![]() |
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
![]() |
![]() | |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ____________________________ ๑- บาลีเป็นฉวิโสธนสูตร พยากรณ์อรหัตผล ในฉัพพิโสธนสูตรนั้น พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้. พระอรหัตย่อมเป็นอันพยากรณ์แล้วทีเดียวด้วยบทเดียวบ้าง สองบทบ้าง ในบททั้งหลาย มีอาทิว่า ขีณา ชาติ (ชาติสิ้นแล้ว) ดังนี้. แต่ในสูตรนี้ท่านนำเอาการพยากรณ์พระอรหัตผลมา (กล่าวครบ) ทั้ง ๔ บท. ในบทที่ว่า ทิฏฺเฐ ทิฏฺฐวาทิตา ความเป็นผู้มีวาทะว่าเห็นในอารมณ์ ชื่อว่าความเป็นผู้มีวาทะว่าเห็นในอารมณ์ที่เห็นแล้ว ด้วยเจตนาใด เจตนานั้นเป็นเหตุกล่าวว่า เราเห็นในอารมณ์ที่เห็นแล้วนั้น. แม้ในบทที่เหลือก็นัยนี้นี่แหละ. บทว่า อยมนุธมฺโม แปลว่า สภาพนี้. บทว่า อภินนฺทิตพฺพํ คือ อย่าพึงยินดีอย่างเดียว. ก็เมื่อภิกษุนี้ปรินิพพานแล้ว ควรทำสักการะ (ในฐาน) พระขีณาสพ แม้ทุกประการ. บทว่า อุตฺตรึ ปญฺโห ท่านแสดงว่า ถ้าท่านทั้งหลายยังไม่พอใจการพยากรณ์ (พระอรหัต) ของภิกษุนี้ ควรถามปัญหานี้ แม้ให้สูงขึ้น. ในวาระทั้ง ๓ แม้ข้างหน้าแต่วาระนี้ไป ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. บทว่า อพลํ แปลว่า ทุรพล. บทว่า วิราคุนํ คือ มีการปราศจากไปเป็นสภาพ. บทว่า อนสฺสาสิกํ ได้แก่ เว้นจากความโปร่งใจ. บทว่า อุปายูปาทานา นี้เป็นชื่อของตัณหาและทิฏฐิ. จริงอยู่ ตัณหาและทิฏฐิทั้งหลาย ชื่อว่าอุบาย เพราะเข้าถึงธรรมอันเป็นไปในภูมิทั้ง ๓. ชื่อว่าอุปาทาน เพราะยึดถือ. ชื่อว่าอภินิเวสา (การยึดมั่น) เพราะยึดมั่นรูปนั้นด้วยตัณหาและทิฏฐิเหล่านั้น. เรียกว่าอนุสัย เพราะนอนแนบสนิทอยู่กับรูปนั้น ด้วยตัณหาและทิฏฐิเหล่านั้นนั่นแล. ในบทว่า ขยา วิราคา เป็นต้น ความว่า เพราะความสิ้นไป เพราะความคลายกำหนัด. บทแม้ทั้งหมดเหล่านี้ เป็นไวพจน์ของกันและกันทั้งนั้น. ความหมายของธาตุ บทว่า อนตฺตโต อุปคจฺฉึ ความว่า เราย่อมไม่เข้าถึง (คือยึดครอง) โดยส่วนแห่งอัตตาว่า นี้เป็นอัตตา. อนึ่ง ย่อมไม่เข้าถึงธาตุทั้งหลายที่เหลือซึ่งอาศัยปฐวีธาตุ และอุปาทายรูป. แม้อรูปขันธ์ทั้งหลายก็อาศัยปฐวีธาตุโดยปริยายหนึ่งเหมือนกัน เพราะวัตถุรูปทั้งหลายที่อรูปขันธ์ทั้งหลายนั้นอาศัย ก็อาศัยอยู่กับปฐวีธาตุ เพราะฉะนั้น เมื่อกล่าวว่าย่อมไม่ยึดครองธาตุที่เหลืออันอาศัยปฐวีธาตุ ย่อมกล่าวว่า เราย่อมไม่ยึดครองแม้รูปธรรมและอรูปธรรมที่เหลือทั้งหลาย ว่าเป็นอัตตา. ก็ในบทที่ว่า อาศัยอากาศธาตุ ภูตรูปและอุปาทายรูปแม้ทั้งหมด ชื่อว่าอาศัยอากาศธาตุ โดยเป็นอวินิโภครูป. อรูปขันธ์ทั้งหลายที่มีรูปวัตถุเป็นที่อาศัย ก็ชื่อว่าอาศัยอากาศธาตุเหมือนกัน. เมื่อเป็นอย่างนั้น แม้ในที่นี้ รูปและอรูปย่อมเป็นอันถือเอาแล้วทีเดียว. ส่วนในบทที่ว่า อาศัยวิญญาณธาตุ ขันธ์ ๓ ที่เกิดร่วมกัน และรูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน เป็นรูปอาศัยวิญญาณธาตุดังกล่าวมานั้น รูปและอรูปย่อมเป็นอันถือเอาแล้วทีเดียว. รูป ส่วนรูปใดไม่มาสู่คลองจักขุทวาร ดับแล้วแม้ในอดีต ที่ยังไม่มาจักดับแม้ในอนาคต และที่ยังไม่มาก็ดับแล้วแม้ในปัจจุบัน รูปนั้นสงเคราะห์เข้าในธรรมทั้งหลายที่พึงรู้แจ้งด้วยจักขุวิญญาณดังนี้. พระจุลลาภยเถระผู้ชำนาญพระไตรปิฏกได้กล่าวว่า ในฐานะนี้ เธอแยกรูปเป็น ๒ แล้วเธอจะทำอย่างไร ในวาระว่าด้วยฉันทะที่จะมาถึงข้างหน้า ข้อนี้ไม่ถูกนะ. เพราะเหตุนั้น รูปที่มาสู่คลองจักขุทวารแล้วก็ดี ที่ยังไม่มาถึงก็ดี ในกาลทั้ง ๓ ทั้งหมดจัดเป็นรูปทั้งนั้น. ส่วนขันธ์ ๓ ที่สัมปยุตด้วยจักขุวิญญาณ พึงทราบว่า เป็นธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยจักขุวิญญาณ. ก็ในที่นี้มีความหมายดังนี้ว่า ในธรรมทั้งหลายที่พึงรู้แจ้งพร้อมกับจักขุวิญญาณ บทว่า ฉนฺโท ได้แก่ ความพอใจด้วยตัณหา. บทว่า ราโค ได้แก่ ฉันทะนั่นแหละจัดเป็นราคะด้วยอำนาจความกำหนัด. บทว่า นนฺทิ ได้แก่ ฉันทะนั่นแหละจัดเป็นนันทิด้วยอำนาจความเพลิดเพลินยินดี. บทว่า ตณฺหา ความว่า ฉันทะนั่นแหละจัดเป็นตัณหาด้วยอำนาจความทะยานอยาก. แม้ในทวารทั้งหลายที่เหลือ ก็นัยนี้เหมือนกัน. ในบทว่า อหงฺการมมงฺการมานานุสยา นี้ อหังการเป็นตัวมานะ มมังการเป็นตัณหา. ทั้งอหังการ ทั้งมมังการนั้นแหละเป็นมานานุสัย. เหตุผลที่ตรัสอาสวักขยญาณ แก้ว่า เพราะภิกษุทั้งหลายไม่ทูลถามธรรมะที่เป็นโลกิยะ ถามแต่โลกุตรเท่านั้น เพราะฉะนั้นเมื่อจะตรัสบอกปัญหาที่ทูลถามเท่านั้น จึงตรัสอย่างนั้น. นี้ชื่อเอกวิสัชชิตสูตรนั้น มีชื่อ (อีกอย่างหนึ่ง) ว่า ฉัพพิโสธนสูตรบ้าง. ฉัพพิโสธนิยธรรม ส่วนพระปรสมุททวาสีเถระกล่าวหมวด (ธรรม) ๖ หมวด โดยรวมกายที่มีวิญญาณของตนกับของคนอื่นเข้าเป็นหมวดเดียวกันกับอาหาร ๔. ก็หมวด (ธรรม) ๖ หมวดนี้ พึงชำระให้ถูกต้อง โดยปริยายที่ขยายความไว้ในพระวินัยอย่างนี้ว่า ท่านบรรลุอะไร? บรรลุอย่างไร? บรรลุเมื่อไร? บรรลุที่ไหน? ละกิเลสพวกไหน? ได้ธรรมพวกไหน? ก็ในที่นี้ คำที่ว่า ท่านบรรลุอะไร? เป็นคำถามถึงการบรรลุคือ (ถามว่า) ท่านบรรลุอะไร ในบรรดาฌานและวิโมกข์เป็นต้น หรือในบรรดามรรคมีโสดาปัตติมรรคเป็นต้น. คำว่า ท่านบรรลุอย่างไร? เป็นคำถามถึงอุบาย (วิธีทำให้บรรลุ). เพราะว่า ในข้อนี้มีอธิบายดังนี้ว่า ท่านทำอนิจจลักษณะให้เป็นธุระ จึงบรรลุ หรือทำทุกขลักษณะและอนัตตลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งให้เป็นธุระ จึงบรรลุ. อีกอย่างหนึ่ง ท่านยึดมั่นด้วยอำนาจสมาธิ หรือยึดมั่นด้วยอำนาจวิปัสสนา อนึ่ง ยึดมั่นในรูปหรือยึดมั่นในอรูป. อีกอย่างหนึ่ง ยึดมั่นในภายในหรือยึดมั่นในภายนอก จึงบรรลุ. คำว่า ท่านบรรลุเมื่อไร? เป็นการถามถึงเวลา (ที่ได้บรรลุ). มีคำอธิบายว่า ท่านบรรลุในเวลาไหน ในบรรดาเวลาเช้าและเวลาเที่ยงเป็นต้น. คำว่า ท่านบรรลุที่ไหน? เป็นการถามถึงโอกาส (ที่บรรลุ). มีคำอธิบายว่า ในโอกาสไหน คือในที่พักกลางคืน ในที่พักกลางวัน ที่โคนไม้ ที่มณฑปหรือที่วิหารไหน. คำว่า ท่านละกิเลสพวกไหน? เป็นการถามถึงกิเลสที่ละได้. มีคำอธิบายว่า ท่านละกิเลสที่มรรคไหนจะพึงฆ่า. คำว่า ท่านได้ธรรมพวกไหน? เป็นการถามถึงธรรมที่ได้บรรลุ. มีคำอธิบายว่า บรรดาธรรมมีปฐมมรรคเป็นต้น ท่านได้ธรรมเหล่าไหน. เพราะฉะนั้น ในปัจจุบันนี้ แม้หากจะมีภิกษุบางรูปพยากรณ์การบรรลุธรรมอันยิ่งยวดของมนุษย์ ก็ยังไม่ควรทำความเคารพเธอด้วยเหตุเพียงเท่านี้. ก็ในฐานะ ๖ ประการนี้ ควรจะพูดเพื่อความบริสุทธิ์ ท่านบรรลุอะไร คือฌานหรือ หรือว่าวิโมกข์เป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่ง. จริงอยู่ ธรรมใดอันผู้ใดบรรลุแล้ว ธรรมนั้นย่อมปรากฏแก่ผู้นั้น. ถ้าพูดว่าข้าพเจ้าบรรลุธรรมชื่อนี้ แต่นั้นก็จะต้องถูกถามว่า ท่านบรรลุอย่างไร? อธิบายว่า ท่านทำอะไรในบรรดาอนิจจ ถ้ากล่าวว่า อภินิเวส ชื่อนี้ ข้าพเจ้าบรรลุอย่างนี้ ต่อแต่นั้นก็จะต้องถูกถามว่า ท่านบรรลุเมื่อไร คือบรรลุในเวลาเช้าหรือเวลาเที่ยงเป็นต้นเวลาใดเวลาหนึ่ง. เพราะเวลาบรรลุของตนย่อมปรากฏแก่ทุกๆ คน. ถ้ากล่าวว่าบรรลุในเวลาชื่อโน้น ต่อแต่นั้นก็ถูกถามว่า ท่านบรรลุที่ไหน คือบรรลุในที่พักกลางวัน หรือในที่พักกลางคืนเป็นต้น โอกาสใดโอกาสหนึ่ง เพราะเวลาที่ตนบรรลุย่อมปรากฏแก่ทุกๆ คน. ถ้าพูดว่าข้าพเจ้าบรรลุในโอกาสชื่อโน้น ต่อแต่นั้นก็จะต้องถูกถามว่า ท่านละกิเลสพวกไหน คือท่านละกิเลสที่ปฐมมรรคจะพึงฆ่า หรือที่ทุติยมรรคเป็นต้นจะพึงฆ่า. เพราะกิเลสที่ละด้วยมรรคอันตนบรรลุ ย่อมปรากฏแก่ทุกๆ คน. ถ้าพูดว่า ข้าพเจ้าละกิเลสชื่อนี้ แต่นั้นก็จะต้องถูกถามว่า ท่านได้ธรรมเหล่าไหน คือได้โสดาปัตติมรรคหรือสกทาคามิมรรคเป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่ง. เพราะธรรมที่ตนบรรลุย่อมปรากฏแก่ทุกคน. ถ้าพูดว่าข้าพเจ้าได้ธรรมชื่อนี้. แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ก็ไม่ควรเชื่อคำของเธอ. ก็ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นพหูสูต ฉลาดในการเล่าเรียนและการสอบถาม ย่อมสามารถชำระฐานะ ๖ ประการเหล่านี้ให้หมดจด. แต่สำหรับภิกษุนี้ควรชำระปฏิปทาอันเป็นเครื่องบรรลุขั้นต้น. หากปฏิปทาเป็นเครื่องบรรลุขั้นต้นยังไม่บริสุทธิ์ ควรปลีกออก (จากปฏิญญาของตน) ชื่อว่า แต่ถ้า ปฏิปทาเครื่องบรรลุขั้นต้นของท่านหมดจด ปรากฏว่าภิกษุนี้ไม่ประมาทในสิกขา ๓ ประกอบความเพียร ไม่ติดในปัจจัย มีจิตเสมอเหมือนนกในห้วงอากาศอยู่ตลอดกาลนาน. การพยากรณ์ของภิกษุนั้นเทียบกันได้สมกันกับข้อปฏิบัติ คือเป็นเช่นดังที่ตรัสไว้ว่า น้ำในแม่น้ำคงคากับน้ำในแม่น้ำยมุนาย่อมเข้ากันได้ เสมอเหมือนกันชื่อฉันใด ข้อปฏิบัติอันเป็นเครื่องดำเนินไปสู่พระนิพพานของพระสาวกทั้งหลาย คือนิพพานและปฏิปทาอันพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นบัญญัติไว้ดีแล้ว ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเทียบกันได้ ย่อมลงกันได้. ก็อีกอย่างหนึ่งแล ไม่ควรทำสักการะแม้ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้ อธิบายว่า เพราะเหตุที่ภิกษุบางรูปแม้ยังเป็นปุถุชนอยู่ก็ย่อมมีปฏิปทาเหมือนข้อปฏิบัติอย่างพระขีณาสพ ฉะนั้น ภิกษุนั้นควรใช้อุบายวิธีนั้นๆ ทำให้สะดุ้งหวาดเสียว. ธรรมดาพระขีณาสพ เมื่ออสนีบาตตกลงเหนือกระหม่อมตัวย่อมไม่มีความกลัว ความสะดุ้ง หรือทำให้ขนลุก ส่วนสำหรับปุถุชนย่อมมี (ความกลัวเป็นต้น) ด้วยเหตุการณ์แม้เล็กน้อย. ในข้อนั้น มีเรื่องเหล่านี้เป็นตัวอย่าง :- เรื่องพระทีฆภาณกอภยเถระ แต่ในรัชสมัยของพระเจ้าจัณฑิมุขติสสะ พระสังฆเถระในมหาวิหารเป็นพระขีณาสพ แต่เสียจักษุอยู่ในวิหารนั้นแหละ. พระราชาคิดว่าจะพิสูจน์พระเถระ เมื่อภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลบางคน แม้จะเป็นปุถุชนก็เป็นคนกล้าหาญไม่ขี้ขลาด. คนผู้นั้นต้องพิสูจน์ด้วยอารมณ์ที่น่ารัก. จริงอยู่ แม้พระเจ้าวสภะเมื่อจะพิสูจน์พระเถระรูปหนึ่ง จึงนิมนต์ให้นั่งในพระราชมณเฑียร แล้วรับสั่งให้คนขยำผลพุทราในสำนักของท่าน. พระมหาเถระน้ำลายสอ แต่นั้น ความที่พระเถระเป็นปุถุชนก็ชัดแจ้ง เพราะว่าธรรมดาความอยากในรสพระขีณาสพละได้หมด ชื่อว่าความใคร่ในรสทั้งหลายแม้เป็นทิพย์ก็ไม่มี. ฉะนั้น จึงพิสูจน์ด้วยอุบายเหล่านี้ ถ้าความกลัว ความหวาดเสียว หรือความอยากในรสยังเกิดแก่ท่าน ก็พึงคัดออกได้ว่า ท่านไม่ได้เป็นพระอรหันต์. แต่ถ้าไม่กลัว ไม่สะดุ้ง ไม่หวาดเสียว คงนั่ง (สงบ) เหมือนราชสีห์ แม้ในอารมณ์อันเป็นทิพย์ ก็ไม่ทำความใคร่ให้เกิดขึ้น ภิกษุนี้เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยการพยากรณ์ ย่อมควรแก่เครื่องสักการะที่พระราชาและมหาอำมาตย์ของพระราชาเป็นต้น ส่งมาโดยรอบแล. จบอรรถกถาฉวิโสธนสูตรที่ ๒ ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ อนุปทวรรค ฉวิโสธนสูตร จบ. |