บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
ในจังกีสูตรนั้น คำว่า เทววเน สาลวเน ความว่า ได้ยินว่า ประชาชนกระทำพลีกรรมแก่เทวดาในป่าสาละนั้น เพราะเหตุนั้น ป่าสาละนั้นจึงเรียกว่า เทพวันบ้าง สาล คำว่า ปกครองหมู่บ้านชื่อว่าโอปาสาทะ ความว่า จังกีพราหมณ์ครอบครองอยู่ในหมู่ ก็ในคำว่า โอปาสาทํ อชฺฌาวสติ นี้พึงทราบว่า ทุติยาวิภัติลงในความหมายเป็นสัตตมีวิภัติ เนื่องด้วยอุปสรรค. ในบทที่เหลือในพระสูตรนั้น ควรขวนขวาย บทว่า สตฺตุสฺสทํ หนาแน่นด้วยมนุษย์และสัตว์. ความว่า หนาแน่น คือ อนึ่ง สมบูรณ์ด้วยไม้ฟืนและไม้เครื่องเรือน และเพราะเหตุที่ภายในบ้านนั้นมีสระโบกขรณีมากมายมีทั้งสัณฐานกลมและสี่เหลี่ยมเป็นต้น และภายนอก (บ้าน) มีบึงมิใช่น้อยวิจิตรงดงามด้วยดอก ชื่อว่ามีธัญญาหาร เพราะเป็นไปกับด้วยธัญญาหาร. อธิบายว่า สะสมธัญญา หากจะถามว่า ใครประทาน. ตอบว่า พระเจ้าปเสนทิโกศลประทาน. บทว่า ราชทายํ รางวัลของหลวง แปลว่า เป็นรางวัลของพระราชา. อธิบายว่า เป็นทรัพย์มรดก. บทว่า พฺรหฺมเทยฺยํ ให้เป็นพรหมไทย คือเป็นทรัพย์ที่พึงประทานให้อย่างประเสริฐ. อธิบายว่า พราหมณ์ให้ยกเศวตฉัตรขึ้นแล้ว ใช้สอยอย่างพระราชา. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ราชโภคฺคํ ราชทรัพย์ ความว่า พราหมณ์สั่งการตัดและการแบ่งทุกอย่าง เก็บส่วยที่ท่าน้ำและภูเขา ให้ยกเศวตฉัตรขึ้นเป็นพระราชาใช้สอย. ในคำว่า ราชทรัพย์ที่พระเจ้าปเสนทิโกศลพระราชทานแล้ว นี้ ในพระสูตรนั้น ชื่อว่ารางวัลของหลวง เพราะพระราชา บทว่า พฺรหฺมเทยฺยํ พรหมไทย แปลว่าให้เป็นทรัพย์ที่พระราชทานอย่างประเสริฐ. อธิบายว่า พระราชทานแล้วโดยประการที่พระราชทานแล้ว ไม่เป็นอันจะต้องเรียกคืนเป็นอันสละแล้ว บริจาคแล้ว. ชื่อว่าเป็นหมู่ เพราะคนเป็นจำนวนมากๆ มารวมกัน. ไม่เหมือนให้เฉพาะทิศใดทิศหนึ่ง. หมู่มีอยู่แก่พราหมณ์เหล่านั้น เพราะเหตุนั้น ชื่อว่าเป็นหมู่. ชื่อว่าเป็นคณะ เพราะในกาลก่อนไม่เป็นคณะ (ตอน คำว่า เรียกนักการมา ความว่า มหาอำมาตย์ผู้สามารถพยากรณ์ปัญหาที่ถามแล้วได้เรียกว่านักการ เรียกนักการนั้นมาแล้ว. บทว่า จงรอก่อน ความว่า จงยับยั้งอยู่สักครู่. อธิบายว่า จงคอยก่อน. คำว่า ผู้เป็นชาวประเทศต่างๆ ความว่า ชื่อว่าชาวประเทศต่างๆ เพราะพวกเขาเกิดหรืออยู่ในประเทศต่างๆ คือรัฐอื่นมีแคว้นกาสีและโกศลเป็นต้น หรือมาจากประเทศต่างๆ นั้น. ผู้เป็นชาวประเทศต่างๆ เหล่านั้น. บทว่า อย่างใดอย่างหนึ่ง ความว่า ด้วยกิจบางอย่างมีการบูชายัญเป็นต้นซึ่งไม่กำหนดแน่นอน. พราหมณ์เหล่านั้นได้ยินว่าท่านจังกีพราหมณ์จะไป จึงพากันคิดว่า ท่านจังกีพราหมณ์นี้เป็นพราหมณ์ชั้นสูง ก็โดยมากพราหมณ์ทั้งหลายพวกอื่นถึงพระสมณโคดมเป็นที่พึ่ง จังกี ท่านหมายเอาอาการนั้น จึงกล่าวคำมีอาทิว่า ครั้งนั้นแล พราหมณ์เหล่านั้น ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า แต่ข้างทั้งสอง ได้แก่ แต่ทั้งสองข้าง คือข้างฝ่ายมารดาและบิดา. อธิบายว่า มารดาเป็นนางพราหมณี ยายเป็นพราหมณี แม้มารดาของยายก็เป็นนางพราหมณี บิดาเป็นพราหมณ์ ปู่เป็นพราหมณ์ แม้บิดาของปู่ก็เป็นพราหมณ์ (จังกีพราหมณ์) ผู้เจริญเกิดดีแล้วจากทั้งสองฝ่าย คือข้างฝ่ายมารดาและข้างฝ่ายบิดาอย่างนี้ ด้วยประการดังนี้. บทว่า ผู้มีครรภ์เป็นที่ถือปฏิสนธิบริสุทธิ์ดี ความว่า ครรภ์เป็นที่ถือปฏิสนธิทาง ในคำว่า จนถึงปิตามหยุคที่ ๗ นี้ ปู่ชื่อว่าปิตามหะ ยุคของปู่ชื่อว่าปีตามหยุค. ประมาณอายุเรียกว่ายุค. ก็คำว่า ยุคนี้ เป็นเพียงพูดกันเท่านั้น. แต่โดยความหมาย ปิตามหยุค ก็คือปิตามหะนั่นเอง. บรรพบุรุษแม้ทั้งหมดสูงขึ้นไปกว่านั้น ก็ถือเอาด้วยศัพท์ว่า ปิตามหะนั่นแหละ. ผู้มีครรภ์เป็นที่ถือปฏิสนธิบริสุทธิ์ดีถึง ๗ ชั่วคนอย่างนี้. อีกอย่างหนึ่ง แสดงว่า ไม่ถูกคัดค้านติเตียนด้วยการกล่าวอ้างถึงชาติ. บทว่า ไม่ถูกห้าม ความว่า ไม่ถูกคัดค้าน คือไม่ถูกโต้แย้งอย่างนี้ว่า จงนำผู้นี้ออกไป ประโยชน์อะไรกับผู้นี้. บทว่า ไม่ถูกติเตียน ความว่า ไม่ถูกติเตียน คือไม่เคยถูกด่าหรือติเตียน. ถามว่า ด้วยเหตุอะไร. ตอบว่า ด้วยการกล่าวอ้างถึงชาติ. อธิบายว่า ด้วยคำพูดเห็นปานนี้ว่า แม้เพราะเหตุนี้ ผู้นี้เป็นผู้มีชาติกำเนิดเลว. บทว่า ด้วยองค์นี้ ความว่า เพราะเหตุแม้นี้. บทว่า มั่งคั่ง แปลว่า เป็นใหญ่. บทว่า มีทรัพย์มาก แปลว่า ประกอบด้วยทรัพย์มาก. แสดงว่า ก็ในบ้านของจังกีพราหมณ์ผู้เจริญมีทรัพย์มาก เหมือนฝุ่นและทรายบนแผ่นดิน. ส่วนพระสมณโคดมไม่มีทรัพย์ ทำท้องให้เต็มด้วยการขอ แล้วยังอัตภาพให้ดำเนินไป. บทว่า มีโภคะมาก คือ เป็นผู้มีเครื่องอุปโภคมากเนื่องด้วยกามคุณ ๕. พวกพราหมณ์กล่าวคุณใดๆ ด้วยประการอย่างนี้ ย่อมกล่าวดูถูกว่า พวกเราจักกล่าวเฉพาะโทษของพระผู้มีพระภาคเจ้า โดยเป็นปฏิปักษ์ต่อคุณนั้นๆ. บทว่า มีรูปงาม ความว่า มีรูปงามยิ่งกว่ามนุษย์อื่น. บทว่า ทสฺสนีโย ความว่า ควรแก่การดู เพราะทำความไม่เบื่อแก่ผู้ดูอยู่ทั้งวัน. ชื่อว่าน่าเลื่อมใส เพราะทำความเลื่อมใสให้เกิดด้วยการดูเท่านั้น. ความงามเรียกว่า โปกขรตา. ความงามแห่งผิวพรรณ ชื่อว่าวัณณโปกขรตา. ด้วยความงามแห่งผิวพรรณนั้น. อธิบายว่า ด้วยความถึงพร้อมแห่งผิวพรรณ. ส่วนอาจารย์รุ่นเก่าเรียกสรีระว่า โปกขระ. วรรณะก็คือผิวพรรณนั่นเอง. ตามมติของท่าน วรรณะและสรีระ ชื่อว่าวรรณะและสรีระ. ภาวะแห่งวรรณะและสรีระ ชื่อว่าความเป็นแห่งวรรณะและสรีระ. คำว่า แม้เพราะเหตุนี้ มีผิวงามอย่างยิ่ง ความว่า ด้วยวรรณะอันบริสุทธิ์อย่างสูงสุด และด้วยความถึงพร้อมด้วยสรีรสัณฐาน. บทว่า มีวรรณะดุจพรหม แปลว่า มีวรรณะประเสริฐที่สุด. อธิบายว่า ประกอบด้วยวรรณะดุจทองคำอันประเสริฐสุด แม้ในบรรดาวรรณะอันบริสุทธิ์ทั้งหลาย. คำว่า มีสรีระดุจพรหม ได้แก่ ประกอบด้วยสรีระดุจสรีระของท้าวมหาพรหม. คำว่า อขุทฺทาวกาโส ทสฺสนาย ความว่า โอกาสแห่งการได้เห็นสรีระของท่านผู้เจริญ ไม่เล็กน้อย คือใหญ่. ท่านแสดงว่า อวัยวะน้อยใหญ่ของท่านทั้งหมดทีเดียวน่าดูด้วย ทั้งใหญ่โตด้วย. ชื่อว่า มีศีล เพราะอรรถว่าศีลของพราหมณ์นั้นมีอยู่. ชื่อว่า มีศีลยั่งยืน เพราะอรรถว่า ศีลของพราหมณ์นั้นเบิกบานแล้ว คือเจริญแล้ว. บทว่า พุทฺธสีเลน แปลว่า ด้วยศีลอันเบิกบานแล้ว คือเจริญแล้ว. บทว่า มาตามพร้อมแล้ว แปลว่า ประกอบแล้ว. คำนี้เป็นไวพจน์ของบทว่า พุทฺธสีลี นั่นแหละ. พวกพราหมณ์กล่าวคำ (ว่าศีล) ทั้งหมดนั้น หมายเอาเพียงศีลห้าเท่านั้น. ในคำว่า มีวาจางามเป็นต้น ที่ชื่อว่ามีวาจางาม เพราะอรรถว่าวาจาของพราหมณ์นั้น งามคือดี ได้แก่มีบทและพยัญชนะกลมกล่อม. ชื่อว่าเปล่งเสียงไพเราะ เพราะอรรถว่าการเปล่งเสียงของพราหมณ์นั้นงาม คือไพเราะ. เสียงที่เปล่งออก ชื่อว่า วากฺกรณํ. ชื่อว่า มีวาจาเป็นของชาวเมือง เพราะเป็นวาจามีในเมือง โดยเป็นวาจาที่สมบูรณ์ด้วยคุณ. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า มีวาจาดุจของหญิงชาวเมือง เพราะอรรถว่ามีวาจาเหมือนวาจาของหญิงชาวเมืองนั้น เพราะหญิงชาวเมือง ชื่อว่าชาวบุรี เพราะมีในเมือง เป็นผู้ละเอียดอ่อน. ประกอบด้วยวาจาของชาวเมืองนั้น. บทว่า วิสฏฺฐาย ได้แก่ ไม่ติดขัด คือเว้นจากโทษมีเสียงสูงและเสียงต่ำเป็นต้น. บทว่า อเนลคฬาย ความว่า เว้นจากโทษ. อธิบายว่า ก็เมื่อบุคคลบางคนกำลังพูดอยู่ โทษย่อมไหลออก คือน้ำลายไหล หรือก้อนเขฬะกระเด็น วาจาของคนนั้นชื่อว่าเป็นวาจามีโทษ. ด้วยวาจาที่ตรงข้ามกับวาจาที่มีโทษนั้น. คำว่า อตฺถสฺส วิญฺญาปนิยา ความว่า สามารถทำเบื้องต้น ท่ามกลางและที่สุดให้ปรากฏ ทำผู้ฟังให้เข้าใจชัดเนื้อความที่กล่าว. คำที่เหลือในการพรรณนาคุณของพราหมณ์ในที่นี้ง่ายทั้งนั้น. คำว่า เอวํ วุตฺเต แปลว่า เมื่อพราหมณ์เหล่านั้นกล่าวอย่างนี้. จังกีพราหมณ์คิดว่า พวกพราหมณ์เหล่านี้เข้าใจว่า ขึ้นชื่อว่าสัตว์ เมื่อกล่าวคุณของตนจะไม่ยินดี ย่อมไม่มี พวกเราจักกล่าวคุณของจังกีพราหมณ์นั้น ห้าม (มิให้ไป) จึงกล่าวคุณของเรา ก็จังกีพราหมณ์รู้คุณทั้งหลายอันยิ่งกว่าคุณของตนว่า บรรดาคุณเหล่านั้น คุณแม้ใดเช่นเดียวกับคุณของตนมีเป็นต้นว่า เกิดดีแล้วแต่ทั้งสองฝ่าย คุณแม้นั้นมีความถึงพร้อมด้วยพระชาติเป็นต้น ก็ล้วนเป็นของพระสมณโคดมทั้งสิ้น จึงประกาศคุณทั้งหลายที่นอกเหนือขึ้นไป เพื่อแสดงว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็นใหญ่โดยส่วนเดียวแท้. คำว่า พวกเราเท่านั้นย่อมควร ความว่า ก็เมื่อพราหมณ์กำหนดแน่ลงไปอย่างนี้ จึงแสดงคำนี้ไว้ในที่นี้ว่า ผิว่าพระสมณโคดม ชื่อว่าเป็นผู้ที่เราควรจะเข้าไปหา เพราะทรงเป็นใหญ่โดยพระคุณไซร้. เมล็ดพรรณผักกาดเทียบกันเขาพระสุเมรุ เป็นของนิดหน่อย ต่ำทราม, น้ำในรอยเท้าโคเทียบกับน้ำมหา ในคำว่า ภูมิคตญฺจ เวหาสฏฺฐญฺจ นี้ทรัพย์ที่อยู่ในแผ่นดินทำสระโบกขรณีอันโบกด้วยปูนขาวให้เต็มด้วยรัตนะ ๗ ประการ ทั้งในพระลานหลวงและในพระราชอุทยาน ชื่อว่าทรัพย์อยู่ในแผ่นดิน. ส่วนทรัพย์ที่เก็บไว้เต็มปราสาทและที่เก็บรวบรวมไว้เป็นต้น ชื่อว่าทรัพย์ตั้งอยู่ในอากาศ. ทรัพย์ที่มีมาตามวงศ์ตระกูลอย่างนี้ก่อน. ส่วนเฉพาะในวันที่พระตถาคตเจ้าประสูติ มีขุมทรัพย์ผุดขึ้น ๔ ขุมคือขุมทรัพย์ คำว่า หนุ่ม ดังนี้เป็นต้น ข้าพเจ้าให้พิสดารแล้วในหนหลังนั่นแหละ. ในคำว่า มีโอกาสไม่น้อย นี้ พึงทราบว่า (ได้แก่) โอกาสที่เห็นไม่มีประมาณในพระผู้มีพระภาคเจ้าเลย ในข้อที่ว่า มีเรื่องดังต่อไปนี้เป็นตัวอย่าง. ได้ยินมาว่า พราหมณ์คนใดคนหนึ่งในกรุงราชคฤห์ฟังมาว่า เขาเล่าลือกันว่า ใครๆ ไม่สามารถวัดประมาณ (ขนาด) ของพระสมณโคดมได้ จึงในเวลาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเข้าไปบิณฑบาต เขายืนถือไม้ไผ่ยาวหกสิบศอก อยู่ภายนอกประตูเมือง พอพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จถึง จึงถือไม้ไผ่ยืน อยู่ใกล้ๆ. ไม้ไผ่ยาวเพียงพระชานุของพระผู้มีพระภาค. วันรุ่งขึ้น เขาเอาไม้ไผ่ต่อเข้า ๒ ลำ แล้วได้ยืนเทียบอยู่ในที่ใกล้ๆ. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า พราหมณ์ ท่านทำอะไรปรากฏแต่เพียงไม้ไผ่ ๒ ลำ (ต่อ) บนไม้ไผ่ ๒ ลำ. พ. ข้าพระองค์จะวัดขนาดของพระองค์. ภ. พราหมณ์ แม้หากว่าท่านเอาไม้ไผ่มาต่อจนเต็มห้องจักรวาลทั้งสิ้นแล้ว ยืนเทียบอยู่ในที่ใกล้ ท่านก็ไม่อาจวัดขนาดของเราได้ เพราะเราบำเพ็ญบารมีมาสิ้นสี่อสงไขยแสนกัป โดยประการที่คนอื่นจะพึงวัดขนาดของเรานั้นหามิได้ พระตถาคตนับ ในเวลาจบพระคาถา สัตว์แปดหมื่นสี่พันดื่มน้ำอมฤตแล้ว. ยังมีอีกเรื่องหนึ่ง. เขาว่า ท้าวอสุรินทราหูสูงถึงสี่พันแปดร้อยโยชน์. ระหว่างแขนกว้างหนึ่งพันสองร้อยโยชน์. ฝ่ามือฝ่าเท้ากว้างสามร้อยโยชน์. ข้อนิ้วมือห้าสิบโยชน์. ระหว่างคิ้วกว้างห้าสิบโยชน์. หน้าผากกว้างสามร้อยโยชน์. ศีรษะเก้าร้อยโยชน์. ท้าวราหูนั้นไม่มาเฝ้าด้วยคิดว่า เราสูง ไม่อาจก้มดูพระศาสดา. วันหนึ่ง ได้ฟังการพรรณนาคุณของพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงเสด็จมาเฝ้าด้วยความคิดเสียว่า จักดูตามแต่จะดูได้. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบอัธยาศัยของท้าวเธอ จึงทรงพระดำริว่า เราจักแสดงโดยอิริยาบถไหนในบรรดาอิริยาบถทั้ง ๔ แล้วทรงดำริสืบไปว่า ธรรมดาคนยืนแม้จะต่ำก็ปรากฏเหมือนว่าสูง เราจักนอนแสดงตนแก่ท้าวเธอ ดังนี้แล้ว ตรัสว่า อานนท์ เธอจงลาดเตียงน้อย ณ บริเวณพระคันธกุฎี แล้วทรงสำเร็จสีห ท้าวราหูเสด็จมา แล้วชะเง้อคอมองดูพระผู้มีพระภาคเจ้าที่ทรงบรรทมอยู่ เหมือนแหงนคอดูพระจันทร์เพ็ญในท่ามกลาง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีศีลด้วยปาริสุทธิศีล ๔. ก็ศีลนั้นเป็นอริยะ คือสูงสุดบริสุทธิ์. เพราะเหตุนั้น จังกีพราหมณ์จึงกล่าวว่า ทรงมีศีลเป็นอริยะ. ศีลนั้นนั่นแหละ ชื่อว่า เป็นกุศล เพราะอรรถว่าไม่มีโทษ. เพราะเหตุนั้น จังกีพราหมณ์จึงกล่าวว่า ทรงมีศีลเป็นกุศล. คำว่า มีศีลเป็นกุศล นี้ เป็นไวพจน์ของคำว่า มีศีลเป็นกุศลนั้น. คำว่า พหุนฺนํ อาจริยปาจริโย ทรงเป็นอาจารย์ และปาจารย์ของคนเป็นอันมาก. ความว่า สัตว์แปดหมื่นสี่พัน ทั้งเทวดาและมนุษย์ไม่มีประมาณ ดื่ม ในคำว่า ทรงมีกามราคะสิ้นแล้ว นี้ กิเลสแม้ทั้งปวงของพระผู้มีพระภาคเจ้า สิ้น บทว่า วิคตาจาปลฺโล ปราศจากความโลเล. ความว่า ทรงปราศจากความโลเล บทว่า อปาปปุเรกฺขาโร ไม่ทรงมุ่งความชั่ว คือทรงมุ่งโลกุตตรธรรม ๙ อันไม่ชั่วร้ายเสด็จเที่ยวไป. คำว่า ชนที่เป็นพราหมณ์ ได้แก่ พวกพราหมณ์แต่ละพวกมีพระสารีบุตร พระโมคคัลลานะและพระมหากัสสปเป็นต้น. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นไม่ทรงมุ่งร้าย ทรงทำหมู่ชนนี้แหละไว้เบื้องหน้า. อธิบายว่า ก็หมู่ชนนี้กระทำพระสมณโคดมไว้เบื้องหน้า เที่ยวไป. อีกอย่างหนึ่ง ไม่ประพฤติมุ่งความชั่ว คือไม่ประพฤติมุ่งความชั่ว. อธิบายว่า ไม่ปรารถนาความชั่ว. ถามว่า แก่ใคร. ตอบว่า แก่พวกพราหมณ์. มีอธิบายว่า ไม่ทรงมุ่งร้าย คือทรงปรารถนาประโยชน์สุขต่อพราหมณ์ถ่ายเดียว แม้ผู้มุ่งร้ายเฉพาะพระองค์. บทว่า ติโรรฏฺฐา ชนต่างรัฐ คือคนรัฐอื่น. บทว่า ติโรชนปทา ต่างชนบท คือชนบทอื่น. คำว่า สํปฺจฺฉิตุํ อาคจฺฉนฺติ มาเพื่อทูลถามปัญหา ได้แก่ ชนทั้งหลายมีกษัตริย์ บรรดาชนเหล่านั้น บางพวกกำหนดเห็นโทษของการถามปัญหา และความที่ไม่สามารถในการแก้ปัญหาและการรับรองปัญหา จึงนั่งนิ่งไม่ถามเลย. บางพวกถาม. สำหรับบางพวก พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำความอุตสาหะในการถามปัญหาให้เกิดขึ้นแล้ว ทรงแก้. เมื่อเป็นอย่างนี้ ความสงสัยของคนเหล่านั้นทั้งหมด พอถึงพระผู้มีพระภาคเจ้าก็หมดไป เหมือนคลื่นของมหาสมุทร พอถึงฝั่งก็ละลายหายไปฉะนั้น. คำที่เหลือในการพรรณนาคุณของพระตถาคตในอธิการนี้ง่ายทั้งนั้น. คำว่า อติถิโน เต โหนฺติ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นเป็นแขก. ความว่า สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นเป็นอาคันตุกะ คือเป็นแขกของพวกเรา. บทว่า ปริยาปุณามิ ข้าพเจ้าทราบ คือข้าพเจ้ารู้. บทว่า อปริมาณวณฺโณ มีพระคุณหาประมาณมิได้ ท่านแสดงความว่า มีพระคุณที่แม้พระสัพพัญญูเหมือนๆ กันก็ประมาณไม่ได้ จะป่วยกล่าวไปใยกับคนเช่นเรา. สมจริงดังคำที่ท่านกล่าวไว้ว่า แม้พระพุทธเจ้าจะพึงกล่าวคุณของ พระพุทธเจ้า หากกล่าวคุณของกันและกัน ไปตลอดทั้งกัป กัปพึงสิ้นไปในระหว่าง เป็นเวลาช้านาน พระคุณของพระตถาคต หาสิ้นไม่ ดังนี้. พราหมณ์เหล่านั้นได้ฟังถ้อยคำพรรณนาคุณนี้แล้วพากันคิดว่า จังกี บทว่า โอปาเตติ แปลว่า เข้าไป. บทว่า สํปุรกฺขโรนฺติ ย่อมมุ่งดี คือย่อมมุ่งเสมอปูนลูกปูนหลานเที่ยวไป. บทว่า มนฺตปทํ บทมนต์. ความว่า บทมนต์ ก็คือมนต์นั่นแหละ. อธิบายว่า พระเวท. ด้วยบทว่า อิติหิติหปรมฺปราย โดยสืบๆ กันมาอย่างนี้ๆ นี้แสดงว่า บทมนต์มาโดยภาวะสืบๆ กันว่า เขาว่าอย่างนี้ เขาว่าอย่างนี้. บทว่า ปิฏกสมฺปทาย ด้วยสมบัติคือตำรา ได้แก่ด้วยสมบัติ คือคำพูด. ท่านแสดงว่า แต่งมาโดยการประพันธ์เป็นฉันท์มีสาวิตติฉันท์เป็นต้น และโดยการประพันธ์ทั่วไป อย่างร้อยแก้ว. บทว่า นั้นด้วย แปลว่า ในบทมนต์นั้น. บทว่า ผู้กล่าว แปลว่า เป็นผู้บอกมนต์. บทว่า เหล่าใด แปลว่า อันเป็นของมีอยู่ของพราหมณ์เหล่าใด. บทว่า บทมนต์ ได้แก่ มนต์คือพระเวทนั่นแหละ. บทว่า เพลงขับ ความว่า อันพราหมณ์แต่เก่าก่อนสิบคน มีพราหมณ์อัฏฐกะเป็นต้นสวดแล้ว เนื่องด้วยความถึงพร้อมด้วยเสียง. บทว่า กล่าวแล้ว ได้แก่ บอกแล้ว. อธิบายว่า กล่าวแล้วแก่ผู้อื่น. บทว่า สมิหิตํ รวบรวมไว้แล้ว. ความว่า รวมไว้ คือทำให้เป็นหมวดหมู่. อธิบายว่า จัดตั้งไว้เป็นหมวด. บทว่า ตทนุคายนฺติ ขับตามบทมนต์นั้น. ความว่า พราหมณ์ทั้งหลายในบัดนี้ ขับตาม คือสวดตามบทมนต์นั้นซึ่งท่านเหล่านั้นขับแล้วในปางก่อน. บทว่า กล่าวตามบทนั้น แปลว่า กล่าวตามบทมนต์นั้น. คำนี้เป็นไวพจน์ของคำก่อนนั่นแล. บทว่า กล่าวตามภาษิต แปลว่า ท่องบ่นตามที่ท่านเหล่านั้นกล่าวแล้วท่องแล้ว. บทว่า บอกตามที่บอก แปลว่า บอกตามที่ท่านเหล่านั้นบอกแก่ผู้อื่น. คำว่า เสยฺยถีทํ หมายความว่า ท่านเหล่านั้น คือ ท่านเหล่าไหน. คำว่า อัฏฐกะ เป็นต้นเป็นชื่อของท่านเหล่านั้น. ได้สดับมาว่า ท่านเหล่านั้นตรวจดูด้วยตาทิพย์ ไม่ทำการเบียดเบียนผู้อื่น เทียบเคียงกับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้ากัส บทว่า ลำดับคนตาบอด แปลว่า แถวคนตาบอด. คือคนตาบอดคนหนึ่ง จับปลายไม้เท้าที่คนตาดีคนหนึ่งถืออยู่ คนตาบอด ๕๐-๖๐ คนต่อกันตามลำดับอย่างนี้ คือคนตาบอดคนอื่นเกาะคนตาบอดคนนั้น คนอื่นเกาะคนนั้นต่อๆ ไป เรียกว่า แถวคนตาบอด. บทว่า ปรมฺปราสํสตฺตา เกาะกันต่อๆ ไป. ความว่า เกาะกันแลกัน. อธิบายว่า เว้นคนตาดีผู้ถือไม้เท้า. เขาว่านักเลงคนหนึ่งเห็นคณะคนตาบอดก็พูดปลุกใจว่า ในบ้านชื่อโน้น ของเคี้ยวของบริโภคหาได้ง่าย พวกคนตาบอดเหล่านั้นพูดว่า นายช่วยนำพวกฉันไปที่บ้านนั้นเถิด พวกฉันจะให้สิ่งนี้แก่ท่าน เขารับเอาค่าจ้าง (พาไปถึงกลางทาง) ก็แวะลงข้างทาง พาเดินตามกันรอบกอไม้ใหญ่ แล้วให้เอามือของคนตาบอดคนแรกจับรักแร้ของคนตาบอดคนหลังแล้วพูดว่า ฉันมีงานบางอย่าง พวกท่านจงเดินไปก่อน ดังนี้ แล้วก็หนีไปเสีย. คนตาบอดเหล่านั้นพากันเดินทั้งวันไม่พบทางไป ต่างคร่ำครวญว่า ท่านผู้เจริญ! ไหนคนตาดี ไหนหนทาง เมื่อไม่พบหนทางก็พากันตายอยู่ ณ ที่นั้นนั่นแล. คำว่า ปรมฺปราสตฺตา เกาะกันต่อๆ ไป ตรัสหมายถึงคนตาบอดพวกนั้น. บทว่า ปุริโมปิ แม้คนชั้นแรก ความว่า บรรดาพราหมณ์ ๑๐ คนรุ่นแรก แม้พราหมณ์คนหนึ่ง. บทว่า มชฺฌิโมปิ แม้คนชั้นกลาง ความว่า บรรดาอาจารย์และปาจารย์ในรุ่นกลาง แม้อาจารย์คนหนึ่ง. บทว่า ปจฺฉิโมปิ แม้คนรุ่นหลัง ความว่า บรรดาพราหมณ์ทั้งหลายในบัดนี้ แม้พราหมณ์คนหนึ่ง. บทว่า ปญฺจ โข ห้าแล ความว่า ตรัสเพิ่มธรรมอื่นที่คล้ายกันอีก ๓ ข้อ เข้าไปในธรรม ๒ ข้อ ซึ่งมีมาในพระบาลี. คำว่า ทฺวิธา วิปากา มีวิบากเป็น ๒ ส่วน คือ มีวิบากที่เป็นจริง หรือมีวิบากที่ไม่เป็นจริง. คำว่า นาลเมตฺถ ในข้อนี้ไม่ควร ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตั้งแนวทางคำถามไว้อย่างสูงว่า ดูก่อนภารทวาชะ วิญญูชนเมื่อปฏิบัติด้วยหวังว่า จักตามรักษาสัจจะ ไม่ควร คือไม่สมควรที่จะถึงการตกลงโดยส่วนเดียวอย่างนี้ว่า สิ่งที่เรายึดถือเท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า. คำว่า อิธ ภารทฺวาช ภิกฺขุ ภารทวาชะ ภิกษุในศาสนานี้. ความว่า ตรัสหมายถึงพระองค์เอง เหมือนในชีวกสูตรและมหาวัจฉสูตร. คำว่า โลภนีเยสุ ธมฺเมสุ ในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความโลภ คือในธรรมคือความโลภ. แม้ในสองบทที่เหลือก็มีนัยนี้เหมือนกัน. คำว่า สทฺธํ นิเวเสติ ย่อมตั้งลงชื่อศรัทธา คือย่อมตั้งลงซึ่งศรัทธาที่ไว้ใจได้. บทว่า เข้าไป แปลว่า เข้าไปหา. บทว่า ปยิรุปาสติ แปลว่า นั่งในที่ใกล้. บทว่า โสตํ ได้แก่ เงี่ยโสตประสาท. บทว่า ธรรม คือ ฟังเทศนาธรรม. บทว่า ทรงไว้ ความว่า กระทำให้คล่องแคล่วทรงไว้. บทว่า ย่อมไต่สวน คือพิจารณาโดยอัตถะและการณะ. คำว่า ย่อมควรการเพ่ง คือ ย่อมควรตรวจดู. อธิบายว่า ย่อมปรากฏได้อย่างนี้ว่า ศีลตรัสไว้ในที่นี้ สมาธิตรัสไว้ในที่นี้. ความพอใจคือความต้องการที่จะทำ ชื่อว่าฉันทะ. บทว่า ย่อมอุตสาหะ คือ ย่อมพยายาม. คำว่า ย่อมเทียบเคียง คือ ย่อมพิจารณาด้วยอำนาจอนิจจลักษณะเป็นต้น. บทว่า ย่อมตั้งความเพียร คือ ย่อมตั้งความเพียรในมรรค. คำว่า ทำให้แจ้งปรมัตถสัจจะด้วยกาย ความว่า ทำให้แจ้งพระนิพพานด้วยนามกายอันเป็นสหชาต และชำแหละกิเลสด้วยปัญญาเห็นแจ้งพระนิพพานนั้นนั่นแหละอย่างปรากฏชัดแจ้ง. บทว่า การตรัสรู้สัจจะ คือ การตรัสรู้มรรค บทว่า การบรรลุสัจจะ คือ การทำให้แจ้งผล. บทว่า เหล่านั้นนั่นแหละ คือ ธรรม ๑๒ ประการที่กล่าวไว้แล้วในหนหลัง. ท่านย่อมอนุโลมการกล่าวถึงมรรคอย่างยืดยาวอย่างนี้ เพราะฉะนั้น จึงไม่มีอธิบายอย่างนี้. บทว่า เหล่านั้นนั่นแล ได้แก่ ธรรมที่สัมปยุตด้วยมรรคเหล่านั้น. ความเพียรในมรรคชื่อว่า ปธานความเพียร. ก็ความเพียรในมรรคนั้น มีอุปการะมากแก่การบรรลุสัจจะ กล่าวคือการทำให้แจ้งผล เพราะเมื่อมรรคไม่มี ผลก็ไม่มี เหตุนั้นพึงทราบเนื้อความในบททั้งปวงโดยนัยนี้. คำที่เหลือในบททั้งปวงง่ายทั้งนั้นแล. จบอรรถกถาจังกีสูตรที่ ๕ ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ พราหมณวรรค จังกีสูตร เรื่องจังกีพราหมณ์ จบ. |