![]() |
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
![]() |
![]() | |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() พึงทราบวินิจฉัยในบทเหล่านั้น ในข้อว่า ปุพฺพาราเม มิคารมาตุ ปาสาเท ได้แก่ ปราสาท ในข้อนั้น มีการพรรณนาความตามลำดับดังต่อไปนี้ :- ครั้งอดีตกาล ในที่สุดแห่งแสนกัปป์ มีอุบาสิกาคนหนึ่งนิมนต์พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ แล้วถวายทานแสนหนึ่งแก่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข แล้วหมอบลงใกล้พระยุคลบาทพระผู้มีพระภาคเจ้า ทำการปรารถนาว่า ในอนาคตกาล ขอให้ข้าพเจ้าเป็น เขาท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายสิ้นแสนแห่งกัปป์แล้วถือปฏิสนธิในครรภ์ของนางสุมนเทวี ในเรือนเศรษฐีผู้เป็นบุตรของเมณฑกะในภัททิยนคร ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลาย. ในเวลาคลอด พวกญาติได้ตั้งชื่อเขาว่าวิสาขา. เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าได้เสด็จ ในกาลอื่นอีก นางไปสู่เรือนของปุณณวัฑฒนกุมาร บุตรมิคารเศรษฐีในพระนครสาวัตถี ในที่นั้น มิคารเศรษฐีได้ตั้งนางไว้ในตำแหน่งแห่งมารดา เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่ามิคารมารดา. ก็เมื่อนางจะไปสู่ตระกูลสามี บิดาของนางได้ให้ทำเครื่องประดับชื่อว่ามหาลดาให้. เครื่องประดับนั้นประกอบไว้ด้วยเพชร ๔ ทะนาน แก้วมุกดา ๑๑ ทะนาน แก้วประพาฬ ๒๒ ทะนาน แก้วมณี ๓๓ ทะนาน เครื่องประดับนั้นสำเร็จแล้วด้วยรัตนะเหล่านี้ และด้วยรัตนะอื่นมีวรรณะ ๗ ด้วยประการฉะนี้. เครื่องประดับนั้นสวมศีรษะยาวพาดไปถึงหลังเท้า. ก็หญิงผู้มีกำลังถึงช้างพลาย ๕ เชือก จึงสามารถประดับได้. ครั้นต่อมา นางได้เป็นอัคคอุปัฏฐายิกาของพระทศพล สละเครื่องประดับนั้นสร้างวิหารเพื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยทรัพย์ ๙ โกฏิให้ทำปราสาทพื้นที่ประมาณหนึ่งกรีส. ประดับด้วยห้องพันหนึ่ง คือชั้นบนของปราสาทนั้นมี ๕๐๐ ห้อง ชั้นล่างมี ๕๐๐ ห้อง. นางวิสาขานั้นคิดว่า ปราสาทล้วนๆ อย่างเดียวย่อมไม่งาม จึงให้สร้างเรือนทวิกูฏะ ๕๐๐ จุลลปราสาท ๕๐๐ ห้อง. ศาลาทีปฆระ ๕๐๐ แวดล้อมปราสาทใหญ่นั้น ได้ทำการฉลองวิหาร ๔ เดือน. ชื่อว่าการบริจาคทรัพย์ในพระพุทธศาสนาของหญิงอื่นเหมือนนางวิสาขาผู้ดำรงอยู่ในอัตต จริงอยู่ อนาถบิณฑิกเศรษฐีนั้นสละทรัพย์ ๕๔ โกฏิสร้างมหาวิหารชื่อว่าเชตวัน เช่นกับมหาวิหารของอนุราธบุรี ในที่ส่วนอันมีในทิศทักษิณแห่งพระนครสาวัตถี. นางวิสาขาสร้างวิหารชื่อว่าบุพพาราม ในที่เช่นกับเทววิมานอันยอดเยี่ยม ในส่วนแห่งทิศปาจีนแห่งพระนครสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคเจ้าอาศัยพระนครสาวัตถีประทับอยู่เพื่ออนุเคราะห์ตระกูลทั้งสองเหล่านี้ จึงได้ประทับอยู่ในปราสาททั้งสองเหล่านี้เนืองนิตย์. คือว่า ภายในพรรษาหนึ่งประทับอยู่ในพระเชตวัน พรรษาหนึ่งประทับอยู่ในบุพพาราม. แต่ในสมัยนั้น ประทับอยู่ในบุพพาราม. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปุพฺ บทว่า กิตฺตาวตา นุโข ภนฺเต ความว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่าไร. บทว่า สงฺขิตฺเตน ตณฺหาสงฺขยวิมุตฺโต โหติ ความว่า ว่าโดยย่อด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่าไร ชื่อว่าน้อมไปในธรรมเป็นที่สิ้นตัณหา เพราะความที่ภิกษุนั้นมีจิตน้อมไปกระทำข้อปฏิบัตินั้นให้เป็นไปในอารมณ์นิพพานอันเป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหานั้น คือว่า ท้าวสักกะจอมเทพทูลว่า ขอพระองค์จงแสดงปฏิปทาอันเป็นส่วนเบื้องต้นของภิกษุผู้มีอาสวะนั้นแล้ว ด้วยข้อปฏิบัติโดยย่อที่น้อมไปเพื่อความสิ้นตัณหา. บทว่า อจฺจนฺตนิฏฺโฐ ความว่า ล่วงส่วนกล่าวคือสิ้นและเสื่อม ชื่อว่าอัจจันต บทว่า อจฺจนฺตโยคกฺเขมี ความว่า มีความปลอดโปร่งจากกิเลสเป็นเครื่องประกอบล่วงส่วนเนืองๆ. บทว่า อจฺจนฺตพฺรหฺมจารี ได้แก่ เป็นพรหมจารีเป็นนิตย์. ชื่อว่า อัจจันตปริโยสาน โดยนัยก่อนเพราะมีจบลงล่วงส่วน. บทว่า เสฏฺโฐ เทวมนุสฺสานํ ได้แก่ ประเสริฐสุด คือสูงสุดกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย. อธิบายว่า ท้าวสักกะจอมเทพย่อมทูลขอพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ภิกษุเห็นปานนี้ย่อมเป็นผู้มีข้อปฏิบัติด้วยข้อปฏิบัติเท่าไร. ขอพระองค์ตรัสบอกข้อปฏิบัติโดยย่อของภิกษุนั้นเร็วพลันเถิด. ถามว่า ก็เพราะเหตุไร ท้าวสักกะจอมเทพนั้นจึงปรารถนาความรีบเร่งอย่างนั้น. ตอบว่า เพราะทรงประสงค์จะไปเล่นกีฬา. ได้ยินว่า ท้าวสักกะจอมเทพนั้นรับสั่งการเล่นกีฬาในอุทยาน แล้วให้มหาราชทั้ง ๔ อารักขาใน ๔ ทิศ ผู้อันหมู่แห่งทวยเทพแวดล้อมแล้วในเทวโลกทั้งสอง ทรงช้างเอราวัณกับนางฟ้อน ๒ โกฏิครึ่ง ประทับอยู่ที่ประตูอุทยาน กำหนดปัญหานี้ว่า ปฏิปทาอันเป็นส่วนเบื้องต้นที่บุคคลพึงบรรลุของพระขีณา ทีนั้น ท้าวเธอได้มีความดำริว่า ปัญหานี้เป็นไปกับด้วยศิริยิ่งนัก ถ้าเราไม่ได้เรียนเอาปัญหานี้แล้ว. จักเข้าไปยังอุทยานไซร้ ถูกอารมณ์อันเป็นไปในทวารทั้ง ๖ ย่ำยีแล้ว จักกำหนดปัญหานี้อีกไม่ได้ การเล่นกีฬาในอุทยานงดไว้ก่อนเถิด เราจะไปสำนักของพระศาสดาทูลถามปัญหานี้ เราเรียนปัญหานี้แล้ว จักเล่นกีฬาในอุทยานดังนี้ แล้วหายไปในที่คอแห่งช้าง ได้ปรากฏในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า. ท้าวมหาราชทั้ง ๔ แม้เหล่านั้นก็อารักขายืนอยู่ในที่ประทับตรงนั้นแหละ หมู่ทวยเทพผู้บำเรอก็ดี นางฟ้อนทั้งหลายก็ดี ช้างเอราวัณก็ดี นาคราชก็ดี ได้ยืนอยู่ที่ประตูทวารนั้นนั่นแหละ. ท้าวสักกะจอมเทพนั้น เมื่อมีความปรารถนาโดยเร็ว เพื่อประสงค์จะเล่นกีฬาด้วยอาการอย่างนี้ จึงตรัสแล้วอย่างนั้น. บทว่า สพฺเพ ธมฺมา นาลํ อภินิเวสาย นี้ อธิบายว่า ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ ชื่อว่าธรรมทั้งปวง ธรรมแม้ทั้งหมดเหล่านั้น ไม่ควร คือไม่เรียน ไม่ปรารถนา ไม่ประกอบไว้ด้วยความยึดมั่นด้วยอำนาจแห่งตัณหาและทิฏฐิ เพราะเหตุไร เพราะไม่ดำรงอยู่โดยอาการที่บุคคลจะถือเอาได้. จริงอยู่ ธรรมทั้งหลายมีขันธ์ ๕ เป็นต้นนั้น แม้จะถือว่าเป็นของเที่ยง ความไม่เที่ยงเท่านั้นย่อมเกิดขึ้น แม้จะถือว่าเป็นสุข ความทุกข์เท่านั้น ย่อมถึงพร้อม แม้จะถือว่าเป็นอัตตา อนัตตาเท่านั้นย่อมปรากฏ เพราะฉะนั้น บุคคลจึงไม่ควรเพื่อยึดมั่น. บทว่า อภิชานาติ ได้แก่ ย่อมทราบชัดด้วยญาตปริญญาว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา. บทว่า ปริชานาติ ได้แก่ ย่อมกำหนดรู้ด้วยตีรณปริญญา เหมือนอย่างนั้นนั่นแหละ. บทว่า ยํ กิญฺจิ เวทน ได้แก่ เสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง แม้มีประมาณน้อย โดยที่สุดแม้สัมปยุตด้วยปัญจวิญญาณ. พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมแสดงการกำหนดอรูปธรรม อันเกิดขึ้นด้วยอำนาจแห่งเวทนาแก่ท้าวสักกะจอมเทพด้วยบทนี้. ก็ถ้าว่า เวทนากัมมัฏฐานเป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ได้ตรัสไว้ในหนหลังไซร้ ก็ไม่ควรกล่าวไว้ในที่นี้. แต่ว่ากัมมัฏฐานนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้วในหนหลัง ฉะนั้น พึงทราบเวทนากัมมัฏฐานโดยนัยที่กล่าวไว้แล้วในสติปัฏฐาน. ในบทว่า อนิจฺจานุปสฺสี นี้พึงทราบว่า เป็นอนิจจัง เป็นอนิจจานุปัสสนา และอนิจจานุปัสสี. ในที่นี้มีอธิบายว่า ในบรรดาบทเหล่านั้น ได้แก่เบญจขันธ์ ชื่อว่าอนิจจัง. จริงอยู่ เบญจขันธ์เหล่านั้น ชื่อว่าเป็นของไม่เที่ยง เพราะอรรถว่ามีความเกิดขึ้นและมีความเสื่อมไป. ความเห็นความรู้เบญจขันธ์ทั้งหลาย โดยความสิ้นไปเสื่อมไป ชื่อว่าอนิจจานุปัสสนา. บุคคลผู้ประกอบด้วยญาณนั้น ชื่อว่าอนิจจานุปัสสี เพราะฉะนั้น บทว่า อนิจฺจานุปสฺสี วิหรติ ได้แก่ เมื่อบุคคลตามเห็นอยู่โดยความเป็นของไม่เที่ยง. ในบทว่า วิราคานุปสฺสี ได้แก่ วิราคะ ๒ อย่างคือ ขยวิราคะ อัจจันตวิราคะ. ในสองบทนั้น วิปัสสนาเป็นเครื่องเห็นสังขารทั้งหลาย โดยความสิ้นไป เสื่อมไป ชื่อว่าขยวิราคะ. ฝ่ายมรรคญาณเป็นเครื่องเห็นพระนิพพานอันเป็นอัจจันตวิราคะโดยวิราคะ ชื่อว่าวิราคานุปัสสนา บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยวิราคะทั้งสองนั้น ชื่อว่าวิราคานุปัสสี. บทว่า วิราคานุปสฺสี ท่านกล่าวหมายถึงบุคคลนั้น. อธิบายว่า บุคคลผู้ตามเห็นอยู่โดยความเป็นวิราคะ. แม้ในบทว่า นิโรธานุปสฺสี ก็นัยนี้เหมือนกัน. จริงอยู่ แม้นิโรธก็มี ๒ อย่างเหมือนกัน คือ ขยนิโรธะและอัจจันตนิโรธะ. โวสสัคคะ (การสละแล้ว) ท่านเรียกว่าการสละคืน ในบทว่า ปฏินิสฺสคฺคานุปสฺสี นี้. ก็โวสสัคคะมี ๒ คือ ปริจจาคโวสสัคคะ ปักขันทนโวสสัคคะ. ในสองอย่างนั้น วิปัสสนาชื่อว่าปริจจาคโวสสัคคะ เพราะว่าวิปัสสนานั้นย่อมสละกิเลสและขันธ์ทั้งหลายด้วยสามารถแห่งตทังคะ. มรรคชื่อว่าปักขันทนโวสสัคคะ เพราะมรรคนั้นย่อมแล่นไปสู่นิพพานโดยอารมณ์. อีกอย่างหนึ่ง การสละด้วยเหตุแม้ทั้งสอง คือเพราะการสละขันธ์ทั้งหลาย กิเลสทั้งหลายด้วยสามารถแห่งสมุจเฉทะ และเพราะการแล่นไปในนิพพาน ฉะนั้น ชื่อว่าปริจ บทว่า น กิญฺจิ โลเก อุปาทิยติ ได้แก่ ย่อมไม่ยึดมั่น ไม่ยึดถือ ไม่ลูบคลำธรรมแม้อย่างใดอย่างหนึ่งอันถึงความเป็นสังขารด้วยอำนาจแห่งตัณหา ย่อมไม่สะดุ้งเพราะความไม่ยึดมั่น เมื่อไม่ยึดถือจึงไม่สะดุ้งเพราะความสะดุ้งด้วยตัณหาทั้งหลาย ย่อมดับไปเฉพาะตัวเท่านั้น ดังนั้น จึงชื่อว่าย่อมดับด้วยการดับกิเลสเองทีเดียว. ปัจจเวกขณะของพระขีณาสพนั้นแหละ ท่านแสดงไว้ด้วยบทว่า ขีณา ชาติ เป็นต้น. พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้อันท้าวสักกะจอมเทพทูลถามข้อปฏิบัติอันเป็นส่วนเบื้องต้นของพระขีณาสพโดยย่อ ทรงกระทำให้เบาพระทัยพร้อมตรัสตอบปัญหาโดยย่อเร็วพลัน ด้วยประการฉะนี้. บทว่า อวิทูเร นิสินฺโน โหติ ความว่า พระมหาโมคคัลลานะนั่งอยู่ในกูฏาคารถัดไป. บทว่า อภิสเมจฺจ ได้แก่ มาถึงพร้อมด้วยญาณ. อธิบายว่า รู้แล้ว. มีอธิบายว่า ท้าวสักกะจอมเทพนั้นรู้ปัญหาแล้วจึงยินดีหรือ หรือว่าไม่รู้แล้วสั่นศีรษะ. เพราะเหตุไร พระเถระจึงได้มีความคิดอย่างนี้ ได้ยินว่า พระเถระไม่ได้ยินเสียงแก้ปัญหาของพระผู้มีพระภาคเจ้า แต่ได้ยินเสียงอนุโมทนาของท้าวสักกะจอมเทพว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้อนั้นเป็นอย่างนั้นๆ ดังนี้. นัยว่า ท้าวสักกะเทวราชทรงอนุโมทนาด้วยเสียงอันดัง. ถามว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น เพราะเหตุไร จึงไม่ได้ยินเสียงพระผู้มีพระภาคเจ้า. ตอบว่า เพราะยังบริษัทให้รู้. จริงอยู่ เมื่อพระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงแสดงธรรมอยู่อันบริษัทในที่สุดแห่งจักรวาล ย่อมได้ยินพระ ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งในห้องอันเป็นศิริ ในกูฏาคารอันสำเร็จแล้วด้วยแก้ว ๗ ประการบนปราสาทของมิคารมารดา กูฏาคารอันเป็นที่อยู่ของพระสารีบุตรเถระอยู่ข้างขวา ของพระมหาโมคคัลลานะเถระอยู่ข้างซ้าย ไม่มีช่องว่างติดต่อในภายใน เพราะเหตุนั้น พระเถระจึงไม่ได้ยินเสียงของพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ยินแต่เสียงของท้าวสักกะจอมเทพเท่านั้น. บทว่า ปญฺจหิ ตุริยสเตหิ ได้แก่ ดนตรีประกอบด้วยองค์ ๕ มีประมาณห้าร้อย. เครื่องดนตรีประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่านี้คือ อาตตํ กลองหุ้มหนังหน้าเดียว, วิตตํ คือตะโพน, อาตตวิตตํ คือบัณเฑาะว์, สุสิรํ คือปี่หรือสังข์เป็นต้น และฆนํ คือฉิ่งเป็นต้น ชื่อว่าดนตรีประกอบด้วยองค์ ๕. ในเครื่องดนตรีเหล่านั้น ในบรรดากลองทั้งหลายมีกลองที่หุ้มหนังหน้าเดียว ชื่อว่าอาตตะ. กลองที่หุ้มหนังสองหน้า ชื่อว่าวิตตะ. กลองที่หุ้มด้วยหนังทั้งหมดมี บทว่า สมปฺปิโต ได้แก่ เข้าถึงแล้ว. บทว่า สมงฺคีภูโต เป็นคำไวพจน์ของ สมปฺปิโต นั้นนั่นแหละ. บทว่า ปริจาเรติ ได้แก่ เสวยอยู่ซึ่งสมบัติ ให้บำเรออินทรีย์ทั้งหลายจากสมบัตินั้นๆ. อธิบายว่า ประกอบด้วยดนตรีห้าร้อยบำรุงบำเรออยู่ เสวยอยู่ซึ่งทิพยสมบัติ. บทว่า ปฏิปณาเมตฺวา ได้แก่ ให้หยุดเสีย คือทำไม่ให้มีเสียงดนตรี. เหมือนอย่างว่า ในบัดนี้ พระราชาทั้งหลายผู้มีศรัทธาทอดพระเนตรเห็นภิกษุผู้ควรแก่การเคารพยกย่อง จึงตรัสว่า พระผู้เป็นเจ้าชื่อโน้นมา พวกเธอทั้งหลายอย่าให้ขับร้อง อย่าประโคมดนตรี อย่าฟ้อนรำ แล้วให้งดการแสดงเสียฉันใด แม้ท้าวสักกะทอดพระเนตรเห็นพระเถระ ก็ได้กระทำฉันนั้น. บทเห็นปานนี้ว่า จิรสฺสํ โข มาริส โมคฺคลฺลาน อิมํ ปริยายมกาสิ เป็นคำร้องเรียกด้วยวาจาเป็นที่รักโดยปกติในโลก. จริงอยู่ ชาวโลกเห็นผู้ที่มานานแล้วบ้าง ไม่เคยมาบ้าง มาในชาติของผู้เป็นที่รักที่ชอบใจ พากันถามเป็นต้นว่า ท่านมาจากไหนขอรับ มานานแล้วหรือ ท่านรู้ทางมาที่นี้ได้อย่างไร ท่านหลงทางมาหรือเปล่า. แต่ท้าวสักกะก็ตรัสอย่างนี้กะท่านพระมหาโมคคัลลานะเถระ เพราะเคยมาแล้ว. จริงอยู่ พระเถระย่อมเที่ยวจาริกไปในเทวโลกตลอดกาลทีเดียว. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปริยายมกาสิ แปลว่า ได้กระทำวาระ. บทว่า ยทิทํ อิธาคมนาย มีอธิบายว่า วาระเพื่ออันมาในที่นี้อันใด ได้ทำวาระนั้นสิ้นกาลนาน. บทว่า อิทมาสนํ ปญฺญตฺตํ ความว่า ท้าวสักกะปูบัลลังก์แก้วมณีโยชน์หนึ่ง จึงตรัสอย่างนี้ดังนี้. บทใน พหุกิจฺจา พหุกรณียา นี้ ความว่า กิจทั้งหลายของชนเหล่าใดมาก ชนเหล่านั้นชื่อว่ามีกิจมาก. บทว่า พหุกรณียา นี้เป็นคำไวพจน์ของบทว่า พหุกิจฺจา นั้นนั่นเอง. บทว่า อปฺเปว สเกน กรณีเยน ได้แก่ กรณียกิจของตนนั่นแหละ. ก็กรณียกิจของท้าวสักกะนั้นน้อยไม่มาก แต่กรณียกิจของเทวดาทั้งหลายมีมาก. จริงอยู่ คดีความตั้งแต่พื้นดินไปเพื่อต้องการต้นกัลปพฤกษ์และมาตุคามเป็นต้น ย่อมตัดสินในสำนักของท้าวสักกะ เพราะฉะนั้น เมื่อท้าวเธอกำหนดอยู่ จึงตรัสว่า มีกรณียกิจของเทวดาทั้งหลายชั้นดาวดึงส์อีก ดังนี้. แท้จริง ธิดาและบุตรย่อมเกิดขึ้นที่ตักของเทวดาทั้งหลาย หญิงผู้เป็นบาทบริจาริกาย่อมเกิดขึ้นในที่นอน ผู้ประดับตกแต่งเทวดาเหล่านั้นก็เกิดแวดล้อมที่ แต่ว่า มาตุคามเหล่าใดย่อมเกิดขึ้นในระหว่างเขตแดน เขาไม่สามารถตัดสินว่า มาตุคามเหล่านั้นเป็นสมบัติของเราหรือว่าของท่าน เมื่อจะทำคดีจึงทูลถามท้าวสักกะเทวราช. ท้าวสักกะเทวราชนั้นย่อมตรัสว่า วิมานของผู้ใดอยู่ใกล้กว่าก็เป็นสมบัติของผู้นั้น. ถ้าว่าวิมานแม้ทั้งสองมีอยู่ในระหว่างเท่ากัน ท้าวสักกะก็จะตรัสว่า ผู้ที่เกิดมานั้นยืนแลดูวิมานของผู้ใดก็เป็นสมบัติของผู้นั้น. ถ้าไม่แลดูแม้สักวิมานเดียว เพื่อต้องการตัดการวิวาทของเทวดาทั้งหลายนั้น ก็กระทำมาตุคามนั้นให้เป็นสมบัติของ ท้าวสักกะจอมเทพตรัสคำว่า มีกรณียกิจของเทวดาทั้งหลายชั้นดาวดึงส์ดังนี้ หมายเอาคำที่กล่าวแล้วนั้น. อีกอย่างหนึ่ง แม้กิจคือการเล่นในอุทยานเห็นปานนี้ ก็เป็นกรณียกิจของท้าวสักกะเหมือนกัน. บทว่า ยนฺโน ขิปฺปเมว อนฺตรธายติ ความว่า คำใดที่ข้าพเจ้าฟังแล้ว คำนั้น พระเถระพิจารณาอยู่ว่า เพราะเหตุไรหนอ ท้าวสักกะนี้จักแสดงถึงความที่ตนเป็นผู้กำหนดไม่ได้ ทราบว่าจะรักษาประโยชน์อันเป็นส่วนข้างตนไว้ ขึ้นชื่อว่าพวก ก็อาจารย์บางพวกกล่าวว่า พระเถระเป็นผู้ควรเคารพ ควรยกย่องของท้าวสักกะ เพราะฉะนั้น ท้าวเธอจึงตรัสอย่างนั้นด้วยเกรงกลัวพระเถระจะพึงคุกคามเราอย่างนี้ว่า บัดนี้ ท้าวสักกะเรียนปัญหาในสำนักของบุคคลผู้เลิศในโลกมาแล้ว บัดนี้ก็เข้าไปสู่ระหว่างนางฟ้อนรำทั้งหลาย ดังนี้. ก็ขึ้นชื่อว่าความพิศวงอย่างนี้ มีอยู่. ชื่อว่าความพิศวงเห็นปานนี้ของพระอริยสาวก ย่อมไม่มี. เพราะฉะนั้น บัณฑิตพึงทราบว่า ท้าวสักกะจอมเทพนั้นกำหนดไม่ได้แล้วด้วยความเป็นผู้หลงลืม. ถามว่า เพราะเหตุไร ในภายหลังจึงกำหนดได้เล่า. ตอบว่า เพราะพระเถระได้ยังความโสมนัส และความสังเวชให้เกิดแก่ท้าวเธอแล้วนำความมืดออกไป จึงกำหนดได้. บัดนี้ ท้าวสักกะเพื่อจะบอกเหตุอันน่าพิศวงอย่างหนึ่งของตนในกาลก่อนแก่พระเถระ จึงตรัสคำว่า ภูตปุพฺพํ เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สมุปพฺยุฬฺโห แปลว่า ประชิดกันแล้ว คือเป็นกองทัพ. บทว่า อสุรา ปรายึสุ ได้แก่ พวกอสูรถึงความปราชัย. ถามว่า ก็พวกอสูรเหล่านั้น ถึงความปราชัยในกาลไร. ตอบว่า ในกาลที่ท้าวสักกะทรงอุบัติขึ้น. ได้ยินว่า ท้าวสักกะได้เป็นมาณพ เป็นบัณฑิต เป็นผู้เฉียบแหลม ชื่อว่ามาฆะ ในบ้านอจลคาม ในมคธรัฐ ในอัตตภาพถัดไป ความประพฤติของเขาได้เป็นเหมือนความประพฤติของพระโพธิสัตว์. นาย วันหนึ่ง เขาใคร่ครวญด้วยปัญญาของตนแล้วขนขยะทั้งสองข้างในที่มหาชนประชุมกัน ในท่าม นายมฆะมาณพได้บำเพ็ญวัตตบท ๗ ประการ ครั้นถึงแก่กรรมย่อมไปบังเกิดในภพดาวดึงส์พร้อมกับสหาย. ในกาลนั้น พวกอสูรอาศัยอยู่ในดาวดึงส์เทวโลก. พวกอสูรเหล่านั้นทั้งหมดมีอายุและวรรณะเสมอเทพทั้งหลาย พวกเขาเห็นท้าวสักกะพร้อมทั้งบริษัทเพิ่งเกิดขึ้น จึงคิดว่า พวกเทวบุตรใหม่มาแล้ว จึงจัดแจงน้ำมหาปานะมาต้อนรับ. ท้าวสักกะได้ให้สัญญาคือบอกอุบายแก่เทวบุตรทั้งหลายว่า พวกเรากระทำกุศล แต่ไม่ได้กระทำกุศลทั่วไปร่วมกับชนเหล่าอื่น พวกท่านอย่าดื่มน้ำคัณฑบาน จงทำเพียงดื่มเท่านั้น ดังนี้. พวกเขาได้กระทำเหมือนอย่างนั้น พวกอสูรโง่พากันดื่มน้ำคัณฑบานเมาแล้วหลับไป. ท้าวสักกะให้สัญญาแก่พวกเทพแล้วพากันจับเท้าพวกอสูรขว้างไปยังเชิงเขาสิเนรุ. เพราะว่า พิภพของอสูรมีอยู่ ณ พื้นภายใต้แห่งเขาสิเนรุมีประมาณเท่าดาวดึงส์เทวโลกทีเดียว. พวกอสูรอยู่ในที่นั้นมีต้นไม้ของพวกอสูร ชื่อว่าจิตตปาฏลิ (ต้นไม้ พวกอสูรเหล่านั้นย่อมรู้ได้ในเวลาที่ต้นจิตตปาฏลิบานว่า ต้นไม้นี้ไม่ใช่ต้นไม้ประจำภพ แต่ว่า ในการรบนั้น พวกเทพชนะ. พวกเทพจึงติดตามพวกอสูรไปจนถึงหลังสมุทร. ท้าวสักกะยังพวกอสูรให้หนีไปแล้ว จึงตั้งอารักขาไว้ในที่ ๕ แห่ง ได้ให้อารักขาอย่างนี้ ทรงตั้งรูปเหมือนพระอินทร์มีมือถือวชิระ ณ เชิงชาน. อสูรทั้งหลายยกกันมาทีไร ก็เห็นรูปเปรียบพระอินทร์นั้น จึงพากันกลับแต่ที่นั้นนั่นแหละ ด้วยสำคัญว่า ท้าวสักกะไม่ประมาทประทับยืนอยู่ดังนี้. บทว่า ตโต ปฏินิวตฺติตฺวา ได้แก่ กลับจากที่อันท้าวสักกะนั้นชนะแล้ว. บทว่า ปริจาริกาโย แปลว่า นางอัปสรทั้งหลาย ได้แก่นางผู้ทำกิจการงานทั้งหลายมีการทำพวงดอกไม้และของหอมเป็นต้น. บทว่า เวสฺสวโณ จ มหาราชา ความว่า ได้ยินว่า ท้าวเวสสวัณนั้นเป็นที่โปรดปราน เป็นผู้คุ้นเคยมากของท้าวสักกะ เพราะฉะนั้น จึงได้ไปกับท้าวสักกะ. บทว่า ปุรกฺขตฺวา คือ กระทำไว้ข้างหน้า. บทว่า ปวิสึสุ ความว่า ก็เทพธิดาผู้บำเรอท้าวสักกะเหล่านั้น เข้าไปสู่ห้องแล้วปิดประตูไว้ครึ่งหนึ่ง ยืนแลดูอยู่. บทว่า อิทมฺปิ มาริส โมคฺคลฺลาน ปสฺส เวชยนฺตปาสาทสฺส รามเณยฺยกํ ความว่า ข้าแต่ท่าน บทว่า ยถาตํ ปุพฺเพ กตปุญฺญสฺส อธิบายว่า สถานที่ของบุคคลผู้มีบุญอันกระทำไว้ในกาลก่อน พึงงามด้วยการตั้งไว้ซึ่งเครื่องอุปโภคฉันใด ของท้าวสักกะก็ย่อมงามฉันนั้นเหมือนกัน. บทว่า อติพาฬฺหํ โข อยํ ยกฺโข ปมตฺโต วิหรติ ความว่า ท้าวสักกะนี้มัวเมายิ่งนักด้วยปราสาทด้วยนักฟ้อนเป็นบริวาร ด้วยสมบัติ ด้วยยศของตน. บทว่า อิทฺธาภิสงฺขารํ อภิสงฺขาเรติ ความว่า ได้กระทำอิทธิ. อธิบายว่า พระมหาโมคคัลลานะเถระเข้าอาโปกสิณแล้วอธิษฐานว่า ขอโอกาสอันเป็นที่ตั้งเฉพาะปราสาทจงเป็นน้ำ แล้วเอาหัวแม่เท้ากดลงที่ช่อฟ้าปราสาท. ปราสาทนั้นสั่นสะท้านหวั่นไหวไปมา เหมือนบาตรตั้งไว้บนหลังน้ำ เอานิ้วเคาะที่ขอบบาตรก็หวั่นไหวไปมา ตั้งอยู่ไม่ได้ ฉะนั้น วัตถุทั้งหลายมีหลังเสาขื่อ ช่อฟ้า จันทันเป็นต้นส่งเสียงดังกระกระ ราวกะเริ่มเพื่อจะตกไป. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า สํกมฺเปสิ สมฺปกมฺเปสิ สมฺปเวเธสิ ดังนี้. บทว่า อจฺฉริยพฺภูตจิตฺตชาตา ได้แก่ มีความอัศจรรย์ไม่เคยมี เกิดขึ้นอย่างนี้ว่า โอหนอ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยมีมา และมีความยินดี คือมีโสมนัสที่มีกำลังเกิดขึ้นแล้ว. บทว่า สํวิคฺคํ ได้แก่ ตกใจกลัวแล้ว คือหวั่นไหวแล้ว. บทว่า โลมหฏฐชาตํ ได้แก่ ขนชูชันขึ้น คือมีสรีระสะพรั่งด้วยขนทั้งหลายตั้งขึ้นไปเบื้องบน เหมือนขอแขวนแก้วมณีที่เขาติดตั้งไว้ที่ฝาเรือนทอง. อนึ่ง ชื่อว่าขนชูชันนี้ ย่อมเกิดขึ้นด้วยโสมนัสบ้าง ด้วยโทมนัสบ้าง. แต่ในที่นี้เกิดขึ้นด้วยความโสมนัส. นัยว่า พระเถระได้ทำปาฏิหาริย์นั้นเพื่อให้ท้าวสักกะเกิดความสังเวชด้วยความโสมนัสและความสลดใจ. เพราะฉะนั้น พึงทราบอรรถว่า พระมหา บทว่า อิธาหํ มาริส ความว่า บัดนี้ พระเถระยังโสมนัสและความสลดจิตของท้าวสักกะให้เกิดขึ้น ทำลายความมืดได้แล้ว เพราะฉะนั้น กำหนดได้แล้วจึงกล่าวอย่างนี้. บทว่า เอโส นุ เต มาริส โส ภควา สตฺถา ความว่า เมื่อนางเทพอัปสรทูลถามว่า ข้าแต่พระ ในบทว่า สพฺรหฺมจารี เม เอโส นี้ ความว่า พระเถระเป็นบรรพชิต เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยอภินิหาร เป็นพระอัครสาวก แต่ท้าวสักกะเป็นผู้ครองเรือน แม้ก็จริง ถึงอย่างนั้น ท่านทั้งสองก็เป็นพรหมจารีด้วยอำนาจแห่งมรรคพรหมจรรย์ เพราะฉะนั้น ท้าวสักกะจึงตรัสอย่างนั้น. บทว่า อโห นูน เต โส ภควา สตฺถา ความว่า สพรหมจารีของพระองค์มีฤทธิ์มากถึงอย่างนี้. พวกนางปริจาริกาได้กล่าวถึงการเกิดขึ้นในการเห็นอิทธิปาฏิหาริย์ของพระศาสดา จึงกล่าวอย่างนี้ว่า ก็พระเถระนั้นเป็นพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ศาสดาของ บทว่า ญาตญฺญตรสฺส ความว่า ผู้ใดผู้หนึ่งที่ปรากฏ. จริงอยู่ บรรดาผู้ที่ปรากฏมีชื่อเสียงทั้งหลาย ท้าวสักกะเป็นผู้หนึ่ง. คำที่เหลือในที่ทั้งปวงปรากฏชัดเจนแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยังเทศนาให้จบลงตามอนุสนธิ ดังนี้แล. จบอรรถกถาจูฬตัณหาสังขยสูตรที่ ๗ ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ มหายมกวรรค จูฬตัณหาสังขยสูตร ว่าด้วยข้อปฏิบัติธรรมเป็นที่สิ้นตัณหา จบ. |