บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
ในบรรดาบทเหล่านั้นบทว่า อคฺยาคาเร คือ ในโรงบูชาไฟ. บทว่า ติณสนฺถรเก คือ บนเครื่องลาดอันทำด้วยหญ้า. มาคัณฑิยปริพาชก ๒ คน ลุงและหลาน. ใน ๒ คนนั้นลุงบวชได้บรรลุพระอรหัต. แม้หลานก็มีอุปนิสัยบวชไม่นานนักจักบรรลุอรหัต. ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นอุปนิสัยของมาคัณฑิยปริพาชกนั้น ทรงละพระคันธกุฎีเช่นกับเทวสถาน ทรงให้ปูเครื่องลาดอันทำด้วยหญ้า ที่โรงบูชาไฟนั้นสกปรกไปด้วยเถ้า ท่านกล่าวบทว่า เตนุปสงฺกมิ เสด็จเข้าไป หมายถึงโรงบูชาไฟนั้น. แต่เพราะโรงบูชาไฟนั้นมิได้อยู่ใกล้บ้านอย่างเดียว ตอนกลางวันเท่านั้น พวกเด็กชายและเด็กหญิงพากันลงไปเล่น ไม่มีความสงบ ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงให้ตอนกลางวันผ่านพ้นไปในไพรสณฑ์ตลอดกาลเป็นนิตย์. ในตอนเย็นจึงเสด็จเข้าไปในโรงบูชาไฟนั้นเพื่อประทับอยู่. บทว่า อทฺทสา โข ติณสนฺกรกํ ปญฺญตฺตํ มาคัณฑิยปริพาชกได้ เพราะเหตุไร. เพราะในกาลนั้นตอนใกล้รุ่งพระองค์ทรงตรวจดูโลกได้ทรงเห็นแล้วว่า วันนี้มาคัณฑิยะจะมาในที่นี้ ครั้นเห็นเครื่องลาดทำด้วยหญ้านี้แล้วจักสนทนาปรารภเครื่องลาดทำด้วยหญ้ากับภารทวาช บทว่า สมณเสยฺยานุรูปํ มญฺเญ เห็นจะเป็นที่นอนสมควรแก่สมณะ คือสำคัญเครื่องลาดนี้ว่า เป็นที่นอนสมควรแก่สมณะ. อนึ่ง เครื่องลาดนี้มิใช่ที่อยู่ของสมณะผู้ไม่สำรวมแล้ว. เป็นความจริงอย่างนั้น ที่เครื่องลาดนี้มิได้ปรากฏที่ถูกเขี่ยด้วยมือ ที่ถูกกระทบด้วยศีรษะ หรือที่ถูกเขี่ยด้วยเท้า. เครื่องลาดนี้ไม่เลอะเทอะ ไม่ถูกเสียดสี ไม่ถูกทำลายดุจช่างระบายสีผู้ฉลาดเอาดินสอพองระบาย ปูไว้คงเป็นที่อยู่ของสมณะผู้สำรวมแล้ว. มาคัณฑิยพราหมณ์จึงถามว่า ท่านผู้เจริญ ที่อยู่ของใคร. บทว่า ภูนหนสฺส ผู้กำจัดความเจริญ คือผู้สร้างมารยาท. เพราะเหตุไร มาคัณฑิยะจึงกล่าวอย่างนั้น. เพราะเขามีลัทธิ คือทำให้ความเจริญปรากฏในทวาร ๖. นี้เป็นลัทธิของเขา คือควรให้จักษุงอกงามเจริญ ควรเห็นรูปที่ไม่เคยเห็น รูปที่เห็นแล้วควรผ่านไป. ควรให้โสตะงอกงามเจริญ ควรฟังเสียงที่ไม่เคยฟัง เสียงที่ฟังแล้วควรผ่านไป. ควรให้ฆานะงอกงามเจริญ ควรดมกลิ่นที่ไม่เคยดม กลิ่นที่ดมแล้วควรผ่านไป. ควรให้ชิวหางอกงามเจริญ ควรลิ้มรสที่ไม่เคยลิ้ม รสที่ลิ้มแล้วควรผ่านไป. ควรให้กายงอกงามเจริญ ควรสัมผัสโผฏ มาคัณฑิยะบัญญัติความเจริญในทวาร ๖ ไว้ด้วยประการฉะนี้. แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติความสำรวมในทวาร ๖ ไว้ว่า๑- ความสำรวมจักษุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กาย วาจา ใจ เป็นความดี. ความสำรวมในทวารทั้งปวงเป็นความดี. ภิกษุสำรวมในทวารทั้งปวง ย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งปวง. ____________________________ ๑- ขุ. ธ. เล่ม ๒๕/ข้อ ๓๕ เพราะฉะนั้น มาคัณฑิยพราหมณ์สำคัญว่า พระสมณโคดมนั้นเป็นผู้กำจัด บทว่า อริเย ญาเย ธมฺเม กุสเล คือ ในเหตุในธรรมบริสุทธิ์ไม่มีโทษ. ด้วยบทนี้แสดงไว้อย่างไร. อันผู้จะกล่าววาจาแก่ผู้มียศมีความสูงส่ง เป็นที่รู้จักกันทั่วเห็นปานนี้ ควรพิจารณาไตร่ตรอง ไม่ควรพูดโดยไม่ระวังปาก. เพราะฉะนั้น พราหมณ์ภารทวาชโคตรจึงแสดงว่า ท่านอย่าพูดพร่ำ ท่านจงระวังปาก. บทว่า เอวํ หิ โน สุตฺเต โอจรติ เพราะว่า คำเช่นนี้ลงกันในสูตรของพวกเรา. ความว่า เพราะว่าคำเช่นนี้มาในสูตรของพวกเรา. พวกเราจะไม่พูดเพียงปรารถนาจะให้งอกงามทางปากเท่านั้น. อนึ่ง พวกเราเมื่อพูดคำอันมาแล้วในสูตรจะพึงพูดแก่ใคร. ฉะนั้น เราจะพูดต่อหน้าพระสมณ บทว่า อปฺโปสฺสุกฺโก เป็นผู้มีความขวนขวายน้อย. ความว่า ไม่ขวนขวาย คือไม่กังวลเพื่อจะรักษาเรา. บทว่า วุตฺโต จ นํ วเทยฺย เราได้ว่าไว้แล้วก็พึงกล่าวกะพระสมณโคดมนั้นเถิด. ความว่า ท่านภารทวาชะผู้เจริญ เราได้กล่าวไว้แล้ว แม้ไม่ถามก็ตั้งคำพูดได้ ถือเอามะม่วงและหว้าเป็นต้นแล้วยังไม่ครบ ก็พึง บทว่า อสฺโสสิโข ความว่า พระศาสดาทรงเจริญอาโลกกสิณได้ทรงเห็น บทว่า ปฏิสลฺลานา วุฏฺฐิโต พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกจากที่เร้น คือ เสด็จออกจากผลสมาบัติ. บทว่า สํวิคฺโค คือ ภารทวาชพราหมณ์ตกใจ หวั่นไหว ด้วยกำลังแห่งปีติ. นัยว่า ภารทวาช ลำดับนั้น ภารทวาชพราหมณ์บังเกิดปีติภายในขุมขนเก้าหมื่นได้ชูชัน. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า สํวิคฺโค โลมหฏฺฐชาโต ภารทวาชพราหมณ์ตกใจโลมชาติชูชัน. ลำดับนั้น มาคัณฑิยปริพาชกทั้งๆ ที่มีญาณแก่กล้าดุจเมล็ดพืชที่มีปากอ้าแล้ว ไม่สามารถนั่งสงบอยู่ได้เดินไปมา มาเฝ้าพระศาสดาอีก แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. เพื่อแสดงถึงมาคัณฑิยะนั้นจึงกล่าวบทมีอาทิว่า อถ โข มาคณฺฑิโย ครั้งนั้น มาคัณฑิยะ ดังนี้. ได้ยินว่า พระศาสดามิได้ตรัสอย่างนี้ว่า ดูก่อนมาคัณฑิยะ ท่านได้กล่าวกะเราแล้วดังนี้ ทรงปรารภพระธรรมเทศนาแก่ปริพาชกว่า จกฺขุ โข มาคณฺฑิย ดังนี้. ในบทนี้มีอธิบายดังต่อไปนี้ ชื่อว่า จกฺขุ รูปารามํ เพราะรูปเป็นที่มายินดีแห่งจักษุด้วยอรรถว่าเป็นที่อาศัย. ชื่อว่า รูปรตํ เพราะจักษุยินดีในรูป. ชื่อว่า รูปสมฺมุทิตํ เพราะจักษุอันรูปให้บันเทิงแล้ว. บทว่า ทนฺตํ ทรมานแล้ว คือให้หมดพยศแล้ว. บทว่า คุตฺตํ คือ คุ้มครองแล้ว. บทว่า รกฺขิตํ รักษาแล้ว คือตั้งการอารักขาไว้แล้ว. บทว่า สํวุตํ สำรวมแล้ว คือปิดแล้ว. บทว่า สํวราย เพื่อสำรวม คือเพื่อต้องการปิด. บทว่า ปริจาริตปุพฺโพ เคยได้รับบำเรอ คือเคยพูดจาปราศรัย. บทว่า รูปปริฬาหํ เดือดร้อนเพราะรูป คือความเดือดร้อนเกิดขึ้นเพราะปรารภรูป. บทว่า อิมสฺส ปน เต มาคณฺฑิย กิมสฺส วจนียํ ดูก่อนมาคัณฑิยะ ก็ท่านจะพึงว่าอะไรแก่ท่านผู้นี้เล่า คือท่านจะพึงกล่าวคำอะไรแก่พระขีณาสพนี้ผู้กำหนดรูปแล้ว บรรลุพระอรหัตเล่า. ถามว่า ควรจะกล่าวว่า พระสมณโคดมเป็นผู้กำจัดความเจริญ เป็นผู้สร้างมารยาทดังนี้ หรือไม่ควรกล่าว. บทว่า น กิญฺจิ โภ โคตม คือ ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ไม่ควรกล่าวคำไรๆ เลย. แม้ในทวารที่เหลือก็มีนัยนี้เหมือนกัน. บัดนี้ เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อทรงแสดงว่าไม่มีคำไรๆ ที่ท่านควรจะกล่าวแก่พระขีณาสพผู้กำหนดขันธ์ ๕ แล้วบรรลุพระอรหัต และเราก็กำหนดขันธ์ ๕ แล้วบรรลุพระสัพพัญญู. ฉะนั้น มาคัณฑิยะนั้นจะควรกล่าวอะไรกะเรา ดังนี้ จึงตรัสว่า อหํ โข ปน ดังนี้. บทว่า ตสฺส มยฺหํ มาคณฺฑิย ดูก่อนมาคัณฑิยะ ปราสาทของเรานั้น คือพระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงสมบัติของพระองค์เมื่อครั้งเป็นคฤหัสถ์จึงตรัส. พึงทราบความในบทมีอาทิว่า วสฺสิโก นั้นดังต่อไปนี้. ความสุขย่อมมีในที่อยู่ในฤดูฝนนี้ คือปราสาทที่อยู่ในฤดูฝน. แม้ในบทนอกนั้นก็มีนัยนี้เหมือนกัน. แต่ในบทนี้มีอธิบายคำดังต่อไปนี้. ชื่อว่า วสฺสิโก เพราะควรอยู่ตลอดฤดูฝน. แม้ในบทนอกนี้ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. ในบทนั้น ปราสาทเป็นที่อยู่ในฤดูฝน ไม่สูงเกินไป ไม่ต่ำเกินไป. แม้ประตูและหน้าต่างของปราสาทนั้น ก็ไม่น้อยเกินไป ไม่มากเกินไป เครื่องลาดพื้นของ ในปราสาทเป็นที่อยู่ในฤดูหนาว เสาก็ดี ฝาก็ดี อยู่ต่ำ. ประตูและ อนึ่ง ในปราสาทนี้ เครื่องลาดพื้น เครื่องปู เครื่องนุ่งห่มควรเป็นผ้ากัมพลเป็นต้นที่ช่วยให้อบอุ่นได้. ของ ในปราสาทอันเป็นที่อยู่ในฤดูร้อน เสาก็ดี ฝาก็ดี อยู่สูง. ประตูและหน้าต่างในปราสาทนี้มีมาก มีแสงสว่างไปทั่ว. เครื่องลาดพื้นเป็นต้นควรเป็นผ้าเนื้อดี. ของเคี้ยวของบริโภคมีรสหวานทำให้ได้รับความเย็น. อนึ่ง ในที่ใกล้หน้าต่างในปราสาทนี้ตั้งตุ่มน้ำไว้ ๙ ตุ่มเต็มด้วยน้ำปลูกบัวเขียวเป็นต้นไว้. ในที่นั้นทำน้ำพุไว้ สายน้ำจะพุ่งดุจเมื่อฝนตก. แต่ของพระโพธิสัตว์เขาปลูกกอบัวเขียวไว้ในหม้อทองคำ และหม้อเงินอย่างละ ๑๐๘ หม้อ เต็มไปด้วยน้ำหอม ตั้งล้อมห้องนอน. เขาใส่เปือกตมหอมให้เต็มในกระถางโลหะใหญ่ ปลูกบัวเขียว บัวแดง บัวขาวเป็นต้นตั้งไว้ในที่นั้นๆ เพื่อถือเอาอุตุ. ดอกไม้ทั้งหลายย่อมบานด้วยรัศมีของดวงอาทิตย์. หมู่ภมรนานาชนิดบินเข้าไปยังปราสาทเที่ยวสูดรสในดอกไม้ทั้งหลาย. ปราสาทมีกลิ่นหอมชวนดมยิ่งนัก. ในระหว่างฝาคู่ได้ตั้งทะนานโลหะแล้วตามไฟอ่อนๆ ไว้ที่สุดมณฑปแก้ว บนเนินอากาศเบื้องบนปราสาทเก้าชั้น. ลาดหนังกระบือแห้งไว้ในที่แห่งหนึ่ง. ในเวลาพระโพธิสัตว์เล่นน้ำเขาทอดลูกหินไปที่หนังกระบือ. เครื่องยนต์หมุนไปข้างล่าง ดุจเสียงเมฆคำราม. น้ำพุ่งขึ้นแล้วตกไปที่เปลวไฟ. เป็นดุจน้ำฝนตก. ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ทรงนุ่งผ้าเขียวห่มผ้าเขียวทรงประดับเครื่องประดับสีเขียว. แม้พวกบริวารของพระโพธิสัตว์มีนักฟ้อนรำสี่หมื่น ประดับด้วยสีเขียว แต่งตัวสีเขียวแวดล้อมพระมหาบุรุษไปสู่มณฑปแก้ว. พระโพธิสัตว์ทรงเล่นกีฬาในน้ำตลอดวัน เสวยความสุขในฤดูแห่งความเย็นฉ่ำ. ในทิศ ๔ ของปราสาทมีสระอยู่ ๔ สระ. ในตอนกลางวันฝูงนกนานาชนิด ออกจากสระด้านทิศตะวันออกร้องเสียงระงม บินไปสู่สระด้านทิศตะวันตกทางยอดของปราสาท. ออกจากสระด้านทิศตะวันตกบินไปสู่สระด้านทิศตะวันออก. ออกจากสระด้านทิศเหนือบินไปสู่สระด้านทิศใต้. ออกจากสระด้านทิศใต้บินไปสู่สระด้านทิศเหนือ เป็นดุจสมัยในระหว่างฤดูฝน. แต่ปราสาทเป็นที่อยู่ในฤดูหนาวมี ๕ ชั้น. ปราสาทเป็นที่อยู่ในฤดูฝนมี ๗ ชั้น. บทว่า นิปฺปุริเสหิ ไม่มีบุรุษ คือเว้นจากบุรุษ. อนึ่ง มิใช่ดนตรีเท่านั้นที่ไม่มีบุรุษเจือปน แม้ที่ทุกแห่งก็ไม่มีบุรุษเหมือนกัน. แม้คนเฝ้าประตูก็เป็นผู้หญิง. แม้ผู้ทำบริการมีอาบน้ำให้เป็นต้นก็เป็นผู้หญิง. นัยว่า พระราชาทรงตั้งพวกผู้หญิงไว้ในกิจทุกอย่างด้วยทรงพระดำริว่า เมื่อพระโพธิสัตว์เสวยอิสริยสมบัติและสุขสมบัติเห็นปานนั้น จะเกิดความข้องใจในบุรุษ เพราะเห็นบุรุษ. ความข้องใจนั้นอย่าได้มีแก่โอรสของเราเลย. บทว่า ตาย รติยา รมมาโน ยินดีด้วยความยินดีนั้น นี้ท่านกล่าวหมายถึงความยินดีผลสมาบัติอันประกอบด้วยฌานที่ ๔. พึงทราบความในบทนี้ว่า คหปติ วา คหปติปุตฺโต วา ดังต่อไปนี้. เพราะกษัตริย์ทั้งหลายย่อมมีความปรารถนาในเศวตฉัตรทั้งนั้น. ความ บทว่า อาวฏฺเฏยฺย พึงเวียนมา. ความว่า พึงเวียนมาเพราะเหตุแห่งกามอันเป็นของมนุษย์. บทว่า อภิกฺกนฺตตรา น่าใครยิ่งกว่า คือประเสริฐกว่า. บทว่า ปณีตตรา ประณีตกว่า คือไม่น้อยกว่า. สมดังที่ท่านกล่าวถึงข้อนี้ไว้ว่า๒- กามอันเป็นของมนุษย์ เมื่อเทียบกับสำนักของกาม อันเป็นทิพย์ ก็เหมือนกับเอาน้ำที่ปลายหญ้าคาสลัด ลงในสมุทร ฉะนั้น. ____________________________ ๒- ขุ ชา. เล่ม ๒๘/ข้อ ๓๒๗. บทว่า สมธิคฺคยฺห ติฏฺฐติ ถือเอาสุขอันเป็นทิพย์ตั้งอยู่ คือถือเอาสุขที่เป็นทิพย์ประเสริฐกว่านั้นตั้งอยู่. อนึ่ง พึงทราบข้อเปรียบเทียบในข้อนี้ดังต่อไปนี้. กาลแห่งความยินดีในท่ามกลางหญิง ๔ หมื่นในปราสาท ๓ หลังของพระ บทว่า สุขี มีความสุข คือได้รับทุกข์ก่อน ภายหลังพึงมีความสุข. บทว่า เสรี มีเสรีภาพ คือมีแพทย์เป็นเพื่อนก่อน ภายหลังพึงมีเสรีภาพ คือพึงเป็นคนเดียว. บทว่า สยํ วสี มีอำนาจในตนเอง คืออยู่ในอำนาจของแพทย์ก่อน เมื่อแพทย์บอกว่าจงนั่งก็นั่ง บอกว่าจงนอนก็นอน บอกว่าจงบริโภคก็บริโภค บอกว่าจงดื่มก็ดื่ม ภายหลังจึงมีอำนาจในตนเอง. บทว่า เยน กามงฺคโม จะไปไหนได้ตามความพอใจ คือไม่ได้ไปยังที่ตนต้องการจะไปก่อน ภายหลังเมื่อโรคหายดีแล้ว จึงไปไหนได้ตามความพอใจแม้ในการชมป่าชมถ้ำและชมภูเขาเป็นต้น พึงไปได้ในที่ที่ปรารถนาจะไป. ในบทนี้มีข้อเปรียบเทียบดังต่อไปนี้. กาลที่พระโพธิสัตว์ประทับอยู่ ณ ท่ามกลางปราสาท ดุจกาลที่บุรุษเป็น บทว่า อุปหตินฺทฺริโย มีอินทรีย์อันโรคกำจัดเสียแล้ว คือมีกายประสาทอันโรคเรื้อน บทว่า อุปหตินฺทฺริยา มีอินทรีย์อันโทษกำจัดแล้ว คือมีปัญญินทรีย์อันโทษ สัตว์ทั้งหลายเหล่านั้นเพราะปัญญินทรีย์ถูกกำจัด กลับได้ความสำคัญผิดในกามทั้งหลายอันมีสัมผัสเป็นทุกข์ว่าเป็นสุข เหมือนอย่างบุรุษโรคเรื้อนนั้นมีกายินทรีย์ถูกโรคกำจัด กลับได้ความสำคัญผิดในไฟอันมีสัมผัสเป็นทุกข์ว่าเป็นสุข ฉะนั้น. พึงทราบความในบทว่า อสุจิตรานิ เจว ไม่สะอาดยิ่งขึ้นเป็นต้นดังต่อไปนี้. ตามปกติปากแผลเหล่านั้นไม่สะอาด มีกลิ่นเหม็นและเน่า แต่บัดนี้ยิ่งไม่สะอาด ยิ่งมีกลิ่นเหม็นและยิ่งเน่าขึ้นอีก. บทว่า กาจิ คือ หนอนทั้งหลายย่อมเข้าไปภายในแผลที่รนไฟและที่เกา เลือดและหนองที่น่าเกลียดก็ไหลออก แผลอย่างนี้นั้นจะมีความน่าพอใจสักหน่อยหนึ่งจะกระไรอยู่. พึงทราบวินิจฉัยในคาถาว่า อาโรคฺยา ปรมา ลาภา๑- ความไม่มีโรคเป็นลาภอย่างยิ่งดังต่อไปนี้. การได้ทรัพย์ก็ดี การได้ยศก็ดี การได้บุตรก็ดี อย่างใดอย่างหนึ่ง ความไม่มีโรคเป็นลาภอันสูงสุดกว่าลาภเหล่านั้น. ลาภยิ่งกว่าความไม่มีโรคนั้นไม่มี เพราะเหตุนั้น ความไม่มีโรคจึงเป็นลาภอย่างยิ่ง. สุขเกิดแต่ฌานก็ดี สุขเกิดแต่มรรคก็ดี สุขเกิดแต่ผลก็ดี อย่างใดอย่างหนึ่งมีอยู่. บรรดาสุขเหล่านั้น นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง. สุขยิ่งกว่านิพพานนั้นไม่มี เพราะเหตุนั้น นิพพานจึงเป็นสุขอย่างยิ่ง. ____________________________ ๑- บาลีว่า อนิรคฺยปรมา วราภา ม. มัช. เล่ม ๑๓/ข้อ ๒๘๗. บทว่า อฏฺฐงฺคิโก จ มคฺคานํ บรรดาทางทั้งหลายอันให้ถึงอมตธรรมด้วยการไปอันเป็นส่วนเบื้องต้น สู่มรรคอันเป็นส่วนเบื้องต้นทั้งหลาย มรรคมีองค์ ๘ เป็นทางอันเกษม. ทางอื่นเกษมยิ่งกว่ามรรคมีองค์ ๘ นั้นไม่มี. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า เขมํ ก็ดี บทว่า อมตํ ก็ดีในบทว่า เขมํ อมตํ นี้ เป็นชื่อของนิพพานนั่นเอง. ในบทนี้มีความว่า สมณพราหมณ์ผู้กล่าวคัดค้านเป็นอันมาก ถือเอาด้วยลัทธิว่าทางอันเป็นทางเกษม และทางอันให้ถึงอมตธรรม มรรคมีองค์ ๘ เป็นทางอย่างยิ่งคือสูงสุดกว่ามรรคทั้งหลายอันเป็นทางเกษมและเป็นทางอมตะเหล่านั้นทั้งหมด. บทว่า อาจริยปาจริยานํ แห่งอาจารย์และปาจารย์ คือแห่งอาจารย์และแห่งอาจารย์ของอาจารย์ทั้งหลาย. บทว่า สเมติ ย่อมสมกัน คือเช่นเดียวกันไม่ต่างกัน ดุจตวงด้วยทะนานเดียวกัน ดุจชั่งด้วยตาชั่งเดียวกัน. บทว่า อโนมชฺชติ ลูบตัว คือมาคัณฑิยปริพาชก ลดฝ่ามือลงข้างล่างลูบตัว. บทว่า อิทนฺตํ โภ โคตม อาโรคฺยํ อทนฺตํ นิพฺพานํ ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ นี้คือความไม่มีโรคนี้คือความสุข คือมาคัณฑิยปริพาชกลูบศีรษะตามเวลา ลูบท้องตามเวลาจึงกล่าวอย่างนี้. บทว่า เฉกํ คือ ผ่องใส. บทว่า พาหุลิจีวเรน ผ้าเทียม คือผ้าเนื้อหยาบทำด้วยขนแกะดำ. อาจารย์ทั้งหลายกล่าวว่า สงฺการโจฬเกน บ้าง แปลว่าผ้าที่เขาทิ้งไว้ในหยากเยื่อ. บทว่า วาจํ นิจฺฉเรยฺย เปล่งวาจา. ความว่า เปล่งวาจาลูบคลำที่ชาย ที่ปลาย ที่ท่ามกลางตามเวลา. บทว่า ปุพฺพเกเหสา ตัดบทเป็น ปุพฺพเกหิ เอสา ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าวิปัสสีบ้าง ฯลฯ พระนามว่ากัสสปะบ้าง ประทับนั่งท่ามกลางบริษัท ๔ ได้ตรัสพระคาถานี้. คาถาอาศัยประโยชน์ เพราะเหตุนั้น มหาชนจึงได้เรียน. ครั้นเมื่อพระศาสดาเสด็จปรินิพพานแล้ว ภายหลังคาถาทั้งหลายจึงพากันเข้าไปสู่ระหว่างพวกปริพาชก. ปริพาชกเหล่านั้นจดไว้ในใบลานรักษาไว้ ๒ บทเท่านั้น. เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า คาถานั้น บัดนี้เป็นคาถาของปุถุชนตามลำดับ. ชื่อว่า โรคภูโต เพราะเป็นรังโรค. แม้ในบทที่เหลือก็มีนัยนี้เหมือนกัน. บทว่า อริยํ จกฺขุํ จักษุประเสริฐ คือวิปัสสนาญาณและมรรคญาณบริสุทธิ์. บทว่า ปโหติ เพียงพอ คือสามารถ. บทว่า เภสชฺชํ กเรยฺย พึงผสมยา คือพึงผสมยาถอนให้อาเจียน ยาถ่าย ยาหยอดตา ยาต้มเป็นต้น. บทว่า น จกฺขูนิ อุปฺปาเทยฺย มองไม่เห็น. ความว่า จักษุประสาทของผู้ใดถูกความอึดอัดมีดีและเสมหะเป็นต้นกำจัดแล้วในระหว่าง. ผู้นั้นอาศัยแพทย์ผู้ฉลาดรับประทานยาอันสบาย จึงมองเห็นได้. แต่นัยน์ตาของคนตาบอดแต่กำเนิด บอดตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา. เพราะฉะนั้น เขาจะเห็นไม่ได้เลย. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า น จกฺขูนิ อุปฺปาเทยฺย มองไม่เห็น ดังนี้. พึงทราบวินิจฉัยในวาระที่ ๒ ดังต่อไปนี้. บทว่า ชจฺจนฺโธ บอดแต่กำเนิด คือบอดด้วยความอึดอัดมีดีเป็นต้นตั้งแต่เวลาเกิด. เมื่อก่อนท่านกล่าวว่า อมุสฺมึ คือในครั้งโน้น. บทว่า อมิตฺตโต ทเหยฺย เขาพึงตั้งบุรุษนั้นไว้โดยความเป็นศัตรู คือพึงตั้งไว้โดยความเป็นศัตรูอย่างนี้ว่า บุรุษนี้เป็นศัตรูของเราดังนี้. แม้ในบทที่ ๒ ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. บทว่า อิมินา จิตฺเตน ด้วยจิตดวงนี้ คือด้วยจิตอันตามไปในวัฏฏะ. บทว่า ตสฺส เม อุปาทานปจฺจยา เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมีแก่เรา. คือท่าน บทว่า ธมฺมานุธมฺมํ ธรรมสมควรแก่ธรรม คือปฏิปทาอันสมควรแก่ธรรม. บทว่า อิเม โรคา คณฺฑา สลฺลา โรค ฝี ลูกศร คืออันนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้า บทที่เหลือในที่ทั้งปวงง่ายทั้งนั้นด้วยประการฉะนี้. จบอรรถกถามาคัณฑิยสูตรที่ ๕. ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ ปริพพาชกวรรค มาคัณฑิยสูตร จบ. |