![]() |
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
![]() |
![]() | |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตโปทาราเม ความว่า ในอารามที่มีชื่ออย่างนี้ ด้วยอำนาจแห่งสระชื่อตโปทะ คือมีน้ำร้อน. ได้ยินว่า ภายใต้เวภารบรรพตมีภพนาคประมาณห้าร้อยโยชน์ของนาคที่อยู่ในแผ่นดินทั้งหลายเป็นเช่นกับเทวโลก ถึงพร้อมด้วยพื้นอันสำเร็จด้วยแก้วมณี และสวนอันเป็นที่รื่นรมย์ทั้งหลาย. ในสถานที่เป็นที่เล่นของนาคทั้งหลายในภพนาคนั้น มีสระน้ำใหญ่ แม่น้ำชื่อตโปทา มีน้ำร้อนเดือดพล่านไหลจากสระนั้น. ก็เพราะเหตุไร แม่น้ำนั้นจึงเป็นเช่นนี้. ได้ยินว่า โลกแห่งเปรตใหญ่ล้อมกรุงราชคฤห์. แม่น้ำตโปทานี้มาใน สมจริงดังพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดังนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำตโปทานี้ย่อมไหลโดยประการที่สระนั้นมีน้ำใสสะอาด เย็น ขาว มีท่าดี รื่นรมย์ มีปลาและเต่ามาก และมีปทุมประมาณวงล้อบานสะพรั่ง. อนึ่ง แม่น้ำตโปทานี้ไหลผ่านระหว่างมหานรกทั้งสอง เพราะเหตุนั้น แม่น้ำตโปทานี้จึงเดือดพล่านไหลมาดังนี้. ก็สระน้ำใหญ่เกิดข้างหน้าพระอารามนี้. ด้วยอำนาจแห่งชื่อสระน้ำใหญ่นั้น วิหารนี้จึงเรียกว่า ตโปทาราม. บทว่า สมิทฺธิ ความว่า นัยว่าอัตภาพของพระเถระนั้นละเอียด มีรูปสวย น่าเลื่อมใส เพราะฉะนั้น จึงถึงอันนับว่า สมิทธิ. บทว่า อาทิพฺรหฺมจริยโก ได้แก่ เป็นเบื้องต้นแห่ง บทว่า อิติ เม จกฺขุ ํ ความว่า นัยว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตั้งมาติกาด้วยอำนาจแห่งอายตนะ ๑๒ ในสูตรนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกระทำมาติกาและวิภังค์ ด้วยอำนาจแห่งขันธ์ห้าในสามสูตรนี้ คือในหนก่อนสองสูตร และในข้างหน้าหนึ่งสูตรซึ่งเป็นสูตรที่สี่ แต่ในสูตรนี้ ฝ่ายพระเถระได้นัยว่า มาติกาว ฐปิตา จึงกล่าวอย่างนี้เพื่อจำแนก ก็ในสูตรนี้ บทว่า จกฺขุ ํ ได้แก่ จักษุประสาท. บทว่า รูปา ได้แก่ รูปทั้งหลายอัน บทว่า วิญฺญาณํ ได้แก่ วิญญาณอันเที่ยง. บทว่า ตทภินนฺทติ ความว่า เพลิดเพลินจักษุและรูปนั้นด้วยอำนาจแห่งตัณหาและทิฐิ. บทว่า อนฺวาคเมติ ความว่า ไปตามด้วยตัณหาและทิฐิทั้งหลาย. ก็ในบทว่า อิติ เม มโน อโหสิ อิติ ธมฺมา นั้น บทว่า มโน ได้แก่ ภวังคจิต. บทว่า ธมฺมา ได้แก่ ธัมมารมณ์อันเป็นไปในภูมิสาม. บทว่า ปณิทหติ คือ ตั้งไว้ด้วยอำนาจแห่งความปรารถนา. บทว่า ปณิธานปจฺจยา ได้แก่ เพราะตั้งความปรารถนาไว้ คือเพราะเหตุ. บทที่เหลือในที่ทั้งปวง ง่ายทั้งนั้นแล. จบอรรถกถามหากัจจานภัทเทกรัตตสูตรที่ ๓ ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ วิภังควรรค มหากัจจานภัทเทกรัตตสูตร จบ. |