนี้ หมายเอาตนเอง. บทว่า กณฺณวา แปลว่า ผู้มีปัญญา. ก็ใครกันเล่าที่ไม่มีรูหู? มาณพเหล่านั้นได้ฟังคาถานั้นแล้ว เป็นผู้เก้อเขิน คอตก (นั่ง) ก้มหน้านิ่งเอานิ้วมือขีดดิน. ลำดับนั้น อาจารย์เห็นว่ามาณพเหล่านั้นมีความละอายใจ แล้วจึงกล่าวว่า พ่อคุณทั้งหลาย พวกพ่อจงเรียนเอาปัญหาเถิด ดังนี้แล้ว ได้แก้ปัญหา (ให้มาณพเหล่านั้นฟัง). บทว่า กาล ได้แก่ กาลมีอาทิอย่างนี้คือ เวลาก่อนอาหารบ้าง เวลาหลังอาหารบ้าง. คำว่า ภูตานิ นั่นเป็นชื่อเรียกสัตว์. กาลหาได้เคี้ยวกินเนื้อและหนังเป็นต้นของสัตว์ทั้งหลายไม่. ที่แท้แลกลับทำให้อายุ วรรณะ และพละของสัตว์เหล่านั้นสิ้นไป ยํ่ายีความเป็นหนุ่มความเป็นสาว ทำความเป็นผู้ไม่มีโรคให้พินาศไป จึงเรียกว่า กิน คือเคี้ยวกิน. บทว่า สพฺพาเนว สหตฺตนา ความว่า และกาลเมื่อกินอยู่อย่างนั้น ย่อมไม่เว้นอะไรๆ ย่อมกินทั้งหมดทีเดียว และใช่ว่าจะกินแต่สัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น ที่แท้แลยังกินตัวมันเองไปพร้อมกับตัวมันเอง (อีก) ด้วย (คือ) เวลาก่อนอาหาร (ผ่านไป) จะมาเป็นเวลาหลังอาหาร (อีก) ไม่ได้. ในเวลาหลังอาหารเป็นต้นก็มีนัยแบบนี้. บทว่า โย จ กาลฆโส ภูโต นั่น เป็นชื่อเรียกพระขีณาสพ. ก็พระขีณาสพนั้นเรียกว่า ผู้กินกาล เพราะท่านกินปฏิสนธิกาลในภพต่อไปจนหมดสิ้นแล้วดำรงอยู่. บทว่า สภูตปจนึ ปจิ ความว่า ตัณหานี้ใดย่อมเผาสัตว์ทั้งหลายในอบายทั้งหลาย พระขีณาสพนั้นเผาตัณหานั้นด้วยไฟคือญาณ ได้แก่ ทำให้เป็นเถ้าถ่านไปแล้ว. เพราะเหตุนั้นจึงกล่าวว่า ภูตปจนึ ปจิ (แปลว่าเผาตัณหาที่เผาสัตว์). (ในคำว่า ปจนึ) บาลีเป็น ปชฺชนึ ก็มี. หมายความว่า ให้เกิด คือให้บังเกิด. ลำดับนั้น มาณพเหล่านั้นเห็นเนื้อความของปัญหาปรากฏชัดตามคำแก้ของอาจารย์ เหมือนคนเห็นที่เรียบและที่ขรุขระในตอนกลางคืนด้วยแสงสว่างของประทีปพันดวง จึงคิดว่า บัดนี้พวกเราจักอยู่ร่วมกับอาจารย์ จนตลอดชีวิต ขึ้นชื่อว่าอาจารย์แล้ว เป็นผู้ยิ่งใหญ่ ก็พวกเราเกิดความถือตัวว่า ได้ศึกษามามากจึงไม่รู้ความหมายของคาถาแม้เพียง ๔ บาท ขจัดมานะได้แล้ว (หันกลับ) มาทำวัตรปฏิบัติแก่อาจารย์เหมือนเมื่อก่อนแล้ว ได้เป็นผู้มีสวรรค์เป็นที่ไปในเบื้องหน้า. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในสมัยนั้นเราตถาคตได้เป็นอาจารย์ ภิกษุเหล่านี้ได้เป็นมาณพ แม้ในกาลก่อน ตถาคตก็ได้ทำภิกษุเหล่านี้ซึ่งมีมานะจัดท่องเที่ยวไปอยู่อย่างนี้ให้หมดมานะ ด้วยประการฉะนี้. ก็ภิกษุเหล่านั้นได้ฟังชาดกนี้แล้วคิดได้ว่า แม้เมื่อก่อนพวกเราก็ถูกมานะครอบงำแล้ว จึงขจัดมานะออกให้ยิ่งขึ้นไปอีกได้ เป็นผู้มุ่งหน้า (ปฏิบัติ) กรรมฐานที่เป็นอุปการะแก่ตน. ต่อมาคราวหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเที่ยวจาริกไปในชนบทถึงเมืองไพศาลี แล้วประทับอยู่ที่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตย่อมแสดงธรรมเพื่อความรู้ยิ่ง ไม่ใช่แสดงเพื่อความไม่รู้ยิ่ง เราตถาคตแสดงธรรมมีเหตุ ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตแสดงธรรมมีปาฏิหาริย์ ไม่ใช่แสดงธรรมไม่มีปาฏิหาริย์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อตถาคตนั้นแสดงธรรมเพื่อความรู้ยิ่ง ฯลฯ ไม่ใช่แสดงธรรมไม่มีปาฏิหาริย์ โอวาทจึงเป็นสิ่งที่ควรทำตาม อนุสาสนีเป็นสิ่งที่ควรทำตาม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลเธอทั้งหลายควรที่จะยินดี ควรที่จะชื่นชม ควรที่จะโสมนัสว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสรู้อย่างถูกต้องด้วยพระองค์เอง พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว พระสงฆ์ (สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า) ปฏิบัติดีแล้ว. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระสูตรนี้ ก็แลเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไวยากรณ์นี้อยู่ หมื่นโลกธาตุก็ได้หวั่นไหวแล้ว. ก็ภิกษุ ๕๐๐ รูปเหล่านั้นได้สดับพระสูตรนี้แล้ว ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์พร้อมด้วยปฏิสัมภิทาทั้งหลายในเวลาจบ (พระสูตร) นั้นเอง. เทศนานี้ได้จบลงในที่นั่นด้วยอาการอย่างนี้แล. จบอรรถกถามูลปริยายสูตร ในอรรถกถามัชฌิมนิกาย ชื่อปปัญจสูทนี. จบพระสูตรที่ ๑ .. อรรถกถา มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ มูลปริยายวรรค มูลปริยายสูตร ว่าด้วยมูลเหตุแห่งธรรมทั้งปวง จบ. |