บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
ลฏุกิโกปมสูตร มีบทเริ่มต้นว่า เอวมฺเม สุตํ ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้. ในบรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เยน โส วนสณฺโฑ เข้าไปยังไพรสณฑ์นั้น. ความว่า พระมหาอุทายีเถระนี้ เข้าไปบิณฑบาตกับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วหลีกออกไปพร้อมกับพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น. เพราะฉะนั้น พึงทราบว่า พระมหาอุทายีเถระเข้าไปยังไพรสณฑ์ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าพึงเสด็จเข้าไป. บทว่า อปหตฺตา คือ นำออกไป. บทว่า อุปหตฺตา คือ นำเข้าไป. บทว่า ปฏิสลฺลานา วุฏฺฐิโต ท่านพระมหาอุทายีเถระออกจากที่เร้น คือออกจากผลสมาบัติ. บทว่า ยํ ภควา ในสมัยใด พระผู้มีพระภาคเจ้า. บทว่า อิงฺฆ เป็นนิบาต ลงในความบังคับ. บทว่า อญฺญถตฺตํ ความที่จิตเป็นอย่างอื่น. เราไม่ได้โภชนะอันประณีตเห็นปานนี้ เพราะอาศัยพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น. จักยังชีวิตให้เป็นไปได้อย่างไร ด้วยประการฉะนี้พึงทราบว่า เพราะอาศัยลาภคือโภชนะอันประณีต จึงได้เป็นอยู่ได้. ด้วยบทว่า ภูตปุพฺพํ เรื่องเคยมีมาแล้วนี้ พระอุทายีเถระแสดงความที่โภชนะเป็นของประณีตในเวลากลางคืน. บทว่า สูเปยฺยํ ของควรจะแกง ได้แก่ ปลา เนื้อและหน่อไม้เป็นต้น ควรนำไปแกง. บทว่า สมคฺคา ภุญฺชิสฺสาม เราจักบริโภคพร้อมกันคือบริโภคร่วมกัน. บทว่า สงฺขติโย คือ ของเคี้ยวสำหรับจะปรุงบริโภค. บทว่า สพฺพา ตา รตฺตึ คือ ของเคี้ยวสำหรับปรุงบริโภคทั้งหมดเหล่านั้น ย่อมมีรสในเวลากลางคืน. แต่กลางวันมีรสน้อยนิดหน่อย. เพราะกลางวันมนุษย์ทั้งหลายยังชีวิตให้เป็นไปด้วยข้าวยาคูและข้าวต้มเป็นต้น กลางคืนย่อมบริโภคตามส่วนที่ถึง ตามสติ ตามความประณีต. ด้วยบทว่า ภูตปุพฺพํ นี่อีก ท่านพระอุทายีเถระแสดงถึงโทษในการบริโภคในกลางคืนและเวลาวิกาล. ในบทเหล่านั้นบทว่า อนฺธการติมิสาย ได้แก่ ในเวลามืดมาก. บทว่า มาณเวหิ ได้แก่ พวกโจร. บทว่า กตกมฺเมหิ คือ ทำโจรกรรม. ได้ยินว่า โจรเหล่านั้นทำโจรกรรมฆ่ามนุษย์แล้ว ถือเอาโลหิตในลำคอเป็นต้น เพื่อต้องการนำกรรมที่สำเร็จเพราะได้บวงสรวงเทวดาไว้เข้าไปแก้บน. โจรเหล่านั้นสำคัญว่า เมื่อมนุษย์อื่นถูกฆ่า ก็จักเกิดโกลาหล. ชื่อว่าผู้แสวงหาบรรพชิตย่อมไม่มี จึงจับภิกษุทั้งหลายฆ่า. ท่านกล่าวบทนั้นหมายถึงความข้อนี้. บทว่า อกตกมฺเมหิ ยังไม่ทำโจรกรรม คือ ประสงค์จะทำพลีกรรมก่อนเพื่อให้สำเร็จการงานในเวลามาจากดงเข้าสู่บ้าน. บทว่า อสทฺธมฺเมน นิมนฺเตติ มาตุคามย่อมเชื้อเชิญด้วยอสัทธรรม คือเชื้อเชิญด้วยเมถุนธรรมว่า ข้าแต่ภิกษุ ท่านจงมาเถิด. วันนี้ท่านจักฉันในที่นี้แหละ จักอยู่ในที่นี้ตลอดคืนหนึ่งแล้วเสวยสมบัติ พรุ่งนี้จึงค่อยไป. ด้วยบทว่า ภูตปุพฺพํ นี้อีก ท่านพระอุทายีเถระกล่าวถึงเหตุที่เห็นด้วยตนเอง. บทว่า วิชฺชนฺตริกาย โดยแสงฟ้าแลบ คือโดยขณะที่สายฟ้าส่องแสง. บทว่า วิสฺสรมกาสิ คือ ร้องเสียงดัง. บทว่า อภุมฺเม ความว่า คำว่า ภู ได้แก่ความเจริญ. คำว่า อภู ได้แก่ความเสื่อม. อธิบายว่า ความพินาศได้มีแก่เรา. บทว่า ปิสาโจ วต มํ คือ ปีศาจจะมากินเรา. พึงทราบความในบทนี้ว่า อาตุมารี มาตุมารี ดังต่อไปนี้. บทว่า อาตุ ได้แก่ บิดา. บทว่า มาตุ ได้แก่ มารดา. ท่านอธิบายว่า บิดาหรือมารดาของภิกษุใดยังมีอยู่ มารดาบิดาเกิดความเอ็นดูภิกษุนั้นว่า เป็นบุตรของเรา แล้วให้ของเคี้ยวของฉันอย่างใดอย่างหนึ่ง ให้นอนในที่แห่งหนึ่ง ภิกษุนั้นจะไม่เที่ยวบิณฑ บทว่า เอเมวํ ปน ก็อย่างนั้นแล คือ โมฆบุรุษทั้งหลายไม่เห็นอานิสงส์ไรๆ อย่างนั้น. พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงติเตียนจึงตรัสว่า เอวมาหํสุ เขากลับมากล่าวโดยไม่มีเหตุอย่างนี้. ในบทเหล่านั้นบทว่า อาหํสุ คือ ย่อมกล่าว. บทว่า กึ ปนิมสฺส คือ ทำไมจึงต้องว่ากล่าวเพราะเหตุแห่งโทษเพียงเล็กน้อยนี้เล่า ควรทำเป็นดุจไม่เห็นไม่ได้ยินมิใช่หรือ. บทว่า โอรมตฺตกสฺส คือ พอประมาณ. บทว่า อธิสลฺเลขเตวายํ พระสมณะนี้ช่างขัดเกลาหนักไป คือ พระสมณะนี้ย่อมขัดเกลาเกินไป คือทำความพยายามหนักไป ดุจดื่มเนยข้น ดุจตัดสายก้านบัวด้วยเลื่อย. บทว่า สิกฺขากามา ผู้ใคร่ในการศึกษา คือผู้ใคร่การศึกษา ดุจพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะเป็นต้นฉะนั้น. ไม่เข้าไปตั้งความยำเกรงในท่านเหล่านั้น. โมฆบุรุษเหล่านั้นมีความคิดอย่างนี้ว่า หากภิกษุเหล่านี้พึงกล่าวว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ขอพระองค์จงนำโทษเพียงเล็กน้อยออกไป. ทำไมพระศาสดาไม่ทรงนำออกไป. อนึ่ง ครั้นภิกษุทั้งหลายไม่กล่าวอย่างนี้นั่งแวดล้อมพระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมได้ความอุตสาหะอย่างยิ่งว่า เอวํ ภควา สาธุ ภควา สาธุ ภควา ปญฺญเปถ ภควา ความว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า อย่างนี้ ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นความดี ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นความดี ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ขอพระองค์ทรงบัญญัติเถิด. เพราะฉะนั้น โมฆบุรุษทั้งหลายชื่อว่า ไม่เข้าไปตั้งความยำเกรงในภิกษุเหล่านั้น. บทว่า เตสํ คือ แห่งโมฆบุรุษบางพวกเหล่านั้น. บทว่า ตํ คือ ควรละโทษเพียงเล็กน้อยนั้น. บทว่า ถูโล กฬิงฺคโร เหมือนท่อนไม้ใหญ่ คือเหมือนไม้ใหญ่ผูกไว้ที่คอ. บทว่า ลฏุกิกา๒- สกุณิกา คือ นางนกมูลไถ. นัยว่า นางนกมูลไถนั้นร้อง ๑๐๐ ครั้ง ฟ้อน ๑๐๐ ครั้ง หาอาหารคราวเดียว. คนเลี้ยงโคเป็นต้นเห็นนางนกมูลไถนั้นบินจากอากาศยืนอยู่บนพื้นดินจึงเอาเถาวัลย์หัวด้วนผูกไว้เพื่อจะเล่นอย่างเลี้ยงลูกสัตว์. ท่าน ____________________________ ๒- บาลีเป็น ลฑุกิกา. บทว่า อาคเมติ ย่อมรอ คือย่อมถึง. บทว่า ตญฺหิ ตสฺสา คือ การผูกด้วยเถาวัลย์หัวด้วนนั้น ชื่อว่าเป็นเครื่องผูกมัดมีกำลัง เพราะนางนกมูลไถมีร่างกายเล็กและมีกำลังน้อย เชือกใยกาบมะพร้าวก็ยังใหญ่ขาดได้ยาก. บทว่า เตสํ ชื่อว่าเครื่องผูกมัดมีกำลังเพราะโมฆบุรุษมีศรัทธาอ่อน และเพราะมีปัญญาอ่อน แม้โทษเพียงวัตถุแห่งอาบัติทุกกฏ ก็เป็นของใหญ่ละได้ยาก ดุจวัตถุแห่งปาราชิกฉะนั้น. พึงทราบความในธรรมฝ่ายขาวดังต่อไปนี้. บทว่า ปหาตพฺพสฺส พึงละ. ความว่า มีข้อที่พระผู้มีพระภาคเจ้าควรตรัสเพราะเหตุแห่งโทษเพียงเล็กน้อยที่ควรละนี้ ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสให้เราละ. อธิบายว่า แม้ทราบพระประสงค์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าอย่างนี้แล้ว ก็ควรละมิใช่หรือ. บทว่า อปฺโปสฺสุกฺกา มีความขวนขวายน้อย คือไม่มีความขวนขวายเลย. บทว่า ปนฺนโลมา มีขนตก คือไม่มีขนชัน เพราะกลัวจะพึงละโทษ บทว่า ปรทวุตฺตา คือ มีความเป็นอยู่ด้วยของผู้อื่นให้. อธิบายว่า เลี้ยงชีวิตด้วยของที่ได้จากผู้อื่น. บทว่า มิคภูเตน เจตสา วิหรนฺติ มีใจเป็นดุจมฤคอยู่ คือเป็นผู้ตั้งอยู่ในฝ่ายแห่งความไม่หวังอยู่. จริงอยู่ มฤคได้รับการประหารแล้วไม่คิดว่า เราจักไปยังที่อยู่ของมนุษย์แล้วจักได้ยาหรือน้ำ ท่านกล่าวว่า มิคภูเตน เจตสา วิหนฺติ มีใจเป็นดุจมฤคอยู่หมายถึงข้อนี้. บทว่า ตญฺหิ ตสฺส คือ การผูกด้วยเชือกนั้น ชื่อว่าเป็นเครื่องผูกบอบบาง เพราะพญาช้างนั้นมีกายใหญ่มีกำลังมาก จึงเป็นเครื่องผูกที่ขาดได้ง่าย ดุจเถาวัลย์หัวด้วนฉะนั้น. บทว่า เตสํ ตํ คือ โทษเพียงเล็กน้อยของภิกษุเหล่านั้นเป็นโทษที่ละได้ง่าย เพราะ บทว่า ทลิทฺโท คนจน คือเป็นผู้ประกอบด้วยความขัดสน. บทว่า อสฺสโก คือ ไม่มีอะไรเป็นของตน. บทว่า อนาฬฺหิโย คือ ไม่ใช่คนมั่งคั่ง. บทว่า อคาริกํ มีเรือนหลังเล็ก. บทว่า โอลคฺควิลคฺคํ มีเครื่องมุงและเครื่องผูกหลุดลุ่ย คือมีเครื่องมุงบังหลุดจากหลังคาลงมาเกี่ยวอยู่ที่ฝา หลุดจากฝาลงมากองที่พื้น. บทว่า กากาติปายึ ต้องคอยไล่กา คือในเวลานั่งข้างในด้วยคิดว่าจักบริโภคอะไรๆ ชื่อว่ากิจด้วยประตูไม่มีต่างหาก. แต่นั้น ฝูงกาก็จะเข้าไปรุมล้อม แต่กากล้า ในเวลาหนีก็จะหนีออกไปซึ่งๆ หน้า. บทว่า น ปรมรูปํ มีทรงไม่งาม คือมีทรงไม่งามเหมือนเรือนของผู้มีบุญ. บทว่า กโฬปิกา มีแคร่อันหนึ่ง. บทว่า โอลุคฺควิลุคฺคา หลุดลุ่ย คือจะพังมิพังแหล่. บทว่า ธญฺญสมวาปกํ คือ ข้าวเปลือกและพืชสำหรับหว่าน. ในบทนั้น ข้าวชื่อว่า ธญฺญ พืชมีพืชน้ำเต้า พืชฟักเป็นต้นชื่อว่า สมวาปกํ. บทว่า น ปรมรูปํ ไม่ใช่เป็นพันธุ์อย่างดี คือพืชบริสุทธิ์มีพืชข้าวสาลีมีกลิ่นหอมเป็นต้น ไม่ใช่พันธุ์อย่างดีเหมือนของคนมีบุญทั้งหลาย. บทว่า ชายิกา ภรรยา คือภรรยาขัดสน. บทว่า น ปรมรูปา มีรูปไม่งาม คือน่าเกลียดมีก้นห้อยเหมือนกระเช้า ดุจปีศาจท้องพลุ้ย. บทว่า สามญฺญํ คือ ความเป็นสมณะ. บทว่า โส วตสฺสํ โยหํ คือ เราควรจะปลงผมและหนวดออกบวช. บทว่า โส น สกฺกุเณยฺย เขาไม่อาจ คือแม้เขาคิดแล้วอย่างนี้ก็กลับไปเรือนไตร่ตรองว่า ชื่อว่าบรรพชาหนัก ยากที่จะทำได้ ยากที่จะเข้าถึงได้ แม้เที่ยวไปบิณฑ ต่อแต่นั้น เขาแลดูแคร่ของเขาแล้วคิดว่าเมื่อเราไปแล้ว ชนทั้งหลายจะ จากนั้นเขาแลดูภรรยาแล้วคิดว่า เมื่อเราไปแล้ว คนเลี้ยงช้างก็ดี คนเลี้ยงม้าก็ดีคนใดคนหนึ่งจักเกี้ยวภรรยานี้. เราควรจะกลับมาได้หญิงหุงอาหารอีก. เราจักทำอะไรกับการบวช. ทีนั้น ภรรยาของเขานั้นปรากฏดุจเทวีรูปงาม. ท่านหมายถึงข้อนี้จึงกล่าวบทมีอาทิว่า โส น สกฺกุเณยฺย เขาไม่สามารถดังนี้. บทว่า นิกฺขคณานํ คือ ทองร้อยแท่ง. บทว่า จโย สะสม คือทำการสะสมสืบต่อกันมา. บทว่า ธญฺญคณานํ คือ ข้าวเปลือกร้อยเกวียน. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงถึงอะไรในบทนี้ว่า จตฺตาโร เม อุทายิ ปุคฺคลา ดูก่อนอุทายี บุคคล ๔ จำพวกเหล่านี้. บุคคลเหล่านั้นละอุปธินั้นในภายหลัง และบุคคลเหล่านั้นไม่ละอุปธินั้น เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงทั้งผู้ละและผู้ไม่ละด้วยสามารถเป็นหมวดหมู่. มิได้ทรงจำแนกเฉพาะตัว. บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อทรงแสดงว่า บุคคลผู้ทิ้งอุปธิที่ยังละไม่ได้แล้ว กระทำให้เป็นอัพโพหาริก มีอยู่ ๔ จำพวก เหมือนบุคคลไปเพื่อต้องการทัพสัมภาระ (อุปกรณ์การสร้าง) จึงตัดต้นไม้ตามลำดับ แล้วกลับมาอีก คัดต้นที่คดทิ้ง ถือเอาแต่ไม้ที่สมควรจะพึงนำไปประกอบการงานได้เท่านั้น ฉะนั้น จึงทรงปรารภเทศนานี้. บทว่า อุปธิปฺปหานาย เพื่อละอุปธิ ได้แก่เพื่อละอุปธิเหล่านี้คือ ขันธูปธิ กิเลสูปธิ อภิสังขารูปธิ กามคุณูปธิ. บทว่า อุปธิปฏิสํยุตฺตา อันประกอบด้วยอุปธิ คือแล่นไปในอุปธิ. ในบทว่า สรสงฺกปฺปา นี้มีความดังต่อไปนี้. ชื่อว่า สรา เพราะอรรถว่าแล่นไป วิ่งไป. ชื่อว่า สงฺกปฺปา เพราะอรรถว่าดำริ. เอาความว่า ความดำริที่แล่นไป. แม้ด้วยบททั้งสองนี้ ท่านกล่าวถึงวิตกนั่นเอง. บทว่า สมุทาจรนฺติ คือ ครอบงำ ประพฤติท่วมทับ. บทว่า สํยุตฺโต คือ ประกอบด้วยกิเลสทั้งหลาย. บทว่า อินฺทฺริยเวมตฺตตา คือ ความต่างแห่งอินทรีย์. บทว่า กทาจิ กรหจิ บางครั้งบางคราว คือล่วงไปๆ ในเวลานานมาก. บทว่า สติสมฺโมสา คือเพราะความหลงลืมแห่งสติ. บทว่า นิปาโต คือตกลงไปในกระทะเหล็ก. ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ท่านแสดง ๓ หมวด คือ ยังละไม่ได้ ๑ ละ ๑ ละได้เร็ว ๑. ใน ๓ หมวดนั้น ชน ๔ จำพวกชื่อว่าละไม่ได้. ๔ จำพวกชื่อว่าละ. ๔ จำพวกชื่อว่าละได้เร็ว. ในบุคคลเหล่านั้น ชน ๔ จำพวกเหล่านี้ คือปุถุชน ๑ พระโสดาบัน ๑ พระสกทาคามี ๑ พระอนาคามี ๑ ชื่อว่ายังไม่ละได้. ปุถุชนเป็นต้นยังละไม่ได้จงยกไว้. พระอนาคามียังละไม่ได้เป็นอย่างไร. เพราะพระอนาคามีแม้นั้นก็ยังยินดีว่า โอ สุข โอ สุข ตราบเท่าที่ยังมีความอยากได้ ในภพของเทวดาอยู่. ฉะนั้นจึงชื่อว่ายังละไม่ได้. ส่วนชน ๔ จำพวกเหล่านี้ชื่อว่าละได้. พระโสดาบันเป็นต้นละได้ จงยกไว้ก่อน. ปุถุชนละได้อย่างไร. เพราะปุถุชนผู้เจริญวิปัสสนาทำความสังเวชว่า เมื่อกิเลสเกิดขึ้นทันทีทันใด เพราะความหลงลืมแห่งสติ กิเลสเกิดขึ้นแล้วแก่ภิกษุเช่นเราดังนี้จึงประคองความเพียรเจริญวิปัสสนา ถอนกิเลสด้วยมรรค. ปุถุชนนั้นชื่อว่าละได้ด้วยประการฉะนี้. ชน ๔ จำพวกเหล่านั้น ชื่อว่าละได้โดยเร็ว. ท่านถือเอาตติยวาระในสูตรเหล่านี้ คือ ในสูตรนี้ ในมหาหัตถิปโทปมสูตร ในอินทริยภาวนาสูตรโดยแท้. แม้ปัญหาก็พึงทราบว่าท่านกล่าวไว้แล้วในทุติยวารนั่นแหละ. เบญจขันธ์ ชื่อว่า อุปธิ ในบทนี้ว่า อุปธิ ทุกฺขสฺส มูลํ เบญจขันธ์อันชื่อว่าอุปธิเป็นมูลแห่งทุกข์. ครั้นรู้ว่าอุปธินั้นเป็นมูลแห่งทุกข์ดังนี้แล้ว เป็นผู้ไม่มีอุปธิด้วยกิเลสูปธิ. อธิบายว่า ไม่มีรกชัฏ ไม่มีตัณหา. บทว่า อุปธิสงฺขเย วิมุตฺโต น้อมจิตไปในนิพพานอันเป็นที่สิ้นไปแห่งอุปธิ คือน้อมจิตไปในนิพพาน อันเป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหาจากอารมณ์. พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นยังบุคคล ๔ ประเภทให้พิสดารอย่างนี้แล้ว บัดนี้เพื่อทรงแสดงว่าบุคคลใดละได้ บุคคลนั้นชื่อว่าละกิเลสประมาณเท่านี้ได้. บุคคลใดยังละไม่ได้ แม้บุคคลนั้นก็ชื่อว่ายังละกิเลสประมาณเท่านี้ไม่ได้ จึงตรัสบทมีอาทิว่า ปญฺจ โข อิเม อุทายิ กามคุณา ดูก่อนอุทายี กามคุณ ๕ เหล่านี้แล. ในบทเหล่านั้นบทว่า มิฬฺหสุขํ คือ ความสุขไม่สะอาด. บทว่า อนริยสุขํ ไม่ใช่สุขของพระอริยะ คือสุขอันพระอริยะไม่เสพ. บทว่า ภายิตพฺพํ ควรกลัวแต่การได้รับความสุขนี้บ้าง แต่วิบากบ้าง. บทว่า เนกฺขมฺมสุขํ คือความสุขอันเกิดแต่การออกจากกาม. บทว่า ปวิเวกสุขํ ความสุขเกิดแต่ความสงัดจากหมู่บ้าง จากกิเลสบ้าง. บทว่า อุปสมสุขํ ความสุขเกิดแต่ความสงบ คือความสุขเพื่อประโยชน์แก่ความสงบจากราคะเป็นต้น. บทว่า สมฺโพธิสุขํ ความสุขเกิดแต่ความตรัสรู้พร้อม คือความสุขเพื่อประโยชน์แก่ความเกิดแห่งความตรัสรู้พร้อมกล่าวคือมรรค. บทว่า น ภายิตพฺพํ ไม่พึงกลัวคือไม่พึงกลัวแต่การได้สุขนี้บ้าง แต่วิบากบ้าง. ความสุขนี้ควรให้เกิดมี. บทว่า อิญฺชิตสฺมึ วทามิ ปฐมฌานเรากล่าวว่ายังหวั่นไหว คือเรากล่าวว่า หวั่นไหว ยุ่งยาก ดิ้นรน. บทว่า กิญฺจ ตตฺถ อิญฺชิตสฺมึ คือปฐมฌานนั้นยังมีอะไรหวั่นไหว. บทว่า อิทํ ตตฺถ อิญฺชิตสฺมึ นี้เป็นความหวั่นไหวในปฐมฌานนั้น คือวิตกวิจารยังไม่ดับ นี้เป็นความหวั่นไหวในปฐมฌานนั้น. แม้ในทุติยฌานและตติยฌานก็มีนัยนี้เหมือนกัน. บทว่า อเนญฺชิตสฺมึ วทามิ จตุตถฌานนี้เรากล่าวว่าไม่หวั่นไหว คือจตุตถฌานนี้เรากล่าวว่าไม่หวั่นไหว ไม่ยุ่งยาก ไม่ดิ้นรน. บทว่า อนลนฺติ วทามิ คือ เรากล่าวว่าไม่ควรทำความอาลัย. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า ไม่ควรให้ความอาลัยในตัณหาเกิดขึ้นในฌานนี้. อีกอย่างหนึ่ง เรากล่าวว่าไม่ควรทำความตกลงใจว่า ไม่พอ ไม่มีที่สิ้นสุดเพียงเท่านี้จึงจะพอ. บทว่า เนวสญฺญานาสญฺญายตนสฺสปิ คือ เรากล่าวการละสมาบัติอันสงบแล้วแม้เห็นปานนี้. บทว่า อณุํ วา ถูลํ วา สังโยชน์ละเอียดก็ดี หยาบก็ดี ได้แก่สังโยชน์เล็กก็ดี ใหญ่ก็ดี คือมีโทษน้อยก็ดี มีโทษมากก็ดี. บทที่เหลือในที่ทั้งปวงง่ายทั้งนั้น. อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงจบเทศนาด้วยธรรมเป็นยอดคือพระอรหัต ด้วยสามารถบุคคลที่ควรแนะนำได้ด้วยประการฉะนี้. จบอรรถกถาลฏุกิโกปมสูตรที่ ๖ ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ ภิกขุวรรค ลฑุกิโกปมสูตร เรื่องพระอุทายี จบ. |