![]() |
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
![]() |
![]() | |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ในสูตรนั้น คำว่า สมวิสมํ จรนฺติ ได้แก่ บางครั้งก็ประพฤติเรียบร้อย บางครั้งก็ไม่เรียบร้อย. คำว่า สมจริยํปิ เหตํ ตัดบทเป็น สมจริยํปิ หิ เอตํ แปลว่า ก็แหละแม้นี้ ก็เป็นความประพฤติที่เรียบร้อย. คำว่า อาการเหล่าไหน คือ เหตุเหล่าไหน. คำว่า เก อนฺวยา แปลว่า อะไรที่พึงตามรู้. ทำไมท่านจึงว่า ก็แหละในป่าดงนั้นไม่มีเลย กามคุณ ๕ มีรูปเป็นต้นที่น่าพอใจอย่างยิ่งด้วยอำนาจหญ้าเขียวและป่าจำปาเป็นต้นก็มีอยู่ในป่า มิใช่หรือ. ไม่ใช่ไม่มี. แต่คำนี้ท่านไม่ได้แสดงด้วยป่าดง. หากแต่ท่านหมายเอารูปผู้หญิงเป็นต้น จึงกล่าวคำนี้. ก็รูปของผู้หญิงเป็นต้นเหล่านั้น ยึดจิตของผู้ชายแล้วตั้งอยู่. สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า๑- ภิกษุทั้งหลาย เราเองยังไม่มองเห็นรูปอย่างอื่นแม้สักรูปเดียวที่ยึดจิตชายตั้งอยู่อย่างนี้ เหมือนรูปหญิงนี้เลย ภิกษุทั้งหลาย รูปผู้หญิงยึดจิตชายแล้วตั้งอยู่. ____________________________ ๑- องฺ. เอก. เล่ม ๒๐/ข้อ ๒ พึงขยายให้พิสดาร. คำที่เหลือทุกแห่งตื้นทั้งนั้นแล. จบอรรถกถานครวินเทยยสูตรที่ ๘ ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ สฬายตนวรรค นครวินเทยยสูตร จบ. |