![]() |
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
![]() |
![]() | |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มหาวเน กูฏาคารสาลยํ ความว่า ป่าใหญ่มีกำหนดเกิดเอง มิได้ปลูก ชื่อว่ามหาวัน. ส่วนป่ามหาวันใกล้กรุงกบิลพัสดุ์ เนื่องเป็นอันเดียวกันกับป่าหิมพานต์ แต่ไม่มีกำหนด ตั้งจด บทว่า สจฺจโก นิคนฺถปุตฺโต ความว่า ได้ยินว่า ในกาลก่อน ชายนิครนถ์คนหนึ่ง หญิงคนหนึ่ง เรียนได้วาทะคนละ ๕๐๐ แล้วคิดว่าเราจักยกวาทะดังนี้ เมื่อเที่ยวไปในชมพูทวีปมาอยู่ร่วมกันในกรุงเวสา พวกเจ้าลิจฉวีเห็นแล้ว จึงถามว่า ท่านเป็นใคร ท่านเป็นใคร ดังนี้. ชายนิครนถ์ เจ้าลิจฉวีตรัสว่า ขอท่านจงยกวาทะกันและกันในที่นี้เถิด. หญิงนิครนถ์ เจ้าลิจฉวีตรัสว่า ท่านแม้ทั้ง ๒ คนเสมอๆ กัน จักเที่ยวไปทำอะไร จงอยู่ในที่นี้เถิด พระราชทานเรือน ทรงตั้งส่วยให้. เพราะการอยู่ร่วมกันของคนทั้ง ๒ เหล่านั้นเกิดธิดา ๔ คน คือชื่อ หญิงเหล่านั้นเจริญวัยได้กล่าวกะมารดาบิดาว่า แม่ชื่อว่ากุลทาริกาของเรา ไม่ต้องให้เงินและทองเป็นต้นแล้ว ส่งไปยังเรือนแห่งตระกูล ส่วนผู้ใดอยู่ครองเรือนย่อมสามารถเพื่อจะย่ำยีวาทะของหญิงเหล่านั้นได้ หญิงเหล่านั้นจะเป็นบาทบริจาริกาของผู้นั้น ผู้ใดเป็นนักบวชย่อมสามารถเพื่อจะย่ำยีวาทะของหญิงเหล่านั้นได้ หญิงเหล่านั้นก็จะได้บวชในสำนักของผู้นั้น พ่อแม่จักทำอย่างไร ดังนี้. หญิง ๔ คนถือเพศเป็นนักบวชด้วยคิดว่า แม้พวกเราจักกระทำอย่างนี้แหละ คิดว่า ชื่อว่าชมพูทวีปนี้ ย่อมปรากฏด้วยไม้หว้าดังนี้ ถือกิ่งไม้หว้าท่องเที่ยวไป ถึงหมู่บ้านใดก็ปักธงไม้หว้าบนกองฝุ่นหรือกองทรายแล้ว จึงกล่าวว่า ผู้ใดสามารถยกวาทะ เชิญผู้นั้นเหยียบธงนี้เถิด เข้าไปหมู่บ้าน พวกเขาเที่ยวไปทุกๆ หมู่บ้านอย่างนี้. ถึงกรุงสาวัตถี ปักธงไม้หว้าไว้ที่ประตูหมู่บ้านเหมือนอย่างนั้น บอกแก่พวกมนุษย์ที่มาถึงแล้วเข้าไปภายในพระนคร. ก็สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอาศัยกรุงสาวัตถีประทับอยู่ในพระเชตวัน ครั้งนั้น ท่านสารีบุตรถามอาการที่ป่วย มัวจัดสถานที่ที่เขายังไม่ได้จัด เมื่อเข้าไปที่หมู่บ้านเพื่อบิณฑบาต จึงสายกว่าภิกษุเหล่าอื่น เพราะมีกิจมาก ได้เห็นธงไม้หว้าที่ประตูหมู่บ้าน จึงถามพวกเด็กว่า นี้อะไรกัน. พวกเขาได้บอกความนั้น. พระเถระกล่าวว่า ถ้าอย่างนั้น พวกเจ้าจงเหยียบเถิด. พวกเด็กกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พวกข้าพเจ้าไม่สามารถ กลัวอยู่. พระเถระกล่าวว่า พวกเจ้าไม่ต้องกลัว. พระเถระกล่าวว่า เมื่อนางปริพาชิกาถามว่า ใครให้เหยียบธงไม้หว้าของเรา พวกเธอพึงบอกว่า พระสารีบุตรผู้เป็นพุทธสาวกให้เหยียบ ท่านอยากจะยกวาทะจงไปยังสำนักของพระเถระที่พระเชตวัน. พวกเด็กฟังคำของพระเถระจึงพากันเหยียบธงไม้หว้าทิ้งไป. พระเถระเที่ยวบิณฑบาตแล้วกลับไปยังวิหาร. พวกปริพาชิกาออกจากหมู่บ้านแล้วจึง พระเถระคิดว่า มาตุคามจะมาในที่พักของเรา ไม่เป็นความผาสุก ดังนี้ จึงนั่งในท่ามกลางวิหาร. นางปริพาชิกาไปถามพระเถระว่า ท่านให้เหยียบธงของเราหรือ? พระเถระกล่าวว่า ถูกแล้ว เราให้เหยียบเอง ดังนี้. นางปริพาชิกากล่าวว่า เราจักโต้วาทะกับท่าน. พระเถระกล่าวว่า ดีละ เชิญโต้เถิด ใครถามใครตอบ. นางปริพาชิกากล่าวว่า เราถาม. พระเถระ ครั้นกล่าวแล้ว จึงกล่าวเชิญถามอีก. นางปริพาชิกากล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ดิฉันรู้เท่านี้แหละ. พระเถระกล่าวว่า ท่านถามพันวาทะแล้ว เราก็ได้ตอบแล้ว แต่เราจักขอถามปัญหาสักข้อหนึ่ง ท่านจงต้องตอบปัญหานั้น. นางปริพาชิกาเหล่านั้นเห็นวิสัยของพระเถระไม่อาจที่จะพูดว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ถามเถิด พวกดิฉันจักตอบชี้แจง ดังนี้ จึงกล่าวอีกว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอท่านจงถามเถิด เมื่อพวกดิฉันรู้ จักตอบชี้แจง. พระเถระกล่าวว่า ปัญหานี้ต้องให้กุลบุตรบรรพชาให้ศึกษาเป็นครั้งแรกแล้ว จึงถามว่า อะไรชื่อว่าหนึ่ง. นางปริพาชิกาเหล่านั้นไม่เห็นต้น ไม่เห็นปลาย. พระเถระกล่าวว่า ตอบซิ. นางปริพาชิกากล่าวว่า พวกดิฉันไม่เห็นเจ้าค่ะ. พระเถระกล่าวว่า ท่านถามตั้งพันวาทะ เราก็ตอบแล้ว ท่านไม่สามารถจะตอบปัญหาข้อเดียวของเรา เมื่อเป็นอย่างนี้ ใครเล่าเป็นฝ่ายชนะ ใครเล่าเป็นฝ่ายแพ้. นางปริพาชิกากล่าวว่า ท่านเป็นฝ่ายชนะ พวกดิฉันเป็นฝ่ายแพ้ เจ้าค่ะ. พระเถระกล่าวว่า คราวนี้ ท่านจักทำอย่างไร. นางปริพาชิกาบอกคำที่มารดาบิดากล่าวแล้ว จึงกล่าวว่า พวกดิฉันจักบวชในสำนักของท่าน. พระเถระกล่าวว่า ท่านเป็นมาตุคามไม่ควรจะบวชในสำนักของเรา แต่ท่านถือสาส์นของเราไปยังสำนักภิกษุณีบวชเถิด. นางปริพาชิการับว่า สาธุ ถือสาส์นของพระเถระไปสำนักภิกษุณีสงฆ์บวชแล้ว ก็แลครั้นบวชแล้ว เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร ไม่ช้าก็ได้บรรลุพระอรหัต. สัจจกนิครนถ์นี้เป็นน้องชายของนางปริพาชิกา ๔ คนนั้น เป็นผู้มีปัญญายิ่งกว่านาง ๔ คนเหล่านั้น ได้เรียนพันวาทะแต่สำนักของมารดาบิดา และต่อจากนั้นได้เรียนลัทธิภายนอกมากกว่า ไม่ไปไหน สอนราชกุมารให้ศึกษาศิลปะอยู่ในกรุงเวสาลีนั้น เขากลัวว่าท้องของเราน่าจะแตก เพราะเต็มด้วยปัญญาเกินไป เอาแผ่นเหล็กคาดท้องเที่ยวไป. ท่านหมายเอาผู้นี้ จึงกล่าวว่า สจฺจโก นิคนฺถปุตฺโต ดังนี้. บทว่า ภสฺสปฺปวาทิโก ได้แก่ กถามรรค ท่านกล่าวภัสสะ ชื่อว่าเป็นนักโต้ตอบ เพราะอรรถว่าพูดคือกล่าวตอบภัสสะนั้น. บทว่า ปณฺฑิตวาโท ได้แก่ พูดยกตนว่าเป็นบัณฑิต. บทว่า สาธุ สมฺมโต พหุชนสฺส ความว่า ย่อมอ้างสิ่งใดๆ มาด้วยนักขัตตวาร. โดยมากสิ่งนั้นๆ ย่อมเป็นอย่างนั้น เพราะฉะนั้น ชนเป็นอันมากย่อมยกว่า เป็นเจ้าลัทธิดีเจริญ. บทว่า วาเทน วาทํ สมารทฺโธ ได้แก่ ยกความผิดขึ้นด้วยกถามรรค. บทว่า อายสฺมา อสฺสชิ ได้แก่ พระอัสสชิเถระเป็นอาจารย์ของพระสารีบุตรเถระ. บทว่า ชงฺฆาวิหารํ อนุจงฺกมมาโน ความว่า จงกรมอยู่จากพระตำหนักของเจ้าลิจฉวีนั้นๆ เพื่อไปยังพระตำหนักนั้นๆ. บทว่า เยนายสฺมา อสฺสชิ เตนุปสงฺกมิ ความว่า ถามว่า เข้าไปหาเพราะเหตุไร. ตอบว่า เพื่อรู้ลัทธิ. ได้ยินว่า สัจจกนิครนถ์ได้มีความคิดอย่างนี้ว่า เราเที่ยวเดินด้วยคิดว่า เราจักยกวาทะของพระสมณโคดม ไม่ยกขึ้นว่า เราไม่รู้ลัทธิของพระ บทว่า วิเนติ ความว่า สัจจกนิครนถ์ถามว่า สมณโคดมแนะนำอย่างไร ให้ศึกษาอย่างไร ดังนี้. ก็เพราะเมื่อพระเถระกล่าวว่าเป็นทุกข์ ย่อมเป็นโอกาสแห่งการโต้แย้ง ก็มรรคผลมาแล้วโดยปริยายว่า เป็นทุกข์. เมื่อพระเถระกล่าวว่าทุกข์ดังนี้ สัจจกนิครนถ์นี้พึงถามพระเถระว่า อัสสชิผู้เจริญ ท่านบวชเพื่ออะไร จากนั้น พระเถระตอบว่าเพื่อมรรคผล พึงยกความผิดขึ้นว่า อัสสชิ นี้ไม่ใช่คำสอนของท่านนั้น ความอาฆาตอย่างแรง ความแออัดในนรกนั้น ไม่มีเพื่อความสุขของท่าน ท่านจะมาลุกลี้ลุกลนเที่ยวทำทุกข์ให้เสื่อมโทรม ฉะนั้น ไม่ควรทำปริยายกถาแก่ผู้เป็นนักโต้ตอบ คิดว่า เขาจะตั้งอยู่ไม่ได้ฉันใด เราจักกล่าวกถาโดยตรงแก่เขาฉันนั้น จึงยกพระดำรัสนี้ว่า รูปํ ภิกฺ บทว่า ทุสฺสุตํ คือ ไม่ควรฟัง. บทว่า สณฺฐาคาเร ได้แก่ ศาลาคืออาคารที่ประชุมสอนอรรถแก่ราชตระกูล. บทว่า เยน เต ลิจฺฉวี เตนุปสงฺกมิ ความว่า ได้ยินว่า สัจจกนิครนถ์นั้นได้มีความคิดอย่างนี้ว่า เราไม่ยกวาทะต่อพระสมณ บทว่า ญาตญฺญตเรน ความว่า บรรดาพระปัญจวัคคีย์เถระผู้มีชื่อเสียงเหล่านั้น รูปใดรูปหนึ่ง. บทว่า ปติฏฺฐิตํ ความว่า พระอัสสชิเถระนั้นยังดำรงอยู่ฉันใด สมณโคดมจักดำรงอยู่ฉันนั้น เมื่อเป็นเช่นนั้น เขาจักกล่าวข้ออื่นอีก. บัดนี้ เมื่อจะหันหลังกลับ จึงทูลว่า เราจะทำอะไรก็ได้ในที่นั้น. บทว่า อากฑฺเฒยฺย ได้แก่ พึงกระชากให้หันหน้ามาหาตน. บทว่า ปริกฑฺเฒยฺย ความว่า พึงดึงมาให้หมอบอยู่ข้างหน้า. บทว่า สมฺปริกฑฺเฒยฺย ความว่า ฉุดกระชากอยู่ไปมา. บทว่า โสณฺฑิธุตฺโต แปลว่า นักเลงสุรา. บทว่า ถาลํ กณฺเณ คเหตฺวา ความว่า ผู้ใคร่จะล้างกะทะสำหรับกลั่นสุรา จับที่หูทั้ง ๒ แล้วสลัดกากทิ้ง. บทว่า โอธุเนยฺย ได้แก่ เทคว่ำหน้า. บทว่า นิทฺธเมยฺย ได้แก่ หงายหน้าขึ้น. บทว่า นิปฺโปเฐยฺย ได้แก่ พึงกระแทก ในบทว่า สาณโธวิกํ นาม นี้ ในวันที่ ๓ เปลือกป่านเหล่านั้นเป็นของเปียกชุ่มดี. ต่อมา พวกมนุษย์นำเอาน้ำส้มข้าวต้มและสุราเป็นต้นไปที่นั้น ถือเอากำป่านไปทุบบนแผ่นกระดาน ๓ หน ข้างขวา ข้างซ้ายหรือข้างหน้าคือบนแผ่นกระดานข้างขวาหนหนึ่งข้างซ้ายหนหนึ่ง ข้างหน้าหนหนึ่ง กินพลางดื่มพลางเคี้ยวกินพลาง น้ำส้มข้าวต้มและสุราเป็นต้น ช่วยกันล้างสุราเป็นต้นเป็นกีฬาใหญ่ ช้างของพระราชาเห็นกีฬานั้นแล้วลงน้ำลึก เอางวงดูดน้ำแล้ว เล่นพ่นบนกระพองหนหนึ่ง บนหลังหนหนึ่ง ที่สีข้างทั้งสองหนหนึ่ง บนระหว่างหลังหนหนึ่ง เพราะอาศัยเหตุนั้น การเล่นกีฬานั้น เรียกชื่อว่า เล่นซักป่าน สัจจกนิครนถ์หมายเอาการเล่นนั้น จึงกล่าวว่า เล่นกีฬาซักป่าน. ในบทว่า กึ โส ภวมาโน สจฺจโก นิคนฺถปุตฺโต โย ภควโต วาทํ อาโรเปสฺสติ นี้ มีอธิบายว่า สัจจกนิคันถบุตรจักโต้วาทะกับพระผู้มีพระภาคเจ้า สัจจกนิครนถ์นั้นเป็นอะไร เป็นยักษ์หรือเป็นพระอินทร์ หรือเป็นพระพรหมที่จักโต้วาทะกับพระผู้มีพระภาคเจ้า. ส่วนมนุษย์ตามปกติไม่อาจเพื่อจะโต้วาทะกับพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ดังนี้. บทว่า เตน โข ปน สมเยน ความว่า ในสมัยที่สัจจกะเข้าไปสู่อาราม. ถามว่า เข้าไปในสมัยไหน? ตอบว่า ในสมัยเที่ยงตรง. ถามว่า เพราะเหตุไร? ภิกษุทั้งหลายจึงจงกรมอยู่ในสมัยนั้น. ตอบว่า เพื่อบรรเทาถีนมิทธะมีโภชนะอันประณีตเป็นปัจจัย. อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุเหล่านั้นประกอบความเพียรในเวลากลางวัน. เมื่อภิกษุผู้เช่นนั้นจงกรม อาบน้ำภายหลังอาหาร ให้ร่างกายได้รับความสบายแล้ว นั่งบำเพ็ญสมณ บทว่า เยน เต ภิกฺขู ความว่า ได้ยินว่า สัจจกนิคันถบุตรนั้นคิดว่า พระสมณโคดมอยู่ที่ไหน จึงเที่ยวไปรอบ คิดว่าจักถาม แล้วเข้าไป เมื่อมองดูเห็นพวกภิกษุผู้ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร จงกรมอยู่บนจงกรมใหญ่เหมือนช้างป่า จึงได้ไปยังสำนักของภิกษุเหล่านั้น. คำมีอาทิว่า เยน เต ภิกฺขู สัจจกนิคันถบุตรกล่าวหมายเอาภิกษุนั้น. บทว่า กหํ นุโข โภ ความว่า พระโคดมผู้เจริญนั้นอยู่ในอาวาสในถ้ำหรือมณฑป บทว่า เอส อคฺคิเวสฺสน ภควา ความว่า ได้ยินว่า ในกาลนั้นในเวลาใกล้รุ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเข้ามหากรุณาสมาบัติ ทรงแผ่ข่ายคือพระสัพพัญญุตญาณไปในหมื่นจักรวาล เมื่อทรงตรวจดูสัตว์ที่ควรแนะนำให้ตรัสรู้ ทรงเห็นว่า พรุ่งนี้สัจจกนิคันถบุตรต้องการพาเอาเจ้าลิจฉวีบริษัทเป็นจำนวนมากจักมาโต้วาทะกับเราดังนี้. ฉะนั้น ทรงชำระพระวรกายแต่เช้าตรู่ มีภิกษุสงฆ์เป็นบริวารเสด็จเที่ยวบิณฑบาตในกรุงเวสา ภิกษุเหล่านั้นมาแสดงวัตรแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ถูกสัจจนิครนถ์ถาม เมื่อจะแสดงพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ประทับนั่งแล้วในที่ไกล จึงกล่าวว่า อัคคิเวสสนะ นั่น พระผู้มีพระภาคเจ้า ดังนี้ บทว่า มหติยา ลิจฺฉวิปริสาย สทฺธึ มีอธิบายว่า เจ้าลิจฉวีประมาณ ๕๐๐ แวดล้อมข้างล่าง. เจ้าลิจฉวีเหล่านั้นเป็นลูกศิษย์ของสัจจกะนั้น. ส่วนสัจจกะภายในกรุงเวสาลีพาเอาเจ้าลิจฉวีประมาณ ๕๐๐ ฟังแล้วว่า ผู้ต้องการจะโต้วาทะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ โดยมาก พวกมนุษย์พากันออกไปด้วยคิดว่า เราจักฟังการสนทนาของบัณฑิต ๒ คน. บริษัทมีจำนวนมากอย่างนี้ กำหนดนับไม่ได้เลย. คำนั้น สัจจกะกล่าวแล้วหมายถึงบริษัทนั้น. บทว่า อญฺชลึ ปณาเมตฺวา ความว่า ชนเหล่านั้นเป็น ๒ ฝ่าย พวกเขาคิดอย่างนี้ว่า ถ้าพวกเป็นมิจฉาทิฏฐิจักท้วงพวกเราว่า ท่านไหว้พระสมณโคดมทำไม พวกเราจักบอกแก่เขาเหล่านั้นว่า ไหว้อะไรกันเพียงประนมมือเท่านั้น ถ้าพวกเป็นสัมมาทิฏฐิจักท้วงเราว่า ทำไมท่านไม่ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าเล่า พวกเราจักบอกว่า ทำไมการถวายบังคมจะต้องเอาศีรษะจดพื้นเล่า เพียงอัญชลีกรรมก็เป็นการถวายบังคมมิใช่หรือ. บทว่า นาม โคตฺตํ ความว่า บางพวกทูลว่า พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์ชื่อทัตตะ ชื่อมิตตะ เป็นบุตรของคนโน้นมาในที่นี้แล้ว ชื่อว่าประกาศชื่อ. บางพวกทูลว่า พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์ชื่อว่าวาสิฏฐะ ชื่อว่ากัจจายนะ มาในที่นี้แล้ว ชื่อว่าประกาศโคตร. ได้ยินว่า ชนยากจนเหล่านั้นได้ประกาศกระทำอย่างนั้นด้วยคิดว่า เราเป็นผู้เป็นบุตรของตระกูลเก่าจักปรากฏชื่อและโคตร ในท่าม บทว่า กิญฺจิเทว เทสํ ความว่า โอกาสอย่างหนึ่ง เหตุอย่างหนึ่ง. ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงให้สัจจกนิครนถ์นั้นเกิดความอุตสาหะในการถามปัญหา จึงตรัสว่า อัคคิเวสสนะ ท่านประสงค์จะถามปัญหาใด ก็ถามเถิด. บทนั้นมีเพื่อความว่า หากท่านประสงค์จะถามก็ถาม ในการตอบปัญหาไม่เป็นภาระหนักสำหรับเรา. อีกอย่างหนึ่ง ท่านประสงค์สิ่งใดก็จงถาม เราจักตอบสิ่งนั้นทั้งหมดแก่ท่าน เพราะฉะนั้น พระสมณโคดมปวารณาแล้ว ปวารณาพระสัพพัญญุตญาณที่ไม่ทั่วไปกับพระปัจเจกพุทธ อัครสาวกและพระมหาสาวก. ก็ท่านเหล่านั้นไม่กล่าวว่า หากท่านประสงค์จะกล่าวว่า พวกเราฟังแล้ว จักทราบดังนี้. ส่วนพระพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมปวารณา ปวารณาสัพพัญญุตญาณแก่ยักษ์ จอมคน เทพ สมณ อย่างนี้ว่า. โกณฑัญญะ เธอจงตอบปัญหาทั้งหลาย พวกฤษีผู้ มีความรู้ดี ย่อมขอร้องเธอโกณฑัญญะ ธรรมใน หมู่มนุษย์นี้ ย่อมถึงความเจริญ นั่นเป็นภาระ. เที่ยวไปสามครั้ง ในเวลาเป็นสรภังคดาบส ในสัมภวชาดกและในชมพูทวีป ท่านผู้เจริญทั้งหลายได้โอกาสแล้ว จงถามปัญหา อย่างใดอย่างหนึ่งที่ตั้งใจไว้ ก็เรารู้โลกนี้โลกหน้า ด้วยตนเองจักตอบปัญหาให้ถึงที่สุด แก่พวกท่าน ดังนี้. ไม่เห็นผู้ทำที่สุดแห่งปัญหาทั้งหลาย ถูกสุจิรกพราหมณ์ถามปัญหา เมื่อโอกาสอัน เชิญเถิด เราจักบอกปัญหาแก่ท่านประการที่เป็น ผู้ฉลาด อนึ่ง พระราชาทรงทราบข้อนั้น หากจัก ทรงกระทำ หรือไม่ทรงกระทำดังนี้. เมื่อปวารณาพระสัพพัญญุตญาณอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปวารณาอย่างนี้ สัจจกนิครนถ์มีใจชื่นชม เมื่อจะทูลถามปัญหา จึงได้กล่าวคำเป็นต้นว่า กถํ ปน โภ โคตม ดังนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแก่สัจจกนิครนถ์นั้นว่า ผู้เจริญท่านเห็นสาวกกล่าวคำอื่น พระศาสดาตรัสคำอื่น เรากล่าวแล้วมิใช่หรือว่า สาวกของพระสมณ บทว่า อุปมา มํ โภ โคตม ปฏิภาติ สัจจกนิครนถ์กล่าวว่า พระโคดมผู้เจริญ อุปมาข้อ บทว่า ปฏิภาตุ ตํ อคฺคิเวสฺสน พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า อัคคิเวสนะ อุปมาจงปรากฏแก่เธอ คือว่าสัจจกนิครนถ์คุ้นเคยแล้ว จงนำอุปมานั้นมา. บทว่า พลกรณียา ความว่า การงานมีกสิกรรมและพาณิชยกรรมต้องทำด้วยกำลังแขน. บทว่า รูปตฺตายํ ปุริสปุคฺคโล ความว่า ชื่อว่ารูปัตตา เพราะอรรถว่าเขามีรูปเป็นตน ท่านแสดงบุคคลผู้ถือว่ารูปเป็นตนตั้งอยู่. บทว่า รูเป ปติฏฺฐาย ความว่า ตั้งอยู่ในรูปที่ถือว่าเป็นตนในรูปนั้น. บทว่า ปุญฺญํ วา อปุญฺญํ วา ปสวติ คือ ย่อมได้กุศลหรืออกุศล. แม้บทมีเวทนาเป็นตนเป็นต้นก็มีนัยนี้แล. บทนี้ ท่านแสดงไว้อย่างไร? ท่านนำอุปมาพร้อมทั้งเหตุที่น่าฟังว่า ปัญจขันธ์เหล่านี้เป็นที่อยู่อาศัย เหมือนแผ่นดินเป็นที่อยู่อาศัยของหมู่สัตว์เหล่านี้ สัตว์เหล่านั้นตั้งอยู่ในปัญจขันธ์เหล่านี้ ย่อมรวบรวมเอากุศลกรรมแลอกุศล จริงอยู่ บุคคลมี ๒ จำพวก คือ พุทธเวไนย ๑ สาวกเวไนย ๑. ในสาวกเวไนยพระสาวกแนะนำบ้าง พระพุทธเจ้าทรงแนะนำบ้าง ส่วนในพุทธเวไนย พระสาวก ลำดับนั้น นิครนถ์คิดว่า พระสมณโคดมย่อมยืนยันวาทะของเรายิ่ง ส่วนพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีวาทะดีกว่านิครนถ์ด้วยคูณตั้งร้อย ตั้งพัน ตั้งแสน เพราะฉะนั้น จึงทรงดำริว่า นิครนถ์นี้จะให้ตนพ้นจึงซัดวาทะไปบนศีรษะมหาชน เราจักไม่ให้ตัวเขาพ้นไปได้ เราจักเปลื้องวาทะออกจากมหาชนแล้ว ข่มแต่เขาคนเดียว. ลำดับนั้น จึงตรัสกะนิครนถ์ว่า กึ หิ เต อคฺคิเวสฺสน ดังนี้เป็นต้น. บทนั้นมีอธิบายว่า ประชุมชนนี้ไม่มาโต้วาทะกับเรา ท่านเท่านั้นวนเวียนไปทั่วกรุงเวสาลี มาโต้วาทะกับเรา เพราะฉะนั้น ท่านจงประกาศวาทะของตนให้ทั่วกัน ท่านซัดอะไรไปบนศีรษะมหาชน. นิครนถ์นั้นเมื่อรับความจริง จึงกราบทูลว่า พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์กล่าวอย่างนั้นจริงดังนี้เป็นต้น. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยืนยันวาทะของนิครนถ์ บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เตนหิ เป็นนิบาตลงในอรรถว่าเหตุ เพราะท่านย่อมเข้าใจปัญจขันธ์โดยความเป็นตน ฉะนั้น. บทว่า สกสฺมึ วิชิเต คือ ในแว่นแคว้นของพระองค์. บทว่า ฆาเตตายํ วา ฆาเตตุ ํ ได้แก่ เพื่อให้ฆ่าคนที่ควรฆ่า คือผู้สมควรถูกฆ่า. บทว่า ชาเปตายํ วา ชาเปตุ ํ ความว่า เพื่อริบราชบาทว์ในที่ควรริบ คือคนที่ควรถูกริบ ได้แก่เพื่อให้เสื่อมทรัพย์. บทว่า ปพฺพาเชตายํ วา ปพฺพาเชตุ ํ ความว่า เพื่อเนรเทศ คือนำคนที่ควรเนรเทศออกไปจากแว่นแคว้นของพระองค์. บทว่า วตฺติตุญฺจ อรหติ ท่านแสดงว่าย่อมเป็นไป คือควรเพื่อเป็นไป นิครนถ์แสดงเหตุที่นำมาเพื่อทำลายวาทะของตนเองให้พิเศษ ดุจผู้ทำอาวุธให้คมเพื่อฆ่าคน เหมือนคนพาล. บทว่า เอวํ เม รูปํ โหตุ ความว่า ขอรูปของเราจงมีอย่างนี้ คือมีรูปน่าเลื่อมใสมีรูปสวย เห็นเข้าก็ชอบใจ เหมือนเสาระเนียดทองที่ประดับประดาแล้ว ตกแต่งแล้ว และผ้าวิจิตรที่จัดแจงไว้อย่างดี. บทว่า เอวํ เม รูปํ มา อโหสิ ความว่า ขอรูปของเราจงอย่ามีอย่างนี้ คือผิวพรรณ บทว่า ตุณฺหี อโหสิ ความว่า นิครนถ์รู้ความที่ตนพลาดในวาทะนี้ จึงคิดว่า พระสมณ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามครั้งที่สอง สัจจกนิครนถ์ก็นิ่งเสียถึงสองครั้ง. ก็เพราะศีรษะของผู้ไม่ตอบชี้แจง เมื่อปัญหาอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามแล้วถึงสามครั้ง ย่อมแตกโดย ๗ เสี่ยง. ก็ธรรมดาว่าพระพุทธเจ้าทั้งหลายมีความเอ็นดูเป็นกำลังในหมู่สัตว์ เพราะบำเพ็ญพระบารมีตลอด ๔ อสงไขยยิ่งด้วยแสนกัปป์ เพื่อประโยชน์แก่หมู่สัตว์ทั้งนั้น ฉะนั้น ตรัสถามจนถึงสองครั้งแล้ว จึงได้ตรัสคำเป็นต้นว่า ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระดำรัสนี้กะสัจจกนิครนถ์บุตรว่า วันนี้ ท่านจงตอบชี้แจงดังนี้เป็นต้น. ในบทนั้น บทว่า สหธมฺมิกํ คือ มีเหตุ มีผล. ชื่อว่าวชิรปาณี เพราะอรรถว่ามีวชิระในฝ่ามือ. บทว่า ยกฺโข ความว่า พึงทราบว่าผู้นั้นมิใช่ยักษ์ เป็นท้าวสักกเทวราช. บทว่า อาทิตฺตํ คือ มีสีเหมือนไฟ. บทว่า สมฺปชฺชลิตํ คือ ลุกโพลงด้วยดี. บทว่า สํโชติภูตํ คือ สว่างทั่ว. อธิบายว่า เป็นเปลวไฟอย่างเดียวกัน. บทว่า ฐิโต โหติ ความว่า ยักษ์ยืนนิรมิตรูปน่าเกลียดเห็นปานนี้ คือศีรษะใหญ่ เขี้ยวเช่นกับหัวปลี ตาและจมูกเป็นต้นน่ากลัว. ถามว่า ก็เพราะเหตุอะไร ยักษ์นั้นจึงมา. ตอบว่า มาเพื่อให้นิครนถ์ตอบความเห็น. อีกอย่างหนึ่ง ท้าวสักกะกับท้าวมหาพรหมเสด็จมาแล้ว เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงความขวนขวายน้อยในการแสดงธรรมอย่างนี้ว่า เราพึงแสดงธรรมคนเหล่าอื่นก็พึงรู้ทั่วถึงธรรมของเราไม่ได้ ได้ทรงกระทำปฏิญญาว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าขอพระองค์จงทรงแสดงธรรมเถิด เมื่อ บทว่า พระผู้มีพระภาคเจ้ากับสัจจกนิคันถบุตรเท่านั้นเห็นอยู่ ความว่า ถ้าคนเหล่าอื่นพึงเห็นเหตุนั้น เหตุนั้นก็ไม่พึงหนัก. ชนทั้งหลายพึงพูดว่า พระสมณโคดมทรงรู้แล้ว ซึ่งสัจจกนิครนถ์ไม่หยั่งลงในวาทะของตน ทรงใช้ยักษ์ให้นำมาแสดง แต่นั้น สัจจกนิครนถ์กราบทูลแล้ว เพราะกลัวดังนี้. เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ากับสัจจกนิครนถ์เท่านั้นเห็นอยู่. เพราะเห็นยักษ์นั้นเหงื่อก็ไหลทั่วตัวของสัจจกนิครนถ์นั้น ภายในท้องป่วนปั่นร้องดัง เขาคิดว่าคนเหล่าอื่นเห็นอยู่ เมื่อแลดูก็ไม่เห็นใครแม้ขนชัน แต่นั้นความกลัวนี้เกิดแก่เราเท่านั้น จึงคิดว่า ถ้าเราจักกล่าวว่ายักษ์ พวกคนพึงพูดว่า มีตาของท่านนั้นหรือ ท่านเท่านั้นเห็นยักษ์ ท่านไม่เห็นยักษ์ก่อนถูกพระสมณ บทว่า ตาณํ คเวสี คือ แสวงหาอยู่ว่าที่ต้านทาน. บทว่า เลณํ คเวสี คือ แสวงหาอยู่ว่า บทว่า สรณํ คเวสี คือ แสวงหาอยู่ว่าที่พึ่ง. ก็ในบทนี้ ชื่อว่าตาณา เพราะอรรถว่าต้านทานคือรักษา. ชื่อว่าเลณะ เพราะอรรถว่าเป็นที่เร้นลับแห่งชน. ชื่อว่าสรณะ เพราะอรรถว่าระลึกได้. อธิบายว่า ย่อมเบียดเบียนคือกำจัดความกลัว. บทว่า มนสิกริตฺวา ความว่า กระทำไว้ในใจ คือพิจารณาใคร่ครวญ. บทว่า เอวํ เม เวทนา โหตุ คือ ขอเวทนาจงเป็นกุศล เป็นสุข. บทว่า เอวํ เม สญฺญา โหตุ คือ ขอสัญญาจงเป็นกุศล เป็นสุข คือจงประกอบด้วยโสมนัส. แม้ในสังขารและวิญญาณก็มีนัยนี้แล. ส่วนในบทว่า มา อโหสิ นี้ พึงทราบโดยกล่าวตรงกันข้าม. บทว่า กลฺลํ นุ แปลว่า สมควรหรือหนอ. บทว่า สมนุปสฺสิตุ ํ ความว่า พิจารณาเห็นด้วยตัณหามานะทิฏฐิอย่างนี้ว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตภาพของเรา. บทว่า โน เหตํ โภ โคตม ได้แก่ ข้อนั้นไม่ควรแก่พระสมณ หมองูผู้ฉลาดให้งูนั้นกัดแล้วถอนพิษที่ถูกงูกัดฉันใด พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงให้สัจจกนิคันถบุตรกล่าวในบริษัทนั้นด้วยปากนั้นเองว่า ขันธ์ ๕ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาฉันนั้นด้วยประการฉะนี้. บทว่า ทุกฺขํ อลฺลีโน ความว่า ติด คือเข้าถึงทุกข์ในปัญจขันธ์นี้ ด้วยตัณหาและทิฏฐิ. บทว่า อชฺโฌสิโต ความว่า พึงทราบด้วยอำนาจตัณหาและทิฏฐิเท่านั้น. ในบทเป็นต้นว่า ทุกฺขํ เอตํ มม มีอธิบายว่า ย่อมพิจารณาเห็นทุกข์ในปัญจขันธ์ด้วยอำนาจตัณหามานะและทิฏฐิ. บทว่า ปริชาเนยฺย ความว่า พึงกำหนดรู้ด้วยตีรณปริญญาว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา. บทว่า ปริกฺเขเปตฺวา ความว่า นำความสิ้น ความเสื่อม ไม่ให้เกิด. บทว่า นวํ แปลว่า รุ่น. บทว่า อกุกฺกุฏชาตํ ความว่า ปลีปลีหนึ่ง ประมาณองคุลี ย่อมเกิดในภายในเวลาผลิดอก. อธิบายว่า เว้นปลีนั้นเสีย. บทว่า ริตฺโต คือ ว่างเปล่า คือเว้นจากแก่นภายใน ชื่อว่าเปล่าเพราะว่างเปล่า. บทว่า อปรทฺโธ คือ พ่ายแพ้. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกาศความที่สัจจกนิคันถบุตรนั้นมีปากกล้า เมื่อจะทรงข่มจึงตรัสพระดำรัสนี้ว่า ภาสิตา โข ปน เต ดังนี้. ได้ยินว่า เมื่อก่อนสัจจกนิครนถ์นั้นเข้าไปหาครูทั้ง ๖ มีปูรณะเป็นต้นย่อมถามปัญหา. พวกครูเหล่านั้นไม่สามารถจะตอบได้. ครั้งนั้น เขายกวิปการใหญ่ในท่าม ในบทว่า นตถิ เอตรหิ นี้ ไม่ควรกล่าวว่า ชื่อว่าเหงื่อในอุปาทินนกสังขารจะไม่มี เขาจะกล่าวว่า ก็ในบัดนี้ ไม่มี. บทว่า สุวณฺณวณฺณํ กายํ วิวริ คือ พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงเปิดพระกายทั้งหมด. ธรรมดาพระพุทธเจ้าสวมรังดุม ทรงปิดพระกายทรงแสดงธรรมอยู่ในบริษัท. ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงจับ (กด) จีวรที่ตรงหน้าหลุมคอให้หย่อนลงเพียง ๔ องคุลีแล้ว เมื่อจีวรนั้นหย่อนลงแล้ว รัศมีมีสีดังทองเป็นกลุ่มๆ ซ่านออก เหมือนรสธาราทองแดงไหลออกจากหม้อทอง และเหมือนสายฟ้าแลบออกจากวลาหกสีแดง กระทำจีวรมหาขันธ์เช่นกับกลองทองให้เป็นประทักษิณ แล่นไปในอากาศแล้ว. ถามว่า ก็เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงกระทำอย่างนี้. ตอบว่า เพื่อบรรเทาความสงสัยของมหาชน. ก็มหาชนพึงสงสัยว่า พระสมณโคดมตรัสว่า เหงื่อของเราไม่มี. เหงื่อของสัจจกนิคันถบุตรไหลอยู่ตลอดเหมือนเหงื่อของคนขึ้นเครื่องยนต์ พระสมณโคดมประทับนั่งห่มผ้าจีวรหนา ใครจะรู้ได้อย่างไรว่า เหงื่อภายในจะมีหรือไม่มีดังนี้ จึงทรงกระทำอย่างนั้นเพื่อบรรเทาความสงสัยของมหาชนนั้น. บทว่า มงฺกุภูโต คือ หมดอำนาจ. บทว่า ปตฺตกฺขนฺโธ คือ คอตก. บทว่า อปฺปฏิภาโณ คือ ไม่พบสิ่งที่ยิ่งกว่า. บทว่า นิสีทิ คือนั่งเอานิ้วเท้าเขี่ยแผ่นดิน. บทว่า ทุมฺมุโข ความว่า มีหน้าไม่น่าเกลียด. จริงอยู่ บุตรลิจฉวีนั้นมีรูปสวย น่าเลื่อมใส ก็ชื่อของเขาอย่างนั้น. บทว่า อภพฺโพ ตํ โปกฺขรณึ ปุน โอตริตุ ํ ท่านแสดงว่า ปูชื่อว่าเดินไม่ได้ เพราะก้ามหักหมด ไม่อาจลงสู่สระโบกขรณีนั้นได้ จึงเป็นเหยื่อของกาและเหยี่ยวเป็นต้นในที่นั้นเอง. บทว่า วิสูกายิกานิ คือ ทิฏฐิอันเป็นเสี้ยนหนาม. บทว่า วิเสวิตานิ คือ ประพฤติด้วยทิฏฐิ. บทว่า วิปฺผนฺทิตานิ คือ ความดิ้นรนด้วยทิฏฐิ. บทว่า ยทิทํ ในบทว่า ยทิทํ วาทาธิปฺปาโย นี้เป็นเพียงนิบาต. ท่านแสดงว่า เป็นการชี้แจงวาทะ ไม่ควรเข้าไปเฝ้าตามอัธยาศัยว่า เราจักโต้วาทะ แต่ควรเข้าไปเฝ้าเพื่อฟังธรรม. ถามว่า บทว่า ทุมฺมุขํ ลิจฺฉวิปุตฺตํ เอตทโวจ สัจจกนิคันถบุตรได้กล่าวแล้ว เพราะเหตุไร ตอบว่า ได้ยินว่า ในเวลาบุตรลิจฉวีชื่อทุมมุขุนั้นนำเอาอุปมามา แม้ลิจฉวีกุมารที่เหลือคิดแล้วว่า นิครนถ์นี้ทำความดูหมิ่นพวกเราในสถานที่เรียนศิลปะของพวกเรามานาน บัดนี้ ถึงเวลาที่จะเห็นหลังศัตรู แม้เรานำอุปมาข้อหนึ่งมาคนละข้อ จักกระทำสัจจกนิครนถ์นั้นผู้ตกไปด้วยปรบฝ่ามือ ดุจโบยด้วยค้อนโดยประการที่สัจจกนิครนถ์จักไม่สามารถยกศีรษะขึ้น สัจจกนิครนถ์รู้ความประสงค์ของลิจฉวีเหล่านั้น จึงคิดว่า ลิจฉวีเหล่านี้ทั้งหมด ในบทเหล่านั้น บทว่า อาค เมหิ แปลว่า หยุดก่อน. อธิบายว่า อย่าถือเอาอีก. บทว่า ติฏฺฐเตสา โภ โคตม ความว่า พระโคดมผู้เจริญ วาจานี้ของข้าพระองค์และของ บทว่า วิลาปํ วิลปิตํ มญฺเญ ความว่า คำนี้นี้เป็นดุจพร่ำเพ้อ. อธิบายว่า เป็นเพียงพูดพร่ำ. อีกอย่างหนึ่ง ควรนำบทว่า กถา มากล่าวในบทนี้ว่า ติฏฐเตสา. ส่วนในบทว่า วาจาวิลาปํ วิลปิตํ มญฺเญ นี้มีอธิบายว่า การเปล่งวาจานี้เห็นจะเป็นเพียงพูดพร่ำ. บัดนี้ สัจจกนิครนถบุตรเมื่อทูลถามปัญหา จึงกล่าวคำเป็นต้นว่า กิตฺตาวตา. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เวสารชฺชปฺปตฺโต คือ บรรลุญาณ. บทว่า อปรปฺปจฺจโย คือ ไม่ต้องเชื่อผู้อื่น. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงตอบปัญหาแก่สัจจกนิคันถบุตรนั้น จึงตรัสคำเป็นต้นว่า อิธ อคฺคิเวสฺสน ดังนี้. คำนั้นมีเนื้อความง่ายทั้งนั้น. ก็เพราะเสขภูมิ ทรงแสดงแล้วเพราะตรัสว่า ปสฺสติ ในบทนี้ ฉะนั้น เมื่อทูลเสขภูมิให้ยิ่งขึ้นไปจึงทูลถามปัญหาข้อที่สองแล้ว. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตอบชี้แจงปัญหาแม้นั้นแก่เขา. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทสฺสนานุตฺตริยํ ในบทเป็นต้นว่า ทสฺสนานุตฺตริยํ ได้แก่ ปัญญาที่เป็นโลกิยะและโลกุตตระ. บทว่า ปฏิปทานุตฺตริยํ ได้แก่ ข้อปฎิบัติที่เป็นโลกิยะและโลกุตตระ. บทว่า วิมุตฺตานุตฺตริยํ คือ โลกุตตรวิมุตติ. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ทสฺสนานุตฺตริยํ คือ สัมมาทิฏฐิอันเป็นอรหัตตมรรค เพราะมุ่งถึงโลกุตตรธรรมล้วน. บทว่า ปฏิปทานุตฺตริยํ คือ องค์มรรคที่เหลือ. บทว่า วิมุตฺตานุตฺตริยํ คือ วิมุตติเป็นมรรคผล. การเห็นนิพพานของพระขีณาสพชื่อว่า ทัสสนานุตตริยะ. องค์มรรค ๘ เป็นปฏิปทานุตตริยะ. มรรคผลพึงทราบว่าเป็นวิมุตตานุตตริยะ. บทว่า พุทฺโธ โส ภควา ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นตรัสรู้แล้วซึ่งสัจจะ ๔ ด้วยพระองค์เอง. บทว่า โพเธตาย ความว่า ทรงแสดงธรรมแก่สัตว์แม้เหล่าอื่นเพื่อให้ตรัสรู้สัจจะ ๔. บทว่า ทนฺโต ในบทเป็นต้นว่า ทนฺโต คือหมดพยศ. บทว่า ทมถาย คือ เพื่อต้องการหมดพยศ. บทว่า สนฺโต คือ ทรงสงบแล้วด้วยความเข้าไปสงบกิเลสทั้งปวง. บทว่า สมถาย คือ เพื่อความสงบกิเลส. บทว่า ติณฺโณ คือ ข้ามโอฆะ ๔. บทว่า ตรณาย คือ เพื่อข้ามโอฆะ ๔. บทว่า ปรินิพฺพุโต ความว่า ทรงดับสนิทแล้วด้วยความดับสนิทแห่งกิเลส. บทว่า ปรินิพฺพานาย ความว่า ทรงแสดงธรรมเพื่อความดับสนิทแห่งกิเลส. บทว่า ธํสี คือ เป็นคนกำจัดคุณ. บทว่า ปคพฺภา คือ ประกอบด้วยความคะนองวาจา. บทว่า อาสาเทตพฺพํ คือ พึงเสียดสี. บทว่า อาสชฺช คือ กระทบ. บทว่า น เตฺวว ภวนฺตํ โคตมํ ท่านแสดงว่า หมดกำลังเพื่อจะถือเอาวาทะของตนไปกระทบต่อใครๆ ทั้งสิ้น. พระผู้มีพระภาคเจ้าจะทรงทำอันตรายชีวิตใครๆ เหมือนช้างเป็นต้น ก็หามิได้. แต่นิครนถ์นี้นำอุปมาสามข้อเหล่านี้มาแล้วเพื่อจะยกพระผู้มีพระภาคเจ้าก็หามิได้เลย นำมาเพื่อยกตนเท่านั้น เหมือนอย่างว่า พระราชาทรงปราบปรามข้าศึกบางพวกลงได้แล้ว เมื่อจะทรงชมเชยข้าศึกว่า คนกล้าอย่างนี้จักเป็นคนถึงพร้อมด้วยกำลังอย่างนี้ ก็ชมเชยตนอยู่นั้นเองฉันใด สัจจก ครั้นยกตนอย่างนี้แล้ว เมื่อจะนิมนต์พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงกราบทูลคำเป็นต้นว่า อธิวาเสตุ เม. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อธิวาเสตุ คือ ขอพระองค์จงทรงรับเถิด. บทว่า สฺวาตนาย ความว่า เพื่อประโยชน์แก่บุญและปีติปราโมทย์ซึ่งจักมีในวันพรุ่งนี้แก่ข้าพระองค์ผู้กระทำอยู่ซึ่งสักการะในพระองค์. บทว่า อธิวาเสสิ ภควา ตุณฺหีภาเวน มีอธิบายว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงให้อวัยวะส่วนพระกายและพระวาจาให้หวั่นไหว ทรงยับยั้งอยู่ไว้เฉพาะภายใน ทรงรับแล้วด้วยดุษณีภาพ. คือทรงรับด้วยพระทัยเพื่อทำการอนุเคราะห์แก่สัจจกนิคันถบุตรแล ดังนี้. บทว่า ยมสฺส ปฏิรูปํ มญฺเญยฺยาถ ความว่า ได้ยินว่า เจ้าลิจฉวีเหล่านั้นนำถาดสำรับ ๕๐๐ ไปให้แก่สัจจกนิคันถบุตรนั้นเป็นนิตยภัตร สัจจกนิคันถบุตรหมายเอาภัตรนั้นแล จึงกล่าวว่า วันพรุ่งนี้ พวกท่านควรสำคัญว่า สิ่งที่สมควรจึงเป็นของควรถวายแด่พระสมณโคดม ควรนำของที่สมควรนั้นมา พวกท่านเป็นคนปรนนิบัติ ย่อมเข้าใจถึงสิ่งที่ควรไม่ควร เหมาะไม่เหมาะสำหรับพระสมณโคดม. บทว่า ภตฺตาภิหารํ อภิหรึสุ ความว่า นำภัตรที่ควรนำไป. บทว่า ปณีเตน คือ สูงสุด. บทว่า สหตฺถา คือ ด้วยมือของตน. บทว่า สนฺตปฺเปตฺวา ความว่า อิ่มดี คืออังคาสให้อิ่มหนำสำราญบริบูรณ์ตามความต้องการ. บทว่า สมฺปวาเรตฺวา คือ ปวารณาดี คือห้ามด้วยหัตถสัญญาว่า พอ พอ ดังนี้. บทว่า ภุตฺตาวึ คือ เสวย. บทว่า โอนีตปตฺตปาณึ คือ ชักพระหัตถ์ออกจากบาตร. อธิบายว่า คือนำพระหัตถ์ออกแล้ว. บาลีว่า โอนิตฺตปตฺตปาณึ ดังนี้ก็มี. บทนั้นมีความว่า ชื่อว่า โอนิตฺตปตฺตปาณึ เพราะอรรถว่ามีบาตรต่างนำออกแล้วจากพระหัตถ์. อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นผู้มีบาตรอันนำออกแล้วจากพระหัตถ์ คือทรงชำระพระหัตถ์และบาตรทรงเก็บบาตรไว้ที่สมควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วประทับนั่ง. บทว่า เอกมนฺตํ นิสีทิ ความว่า สัจจกนิครนถ์รู้แล้วซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าเสวยอย่างนี้ จึงนั่งในโอกาสแห่งหนึ่ง. บทว่า ปุญฺญญฺจ คือ บุญในทานนี้. อธิบายว่า เป็นวิบากขันธ์ต่อไป. บทว่า ปญฺญมหี ความว่า เป็นบริวารเฉพาะวิบากขันธ์. บทว่า ตํ ทายกานํ สุขาย โหตุ ความว่า บุญนั้นจงมีเพื่อประโยชน์สุขแก่ลิจ ได้ยินว่า นิครนถ์นั้น เมื่อจะมอบทานนี้แก่เจ้าลิจฉวีเหล่านั้น จึงกล่าวอย่างนี้ว่า เราเป็นบรรพชิต ไม่ควรให้ทานของตน. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เพราะบุญเจ้าลิจฉวีให้แก่สัจจกนิครนถ์ ไม่ให้พระผู้มีพระภาคเจ้า ส่วนสัจจกนิครนถ์ถวายแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ฉะนั้น เมื่อทรงแสดงเนื้อความนั้น จึงตรัสคำเป็นต้นว่า ยํ โข อคฺคิเวสฺสน ดังนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมอบทักษิณาที่เขาถวายแก่ตนแก่นิครนถ์เพื่อรักษาน้ำใจ ทักษิณานั้นก็จักเป็นวาสนาในอนาคตด้วยประการฉะนี้แล. จบอรรถกถาจูฬสัจจกสูตรที่ ๕ ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ มหายมกวรรค จูฬสัจจกสูตร เรื่องสัจจกนิครนถ์สนทนากับพระอัสสชิเถระ จบ. |