![]() |
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
![]() |
![]() | |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ในบทเหล่านั้น บทว่า เทฺวธา กตฺวา เทฺวธา กตฺวา ความว่า ทำให้เป็นสองภาค. วิตกที่ประกอบด้วยกาม ชื่อกามวิตก. วิตกที่ประกอบด้วยความปองร้าย ชื่อพยาบาทวิตก. วิตกที่ประกอบด้วยความเบียดเบียน ชื่อวิหิงสาวิตก. บทว่า เอกํ ภาคํ ความว่า วิตกนี้แม้ทั้งหมด ทั้งภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด ก็เป็นฝ่ายแห่งอกุศลนั้นเทียว เพราะฉะนั้น เราจึงทำกามวิตก พยาบาทวิตกและวิหิงสาวิตก แม้ทั้งสามให้เป็นส่วนหนึ่ง. วิตกที่สลัดออกจากกามทั้งหลายแล้ว ประกอบพร้อมด้วยเนกขัมมะ ชื่อเนก บทว่า ทุติยภาคํ ความว่า ท่านแสดงกาลเวลาในการข่มวิตกของพระโพธิสัตว์ ด้วยบทนี้ว่า วิตกนี้แม้ทั้งหมดเป็นฝ่ายกุศลทั้งนั้น เพราะฉะนั้น เราจึงทำให้เป็นส่วนที่สอง. ก็เมื่อพระโพธิสัตว์ทรงเริ่มตั้งความเพียรตลอด ๖ ปี วิตกทั้งหลายมีเนกขัมมวิตกเป็นต้นได้เป็นไปแล้ว เหมือนห้วงแม่น้ำใหญ่เต็มตลิ่งฉะนั้น ก็วิตกทั้งหลายมีกามวิตกเป็นต้นเกิดขึ้นรวดเร็ว เพราะความหลง วิตกเหล่านั้นเกิดขึ้นแก่พระโพธิสัตว์นั้นโดยประการใด และพระโพธิสัตว์ทรงข่มวิตกเหล่านั้นโดยประการใด บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงประการนั้น จึงตรัสว่า ตสฺส มยฺหํ ภิกฺขเว ดังนี้เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อปฺปมตฺตสฺส ความว่า ดำรงอยู่ในความไม่อยู่ปราศจากสติ. บทว่า อาตาปิโน ความว่า มีความเพียรเครื่องเผากิเลส. บทว่า ปหิตตฺตสฺส ความว่า มีจิตส่งไปแล้ว. บทว่า อุปฺปชฺชติ กามวิตกฺโก ความว่า เมื่อพระโพธิสัตว์ทรงเริ่มตั้งความเพียรตลอด ๖ ปี ชื่อกามวิตกซึ่งปรารภความสุขในการครองราชสมบัติ ปราสาท นางฟ้อนรำ ตำหนักนางสนมกำนัล หรือปรารภสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง เคยเกิดขึ้นแล้ว. ก็พระโพธิสัตว์นั้นทรงถึงการสมาทานอันยิ่งยวด ด้วยทรงอดพระกระยาหารในการ จริงอยู่ อัตตภาพที่คร่ำคร่าเพราะชรา แม้จะได้โภชนะที่สบาย ก็ไม่กลับเป็นปกติได้. แต่พระโพธิ พระโพธิสัตว์นั้นทรงมีพระดำริว่า ฝูงเนื้อ หมู่นก บึง ราวป่า แม่น้ำเนรัญชราเหล่านี้ สวยงามหนอ ดังนี้. พระองค์ทรงถือวิตกนิดหน่อยอย่างนี้ แม้นั้น ทรงกระทำกามวิตก. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า กามวิตกย่อมเกิดขึ้น ดังนี้. บทว่า อตฺตพฺยาพาธายปิ ความว่า เพื่อความทุกข์แก่ตนบ้าง. ในบททั้งปวง ก็มีนัยเช่นเดียวกัน. ถามว่า ก็ชื่อว่าวิตกที่เป็นไปเพื่อความทุกข์แก่ทั้ง ๒ ฝ่ายของพระมหาสัตว์ มีหรือ. ตอบว่า ไม่มี. ก็เมื่อพระมหาสัตว์ดำรงอยู่ในความไม่กำหนดรู้ วิตกย่อมเป็นไปจนถึงการเบียดเบียนทั้ง ๒ ฝ่าย เพราะฉะนั้น จึงได้ชื่อ ๓ อย่างนั้นอย่างนี้ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสอย่างนั้น. บทว่า ปญฺญานิโรธิโก ความว่า ย่อมไม่ให้เพื่อเกิดขึ้นแห่งปัญญาอันเป็นโลกิยะและโลกุตตระ ที่ยังไม่เกิดขึ้นแล้ว. ก็วิตกตัดโลกิยปัญญาแม้เกิดขึ้นแล้วด้วยอำนาจแห่งสมาบัติแปดและอภิญญาห้า ให้สิ้นไป เพราะฉะนั้น จึงทำให้ปัญญาดับ. บทว่า วิฆาตปกฺขิโก ความว่า เป็นส่วนแห่งทุกข์. ชื่อว่าไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน เพราะวิตก ไม่ให้เพื่อกระทำชื่อนิพพานอันปัจจัยไม่ปรุงแต่งนั้นให้ประจักษ์. บทว่า อพฺภตฺถํ คจฺฉติ ความว่า ถึงความสิ้นไป คือความไม่มี คือดับไป ดุจฟองน้ำฉะนั้น. บทว่า ปชหเมว คือ ทิ้งแล้วนั้นเทียว. บทว่า วิโนทนเมว คือ นำออกไปแล้วนั้นเทียว. บทว่า พฺยนฺตเมว นํ อกาสึ ความว่า เราทำวิตกนั้นให้ไปปราศ ไม่มีเหลือหมุนกลับ ปกปิดนั้นเทียว. บทว่า พฺยาปาทวิตกฺโก ความว่า วิตกที่ชื่อว่าประกอบพร้อมด้วยการเบียดเบียนคนอื่น ย่อมไม่เกิดในพระหฤทัยของพระโพธิสัตว์. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายถึงความที่พระโพธิสัตว์นั้นทรงน้อมจิตไป เพราะอาศัยเหตุทั้งหลายมีฝนจัด ร้อนจัดและหนาวจัดเป็นต้นนั้น จึงตรัสว่า พยาบาทวิตก ดังนี้. บทว่า วิหึสาวิตกฺโก ความว่า วิตกที่ประกอบพร้อมด้วยการยังทุกข์ให้เกิดขึ้นแก่คนเหล่าอื่น ย่อมไม่เกิดขึ้นแก่พระมหาสัตว์. แต่อาการแห่งความฟุ้งซ่านในพระหฤทัยเป็นอาการแห่งอารมณ์หลายประการ พระโพธิสัตว์ทรงถือเอาอาการนั้นทำวิหิงสาวิตก เพราะพระองค์ประทับนั่ง ณ พระทวารแห่งพระบรรณศาลา ทรงเห็นเนื้อร้ายมีสีหะและเสือโคร่งเป็นต้น กำลังเบียดเบียนเนื้อตัวเล็กๆ มีสุกรเป็นต้น. ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์ทรงดำริว่า ศัตรูทั้งหลายย่อมเกิดขึ้นแก่สัตว์เดียรัจฉานเหล่านี้ ในป่าซึ่งไม่มีภัย แต่ไหนชื่อแม้นี้ พวกสัตว์มีกำลังกินสัตว์มีกำลังน้อย พวกสัตว์กินสัตว์มีกำลังน้อยย่อมเป็นอยู่ได้ ดังนี้ ทรงยังพระกรุณาให้เกิดขึ้น ทรงเห็นสัตว์แม้เหล่าอื่นมีแมวเป็นต้น กำลังกินสัตว์มีไก่และหนูเป็นต้น. เสด็จเข้าสู่บ้านเพื่อบิณฑบาต ทรงยังพระกรุณาให้เกิดขึ้นว่า มนุษย์ทั้งหลายถูกข้าราชการเบียดเบียน เสวยทุกข์มีการฆ่าและการจองจำเป็นต้น ย่อมไม่ได้เพื่อทำการงานของตนมีการทำนาและการค้าขายเป็นต้น เลี้ยงชีพ. ทรงหมายถึงพระกรุณานั้น จึงตรัสว่า วิหิงสาวิตกย่อมเกิดขึ้น. บทว่า ตถา ตถา ความว่า โดยเหตุนั้นๆ. ท่านอธิบายอย่างนี้ว่า ทรงตรึกวิตกใดๆ ในกามวิตกเป็นต้น และทรงยังวิตกใดๆ ให้เป็นไป พระโพธิสัตว์นั้นไม่มีพระหฤทัยด้วยความมีกามวิตกเป็นต้นนั้นเลย โดยอาการ บทว่า ปหาสิ เนกฺขมฺมวิตกฺกํ ความว่า ละเนกขัมมวิตก. บทว่า พหุลมกาสิ ความว่า ได้ทำให้มาก. บทว่า ตสฺส ตํ กามวิตกฺกาย จิตฺตํ ความว่า พระหฤทัยนั้นของพระโพธิสัตว์นั้นย่อมน้อมไปเพื่อประโยชน์แก่กามวิตก โดยประการที่ประกอบพร้อมด้วยกามวิตกนั้นเทียว. แม้ในบทที่เหลือก็มีนัยเช่นเดียวกัน. บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงอุปมาที่แสดงถึงเนื้อความ จึงตรัสว่า เสยฺยถาปิ ดังนี้เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กิฏฺฐสมฺพาเธ ความว่า ในที่คับแคบด้วยข้าวกล้า. บทว่า อาโกฏฺเฏยฺย ความว่า ตีหลังโดยตรง. บทว่า ปฏิโกฏฺ เฏยฺย ความว่า ตีซี่โครงโดยทางขวาง. บทว่า สนฺนิรุทฺเธยฺย ความว่า ห้ามแล้วให้หยุด. บทว่า สนฺนิวาเรยฺย ความว่า ไม่พึงให้เพื่อไปทางนั้นและทางนี้. บทว่า ตโตนิทานํ ความว่า โดยเหตุนั้น คือโดยเหตุที่โคทั้งหลายที่ไม่ได้รักษาอย่างนั้น กินข้าวกล้าของคนเหล่าอื่น. ก็นายโคบาลโง่ เมื่อไม่รักษาโคทั้งหลายอย่างนี้ ย่อมถึงทุกข์มีการฆ่าเป็นต้นจากสำนักของเจ้าของโคทั้งหลายว่า คนเลี้ยงโคนี้กินข้าวและค่าจ้างของเรา ไม่สามารถแม้เพื่อรักษาโคทั้งหลายโดยตรง กลับให้เปลี่ยนเวรกับตระกูลทั้งหลายบ้าง จากเจ้าของข้าวกล้าบ้าง. แต่นายโคบาลผู้ฉลาด เมื่อเห็นภัย ๔ อย่างนี้ ย่อมรักษาโคทั้งหลายให้ผาสุก. บทนั้น ท่าน บทว่า อาทีนวํ ได้แก่ อุปัททวะ. บทว่า โอการํ คือ ความลามกคือความต่ำทรามในขันธ์ทั้งหลาย. บทว่า สงฺกิเลสํ ได้แก่ ความเป็นของเศร้าหมอง. บทว่า เนกฺขมฺเม ความว่า ในเนกขัมมะ. บทว่า อานิสํสํ ได้แก่ อันเป็นฝ่ายแห่งความหมดจด. บทว่า โวทานปกฺขํ นี้เป็นไวพจน์ของอานิสงส์นั้น. อธิบายว่า ก็เราได้เห็นเนกขัมมะเป็นฝ่ายความหมดจดแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย. อนึ่ง คำว่า เนกขัมมะ คือนิพพานนั้นเทียว เมื่อสังเคราะห์กุศลทั้งหมดซึ่งสลัดออกแล้วจากกามทั้งหลายลงในธรรมบทเดียว. ในบทนั้นมีการเปรียบเทียบดังนี้ ก็อารมณ์มีรูปเป็นต้น ดุจที่คับแคบด้วยข้าวกล้า จิตโกงดุจโคโกง พระโพธิสัตว์ดุจนายโคบาลผู้ฉลาด วิตกที่เป็นไปเพื่อความเบียดเบียนตน คนอื่นและทั้ง ๒ ฝ่าย เปรียบเหมือนภัย ๔ ชนิด การที่พระโพธิสัตว์ทรงตั้งความเพียรตลอด ๖ ปี ทรงเห็นภัยแห่งการเบียดเบียนตนแล้ว รักษาพระหฤทัยในอารมณ์ทั้งหลายมีรูปเป็นต้น โดยประการที่วิตกทั้งหลายมีกามวิตกเป็นต้นไม่เกิดขึ้น เปรียบเหมือนการที่นายโคบาลผู้ฉลาดเห็นภัย ๔ ชนิด แล้วรักษาโคด้วยความไม่ประมาทในที่คับแคบด้วยข้าวกล้าฉะนั้น. ในบทว่า ปญฺญาวุฑฺฒิโก เป็นต้น ชื่อว่าปัญญาวุฑฒิกะ เพราะเป็นไปเพื่อความเกิดขึ้นแห่งปัญญาทั้งที่เป็นโลกิยะและ บทว่า รตฺติญฺเจปิ ตํ ภิกฺขเว อนุวิตกฺเกยฺยํ ความว่า แม้ถ้าเราพึงยังวิตกนั้นให้เป็นไปตลอดคืนทั้งสิ้น. บทว่า ตโตนิทานํ ได้แก่ มีวิตกนั้นเป็นมูล. บทว่า โอหญฺเญยฺย ความว่า พึง บทว่า อารา คือ ในที่ไกล. บทว่า สมาธิมฺหา คือ จากอุปจารสมาธิบ้าง จากอัปปนาสมาธิบ้าง. บทว่า โส โข อหํ ภิกฺขเว อชฺฌตฺตเมว จิตฺตํ ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรานั้นตั้งมั่นซึ่งจิตอันเป็นไปในภายในว่า จิตของเราอย่าอยู่ในที่ไกลจากสมาธินั้นเทียว คือดำรงจิตไว้ในภายในอารมณ์. บทว่า สนฺนิสิเทมิ ความว่า เรายังจิตนั้นให้สงบอยู่ในอารมณ์นั้นเทียว. บทว่า เอโกทึ กโรมิ คือ ทำให้มีอารมณ์เดียว. บทว่า สมาทหามิ ความว่าตั้งมั่นโดยชอบ คือยกขึ้นโดยดี. บทว่า มา เม จิตฺตํ อุคฺฆาฏี ความว่า จิตของเราอย่าฟุ้งซ่าน คืออย่าเป็นไปเพื่อความฟุ้งซ่าน. ในบทว่า อุปฺปชฺชติ อพฺยาปาทวิตกฺโก อวิหึสาวิตกฺโก นั้น วิตกที่เกิดขึ้นพร้อมกับดรุณวิปัส ท่านแสดงกาลแห่งการตั้งวิปัสสนาอาศัยสมาบัติของพระโพธิสัตว์ ด้วยประมาณเท่านี้. ก็พระโพธิสัตว์นั้นมีสมาธิบ้าง ดรุณวิปัสสนาบ้าง เมื่อพระโพธิสัตว์นั้นตั้งวิปัสสนาประทับนั่งนานเกินไป พระวรกายย่อมลำบาก ย่อมร้อนดุจไฟในภายใน พระเสโททั้งหลายย่อมไหลออกจากพระกัจฉะ ไออุ่นจากพระเศียรเป็นดุจเกลียวตั้งขึ้น พระหฤทัยย่อมเดือดร้อน กระสับกระส่าย เป็นจิตฟุ้งซ่าน. แต่พระโพธิสัตว์นั้นทรงเข้าสมาบัติแล้ว บริกรรมสมาบัตินั้น ทำให้อ่อนทรงเบาพระหฤทัย ทรงตั้งวิปัสสนาอีก ก็เมื่อพระโพธิสัตว์นั้นประทับนั่งนานนัก พระวรกายก็เป็นอย่างนั้น. ก็พระโพธิสัตว์นั้นทรงเข้าสมาบัติแล้ว ทรงกระทำอย่างนั้น เพราะสมาบัติมีอุปการะมากแก่วิปัสสนา. เปรียบเหมือน ธรรมดาโล่มีอุปการะมากแก่ทหาร ทหารนั้นอาศัยโล่นั้นเข้าสงคราม ครั้นเมื่ออาวุธทั้งหลายที่ใช้การรบรวมทั้งเหล่าช้าง เหล่าม้าและเหล่าทหารในสงครามนั้น หมดไป คงมีแต่ความเป็นผู้ใคร่จะบริโภคเป็นต้นเท่านั้น กลับแล้วเข้าไปยังค่ายพักแล้ว จับอาวุธทั้งหลายบ้าง ทดลองบ้าง บริโภคบ้าง ดื่มน้ำบ้าง ผูกสอดเกราะบ้าง ทำกิจนั้นๆ แล้วเข้าสงครามอีก หรือทำการรบในสงครามนั้น เกิดปวดอุจจาระเป็นต้นเข้าไปค่ายพัก ด้วยกิจอันควรทำบางอย่างอีก ครั้นทำธุระเสร็จในค่ายพักนั้นแล้วก็เข้าสงครามอีก. สมาบัติมีอุปการะมากแก่วิปัสสนา เหมือนค่ายพักมีอุปการะมากแก่ทหารฉะนั้น. อนึ่ง วิปัสสนามีอุปการะแก่สมาบัติมากกว่าค่ายพักของทหารที่ประสงค์จะระงับสงคราม. จริงอยู่ พระโพธิสัตว์ทรงอาศัยสมาบัติ เจริญวิปัสสนาแม้ก็จริง แต่วิปัสสนามีกำลังย่อมรักษาแม้สมาบัติ กระทำสมาบัติให้เกิดกำลัง. ก็ชนทั้งหลายย่อมทำเรือในทางบกบ้าง สินค้าในเรือบ้างให้เป็นภาระของเกวียน แต่ถึงน้ำแล้วย่อมทำเกวียนบ้าง สินค้าในเกวียนบ้าง โคเทียมเกวียนบ้างให้เป็นภาระของเรือ เรือตัดกระแสทางขวางแล่นไปสู่ท่าโดยสวัสดีฉันใด วิปัสสนาอาศัยสมาบัติย่อมเป็นไปแม้โดยแท้ แต่วิปัสสนามีกำลังย่อมรักษาแม้สมาบัติ ย่อมทำสมาบัติให้เกิดกำลังฉันนั้นเหมือนกัน. ก็สมาบัติเปรียบเหมือนเกวียนถึงบก วิปัสสนาเปรียบเหมือนเรือถึงน้ำ. กาลเวลาในการอาศัยสมาบัติแล้วตั้งวิปัสสนาของพระโพธิสัตว์ ท่านแสดงแล้วด้วยประมาณเท่านี้ด้วยประการดังนี้. บทว่า ยญฺจเทว เป็นอาทิ พึงทราบตามแนวที่กล่าวแล้วในฝ่ายดำนั้นเทียว. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เสยฺยถาปิ เป็นต้น เพื่อทรงแสดงอุปมาที่แสดงเนื้อความแม้ในพระสูตรนี้. ในบทเหล่านั้น บทว่า คามนฺตสมฺภเวสุ ได้แก่ นำมาใกล้บ้าน. บทว่า สติกรณียเมว โหติ ความว่า กิจสักว่ายังสติให้เกิดขึ้นว่า เหล่านั้นโค ดังนี้เทียว พึงทำคือกิจมีการไปทางโน้นและทางนี้แล้วตีเป็นไม่มี. กิจสักว่ายังสติให้เกิดขึ้นว่า เหล่านั้นธรรมะ เหล่านั้นสมถ ได้ยินว่า ในกาลนั้น เมื่อพระโพธิสัตว์นั้นประทับนั่งเพื่อประโยชน์แก่สมาบัติและ ก็พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงอุปจาระที่เกื้อกูลแก่สัตว์ทั้งหลาย และสัมปทาคือความที่ ในบทเหล่านั้น บทว่า อรญฺเญ ได้แก่ ในดง. บทว่า ปวเน ได้แก่ ราวป่า. ก็สองบทนี้ โดยอรรถก็เป็นไวพจน์อย่างเดียวกัน. บทว่า อโยคกฺเขมกาโม ความว่า ผู้ไม่ปรารถนาความเกษมจากโยคะ ๔ คือสถานที่ปลอดภัย ได้แก่ประสงค์ภัยนั้นเทียว. บทว่า โสวตฺถิโก ได้แก่ อันนำมาซึ่งความสวัสดี. บทว่า ปิติงฺคมนีโย คือ ควรไปสู่ความยินดี. อีกประการหนึ่ง บาลีว่า ปีติคมนีโย. บทว่า ปิทเหยฺย คือ พรางด้วยวัตถุทั้งหลายมีกิ่งไม้เป็นต้น. บทว่า วิวเรยฺย ความว่า พึงทำปากทางให้สะดวกแล้ว ทำทางเปิดไว้. บทว่า กุมฺมคฺคํ คือ ไม่ใช่ทางซึ่งปิดกั้นด้วยน้ำป่าและภูเขาเป็นต้น. บทว่า โอทเหยฺย โอกจรํ ความว่า วางเนื้อเสือเหลืองตัวหนึ่งราวกะเที่ยวไปในที่อยู่ของเนื้อฝูงนั้นไว้ในที่เดียวกัน. บทว่า โอกจาริกํ ความว่า แม่เนื้อซึ่งล่ามเชือกยาวไว้. จริงอยู่ นายพรานเนื้อไปสู่ป่าคือสถานที่เป็นที่อยู่ของเนื้อทั้งหลายคอยสังเกตว่า ฝูงเนื้ออยู่ในที่นี้ ออกไปทางนี้ เที่ยวในที่นั้น ดื่มในที่นั้น เข้าไปทางนี้ ดังนี้แล้ว ปิดทาง เปิดทางร้ายไว้ ตั้งเนื้อตัวผู้และเนื้อตัวเมียล่อไว้ ถือหอกยืนซ่อนตัวในที่กำบัง. ลำดับนั้น ในเวลาเย็น เนื้อทั้งหลายเที่ยวในป่าที่ปลอดภัย ดื่มน้ำ เล่นกับลูกเนื้อทั้งหลาย มาสู่ถิ่นซึ่งเป็นที่อยู่ เห็นเนื้อตัวผู้และเนื้อตัวเมียที่ล่อไว้ ก็นึกว่า สหายของพวกเราจักมาแล้ว ไม่สงสัยเข้าไป. เนื้อเหล่านั้นเห็นทางที่ปิดแล้วก็คิดว่า นี้ไม่ใช่ทาง นี้จักเป็นทาง แล้วดำเนินไปทางร้าย. นายพรานเนื้อจะไม่ทำอะไรก่อน. แต่ครั้นเมื่อเนื้อเหล่านั้นเข้าไปแล้วจึงค่อยๆ ตีเนื้อตัวสุดท้าย เนื้อนั้นตกใจตื่น แต่นั้น เนื้อทั้งหมดก็แตกตื่น มองดูข้างหน้าว่า ภัยเกิดขึ้นแล้ว เห็นทางที่ปิดกั้นด้วยน้ำ หรือป่า หรือภูเขา ก็ไม่อาจเพื่อจะเข้าไปสู่ป่าที่รกดุจนิ้วมือทั้งสองข้างได้ ก็วกกลับปรารภที่จะออกไปทางที่เข้าแล้ว. ต่อแต่นั้น นายพรานรู้ว่า ฝูงเนื้อเหล่านั้นกลับมาแล้ว จึงฆ่าเนื้อ ๓๐ ตัวบ้าง ๔๐ ตัวบ้าง. บทนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อเป็นเช่นนั้นแล โดยสมัยอื่นฝูงเนื้อนั้น พึงถึงความร่อยหรอดังนี้ พระศาสดาตรัสแล้ว ในบทนี้ว่า นั่นเป็นชื่อของนันทิราคะ เป็นชื่อแห่งอวิชชานั้นเทียว เพราะสัตว์เหล่านี้เป็นผู้ไม่มีญาณ เพราะอวิชชา พัวพันด้วยนันทิราคะ นำเข้าสู่รูปารมณ์เป็นต้น ย่อมถูกฆ่า เพราะหอกคือวัฏฏทุกข์ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงแสดงทำเนื้อล่อตัวผู้เป็นดุจนันทิราคะ ทำเนื้อล่อตัวเมียเป็นดุจอวิชชา. จริงอยู่ แม้ในเวลาหนึ่ง นายพรานเนื้อปกปิดร่างด้วยกิ่งไม้ เพื่อเนื้อเหล่านั้น กำจัดกลิ่นมนุษย์ วางเนื้อล่อตัวผู้ในที่หนึ่ง ปล่อยเนื้อล่อตัวเมียพร้อมกับเชือก พรางตน ถือหอก แล้วยืนอยู่ในที่ใกล้เนื้อล่อตัวผู้. เนื้อล่อตัวเมียก็จะบ่ายหน้าไปยังที่เที่ยวไปแห่งหมู่เนื้อ. เนื้อทั้งหลายเห็นเนื้อล่อตัวเมียนั้นแล้ว ก็ยืนเงยหัว. ฝ่ายเนื้อล่อตัวเมียนั้นก็ยืนเงยหัว. เนื้อเหล่านั้นก็คิดว่า แม่เนื้อนี้เป็นพวกเดียวกันกับพวกเรา จึงกินหญ้า. ฝ่ายเนื้อล่อตัวเมียแม้นั้นก็ทำทีเหมือนกินหญ้าค่อยๆ เข้าไปหา. เนื้อจ่าฝูงที่อยู่ในป่าได้กลิ่นเนื้อล่อตัวเมียนั้น ก็จะละฝูงของตน มุ่งหน้าต่อเนื้อล่อตัวเมียนั้น. จริงอยู่ สิ่งใหม่ๆ นั้นเทียว ย่อมเป็นที่รักของสัตว์ทั้งหลาย เนื้อล่อตัวเมียที่มุ่งหน้าต่อเนื้อป่านั้น ก็จะไม่ให้เนื้อป่าเข้าใกล้ จะหันหลังกลับไปยังที่อยู่ของเนื้อล่อตัวผู้ จะขวิดด้วยกลีบเล็บในที่ที่มีเชือกคล้องไว้ให้หนีไป. เนื้อป่าเห็นเนื้อล่อตัวผู้แล้ว ก็มัวเมากับเนื้อล่อตัวเมีย ทำความหึงใน ลำดับนั้น พรานก็จะเอาหอกแทงเนื้อป่า ฆ่าในที่นั้นเทียวแล้ว ถือเอาชิ้นเนื้อไป. ด้วยประการฉะนี้ เนื้อนั้นมัวเมาอยู่กับเนื้อล่อตัวเมีย ทำความหึงในเนื้อล่อตัวผู้ แม้เลียหอกอยู่ก็ไม่รู้อะไรฉันใด สัตว์เหล่านี้ก็ฉันนั้น เป็นผู้มัวเมา มืดมนเพราะอวิชชา เมื่อไม่รู้อะไร อาศัยความกำหนัดด้วยความเพลิดเพลินในอารมณ์ทั้งหลายมีรูปเป็นต้น ย่อมได้การฆ่าด้วยหอกคือทุกข์ในวัฏฏะ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงแสดงทำเนื้อล่อตัวผู้เป็นนันทิราคะ ทรงกระทำเนื้อล่อตัวเมียเป็นอวิชชา. บทว่า อิติ โข ภิกฺขเว วิวโฏ มยา เขโม มคฺโค ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทางอัน คำที่เหลือในบททั้งปวงง่ายทั้งนั้นแล. จบอรรถกถาเทวธาวิตักกสูตรที่ ๙ ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ สีหนาทวรรค เทวธาวิตักกสูตร ว่าด้วยความวิตก ๒ ส่วน จบ. |