บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
ในเสลสูตรนั้น คำว่า ในอังคุตราปชนบท เป็นต้น ท่านกล่าวให้พิสดารแล้วในโปตลิยสูตรเทียว. บทว่า อฑฺฒเตรเสหิ ได้แก่ ๑๓ ทั้งกึ่ง. ท่านกล่าวอธิบายว่า กับด้วยภิกษุ ๑,๒๕๐ รูป. ก็ภิกษุทั้งหลายที่ประชุมกันในสาวกสันนิบาตเหล่านั้น ล้วนเป็นพระขีณาสพ บรรพชาด้วยเอหิภิกขุบรรพชาทั้งนั้น. คำว่า เกณิโย เป็นชื่อของชฎิลนั้น. คำว่า ชฏิโล ได้แก่ ดาบส. ได้ยินมาว่า ดาบสนั้นเป็นพราหมณ์มหาศาล แต่ถือบวชเป็นดาบส เพื่อต้องการรักษาทรัพย์ ถวายบรรณาการแด่พระราชา ถือเอาภูมิภาคแห่งหนึ่ง สร้างอาศรมอยู่ในภูมิภาคนั้น ประกอบการค้าขายด้วยเกวียน ๕๐๐ เล่ม เป็นที่อาศัยของตระกูลถึง ๑,๐๐๐ ตระกูล. อนึ่ง พระโบราณจารย์กล่าวว่า ที่อาศรมของดาบสนั้น มีต้นตาลต้นหนึ่ง ผลตาลสำเร็จด้วยทองหล่นมาวันละผลหนึ่ง. ดาบสนั้นกลางวันทรงผ้ากาสายะและสวมชฏา กลางคืนเสวยกามสมบัติ. คำว่า ธมฺมิยา กถาย ได้แก่ ด้วยธรรมีกถาที่ประกอบด้วยอานิสงส์แห่งน้ำปานะ. ก็เกณิยะนี้ ละอายที่มีมือเปล่าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า คิดว่า น้ำสำหรับดื่ม ย่อมควรแม้แก่ผู้เว้นวิกาลโภชน์ จึงให้หาบน้ำปานะผลพุทราที่ปรุงเป็นอย่างดีมาถึง ๕๐๐ หาบ. ก็เรื่องที่ชฎิลนั้นไปแล้วอย่างนี้ พระสังคีติกาจารย์ยกขึ้นสู่พระบาลีในเภสัชชักขันธกะว่า๑- ครั้งนั้นแล เกณิยชฎิลได้มีความคิดดังนี้ว่า เราควรนำไปเพื่อพระสมณโคดมหรือไม่หนอ ดังนี้. ____________________________ ๑- วิ. มหา. เล่ม ๕/ข้อ ๘๖ คำว่า ทุติยํปิ โข ภควา ถามว่า ทรงปฏิเสธบ่อยๆ เพราะเหตุไร. ตอบว่า เพราะพวกเดียรถีย์มีความเลื่อมใสในการปฏิเสธ. ข้อนั้นมิใช่เหตุ ความโกหกเห็นปานนี้ย่อมไม่มีแก่พระพุทธเจ้าทั้งหลายเพราะปัจจัยเป็นเหตุ. แต่ดาบสนี้เห็นภิกษุ ๑,๒๕๐ รูป จัดแจงภิกษาเพื่อภิกษุมีประมาณเท่านี้ทีเดียว. วันรุ่งขึ้น เสลพราหมณ์จักออกบวชกับบุรุษ ๓๐๐. ก็เราจะส่งภิกษุนวกะไปทางอื่น แล้วไปกับภิกษุเหล่านี้เท่านั้น หรือว่าส่งภิกษุเหล่านี้ไปทางอื่น แล้วไปกับภิกษุนวกะทั้งหลายไม่ควร. แม้หากว่าเราจะพาภิกษุไปทั้งหมด ภิกษาหารก็จะไม่พอ. แต่นั้น เมื่อภิกษุทั้งหลายเที่ยวไปเพื่อบิณฑบาต คนทั้งหลายจักติเตียนว่านานนัก เกณิยะนิมนต์พระสมณโคดม แต่ไม่อาจเพื่อจะถวายอาหารพอยังอัตตภาพให้เป็นไปได้. เกณิยะเองจักมีความเดือนร้อน. แต่เมื่อทรงกระทำการปฏิเสธเสียแล้ว เกณิยะก็จะคิดว่า พระสมณโคดมจะถือเอาชื่อของพราหมณ์ทั้งหลายบ่อยๆ ว่าก็ตัวท่านเลื่อมใสยิ่งในพวกพราหมณ์แล้ว จักต้องการเชื้อเชิญแม้พวกพราหมณ์ด้วย แต่นั้นพราหมณ์ก็จักเชื้อเชิญต่างหาก. ภิกษุเหล่านั้นอันพราหมณ์นั้นนิมนต์แล้ว ก็จักฉัน ด้วยอาการอย่างนี้จักเป็นอันรักษาศรัทธาของพราหมณ์นั้นไว้ ฉะนั้น จึงทรงปฏิเสธบ่อยๆ. ด้วยคำว่า กิญฺจาปิ โภ นี้ย่อมแสดงถึงข้อนี้ว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ อะไรเกิดขึ้น ถ้าหากว่า ข้าพระองค์เลื่อมใสยิ่งแล้วในพราหมณ์ทั้งหลาย พระโคดมผู้เจริญ ขอจงทรงรับนิมนต์ ข้าพระองค์อาจถวายทั้งแก่พราหมณ์ ทั้งแก่พระองค์. บทว่า กายเวยฺยาวตฺติกํ ได้แก่ การขวนขวายด้วยกาย. บทว่า โรงกลม ได้แก่ มณฑปที่ดาษด้วยผ้า. การรับหญิงสาวมา ชื่อว่าอาวาหะ. การส่งหญิงสาวไป ชื่อว่าวิวาหะ. คำว่า โส เม นิมนฺติโต ความว่า พระสมณโคดมนั้น เรานิมนต์แล้ว. ครั้งนั้น พราหมณ์พอได้ฟังเสียงว่า พุทธะ เป็นผู้ดุจรดแล้วด้วยน้ำอมฤต เพราะเป็นผู้มีอุปนิสัยแก่กล้าแล้ว. เมื่อจะกระทำให้แจ้งซึ่งความเลื่อมใส จึงกล่าวว่า ท่านเกณิยะ ท่านกล่าวว่าพุทโธหรือ. เกณิยะ เมื่อจะบอกตามความจริงจึงกล่าวว่า ข้าแต่ท่านเสละ ข้าพเจ้ากล่าวว่าพุทโธ. แต่นั้นเสลพราหมณ์จึงถามเกณิยพราหมณ์นั้นอีก เพื่อให้แน่ใจ. แม้เกณิยะนี้ก็กล่าวอย่างนั้นนั่นเทียว. ครั้งนั้น เมื่อพราหมณ์เห็นว่า เสียงว่าพุทโธ อันบุคคลพึงได้โดยยาก แม้ด้วยพันแห่งกัปป์ จึงได้มีความคิดอย่างนั้น คือได้มีความคิดอย่างนี้ว่า แม้เสียงนั้นแลเป็นต้น. บทว่า นีลวนราชี ได้แก่ แถวต้นไม้มีสีเขียว. คำว่า ปเท ปทํ คือ เท้าที่ย่างไปตามธรรมดา ก็เมื่อย่างเท้าชิดเกินไปหรือห่างเกินไป เสียงจะดังขึ้น เมื่อจะห้ามมิให้มีเสียงดังนั้น จึงกล่าวอย่างนั้น. คำว่า สีโหว เอกจโร ความว่า สีหะมีปกติอยู่เป็นหมู่ ย่อมถึงความประมาทด้วยลูกสีหะเล็กเป็นต้น. ผู้เดียวเที่ยวไป ก็เป็นผู้ไม่ประมาท. เมื่อจะแสดงการอยู่ด้วยความไม่ประมาท จึงทำการเปรียบเทียบด้วยสีหะที่เที่ยวไปแต่ตัวเดียวด้วยประการฉะนี้. เมื่อจะให้ศึกษาอาจาระจึงกล่าวว่า มา เม โภนฺโต. ในคำนี้มีอธิบายดังต่อไปนี้ ถ้าท่านไม่ได้วาระที่จะพูด สอดคำเข้าไปในระหว่างคำของเรา ความครหาก็จักเกิดขึ้นแก่เราว่า ไม่อาจให้อันเตวาสิกศึกษาได้ดังนี้ เพราะฉะนั้น เห็นโอกาสแล้วจึงค่อยพูดเถิด. คำว่า โน จ โข นํ ชานามิ ความว่า แม้พระโพธิสัตว์พระนามว่า วิปัสสี มีบรรพชิตเถระถึง ๘๔,๐๐๐ เป็นบริวาร ทรงประพฤติตอนเป็นพระโพธิสัตว์ถึง ๗ เดือน ได้เป็นเหมือนพุทธุปบาทกาล. แม้พระโพธิสัตว์ของพวกเราทรงประพฤติตอนเป็นพระโพธิสัตว์อยู่ถึง ๖ ปี. แม้ผู้ที่ประกอบพร้อมแล้วด้วยลักษณะแห่งสรีระอันสมบูรณ์อย่างนี้ ก็ยังไม่เป็นพระพุทธเจ้า เพราะฉะนั้น พราหมณ์จึงกล่าวว่า เราไม่รู้พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ดังนี้. บทว่า ปริปุณฺณกาโย ความว่า เป็นผู้มีสรีระบริบูรณ์โดยความบริบูรณ์ด้วยลักษณะทั้งหลาย และโดยมีอวัยวะไม่ทราม. บทว่า สุรุจิ ความว่า มีรัศมีแห่งสรีระอันงดงาม. บทว่า สุชาโต ได้แก่ เกิดดีแล้ว ด้วยความถึงพร้อมด้วยส่วนสูง ส่วนกว้าง และถึงพร้อมด้วยทรวดทรง. บทว่า จารุทสฺสโน ได้แก่ ต่อให้ดูนานๆ ก็ยังชวนใจให้ดูไม่รู้จักอิ่ม. บทว่า มีผิวดุจทอง คือ มีผิวคล้ายทอง. บทว่า สุสุกฺกทาโฐ ได้แก่ มีพระเขี้ยวขาวสนิท. บทว่า มหาปุริสลกฺขโณ ความว่า เมื่อจะกล่าวย้ำพยัญชนะที่รู้แล้วทีแรกด้วยคำอื่น จึงกล่าวอย่างนั้น. บัดนี้ เสลพราหมณ์เมื่อถือเอาลักษณะที่ชอบใจของตนในบรรดาลักษณะเหล่านั้น แล้วชมเชย จึงกล่าวคำมีอาทิว่า มีพระเนตรผ่องใส เป็นต้น. จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่ามีพระทัยผ่องใส เพราะทรงสมบูรณ์ด้วยประสาท ๕ อย่าง ชื่อว่ามีพระพักตร์งาม เพราะมีพระพักตร์คล้ายพระจันทร์เต็มดวง (จันทร์เพ็ญ). ชื่อว่าเป็นผู้สง่างาม เพราะสมบูรณ์ด้วยทรวดทรงไม่สูงนัก ไม่ต่ำนัก ไม่ผอม ไม่อ้วน. ชื่อว่ามีพระกายตรง เพราะมีพระองค์ตรงเหมือน แม้ในคาถาหลัง ก็นัยนี้เหมือนกัน. บทว่า อุตฺตมวณฺณิโน ได้แก่ ทรงสมบูรณ์ด้วยวรรณอันอุดม. บทว่า รเถสโภ ได้แก่ ทรงเป็นสารถีผู้สูงสุด. บทว่า ชมฺพูสณฺฑสฺส ได้แก่ แห่งชมพูทวีป. เมื่อจะชมเชยความเป็นอิสระ โดยอาการที่ปรากฏจึงกล่าวแล้ว. ก็พระเจ้าจักรพรรดิทรงเป็นอิสระแห่งทวีปทั้งสี่. บทว่า ขตฺติยา คือเป็นพระชาติกษัตริย์. บทว่า โภคา คือเป็นผู้มีโภคะ. บทว่า ราชาโน ได้แก่ พระราชาพระองค์ใดพระองค์หนึ่งทรงครองราชย์. บทว่า ราชาภิราชา ได้แก่ เป็นผู้อันพระราชาทั้งหลายทรงบูชา. อธิบายว่า เป็นพระราชาผู้ยิ่งใหญ่คือพระเจ้าจักรพรรดิ. บทว่า มนุชินฺโท คือ เป็นผู้ใหญ่ยิ่งในหมู่มนุษย์ ผู้มีอิสระอย่างยิ่ง. เมื่อเสลพราหมณ์กล่าวอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระดำริว่า พระอรหันตสัมมาสัม ในพระดำรัสนั้นมีคำอธิบายดังต่อไปนี้ ดูก่อนเสล ท่านอ้อนวอนกล่าวกะเราว่า พระองค์ควรจะเป็นพระราชา ดังนี้. ขอท่านจงมีความขวนขวายน้อยในข้อนี้เถิด เราเป็นพระราชา แลเมื่อเป็นพระราชา อุปมาว่าพระราชาอื่นทรงปกครองร้อยโยชน์บ้าง พันโยชน์บ้าง. แม้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิก็ทรงปกครองเพียงแผ่นดินมี บทว่า จักรที่ปฏิวัติไม่ได้ ความว่า ล้อที่สมณะ ฯลฯ หรือใครๆ ในโลกหมุนกลับไม่ได้. เสลพราหมณ์เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเปิดเผยพระองค์ด้วยประการดังนี้ จึงเกิดความปีติโสมนัส เพื่อจะกระทำให้มั่นคงอีกจึงกล่าว ๒ คาถาว่า ท่านยืนยันว่า เป็นสัมพุทธะ ดังนี้เป็นต้น. ในบทเหล่านั้น ด้วยคำว่า ใครหนอเป็นเสนาบดี เสลพราหมณ์ทูลถามว่า เมื่อพระองค์เป็นพระธรรมราชาหมุนล้อธรรมแล้ว ใครเป็นเสนาบดีหมุนตามล้อ. ก็โดยสมัยนั้น ท่านพระสารีบุตรนั่งอยู่ ทางเบื้องขวาของพระผู้มีพระภาคเจ้า งามด้วยศิริดุจแท่งทอง. พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงชี้พระสารีบุตรนั้น จึงตรัสคาถาว่า มยา ปวตฺติตํ เป็นต้น. ในคำเหล่านั้น คำว่า อนุชาโต ตถาคตํ ความว่า ผู้เกิดเพราะพระตถาคตเจ้าเป็นเหตุ หมายความว่า ผู้เกิดตามเพราะเหตุพระตถาคตเจ้า. อีกอย่างหนึ่ง บุตร ๓ จำพวก คืออนุชาตบุตร อวชาตบุตร อติชาตบุตร. ในบุตรเหล่านั้น อวชาตบุตรเป็นผู้ทุศีล เขาไม่ชื่อว่าเป็นบุตรของพระตถาคตเจ้า. ผู้ที่ยิ่งกว่าบิดาชื่อว่า อติชาตบุตร. บุตรแม้นั้นของพระตถาคตเจ้าไม่มี. แต่พระตถาคตเจ้ามีอนุชาตบุตรจำพวกเดียวเท่านั้น. เมื่อทรงชี้บุตรนั้น จึงตรัสอย่างนั้น. ครั้นพยาการณ์ปัญหาว่า ใครหนอเป็นเสนาบดี อย่างนี้แล้ว ซึ่งเสลพราหมณ์กล่าวว่า พระองค์ทรงยืนยันว่าเป็นสันพุทธะ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประสงค์จะกระทำพราหมณ์นั้นให้สิ้นสงสัย ในเพราะเหตุนั้น จึงตรัสคาถาว่า อภิญฺเญยฺยํ เป็นต้น เพื่อแสดงให้พราหมณ์ทราบว่า เรามิได้ปฏิญาณด้วยอาการเพียงรับรู้เท่านั้น แต่ว่า เราเป็นพระพุทธเจ้า เพราะเหตุนี้. ในคาถานั้น คำว่า อภิญฺเญยฺยํ เป็นต้น ได้แก่ วิชชา วิมุตติ มรรคสัจที่ควรเจริญและสมุทัยสัจที่ควรละ. อนึ่ง แม้นิโรธสัจจ์และทุกขสัจจ์ อันเป็นผลแห่งสัจจะเหล่านั้น ย่อมเป็นอันตรัสแล้วทีเดียว เพราะผลสำเร็จด้วยการกล่าวถึงเหตุ. คำนี้ว่า เราได้ทำให้แจ้งสิ่งที่พึงทำให้แจ้ง ได้กำหนดรู้สิ่งที่พึงกำหนดรู้แล้วอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรวมมาไว้ในที่นี้นั่นแหละ. เมื่อทรงแสดงจตุสัจจภาวนา สัจจภาวนา ผลและวิมุตติ ทรงยังพุทธภาวะให้สำเร็จ โดยเหตุอันสมควรว่า เราได้รู้ธรรมที่พึงรู้ เป็นพระพุทธเจ้าแล้วดังนี้. พระมีพระภาคเจ้า ครั้นเปิดเผยพระองค์อย่างสิ้นเชิงอย่างนี้แล้ว เมื่อจะยังพราหมณ์ให้หยั่งลงยิ่ง เพื่อข้ามความสงสัยในพระองค์ จึงตรัสสองคาถาว่า วินยสฺสุ เป็นต้น. ในบทเหล่านั้น บทว่า สลฺลกตฺโต ได้แก่ ผู้ถอนลูกศรคือราคะเป็นต้นได้แล้ว. บทว่า อนุตฺตโร ความว่า โรคที่หมอภายนอกรักษาให้หายแล้ว ยังกำเริบได้ในอัตตภาพนี้ได้ฉันใด แต่โรคที่เรารักษาให้หายแล้วไม่ใช่ฉันนั้น ย่อมไม่เกิดขึ้นในภพอื่นอีก. เพราะฉะนั้น เราจึงเป็นผู้ไม่มีใครอื่นยิ่งกว่า. บทว่า พฺรหฺมภูโต ได้แก่ เป็นผู้ประเสริฐที่สุด. บทว่า เปรียบไม่ได้ คือ ล่วงการเปรียบเทียบ. หมายความว่า เปรียบเทียบไม่ได้. บทว่า มารเสนปฺปมทฺทโน ความว่า ทรงย่ำยีมารและเสนามาร ซึ่งมาแล้วอย่างนี้ว่า กามทั้งหลายเป็นเสนาที่ ๑ ของท่าน. บทว่า สพฺพามิตฺเต ได้แก่ ข้าศึกทั้งปวงกล่าวคือขันธมาร กิเลสมาร อภิสังขารมาร มัจจุมารและเทวปุตตมาร. คำว่า วสีกตฺวา ความว่า ให้เป็นไปในอำนาจของตนแล้ว. บทว่า อกุโตภโย ความว่า ผู้ไม่มีภัยแต่ที่ไหนๆ. เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสด้วยประการดังนี้แล้ว เสลพราหมณ์เกิดความเลื่อมใสในพระผู้มีพระภาคเจ้า ในทันทีนั้นเป็นผู้มุ่งต่อบรรพชา จึงกล่าวสองคาถาว่า อิมํ โภนฺโต ดังนี้เป็นต้น. ในคาถานั้นคำว่า กณฺหาภิชาติโก ได้แก่ ผู้เกิดในตระกูลต่ำมีจัณฑาลเป็นต้น. แต่นั้นแม้มาณพเหล่านั้น ก็เป็นผู้หวังบรรพชา จึงกล่าวคาถาว่า ถ้าชอบใจท่านผู้เจริญอย่างนี้เป็นต้น. ครั้งนั้น เสลพราหมณ์มีจิตยินดีในมาณพเหล่านั้น และชี้ให้มาณพเหล่านั้น ทูลขอบรรพชา จึงกล่าวคาถาว่า พฺราหฺมณา ดังนี้เป็นต้น. ต่อแต่นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงยังมาณพเหล่านั้นทั้งหมดให้บรรพชาเป็น เพราะเสลพราหมณ์เคยเป็นหัวหน้าของคณะบุรุษ ๓๐๐ คนเหล่านั้นทั้งหมดร่วมกันสร้างบริเวณกับคนเหล่านั้น กระทำบุญมีทานเป็นต้น ในศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ ในอดีตชาติ ได้เสวยเทวสมบัติและมนุษย์สมบัติตามลำดับอยู่ ครั้นภพสุดท้ายจึงมาบังเกิดเป็นอาจารย์ของมาณพเหล่านั้นอีก และกรรมของคนเหล่านั้น แก่รอบแล้ว เพื่อบ่มวิมุตติและเป็นอุปนิสสัยแห่งความเป็นเอหิภิกขุนั้น. ในพระคาถานั้น บทว่า สนฺทิฏฐิกํ ได้แก่ อันบุคคลพึงเห็นโดยประจักษ์ด้วยตนเอง. บทว่า อกาลิกํ ความว่า ได้แก่ ผลที่จะพึงบรรลุแห่งผลที่เกิดขึ้นในระหว่างแห่งมรรคไม่ใช่ในกาลถัดไป. บทว่า ยตฺถ อโมฆา ความว่า เมื่อไม่ประมาทอยู่ในมรรคพรหมจรรย์ใด ศึกษาอยู่ด้วยการบำเพ็ญสิกขาสามให้บริบูรณ์ การบรรพชาก็ไม่เปล่าประโยชน์ หมายความว่า มีผลดังนี้. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสอย่างนี้แล้ว จึงตรัสว่า ท่านทั้งหลายจงเป็นภิกษุมาเถิด ดังนี้. ภิกษุเหล่านั้นทั้งหมด เป็นผู้ทรงบาตรและจีวร เหาะมาทางอากาศถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแนะนำดีแล้ว ดุจพระเถระผู้มีพรรษา ๑๐๐. ท่านเป็นกล่าวว่า อลตฺถ โข เสโล ดังนี้เป็นต้น หมายถึงความที่ภิกษุเหล่านั้น เอหิภิกขุนี้ ด้วยประการฉะนี้. บทว่า อิมาหิ ได้แก่ ด้วยคาถาอันเหมาะแก่จิตของเกณิยปริพาชกเหล่านี้. ท่านกล่าวคำว่า อคฺคิหุตฺตํมุขา ยญฺญา ในคาถานั้น เพราะพราหมณ์ทั้งหลายไม่มีการบูชายัญนอกจากการบำเรอไฟ. หมายความว่า มีการบูชาไฟเป็นสิ่งประเสริฐ มีการบูชาไฟเป็นประธาน. ท่านกล่าว สาวิตรีฉันท์เป็นประมุขของฉันท์ เพราะเมื่อสาธยายพระเวท ก็ต้องร่ายบทนี้ก่อน. พระราชา ท่านกล่าวว่าเป็นประธาน เพราะเป็นผู้ประเสริฐกว่ามนุษย์ทั้งหลาย. สาคร ท่านก็กล่าวว่าเป็นประธาน เพราะเป็นที่ทรงไว้ซึ่งแม่น้ำทั้งหลายและเป็นที่พึ่งอาศัยแห่งสัตว์ ท่านกล่าวว่า พระจันทร์เป็นประธานแห่งนักษัตรทั้งหลาย เพราะกระทำแสงสว่าง และมีความเยือกเย็น เพราะให้รู้ได้ว่า วันนี้เป็นกฤติกาฤกษ์ วันนี้เป็นโรหิณีนักษัตร เพราะประกอบด้วยพระจันทร์. ท่านกล่าวพระอาทิตย์ว่า มีความร้อนเป็นประมุข เพราะเป็นเลิศของสิ่งที่ร้อนทั้งหลาย. อนึ่ง ท่านกล่าวว่า พระสงฆ์แลเป็นประมุขของผู้หวังบุญบูชาอยู่โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หมายถึงพระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขในสมัยนั้น เพราะเป็นผู้เลิศแห่งทักขิไณยบุคคลทั้งหลาย. เพราะเหตุนั้น ท่านแสดงว่า พระสงฆ์เป็นทางเจริญแห่งบุญ ดังนี้. ท่านกล่าวคาถาพยากรณ์อื่นๆ ว่า ที่พึ่งนั้นใด. ความของคาถานั้นดังต่อไปนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้มีจักษุด้วยจักษุ ๕ เพราะเราทั้งหลายได้มาถึงสรณะนั้นๆ ในวันที่ ๘ แต่วันนี้ ฉะนั้น จึงฝึกตนแล้ว ด้วยการฝึกที่ไม่มีการฝึกอื่นยิ่งกว่าในศาสนาของพระองค์ น่าอัศจรรย์นัก อานุภาพแห่งสรณะของพระองค์. ต่อแต่นั้น ได้ชมเชยพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยคาถาอีก ๒ คาถา เมื่อขอไหว้เป็นครั้งที่สามจึงกล่าวว่า ภิกษุ ๓๐๐ รูปเหล่านั้นเป็นต้นแล. จบอรรถกถาเสลสูตรที่ ๒ ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ พราหมณวรรค เสลสูตร ทรงโปรดเสลพราหมณ์ จบ. |