บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
ในบทเหล่านั้นบทว่า เอกาสนโภชนํ ได้แก่ ฉันอาหารในเวลาก่อนภัตหนเดียว. ความว่า อาหารที่ควรฉัน. บทมีอาทิว่า อปฺปาพาธตํ ความเป็นผู้มีอาพาธน้อยกล่าวไว้พิสดารแล้วในกกโจปมสูตร. บทว่า น อุสฺสหามิ คือ ไม่สามารถ. บทว่า สิยา กุกฺกุจฺจํ สิยา วิปฺปฏิสาโร พึงมีความรำคาญ พึงมีความเดือดร้อน. ความว่า เมื่อฉันอย่างนี้จะพึงมีความเดือดร้อนรำคาญแก่เราว่า เราจักสามารถประพฤติพรหมจรรย์ได้ตลอดชีวิตหรือไม่หนอ. บทว่า เอกเทสํ ภุญฺชิตฺวา พึงฉันส่วนหนึ่ง. ความว่า ได้ยินว่า พระเถระแต่ก่อนเมื่อทายกใส่อาหารลงในบาตรแล้วถวายเนยใส ฉันเนยใสร้อนหน่อยหนึ่งแล้วล้างมือนำส่วนที่เหลือไปภายนอก นั่งฉันในที่มีร่มไม้และน้ำสบาย. พระศาสดาตรัสหมายถึงอย่างนั้น. แต่ท่านพระภัททาลิคิดว่า หากภิกษุฉันอาหารที่ทายก ถวายเต็มบาตรคราวเดียวแล้วล้างบาตรนำอาหารที่ได้เต็มด้วยข้าวสุกไปในภายนอกแล้วพึงฉันในที่มีร่มไม้และน้ำสบาย. พึงควรอย่างนี้. นอกไปจากนี้ใครเล่าจะสามารถ. เพราะฉะนั้นท่านพระภัททาลิจึงทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้า ได้ยินว่า ในอดีตท่านพระภัททาลินี้เกิดในกำเนิดกา ในชาติเป็นลำดับมา. ธรรมดากาทั้งหลายเป็นสัตว์ที่หิวบ่อย. เพราะฉะนั้น พระเถระจึงชื่อว่าเป็นผู้หิว. ก็เมื่อพระเถระนั้นโอดครวญอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงข่มทับถมพระเถระนั้นแล้วทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุใดพึงเคี้ยวก็ดี พึงบริโภคก็ดี ซึ่งของเคี้ยวของบริโภค ในเวลาวิกาล ต้องอาบัติปาจิตตีย์. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ครั้งนั้นแล ท่านพระภัททาลิประกาศความไม่อุตสาหะขึ้นแล้วในเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้ากำลังทรงบัญญัติสิกขาบท ในเมื่อภิกษุสงฆ์สมาทานอยู่ซึ่งสิกขา. บทว่า ยถาตํ ความว่า ท่านพระภัททาลิไม่ได้ให้เหมือนภิกษุอื่นผู้ไม่ทำความบริบูรณ์ในสิกขา แม้อยู่ในวัดเดียวกันก็ไม่พึงให้ตนประสบพระพักตร์พระศาสดา. ไม่ไปอุปัฏฐากพระผู้มีพระภาคเจ้า ไม่ไปยังที่แสดงธรรม ไม่ไปโรงตรึก ไม่ปฏิบัติเพียงภิกขาจารครั้งเดียว ไม่ยืนแม้ที่ประตูของตระกูลที่พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่ง. หากพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไปยังที่อยู่ของพระภัททาลินั้น. พระภัททาลิรู้ก่อนก็ไปเสียในที่อื่น. นัยว่า ท่านพระภัททาลินั้นเป็นกุลบุตรบวชด้วยศรัทธามีศีลบริสุทธิ์. ด้วยเหตุนั้น วิตกอย่างอื่นมิได้มีแก่ท่านพระภัททาลินั้น ได้มีวิตกนี้เท่านั้นว่า เราคัดค้านการบัญญัติสิกขาบทของพระผู้มีพระภาคเจ้า เพราะเหตุแห่งท้อง เราทำกรรมไม่สมควร. เพราะฉะนั้น ท่านพระภัททาลิแม้อยู่ในวัดเดียวกันก็ไม่ได้ให้ตนประสบพระพักตร์พระศาสดา. บทว่า จีวรกมฺมํ กโรนฺติ ภิกษุทั้งหลายทำจีวรกรรม. ความว่า พวกมนุษย์ได้ถวายผ้าสาฎกทำจีวรแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า. ภิกษุทั้งหลายจึงถือเอาจีวรสาฏกนั้นทำจีวร. บทว่า เอตํ เทสํ ความผิดนี้. ความว่า ท่านจงมนสิการโอกาสนี้ ความผิดนี้คือเหตุที่ท่านคัดค้านการบัญญัติสิกขาบทของพระศาสดาให้ดี. บทว่า ทุกฺกรตรํ การทำที่ยากกว่า. ความว่า พวกภิกษุถามภิกษุทั้งหลายผู้อยู่จำพรรษาแล้วหลีกออกไปตามทิศว่า ท่านทั้ง อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุแม้เหล่าอื่นครั้นออกพรรษาแล้วจักพากันไปเฝ้าพระศาสดา. เมื่อเป็นเช่นนั้น ท่านจักประชุมสงฆ์ด้วยกล่าวว่า อาวุโสทั้งหลาย เมื่อผมยังพระศาสดาให้ทรงยกโทษในความผิดนี้ ขอพวกท่านจงเป็นเพื่อนผมด้วยเถิด. อาคันตุกภิกษุทั้งหลาย ณ ที่นั้นจักถามว่า อาวุโส ภิกษุนี้ทำอะไรเล่า. ครั้นพวกอาคันตุกภิกษุฟังความนั้นแล้วจักกล่าวว่า ภิกษุทำกรรมหนัก. กรรมนี้ไม่สมควรเลยที่ภิกษุจักคัดค้านพระทศพล. ภิกษุทั้งหลายแม้สำคัญอยู่ว่า ความผิดของท่านนี้ปรากฏในระหว่างมหาชนแม้อย่างนี้จักถึงความเป็นผู้ทำคืนได้ยาก จึงกล่าวอย่างนี้. ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นออกพรรษาแล้วจักทรงหลีกไปจาริก. เมื่อเป็นเช่นนั้น ท่านจักประชุมสงฆ์เพื่อขอให้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยกโทษในที่ที่เสด็จไปแล้ว. ภิกษุทั้งหลายผู้อยู่ในทิศ ณ ที่นั้นจักถามว่า อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุนี้ทำกรรมอะไรไว้ ฯลฯ แม้สำคัญอยู่ว่าความผิดนี้จักถึงความเป็นผู้ทำคืนได้ยากจึงกล่าวอย่างนี้. บทว่า เอตทโวจ ท่านพระภัททาลิได้กล่าวคำนั้น ความว่า ท่านพระภัททาลิแม้สำคัญว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าจักยกโทษแก่เราได้กล่าวคำนี้มีอาทิว่า อจฺจโย มํ ภนฺเต ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โทษได้ครอบงำข้าพระองค์ดังนี้. ในบทเหล่านั้นบทว่า อจฺจโย คือ โทษ. บทว่า มํ อจฺจคมา ได้ครอบงำข้าพระองค์คือโทษได้ล่วงล้ำ บทว่า ปฏิคฺคณฺหาตุ คือขอจงทรงยกโทษ. บทว่า อายตึ สํวราย เพื่อความสำรวมต่อไป คือเพื่อต้องการความสำรวมในอนาคต เพื่อไม่ทำความผิดความพลั้งพลาดเห็นปานนี้อีก. บทว่า ตคฺฆ คือโดยแน่นอน. บทว่า ยถาธมฺมํ ปฏิกโรสิ เธอทำคืนตามชอบธรรม คือ เธอดำรงอยู่ในธรรมอย่างใดจงทำอย่างนั้น. อธิบายว่า ให้ยกโทษ. บทว่า ตนฺเต มยํ ปฏิคฺคณฺหาม คือ เรายกโทษของท่านนั้น. บทว่า วุฑฺฒิ เหสา ภทฺทาลิ อริยสฺส วินเย ความว่า ดูก่อนภัททาลิ นี้ชื่อว่าเป็นความเจริญในวินัยของพระอริยเจ้า คือในศาสนาของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า. การเห็นโทษโดยความเป็นโทษแล้วทำคืนตามสมควรแก่ธรรมแล้วถึงความสำรวมต่อไปเป็นอย่างไร. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ภิกษุใดทำเทศนาให้เป็นบุคลาธิษฐาน เห็นโทษโดยความเป็นโทษ แล้วทำคืนตามสมควรแก่ธรรม ภิกษุนั้นชื่อว่าย่อมถึงความสำรวมต่อไป. บทว่า สมโยปิ โข เต ภทฺทาลิ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า ดูก่อนภัททาลิ แม้เหตุหนึ่งอันควรที่เธอพึงแทงตลอดมีอยู่. เธอก็มิได้แทงตลอด มิได้กำหนดไว้. พึงทราบวินิจฉัยในบทมีอาทิว่า อุภ บุคคลทั้งหลายผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยมรรคในขณะจิตหนึ่ง ๒ จำพวกคือ พระ เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงปรารภเทศนาว่า อปิ นุ ตฺวํ ตสฺมึ สมเย อุภโตภาควิมุตฺ ในบทนี้มีอธิบายดังต่อไปนี้ว่า ดูก่อนภัททาลิ พระอริยบุคคล ๗ จำพวกเหล่านี้เป็นทักขิไณยบุคคลในโลกเป็นเจ้าของในศาสนาของเรา เมื่อเราบัญญัติสิกขาบท เมื่อมีเหตุอันควรที่พระอริยบุคคลจะพึงคัดค้าน การคัดค้านของพระอริยบุคคลเหล่านั้นจึงควร. แต่เธอเป็นคนภายนอกจากศาสนาของเรา เมื่อเราบัญญัติสิกขาบท เธอไม่ควรคัดค้าน. บทว่า วิตฺโต ตุจฺโฉ เธอเป็นคนว่างคนเปล่า คือพระภัททาลิเป็นคนว่างคนเปล่า เพราะไม่มีอริยคุณในภายใน ไม่มีอะไรๆ ในคำพูดเป็นอิสระ. บทว่า สตฺถาปิ อุปวทติ แม้พระศาสดาก็ทรงติเตียนได้. ความว่า ภิกษุผู้อยู่วัดโน้นเป็นสัทธิวิหาริกของพระเถระรูปโน้น ภิกษุชื่อนี้เป็นอันเตวาสิกของพระเถระรูปโน้น เข้าไปสู่ป่าเพื่อยังโลกุตตรธรรมให้เกิด แล้วทรงติเตียนอย่างนี้ว่าเพราะเหตุไรภิกษุไม่ทำให้บริบูรณ์ในสิกขาในศาสนาของเรา ด้วยการอยู่ป่าของภิกษุนั้น. แม้ในบทที่เหลือก็มีนัยนี้เหมือนกัน. โดยที่แท้เทวดาไม่ติเตียนอย่างเดียว ยังแสดงอารมณ์น่ากลัวแล้วทำให้หนีไปอีกด้วย. บทว่า อตฺตาปิ อตฺตานํ แม้ตนก็ติเตียนตน ความว่า เมื่อภิกษุนึกถึงศีล ฐานะอันเศร้าหมอง ย่อมปรากฏ. จิตย่อมแล่นไป กรรมฐานย่อมไม่ติด. ภิกษุนั้นมีความรำคาญว่าประโยชน์อะไรด้วยการอยู่ป่าของภิกษุเช่นเรา ลุกหลีกไป. บทว่า อตฺตาปิ อตฺตานํ อุปวทิโต แม้ตนเองก็ติเตียนตนได้ คือตนเองติเตียนแม้ด้วยตน. ปาฐะเป็นอย่างนี้แหละ พึงทราบธรรมฝ่ายขาวโดยนัยตรงกันข้ามกับที่กล่าวแล้ว. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสบทมีอาทิว่า โส วิวิจฺเจว กาเมหิ ภิกษุนั้นสงัดจากกาม เพื่อแสดงบทว่า เอวํ สจฺฉิกโรติ ภิกษุย่อมทำให้แจ้งอย่างนี้. บทว่า ปวยฺห ปวยฺห การณํ กาเรนฺติ ภิกษุทั้งหลายข่มแล้วข่มเล่าแล้วทำให้เป็นเหตุ คือข่มโทษแม้มีประมาณน้อยแล้วทำบ่อยๆ. บทว่า โน ตถา ไม่ข่มอย่างนั้น คือไม่ข่มความผิดแม้ใหญ่เหมือนภิกษุนอกนี้แล้วทำเป็นเหตุ. ได้ยินว่า ภิกษุนั้นกล่าวว่า ดูก่อนภัททาลิผู้มีอายุ ท่านอย่าคิดไปเลย ชื่อว่ากรรมเห็นปานนี้ย่อมมี ท่านจงมาขอให้พระศาสดาทรงยกโทษเถิด แล้วส่งภิกษุรูปหนึ่งจากหมู่ภิกษุให้เรียกพระภัททาลิมาหาตน หวังการอนุเคราะห์จากสำนักของพระศาสดาอย่างนี้ว่า ดูก่อนภัททาลิ เธออย่าคิดไปเลย กรรมเห็นปานนี้ย่อมมี. จากนั้น ท่านพระภัททาลิคิดว่า แม้ภิกษุสงฆ์ แม้ ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อทรงแสดงว่า แม้ภิกษุสงฆ์ แม้พระศาสดาก็ย่อมทรงสั่งสอนและสอนผู้ที่ควรสั่งสอน มิได้ทรงสั่งสอนและสอนนอกไปจากนี้จึงตรัสบทมีอาทิว่า อิธ ภทฺทาลิ เอกจฺโจ ดูก่อนภัททาลิ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้. ในบทเหล่านั้นบทมีอาทิว่า อญฺเญนญฺญํ อย่างอื่นด้วยอาการอย่างอื่น ท่าน บทว่า น สมฺมา วตฺตติ ไม่ประพฤติโดยชอบ คือไม่ประพฤติในวัตรโดยชอบ. บทว่า น โลมํ วตฺเตติ ไม่ทำขนให้ตก ได้แก่ไม่ประพฤติในอนุโลมวัตรคือถือเอาย้อนขน. บทว่า น นิตฺถารํ วตฺตติ ไม่ประพฤติถอนตนออก คือไม่ประพฤติในวัตร คือการถอนตนออก ไม่พอใจรีบด่วนเพื่อออกจากอาบัติ. บทว่า ตตฺร คือในเหตุแห่งการว่ายากนั้น. บทว่า อภิณฺหาปตฺติโก คือเป็นผู้ต้องอาบัติเนืองๆ. บทว่า อาปตฺติพหุโล เป็นผู้มากด้วยอาบัติ. คือเวลาต้องอาบัติมีมาก เวลาบริสุทธิ์ ไม่ต้องอาบัติมีน้อย. บทว่า น ขิปฺปเมว วูปสมติ คือ อธิกรณ์ไม่ระงับเร็ว เป็นผู้นอนหลับนาน. พระวินัยธรทั้งหลายกล่าวกะภิกษุผู้มาในเวลาล้างเท้าว่า อาวุโส จงไป ได้เวลาปฏิบัติแล้ว. กล่าวกะภิกษุผู้รู้เวลามาแล้วอีกมีอาทิว่า อาวุโส จงไปได้ เวลากวาดวัดแล้ว ได้เวลาสอนสามเณรเป็นต้นแล้ว. ได้เวลาอาบน้ำของเราแล้ว. ได้เวลาอุปัฏฐากพระเถระแล้ว. ได้เวลาล้างหน้าแล้ว. แล้วส่งภิกษุผู้มาในตอนกลางวันบ้าง ในตอนกลางคืนบ้างไป. เมื่อภิกษุกล่าวว่า ท่านขอรับจักมีโอกาสในเวลาไหนอีก, จึงกล่าวคำมีอาทิว่า อาวุโส จงไปเถิด. ท่านย่อมรู้ถึงฐานะนี้. พระเถระผู้เป็นวินัยธร รูปโน้นจะดื่มน้ำมัน. รูปโน้นจะให้ทำการสวน. (สวนทวาร) เพราะเหตุไร ท่านจึงรีบร้อนนักเล่า. แล้วนอนหลับ นานต่อไป. บทว่า ขิปฺปเมว วูปสมติ อธิกรณ์ย่อมระงับเร็ว คือระงับเร็ว ไม่นอนหลับนาน. ภิกษุทั้งหลายผู้มีความขวนขวายกล่าวว่า อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้เป็นผู้ว่าง่าย. ชื่อว่าภิกษุผู้อยู่ในชนบท ย่อมไม่มีความผาสุก มีการอยู่ การยืนและการนั่งเป็นต้นในเสนาสนะท้ายบ้าน แม้ภิกขาจารก็ลำบาก. อธิกรณ์ของภิกษุรูปนั้นระงับได้เร็ว แล้วประชุมกันให้ภิกษุนั้นออกจากอาบัติ ให้ตั้งอยู่ในความบริสุทธิ์. บทว่า อาธิจฺจาปตฺติโก คือ ภิกษุเป็นผู้ต้องอาบัติเป็นบางครั้ง. ภิกษุนั้นแม้เป็นผู้มีความละอาย เรียบร้อยก็จริง. แต่เพราะภิกษุนั้นเป็นผู้ว่ายาก ภิกษุทั้งหลายจึงต้องปฏิบัติอย่างนั้น. บทว่า สทฺธามตฺตเกน วหติ เปมมตฺตเกน ภิกษุบางรูปนำชีวิตไปด้วยศรัทธาพอประมาณ ด้วยความรักพอประมาณ. ความว่า ภิกษุบางรูปยังชีวิตให้เป็นไปในอาจารย์และอุปัชฌาย์ทั้งหลาย ด้วยศรัทธาเกี่ยวกับครอบครัวมีประมาณน้อย ด้วยความรักเกี่ยวกับครอบครัวมีประมาณน้อย. ชื่อว่าบรรพชานี้เช่นกับถือเอาปฏิสนธิ. ภิกษุบวชใหม่ยังไม่รู้คุณของบรรพชา ยังชีวิตให้เป็นไปด้วยความรักพอประมาณในอาจารย์และอุปัชฌาย์. เพราะฉะนั้น ควรสงเคราะห์ ควรอนุเคราะห์ ภิกษุเห็นปานนี้. เพราะภิกษุทั้งหลายครั้นได้สงเคราะห์ แม้มีประมาณน้อย แล้วตั้งอยู่ในบรรพชา จักเป็นมหาสมณะสำเร็จอภิญญา. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงความข้อนี้ไว้ว่า พระศาสดาย่อมทรงสั่งสอนผู้ที่ควรสั่งสอน ด้วยกถามรรคประมาณเท่านี้. นอกนี้ไม่ทรงสั่งสอน. บทว่า อญฺญาย สณฺฐหึสุ คือ ภิกษุดำรงอยู่ในอรหัตผล. บทว่า สตฺเตสุ หายมาเนสุ เมื่อสัตว์ทั้งหลายกำลังเสื่อม คือเมื่อการปฏิบัติเสื่อม สัตว์ก็ชื่อว่า เสื่อม. บทว่า สทฺธมฺเม อนฺตรธายมาเน เมื่อพระสัทธรรมกำลังอันตรธาน คือเมื่อปฏิบัติ สัท จริงอยู่ เมื่อไม่มีสัตว์ผู้บำเพ็ญการปฏิบัติ แม้ปฏิบัติสัทธรรม ก็ บทว่า อาสวฏฺฐานียา คือ ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งอาสวะทั้งหลาย. อธิบายว่า อาสวะทั้งหลายมีการติเตียนผู้อื่น ความเดือดร้อน การฆ่า และการจองจำเป็นต้น และเป็นความพิเศษแห่งทุกข์ในอบาย ย่อมตั้งอยู่ในธรรมเหล่าใด เพราะฉะนั้น เหตุนั้นย่อมมีแก่ธรรมเหล่านั้น. ในบทนี้โยชนาแก้ไว้ว่า วีติกกมธรรม (ธรรมคือความก้าวล่วง) อันเป็นที่ตั้งแห่งอาสวะเหล่านั้น ยังไม่ปรากฏในสงฆ์เพียงใด. พระศาสดายังไม่ทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวกทั้งหลายเพียงนั้น. บทว่า ยโต จ โข ภทฺทาลิ พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงอกาละอย่างนี้แล้ว จึงทรงแสดงถึงกาละต่อไป ตรัสคำมีอาทิว่า ยโต จ โข ภทฺทาลิ. ในบทเหล่านั้นบทว่า ยโต คือ ในกาลใด. บทที่เหลือพึงทราบโดยทำนองเดียวกันดังได้กล่าวแล้วนั่นแหละ. อีกอย่างหนึ่ง ความสังเขปในบทนี้มีดังนี้. ในกาลใด วีติกกมโทษอันนับว่าธรรมเป็นที่ตั้งแห่งอาสวะ ปรากฏในสงฆ์. ในกาลนั้น พระศาสดาจึงทรงบัญญัติแก่สาวกทั้งหลาย. เพราะเหตุไร. เพราะเพื่อกำจัดวีติกกมโทษ อันได้แก่ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งอาสวะเหล่านั้นนั่นแหละ. พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นตรัสถึงอกาละแห่งกาลบัญญัติสิกขาบทอันยังไม่เกิดธรรมเป็นที่ตั้งแห่งอาสวะอย่างนี้ และกาละอันเกิดขึ้นแห่งธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งอาสวะแล้ว บัดนี้ เพื่อทรงแสดงถึงกาละอันยังไม่เกิดธรรมเหล่านั้นและกาละอันเกิดธรรมเหล่านั้น จึงตรัสคำมีอาทิว่า น ตาว ภทฺทาลิ อิเธกจฺเจ คือ ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งอาสวะบางเหล่ายังไม่ปรากฏในสงฆ์ในธรรมวินัยนี้. ในบทเหล่านั้นบทว่า มหตฺตํ คือ ความเป็นใหญ่. จริงอยู่ สงฆ์เป็นผู้ถึงความเป็นใหญ่ด้วยอำนาจแห่งพระนวกะ พระมัชฌิมะและพระเถระทั้งหลายเพียงใด. เสนาสนะย่อมมีธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งอาสวะบางเหล่ายังไม่เกิดขึ้นในศาสนาเพียงนั้น. แต่เมื่อสงฆ์ถึงความเป็นใหญ่ ธรรมเหล่านั้นจึงเกิดขึ้น เมื่อเป็นดังนั้น พระศาสดาย่อมทรงบัญญัติสิกขาบท. เมื่อสงฆ์ถึงความเป็นใหญ่ พึงทราบสิกขาบทที่ทรงบัญญัติไว้โดยนัยนี้ว่า ภิกษุนอนร่วมกับอนุปสัมบันเกิน ๒-๓ ราตรีขึ้นไป ต้องปาจิตตีย์.๑- ภิกษุณียังภิกษุผู้ยังไม่มีพรรษาให้ลุกออกไปเป็นปาจิตตีย์. ภิกษุณียังภิกษุหนึ่งพรรษา สองพรรษา ให้ลุกไป เป็นปาจิตตีย์. ____________________________ ๑- วิ. มหาวิ. เล่ม ๒/ข้อ ๒๘๙ มุสาวาทวคฺค บทว่า ลาภคฺคํ คือ ความเป็นผู้เลิศด้วยลาภ. จริงอยู่ สงฆ์ยังไม่ถึงความเป็นผู้เลิศด้วยลาภเพียงใด. ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งอาสวะยังไม่เกิดขึ้นเพราะอาศัยลาภเพียงนั้น. แต่เมื่อสงฆ์ถึงแล้ว ธรรมเหล่านั้นจึงเกิด เมื่อเป็นเช่นนั้น พระศาสดา ____________________________ ๒- วิ. มหาวิ. เล่ม ๒/ข้อ ๕๒๗ อเจลกวคฺค บทว่า ยสคฺคํ คือ ความเป็นผู้เลิศด้วยยศ. จริงอยู่ สงฆ์ยังไม่ถึงความเป็นผู้เลิศด้วยยศเพียงใด. ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งอาสวะยังไม่เกิดขึ้นเพราะอาศัยยศเพียงนั้น. แต่เมื่อสงฆ์ถึงแล้วธรรมเหล่านั้นจึงเกิดขึ้น. เมื่อเป็นเช่นนั้น พระศาสดา ____________________________ ๓- วิ. มหาวิ. เล่ม ๒/ข้อ ๕๗๕ สุราปานวคฺค บทว่า พาหุสจฺจํ คือ ความเป็นพหูสูต. จริงอยู่ สงฆ์ยังไม่ถึงความเป็นพหูสูตเพียงใด. ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งอาสวะจึงยังไม่เกิดเพียงนั้น. แต่เมื่อสงฆ์ถึงความเป็นพหูสูต บุคคลทั้งหลายเล่าเรียนนิกาย ๑ บ้าง ๒ นิกายบ้าง ๕ นิกายบ้าง เกลาโดยไม่แยบคาย เทียบเคียงรสด้วยรส แล้วแสดงคำสอนของพระศาสดา นอกธรรมนอกวินัย. เมื่อเป็นเช่นนั้นพระศาสดาจึงทรงบัญญัติสิกขาบทโดยนัยมีอาทิว่า ภิกษุพึงกล่าวอย่างนี้ว่า เรารู้ธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง ____________________________ ๔- วิ. มหาวิ. เล่ม ๒/ข้อ ๖๖๒ ๕- วิ. มหาวิ. เล่ม ๒/ข้อ ๖๗๓ พึงทราบความในบทนี้ว่า รตฺตญฺญุตปฺปตฺโต ถึงความเป็นผู้รู้ราตรี. ชื่อว่า รตฺตญฺญู เพราะอรรถว่ารู้ราตรี. คือรู้ราตรีมากตั้งแต่วันที่ตนบวช. อธิบายว่า บวชนาน. ความเป็นแห่งผู้รู้ราตรี ชื่อว่า รตฺตญฺญุตํ ในบทนั้นพึงทราบว่า เมื่อสงฆ์ถึงความเป็นผู้รู้ราตรี พระศาสดาจึงทรงบัญญัติสิกขาบทปรารภท่านอุปเสน เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติสิกขาบทอย่างนี้ ภิกษุเขลาไม่ฉลาด ให้กุลบุตรบวชอีกด้วยคิดว่าเรามีพรรษา ๑๐ แล้ว เรามีพรรษา ๑๐ แล้ว. เมื่อเป็นเช่นนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงบัญญัติสิกขาบทแม้อื่นอีกว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเขลา ไม่ฉลาด ไม่ควรให้กุลบุตรบวช ภิกษุให้กุลบุตรบวช ต้องอาบัติทุกกฏ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถมีพรรษา ๑๐ หรือมีพรรษาเกินกว่า ๑๐ เราอนุญาตให้บวชกุลบุตรได้.๗- พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติสิกขาบท ๒ ข้อ ในเวลาที่สงฆ์ถึงความเป็นผู้รู้ราตรี ด้วยประการฉะนี้. ____________________________ ๖- วิ. มหาวิ. เล่ม ๔/ข้อ ๙๐ ๗- วิ. มหาวิ. เล่ม ๔/ข้อ ๙๑ บทว่า อาชานียสุสูปมํ ธมฺมปริยายํ เทเสสึ คือ เราแสดงธรรมปริยายเปรียบด้วยอาชาไนยหนุ่ม. บทว่า ตตฺถ คือ ในการระลึกไม่ได้นั้น. บทว่า น โข ภทฺทาลิ เอเสว เหตุ คือ ความเป็นผู้ไม่ทำให้บริบูรณ์ในสิกขานี้ จะเป็นเหตุหามิได้. บทว่า มุขาธาเน การณํ กาเรติ ฝึกให้รู้เหตุในการใส่บังเหียน คือฝึกให้รู้เหตุ เพื่อยกคอให้ดีในการใส่บังเหียนเป็นต้นที่ปาก. ด้วยบทมีอาทิว่า วิสูกายิกานิ ประพฤติเป็นข้าศึก พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถึงความประพฤติพยศ. บทนี้ทั้งหมดเป็นไวพจน์ของกันและกัน. บทว่า ตสฺมึ ฐาเน ในฐานะนั้น คือในการประพฤติพยศนั้น. บทว่า ปรินิพฺพายติ สงบ คือหมดพยศ. อธิบายว่า ละความพยศนั้นได้. บทว่า ยุคาธาเน ในการเทียมแอก คือในการวางแอกเพื่อประคองแอกให้ดี. บทว่า อนุกฺกเม ในการก้าวย่าง คือในการยกและการวางเท้าทั้ง ๔ ครั้งเดียวกัน ย่อมยืนในหลุมถือดาบตัดเท้าม้าของข้าศึกที่กำลังเดินมาอยู่ ในสมัยนั้น ม้านั้นจักยกเท้าแม้ทั้ง ๔ ครั้งเดียวกัน เพราะเหตุนั้น คนฝึกม้าจึงฝึกให้รู้เหตุนั้นด้วยวิธีผูกเชือก. บทว่า มณฺฑเล ในการวิ่งเป็นวงกลม คือฝึกให้รู้เหตุในการวิ่งเป็นวงกลม เพื่อทำโดยอาการที่ผู้นั่งบนหลังสามารถเก็บอาวุธที่ตกบนแผ่นดินได้. บทว่า ขุรกาเส ในการจรดกีบ คือในการเอาปลายกีบจรดแผ่นดิน เพราะในเวลาวิ่งไปในกลางคืน เพื่อมิให้ข้าศึกได้ยินเสียงเท้าจึงให้สัญญาในที่แห่งหนึ่งแล้วให้ศึกษาการเดินด้วยปลายกีบ. ท่านกล่าวบทนี้หมายถึงไม่ให้ข้าศึกได้ยินเสียงเท้านั้น. บทว่า ธาเร ในการวิ่ง คือ ในการเป็นพาหนะเร็วไว. บาลีว่า ธาเว ก็มีฝึกให้รู้เหตุนั้น เพื่อหนีในเมื่อตนแพ้ และเพื่อติดตามจับข้าศึกที่หนี. บทว่า รวตฺเถ ในประโยชน์ต่อเสียงร้อง คือเพื่อประโยชน์แก่การร้อง. เพราะในการรบ เมื่อช้างแผดเสียงร้อง ม้าคะนอง รถบุกทำลาย หรือทหารโห่ร้องยินดี เพื่อมิให้กลัวเสียงร้องนั้นแล้วให้เข้าไปหาข้าศึก จึงฝึกให้รู้เหตุนั้น. บทว่า ราชคุเณ ในการเป็นม้ามีคุณที่พระราชาพึงรู้. ได้ยินว่า พระราชากูฏกัณฐะได้มีม้าชื่อว่าตุฬวณะ. พระราชาเสด็จออกทางประตูด้านทิศปราจีน เสด็จถึงฝั่งกทัมพนที ด้วยทรงพระดำริว่า เราจักไปเจดียบรรพต. ม้ายืนใกล้ฝั่งไม่ปรารถนาจะข้ามน้ำไป. พระราชาตรัสเรียกคนฝึกม้ามาแล้วตรัสว่า โอ ม้าที่เจ้าฝึกไม่ปรารถนาจะข้ามน้ำ. คนฝึกม้ากราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ น่าอัศจรรย์ ม้านี้ ข้าพระองค์ฝึกดีแล้ว. ม้าอาจคิดว่า หากเราจักข้ามน้ำ หางก็จักเปียก เมื่อหางเปียกน้ำจะพึงเปียกที่พระวรกายของพระราชา เพราะเหตุนั้น ม้าจึงไม่ข้ามเพราะเกรงว่าน้ำจะเปียกที่พระวรกายของพระองค์ ด้วยอาการอย่างนี้. ขอพระองค์โปรดให้จับหางม้าไว้เถิดพระเจ้าข้า. พระราชาได้ทรงให้ทำอย่างนั้น. ม้ารีบข้ามไปถึงฝั่ง. คนฝึกม้าฝึกให้รู้เหตุนี้เพื่อต้องการอย่างนั้น. บทว่า ราชวํเส ในวงศ์พญาม้า. จริงอยู่ วงศ์ของพญาม้านั้นมีอธิบายว่า แม้ร่างกายจะถูกแทงทำลายไปด้วยการประหารเห็นปานนั้น ก็ไม่ทำให้คนขี่ม้าตกไปในหมู่ข้าศึก ย่อมนำออกไปภายนอกได้. ฝึกให้รู้เหตุเพื่อประโยชน์นั้น. บทว่า อุตฺตเม ชเว ในความว่องไวชั้นเยี่ยม คือในการถึงพร้อมด้วยกำลัง. อธิบายว่า ฝึกให้รู้เหตุโดยอาการที่มีกำลังชั้นเยี่ยม. บทว่า อุตฺตเม หเย ในความเป็นม้าชั้นเยี่ยม. อธิบายว่า ฝึกให้รู้เหตุโดยอาการที่เป็นม้าชั้นเยี่ยม. ในบทนั้น ตามปรกติม้าชั้นเยี่ยมย่อมควรแก่เหตุแห่งความเป็นม้าชั้นเยี่ยม. ม้าอื่นไม่ควร. ม้าย่อมปฏิบัติความมีกำลังชั้นเยี่ยมอย่างนี้ ด้วยเหตุเป็นม้าชั้นเยี่ยม. ม้าอื่นย่อมไม่ปฏิบัติ ความมีกำลังชั้นเยี่ยม. ในม้าชั้นเยี่ยมนั้น มีเรื่องเล่าดังต่อไปนี้. ได้ยินว่า พระราชาองค์หนึ่งได้ลูกม้าสินธพไว้ตัวหนึ่ง แต่ไม่ทรงทราบว่าเป็นม้าสินธพ จึงได้ทรงให้คนฝึกม้า เอาม้านี้ไปฝึก. แม้คนฝึกม้าก็ไม่รู้ว่าม้านั้นเป็นม้าสินธพ จึงนำถั่วเหลืองไปให้ลูกม้ากิน. ลูกม้าก็ไม่กินเพราะไม่สมควรแก่ตน. คนฝึกม้าไม่สามารถฝึกม้านั้นได้จึงทูลพระราชาว่า ข้าแต่พระมหา วันหนึ่ง ภิกษุหนุ่มรูปหนึ่งเคยเป็นคนฝึกม้าผู้ถือสิ่งของของอุปัชฌาย์ ไปเห็นม้านั้นเที่ยวไปบนหลังคู จึงเรียนอุปัชฌาย์ว่า ท่านขอรับ ลูกม้าสินธพหาค่ามิได้ หากพระราชาทรงทราบพึงทำลูกม้านั้นให้เป็นม้ามงคล. พระเถระกล่าวว่า นี่คุณ พระราชาเป็นมิจฉาทิฏฐิ ถ้ากระไรพึงทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา เธอจงไปทูลพระราชาเถิด. ภิกษุหนุ่มไปทูลพระราชาว่า มหาบพิตร มีลูกม้าสินธพหาค่ามิได้อยู่ตัวหนึ่ง. พระราชาตรัสถามว่า พระคุณเจ้าเห็นหรือ. ภิกษุหนุ่มถวายพระพรว่า เห็นมหาบพิตร. ตรัสถามว่า ได้อะไรจึงจะควร. ถวายพระพรว่า ควรได้พระกระยาหารที่มหาบพิตรเสวยในภาชนะทองที่ใส่เครื่องเสวยของมหาบพิตร รสเครื่องดื่มของมหาบพิตร กลิ่นหอมดอกไม้ของมหาบพิตร ถวายพระพร. พระราชารับสั่งให้ให้ทุกอย่าง. ภิกษุหนุ่มได้ให้คนถือนำไป. ม้าสูดกลิ่นคิดว่า ผู้ฝึกม้ารู้คุณของเราเห็นจะพอมีจึงยกศีรษะยืนแลดูอยู่. ภิกษุหนุ่มเดินไปดีดนิ้วมือกล่าวว่า กินอาหารเถิด. ม้าเดินตรงมากินอาหารในถาดทอง ดื่มน้ำมีรส. ลำดับนั้น ภิกษุหนุ่มเอากลิ่นหอมลูบไล้ม้าแล้วประดับเครื่องประดับของพระราชา ดีดนิ้วกล่าวว่า จงไปข้างหน้าเถิด. ม้าเดินไปข้างหน้าภิกษุหนุ่ม ได้ยืนในที่ของม้ามงคล. ภิกษุหนุ่มถวายพระพรว่า ขอถวายพระพร ลูกม้านี้หาค่ามิได้ ขอมหาบพิตรโปรดให้คนฝึกม้าประคบประหงมม้านั้นโดยทำนองนี้สัก ๒-๓ วันเถิด แล้วก็ออกไป. ครั้นล่วงไป ๒-๓ วัน ภิกษุหนุ่มมาทูลถามว่า ขอถวายพระพร มหาบพิตรจะทรงดู ภิกษุหนุ่มทูลว่า ขอมหาบพิตรวางไม้ทำเครื่องหมายพิงต้นไม้ต้นหนึ่งไว้แล้วดีดนิ้วมือ กล่าวว่า เจ้าจงคาบไม้เครื่องหมายนั้นมา. ม้าวิ่งไปคาบไม้นั้นมา. ทูลถามว่า มหาบพิตรทรงเห็นหรือ. ตรัสว่า ไม่เห็นเลยพระคุณเจ้า. ภิกษุหนุ่มดีดนิ้วมืออีก ภิกษุหนุ่มให้นำผ้ากัมพลสีแดงมาแล้วให้ผูกที่เท้าม้า ได้ให้สัญญาเหมือนอย่างนั้น. ม้ากระโดดวิ่งไปจนสุดกำแพง ได้ปรากฏ ณ สุดกำแพงพระอุทยานดุจเปลวลูกไฟที่บุรุษมีกำลังแกว่ง. ม้าไปยืนอยู่ ณ ที่ใกล้. ทูลถามว่า มหาบพิตรทรงเห็นหรือ. ตรัสว่า เห็นแล้วพระคุณเจ้า. ภิกษุได้ให้สัญญาว่า เจ้าจงวิ่งไปรอบๆ จนสุดกำแพงสระมงคลโบกขรณี. ม้าได้วิ่งไปรอบๆ จนสุดกำแพงสระมงคลโบกขรณี. ภิกษุหนุ่มได้ให้สัญญาอีกว่า เจ้าจงหยั่งลงสู่สระโบกขรณีแล้ววิ่งไปบนใบบัวทั้งหมด. มิได้มีแม้แต่ใบหนึ่งที่ไม่ได้เหยียบก็ดี ฉีกขาดหักหักก็ดี. ทูลถามว่า มหาบพิตรทรงเห็นหรือ. ตรัสว่า เห็นแล้วพระคุณเจ้า. ภิกษุหนุ่มดีดนิ้วมือแล้วยื่นฝ่ามือออกไป. ม้าเร็วดุจลมได้กระโดดไปยืนบนฝ่ามือ. ทูลถามว่า มหาบพิตรทรงเห็นหรือ. ตรัสว่า เห็นแล้วพระคุณเจ้า. ม้าชั้นเยี่ยมอย่างนี้ย่อมปฏิบัติกำลังชั้นเยี่ยม ด้วยเหตุอันยอดเยี่ยมอย่างนี้. บทว่า อุตฺตเม สาขเลฺย ในการเป็นม้าควรแก่คำอ่อนหวานชั้นเยี่ยม. ความว่า ควรฝึกเหตุแห่งการเป็นม้าชั้นเยี่ยมด้วยวาจาอ่อนหวานว่า ดูก่อนพ่อม้า เจ้าอย่าคิดไปเลย เจ้าจักเป็นม้ามงคลของพระราชา เจ้าจักได้อาหารมีพระกระยาหารเครื่องเสวยของพระราชาเป็นต้น. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อุตฺตเม สาขเลฺย ดังนี้. บทว่า ราชโภคฺโค คือ เป็นพาหนะสำหรับใช้สอยของพระราชา. บทว่า รญฺโญ องฺคนฺเตฺวว สงฺขํ คจฺฉติ นับได้ว่าเป็นองค์ของพระราชา. ความว่า พระราชาเสด็จไปในที่ไหนๆ ไปไม่ทอดทิ้งดุจมือและเท้า เพราะฉะนั้นจึงนับว่าเป็นองค์. หรือเป็นองค์หนึ่งในองค์แห่งเสนา ๔ เหล่า. บทว่า อเสกฺขาย สมฺมาทิฏฺฐิยา สัมมาทิฏฐิอันเป็นของพระอเสขะ คือสัมมาทิฏฐิอันเป็นอรหัตผล. แม้สัมมาสังกัปปะเป็นต้นก็สัมปยุตด้วยอรหัตผลนั้น. สัมมาญาณเป็นสัมมาทิฏฐิดังกล่าวแล้วในก่อน. อนึ่ง ธรรมที่เหลือเว้นองค์แห่งผล ๘ พึงทราบว่าเป็นวิมุตติ. บทที่เหลือในบททั้งปวงง่ายทั้งนั้น. เทศนานี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงถือเอาด้วยธรรมเป็นยอดแห่งพระอรหัต แล้วจบลงด้วยสามารถแห่งอุคฆฏิตัญญูบุคคล ด้วยประการฉะนี้. จบอรรถกถาภัททาลิสูตรที่ ๕ ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ ภิกขุวรรค ภัททาลิสูตร คุณแห่งการฉันอาหารหนเดียว จบ. |