ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 13 / 1อ่านอรรถกถา 13 / 367อรรถกถา เล่มที่ 13 ข้อ 389อ่านอรรถกถา 13 / 403อ่านอรรถกถา 13 / 734
อรรถกถา มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ ปริพพาชกวรรค
เวขณสสูตร เรื่องเวขณสปริพาชก

               ๑๐. อรรถกถาเวขณสสูตร               
               เวขณสสูตร มีบทเริ่มต้นว่า เอวมฺเม สุตํ ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้.
               ในบรรดาบทเหล่านั้นบทว่า เวขณโส ได้ยินว่า เวขณสปริพาชกนี้เป็นอาจารย์ของสกุลุทายีปริพาชก. เวขณสปริพาชกนั้นได้ยินว่า สกุลุทายีปริพาชกแพ้ปัญหามีวรรณอย่างยิ่งจึงคิดว่า สกุลุทายีนั้นเราให้เรียนเป็นอย่างดีแล้ว แม้สกุลุทายีก็เรียนได้ดี เขาแพ้ได้อย่างไรหนอ เอาละ เราจะไปเอง ทูลถามปัญหามีวรรณยิ่งกะพระสมณโคดมแล้วจักรู้ได้. จึงไปกรุงสาวัตถีประมาณ ๔๕ โยชน์จากกรุงราชคฤห์ แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ยืนเปล่งอุทานในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า.
               ในบทนั้น พึงทราบโดยนัยดังกล่าวแล้วเช่นกับสูตรก่อนนั่นแหละ.
               เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงเริ่มว่า ปญฺจ โข อิเม กามคุณ ๕ เหล่านี้.
               คนบางคนแม้ครองเรือนก็เป็นผู้หนักในกามน้อมไปในกาม. บางคนเป็นผู้หนักในเนกขัมมะน้อมไปในเนกขัมมะ.
               อนึ่ง บางคนเป็นบรรพชิต เป็นผู้หนักในกามน้อมไปในกาม. บางคนเป็นผู้หนักในเนกขัมมะ น้อมไปในเนกขัมมะ. บุคคลนี้ชื่อว่าเป็นผู้หนักในกาม บุคคลนั้นเมื่อเขากล่าวกถานี้จักกำหนดความที่ตนน้อมไปในกาม เทศนานี้จักเป็นที่สบายของบุคคลนั้น เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงเริ่มเทศนานี้.
               บทว่า กามคฺคสุขํ สุขอันเป็นที่สุดของกาม ท่านประสงค์เอานิพพาน.
               บทว่า ปาปิโต ภวิสฺสติ จักให้พระสมณโคดมได้รับความเสียหาย คือจักให้ถึงความไม่รู้.
               บทว่า ลามกํเยว สมฺปชฺชติ ถึงความเป็นธรรมต่ำช้า คือถึงความเป็นธรรมเพียงคำพูดอันไร้ประโยชน์นั่นเอง.
               บทว่า ติฏฺฐตุ ปุพฺพนฺโต ติฏฺฐตุ อปรนฺโต เงื่อนเบื้องต้นจงงดไว้เถิด เงื่อนเบื้องปลายจงงดไว้เถิด. เพราะบุพเพนิวาสญาณอันสมควรแก่กถาในอดีตของท่านไม่มี. ทิพจักขุญาณอันสมควรแก่กถาในอนาคตก็ไม่มี. ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า แม้ทั้งสองอย่างนั้นก็จงงดไว้เถิด.
               บทว่า สุตฺตพนฺธเนหิ คือ ด้วยเครื่องผูกทำด้วยด้าย คือเขาผูกด้ายไว้ที่มือเท้าและที่คอเพื่อดูแลทารกนั้น. เครื่องผูกนี้ท่านหมายถึงด้ายนั้น. แต่ครั้นเป็นผู้ใหญ่ เครื่องผูกเหล่านั้นเปื่อยจะหลุดไปเอง หรือตัดออกไป.
               พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงบทนี้ด้วยบทว่า เอวเมว โข ดังนี้.
               การไม่รู้ที่สุดเบื้องต้นแห่งอวิชชา ดุจกาลที่เด็กอ่อนไม่รู้เครื่องผูกทำด้วยด้ายฉะนั้น เพราะไม่สามารถรู้ที่สุดแห่งอวิชชาได้. แต่การรู้ว่า ความพ้นแห่งเครื่องผูกคืออวิชชาด้วยอรหัตมรรค เช่นกับการรู้ในเวลาพ้น.
               บทที่เหลือในที่ทั้งปวง ง่ายทั้งนั้นด้วยประการฉะนี้.

               จบอรรถกถาเวขณสสูตรที่ ๑๐               
               จบปริพาชกวรรคที่ ๓               
               -----------------------------------------------------               

               รวมพระสูตรในวรรคนี้มี ๑๐ สูตร คือ
                         ๑. จูฬวัจฉโคตตสูตร
                         ๒. อัคคิวัจฉโคตตสูตร
                         ๓. มหาวัจฉโคตตสูตร
                         ๔. ทีฆนขสูตร
                         ๕. มาคัณฑิยสูตร
                         ๖. สันทกสูตร
                         ๗. มหาสกุลุทายิสูตร
                         ๘. สมณมุณฑิกสูตร
                         ๙. จูฬสกุลุทายิสูตร
                         ๑๐. เวขณสสูตร
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ ปริพพาชกวรรค เวขณสสูตร เรื่องเวขณสปริพาชก จบ.
อ่านอรรถกถา 13 / 1อ่านอรรถกถา 13 / 367อรรถกถา เล่มที่ 13 ข้อ 389อ่านอรรถกถา 13 / 403อ่านอรรถกถา 13 / 734
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=13&A=6464&Z=6595
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=9&A=5077
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=9&A=5077
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๑๗  กันยายน  พ.ศ.  ๒๕๔๙
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :