บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
ในบรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สูกรขาตายํ๑- ณ ถ้ำมีชื่ออย่างนี้ว่า สูกรขาตา. ____________________________ ๑- บาลีว่า สูกรขตายํ. มีเรื่องกล่าวไว้ว่า ครั้งศาสนาพระกัสสปพุทธเจ้า ถ้ำนั้นเกิดภายในพื้นแผ่นดินซึ่งงอกขึ้นในพุทธันดรหนึ่ง. อยู่มาวันหนึ่ง สุกรตัวหนึ่งคุ้ยฝุ่นในที่ใกล้เขตปิดถ้ำนั้น. เมื่อฝนตกได้ปรากฏเขตปิดเพราะถูกฝนชะ พรานป่าคนหนึ่งเห็นเข้าจึงคิดว่า เมื่อก่อนไม่มีผู้มีศีลอยู่ในถ้ำ เราจักปรับปรุงถ้ำนั้น. จึงขนฝุ่นออกกวาดถ้ำให้สะอาด แล้วทำฝารอบด้านประกอบประตูหน้าต่าง ทำถ้ำให้มีบริเวณลาดด้วยทรายดังแผ่นเงิน ทำอย่างวิจิตร ฉาบปูนขาวจนสำเร็จเรียบร้อยเป็นอย่างดี แล้วปูเตียงและตั่งได้ถวายเป็นที่ประทับของพระผู้มีพระภาคเจ้า. ถ้ำลึกขึ้นลงสะดวก. บทว่า สูกรขาตายํ นี้ ท่านกล่าวหมายถึงถ้ำนั้น. บทว่า ทีฆนโข เป็นชื่อของปริพาชกนั้น. บทว่า อุปสงฺกมิ เข้าไปเฝ้า. เพราะเหตุไร ทีฆนขปริพาชกจึงเข้าไปเฝ้า. เล่ากันมาว่า ทีฆนขปริพาชกนั้น เมื่อพระเถระบวชได้ครึ่งเดือนคิดว่า หลวงลุงของเราไปสู่ลัทธิอื่นที่ผิดแล้วดำรงอยู่เป็นเวลานาน. แต่บัดนี้เมื่อหลวงลุงไปเฝ้าพระสมณโคดมได้ครึ่งเดือนแล้ว ประสงค์จะไปด้วยหวังว่า เราจะฟังข่าวของหลวงลุงนั้น. เราจักรู้คำสอนอันรุ่งเรืองนั้นหนอ. เพราะฉะนั้น ทีฆนขะจึงเข้าไปเฝ้า. บทว่า เอกมนฺตํ ฐิโต ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนหนึ่ง. นัยว่า ในขณะนั้น พระเถระยืน๒- ถวายงานพัดพระผู้มีพระภาคเจ้าอยู่. ปริพาชกด้วยมีหิริโอตตัปปะในหลวงลุง จึงยืนทูลถามปัญหา ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เอกมนฺตํ ฐิโต ดังนี้. ____________________________ ๒- บาลีว่า นิสินฺโน นั่ง. บทว่า สพฺพํ เม น ขมติ สิ่งทั้งปวงไม่ควรแก่เรา คือสิ่งที่เกิดขึ้นทั้งหมดไม่ควรแก่เรา. ปริพาชกกล่าวด้วยความประสงค์ว่าปฏิสนธิทั้งหลายไม่ควร ด้วยเหตุเพียงเท่านี้เป็นอันปริพาชกนั้นแสดงว่า เราเป็นผู้มีวาทะว่าขาดสูญ. แต่พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงพรางความประสงค์ของปริพาชกนั้น แล้วทรงแสดงถึงโทษในความไม่ควร จึงตรัสพระดำรัสมีอาทิว่า ยาปิ โข เต ดังนี้. ในบทนั้นมีความว่า แม้ความเห็นของท่านก็ไม่ควร คือ แม้ความเห็นที่ท่านชอบใจยึดถือไว้ครั้งแรกก็ไม่ควร. บทว่า เอสา เจ เม โภ โคตม ทิฏฺฐิ ขเมยฺย ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ หากความเห็นนี้ควรแก่ข้าพเจ้า. ความว่า หากความเห็นว่าสิ่งทั้งปวงไม่ควรแก่เราของเราผู้เห็นว่า เพราะสิ่งทั้งปวงไม่ควรแก่เรา พึงควรไซร้. ท่านจึงกล่าวว่า สพฺพํ เม น ขมติ สิ่งทั้งปวงไม่ควรแก่เรา. แม้ความเห็นนั้นก็พึงเป็นเช่นนั้น. แม้ความเห็นนั้นก็ควรเหมือนความเห็นนี้แม้ถือเอาด้วยการถือเอาสิ่งทั้งปวงฉันนั้น. ปริพาชกกล่าวด้วยเข้าใจว่าเรารู้โทษที่ยกในวาทะของตนขึ้นอย่างนี้ แล้วรักษาวาทะนั้น. แต่โดยอรรถย่อมรับว่าความเห็นนั้นของปริพาชกไม่ควรแก่เราดังนี้. อนึ่ง สิ่งทั้งปวงไม่ชอบใจแก่เราด้วยความเห็นนั้นของผู้ที่มีความเห็นไม่ควรไม่ชอบ เพราะเหตุนั้นจึงเป็นความเห็นที่ชอบใจ. แม้ผู้นั้นพึงเป็นผู้ไม่ควรไม่ชอบใจ เพราะเหตุนั้นจึงย่อมรับได้ว่า สิ่งทั้งปวงย่อมควรย่อมชอบใจ. แต่ปริพาชกนั้นไม่รับข้อนั้น. ย่อมถือความขาดสูญแห่งอุจเฉททิฏฐิแม้นั้นอย่างเดียวเท่านั้น. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า อิโต โข เต อคฺคิเวสฺสน ฯลฯ อญฺญญฺจ ทิฏฺฐึ อุปาทิยนฺติ ความว่า ดูก่อนอัคคิเวสสนะ ชนในโลกผู้ที่กล่าวอย่างนี้ว่า แม้ความเห็นนั้นก็พึงเป็นเช่นนั้นทั้งนั้น แม้ความเห็นนั้นก็พึงเป็นเช่นนั้นทั้งนั้น ดังนี้ ชนเหล่านั้นละความเห็นนั้นไม่ได้ และยังยึดถือความเห็นอื่นมากกว่า คือมากกว่าคนที่ละได้ดังนี้. ในบทเหล่านั้นบทว่า อโต เป็นปัญจมีวิภัตติลงในอรรถว่าผู้ละได้. ความว่า คนเหล่าใดละได้ คนเหล่านั้นจักถามว่า คนเหล่าใดเล่าละไม่ได้. และคนเหล่านั้นแหละมีมากกว่า. หิ อักษรในบทนี้ว่า พหู หิ พหุตรา มีมาก คือมากกว่า นี้เป็นเพียงนิบาต. อธิบายว่า มากกว่า มากกว่า. แม้ในบทว่า ตนู หิ ตนุตรา มีน้อยคือน้อยกว่า ตอนหลังก็มีนัยนี้เหมือนกัน. บทว่า เย เอวมาหํสุ คือ ชนเหล่าใดกล่าวแล้วอย่างนี้. บทว่า ตํ เจว ทิฏฺฐึ ฯลฯ อุปาทิยนฺติ ชนเหล่านั้นละความเห็นนั้นไม่ได้และยังยึดถือความเห็นอื่นนั้น คือยังละความเห็นเดิมไม่ได้ ยังยึดถือความเห็นอื่นอีก. อนึ่ง ในบทนี้มีอธิบาย ดังต่อไปนี้ ยึดถือแม้ความเที่ยงแล้ว ก็ไม่ละความเที่ยงนั้น ไม่สามารถจะยึดถือความขาดสูญหรือ ความเที่ยงแต่บางอย่างได้. ยึดถือแม้ความขาดสูญแล้ว ก็ไม่ละความขาดสูญนั้น ไม่สามารถจะยึดถือความเที่ยง หรือความเที่ยงแต่ อนึ่ง ไม่ละความเที่ยงเดิม สามารถยึดถือความเที่ยงอื่นได้. อย่างไร. เพราะสมัยหนึ่งยึดถือว่ารูปเที่ยงแล้ว สมัยต่อมาไม่ยึดถือรูปล้วนๆ เท่านั้นว่าเที่ยง แม้เวทนาก็เที่ยง แม้วิญญาณก็เที่ยง. ในความขาดสูญก็ดี ในความเที่ยงแต่บางอย่างก็ดี ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. พึงเข้าใจว่าแม้ในอายตนะ ก็เหมือนในขันธ์. ท่านกล่าวบทว่า ตํ เจว ทิฏฺฐึ ฯลฯ อุปาทิยนฺติ ละความเห็นนั้นไม่ได้และยังยึดถือความเห็นอื่นดังนี้ หมายถึงความข้อนี้. พึงทราบความในวาระที่ ๒ ดังต่อไปนี้. บทว่า อโต เป็นปัญจมีวิภัตติลงในอรรถว่ายังละไม่ได้. ความว่า ผู้ใดยังละไม่ได้ เพราะฉะนั้น ผู้นั้นจักถามว่า ผู้ใดเล่าละได้. ผู้นั้นแหละมีน้อยกว่า. บทว่า ตํ เจว ทิฏฺฐึ ฯลฯ น อุปาทิยนฺติ ชนเหล่านั้นละความเห็นนั้นได้ และยังไม่ยึดถือความเห็นอื่น. ความว่า ละความเห็นเดิมนั้นได้ และไม่ถือเอาความเห็นอื่น. อย่างไร. เพราะในสมัยหนึ่งยึดถือว่า รูปเที่ยง แล้วสมัยต่อมาเห็นโทษในความเห็นนั้น แล้วละได้ด้วยคิดว่า ความเห็นของเรานี้หยาบ คือย่อมสละได้ว่า มิใช่ความเห็นว่ารูปเที่ยงอย่างเดียวเท่านั้นหยาบ เห็นว่าแม้เวทนาก็เที่ยงหยาบ แม้วิญญาณก็เที่ยงหยาบเหมือนกัน. ในความขาดสูญก็ดี ในความเที่ยงบางอย่างก็ดี ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. พึงเข้าใจว่าแม้ในอายตนะก็เหมือนในขันธ์ ฉะนั้น. ด้วยประการฉะนี้ ชื่อว่าละความเห็นเดิมนั้นได้ และไม่ยึดถือความเห็นอื่น. บทว่า สนฺติ อคฺคิเวสฺสน พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปรารภขึ้น เพราะเหตุไรเจ้าลัทธิที่ถือว่าขาดสูญนี้ ย่อมปิดบังลัทธิของตน แต่เมื่อกล่าวคุณของลัทธินั้นจักทำลัทธิของตนให้ปรากฏ เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงลัทธิที่เหลือเป็นอันเดียวกันแล้ว เพื่อทรงแสดงแยกจากกันจึงทรงปรารภเทศนานี้. พึงทราบความในบทมีอาทิว่า สราคาย สนฺติเก ใกล้ข้างกิเลสอันเป็นไปกับด้วยความกำหนัด ดังต่อไปนี้. ใกล้กิเลสเครื่องยินดีในวัฏฏะด้วยอำนาจราคะ คือใกล้กิเลสเครื่องผูกในวัฏฏะ ด้วยเครื่องผูกคือตัณหาและทิฏฐิ. อธิบายว่า กลืนด้วยความยินดีในตัณหาและทิฏฐิ ด้วยอำนาจแห่งตัณหาและทิฏฐินั่นเองแล้วใกล้ความยึดมั่นและความถือมั่น. พึงทราบความในบทมีอาทิว่า วิราคาย สนฺติเก ใกล้เพื่อคลายความกำหนัดดังต่อไปนี้ พึงทราบความโดยนัยมีอาทิว่า ใกล้เครื่องความยินดีในวัฏฏะ. อนึ่ง ในบทนี้ ความเห็นว่าเที่ยงมีโทษน้อย มีความคลายช้า. ความเห็นว่าขาดสูญมีโทษมาก มีความคลายเร็ว. อย่างไร. เพราะผู้มีวาทะว่าเที่ยงย่อมไม่รู้โลกนี้และโลกหน้าว่ามีอยู่. ย่อมรู้ผลแห่งกรรมดีกรรมชั่วว่ามีอยู่ จึงทำกุศล เมื่อทำอกุศลย่อมกลัว พอใจยินดีในวัฏฏะ. อยู่เฉพาะหน้าพระพุทธเจ้าหรือสาวกของพระพุทธเจ้าย่อมไม่สามารถละความเห็นได้เร็ว ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่าความเห็นว่าเที่ยงนั้นมีโทษน้อย คลายช้า. ส่วนผู้มีวาทะว่าขาดสูญ ย่อมรู้โลกนี้โลกหน้าว่ามีอยู่. แต่ไม่รู้ผลของกรรมดีและกรรมชั่วว่ามีอยู่ จึงไม่ทำกุศล. เมื่อทำอกุศลย่อมไม่กลัว ไม่ชอบใจไม่ยินดีวัฏฏะ อยู่เฉพาะหน้า แต่ปริพาชกนั้นกำหนดความนั้นไม่ได้ จึงพรรณนาสรรเสริญความเห็นนั้น ครั้นกำหนดได้ว่า ความเห็นของเราดีแน่นอน จึงกล่าวคำมีอาทิว่า อุกฺกํเสติ เม ภวํ ท่านพระโคดมทรงยกย่องความเห็นของข้าพเจ้า. บัดนี้ เพราะปริพาชกนี้เปี่ยมด้วยความเห็นว่าขาดสูญเท่านั้น ดุจน้ำเต้าขมเต็มด้วยน้ำส้ม. ปริพาชกนั้นยังทิ้งน้ำส้มไม่ได้ จึงไม่สามารถใส่น้ำมันน้ำผึ้งเป็นต้นลงในน้ำเต้า. แม้ใส่ลงไปแล้วก็ถือเอาไม่ได้ฉันใด ปริพาชกนั้นยังละความเห็นนั้นไม่ได้ จึงไม่ควรเพื่อได้มรรคผลฉะนั้น. เพราะฉะนั้นเพื่อให้ปริพาชกละทิฏฐินั้น จึงทรงเริ่มบทมีอาทิว่า ตตฺร อคฺคิเวสฺสน. บทว่า วิคฺคโห คือ การทะเลาะ. บทว่า เอวเมตาสํ ทิฏฺฐีนํ ปหานํ โหติ การละคืนทิฏฐิเหล่านั้นย่อมมีได้ด้วยประการฉะนี้ คือ ครั้นเห็นโทษแห่งการทะเลาะแล้วจึงละทิฏฐิเหล่านั้นได้. ปริพาชกนั้นคิดว่า ประโยชน์อะไรแก่เราด้วยการทะเลาะเป็นต้นนี้. จึงละความเห็นว่าขาดสูญนั้นได้. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงดำรัสว่า เราจักให้ปริพาชกบำเพ็ญโอสถอันอมตะไว้ในหทัย ดุจบุคคลใส่เนยใสและเนยข้นเป็นต้น ลงในน้ำเต้าที่คายน้ำส้มออกแล้วฉะนั้น เมื่อจะทรงบอกวิปัสสนาแก่ปริพาชกนั้น จึงตรัสพระดำรัสมีอาทิว่า อยํ โข ปน อคฺคิเวสฺสน กาโย ดูก่อน ท่านกล่าวความของบทนั้นไว้แล้วในวัมมิกสูตร. แม้บทมีอาทิว่า อนิจฺจโต ก็กล่าวไว้พิสดารแล้วในหนหลัง. บทว่า โย กายสฺมึ ฉนฺโท ได้แก่ ความอยากในกาย. บทว่า เสนฺโห ความเยื่อใย คือความเยื่อใยด้วยตัณหา. บทว่า กายนฺวยตา คือความอยู่ในอำนาจของกาย. อธิบายว่า กิเลสอันเข้าไปสู่กาย. พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงรูปกรรมฐานอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงอรูป เมื่อจะทรงแสดงความที่เวทนา ๓ เหล่านั้นไม่ปนกัน จึงตรัสว่า ยสฺมึ อคฺคิเวสฺสน สมเย ดูก่อนอัคคิเวสสนะ ในสมัยใดเป็นอาทิ. ความย่อในบทนั้นมีดังนี้ สมัยใด เสวยเวทนาอย่างเดียวในบรรดาสุขเวทนาเป็นต้น สมัยนั้นเวทนาอื่นชื่อว่านั่งคอยดูวาระหรือโอกาสของตนย่อมไม่มี. โดยที่แท้เวทนายังไม่เกิดหรือหายไปดุจฟองน้ำแตก. บทมีอาทิว่า สุขาปิ โข ท่านกล่าวเพื่อแสดงความที่เวทนา ๓ เหล่านั้นเป็นจุณวิจุณไป. บทว่า น เกนจิ วิวทติ ย่อมไม่วิวาทแก่งแย่งกับใครๆ คือย่อมไม่กล่าวร่วมกันกับแม้พวกมีวาทะว่าขาดสูญว่า เราเป็นผู้มีวาทะว่าเที่ยงเพราะมีทิฏฐิว่าเที่ยง. ย่อมไม่วิวาทแก่งแย่งกับผู้มี บทว่า ยญฺจ โลเก วุตฺตํ โวหารใดที่ชาวโลกพูดกัน คือพูดไปตามโวหารที่ชาวโลกพูดกัน. บทว่า อปรามสํ ไม่ยึดถือ คือไม่ยึดถือธรรมไรๆ ด้วยการถือมั่น สมดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า๓- ภิกษุใด เป็นผู้มีอาสวะสิ้นแล้ว เพราะบรรลุพระอรหัต เป็นผู้ทรงร่างกายไว้เป็นครั้งสุดท้าย ภิกษุนั้นพึงกล่าว ว่าเราย่อมกล่าวดังนี้บ้าง พึงกล่าวว่าพวกเขาย่อมกล่าว กะเราดังนี้บ้าง เป็นผู้ฉลาด รู้สิ่งกำหนดรู้กันในโลก พึงพูดไปตามโวหารนั้น. พระผู้มีพระภาคตรัสต่อไปอีกว่า๔- ดูก่อนจิตตะ ตถาคตพูดไปตามสิ่งที่รู้กันในโลก ภาษาของชาวโลก โวหารของชาวโลก บัญญัติของชาวโลก แต่ไม่ยึดถือด้วยทิฏฐิ. ____________________________ ๓- สํ. ส. เล่ม ๑๕/ข้อ ๖๕ ๔- ที. สี. เล่ม ๙/ข้อ ๓๑๒ บทว่า อภิญฺญา ปหานมาห พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสการละธรรมเหล่านั้นด้วยปัญญาอันยิ่ง. ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรู้ความเที่ยงแห่งธรรมเหล่านั้นในบรรดาความเที่ยงเป็นต้นด้วยปัญญาอันยิ่งแล้วจึงตรัสถึงการละความเที่ยง. ทรงรู้ความขาดสูญ ความเที่ยงแต่บางอย่างด้วยปัญญารู้ยิ่งแล้วจึงตรัสถึงการละความเที่ยงแต่บางอย่าง. ทรงรู้รูปด้วยปัญญาอันยิ่งแล้วจึงตรัสถึงการละรูป พึงทราบความในบทนี้โดยนัยมีอาทิดังนี้แล. บทว่า ปฏิสญฺจิกฺขโต เมื่อพระสารีบุตรสำเหนียก คือเห็นตระหนัก. บทว่า อนุปาทาย อาสเวหิ จิตฺตํ วิมุจฺจิ จิตพ้นจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่น คือจิตพ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลายอันดับแล้วด้วยความดับสนิทคือไม่เกิดอีกเพราะไม่ถือมั่น. ด้วยเหตุประมาณเท่านี้ ท่านพระสารีบุตรดุจบุคคลบริโภคอาหารที่เขาตักให้ผู้อื่นแล้ว บรรเทาความหิวลงได้ เมื่อส่งญาณไปในธรรมเทศนาที่ปรารภผู้อื่นจึงเจริญวิปัสสนา ได้บรรลุพระอรหัต แทงตลอดที่สุดแห่งสาวกบารมีญาณและปัญญา ๑๖ แล้วดำรงอยู่. ส่วนทีฆนขะได้บรรลุโสดาปัตติผลแล้วดำรงอยู่ในสรณะทั้งหลาย. ฝ่ายพระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อดวงอาทิตย์ยังปรากฏอยู่ ทรงจบเทศนานี้ แล้วเสด็จลงจากภูเขาคิชฌกูฏ เสด็จไปพระวิหารเวฬุวันได้ทรงประชุมพระสาวก ได้มีสันนิบาตประกอบด้วยองค์ ๔. องค์ ๔ เหล่านี้ คือวันนั้นเป็นวันอุโบสถขึ้น ๑๕ ค่ำประกอบ จบอรรถกถาทีฆนขสูตรที่ ๔ ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ ปริพพาชกวรรค ทีฆนขสูตร เรื่องทีฆนขปริพาชก จบ. |