![]() |
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
![]() |
![]() | |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ในบทเหล่านั้น คำว่า จากการหลีกเร้น คือ จากผลสมาบัติ. คำว่า ผ่องใสแล้วนี้ ท่านกล่าวด้วยอำนาจโอภาส. จริงอยู่ ภิกษุที่ออกจากผลสมาบัติมีโอกาสที่ประสาททั้ง ๕ ตั้งอยู่ผ่องใส ผิวพรรณก็หมดจด เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวอย่างนั้น. คำว่า ด้วยสุญญตวิหาร คือ ด้วยธรรมเครื่องอยู่ คือผลสมาบัติที่มีความว่างเปล่าเป็นอารมณ์. คำว่า มหาปุริสวิหาร ได้แก่ ธรรมเครื่องอยู่ของพระพุทธเจ้า พระปัจเจก ในคำเป็นต้นว่า เยน จาหํ มคฺเคน ได้แก่ ทางที่เริ่มตั้งแต่วัดไปจนถึงเสาเขื่อนแห่งบ้าน นี้ชื่อว่าทางเข้า. ประเทศที่เข้าไปภายในหมู่บ้านเที่ยวไปตามลำดับเรือนจนถึงออกทางประตูเมือง นี้ชื่อว่าประเทศที่พึงเที่ยวไป. ตั้งแต่นอกเสาเขื่อนมาจนถึงวัด นี้ชื่อว่าทางกลับ. คำว่า หรือแม้ความกระทบกระทั่งทางใจ ความว่า อะไรๆ ที่เกิดจากกิเลส เหตุให้กระทบกระทั่งจิต มีหรือไม่มี. คำว่า ผู้ศึกษาเนืองๆ ทั้งกลางวันและกลางคืน คือ ผู้ตามศึกษาอยู่ตลอดวันตลอดคืน. ในคำเป็นต้นว่า เราละกามคุณ ๕ แล้วหรือหนอแล ความว่า การพิจารณาของภิกษุรูปหนึ่งก็แตกต่างกันไป. การพิจารณาของภิกษุอื่นๆ ก็ไม่เหมือนกัน. อย่างไร. จริงอยู่ ภิกษุรูปหนึ่งกลับมาจากบิณฑบาต ในปัจฉาภัตเก็บบาตรจีวรมานั่งในโอกาสอันเงียบสงัด แล้วพิจารณาอยู่ว่า เราได้ละกามคุณ ๕ แล้วหรือหนอแล. เธอทราบว่ายังละไม่ได้ จึงประคองความเพียรถอนราคะที่เกี่ยวกับกามคุณทั้ง ๕ ด้วยอนา แม้ในนีวรณ์เป็นต้น ก็นัยเดียวกันนี้แหละ. แต่การละนีวรณ์เหล่านี้เป็นต้น ย่อมมีด้วยอรหัตมรรค. การพิจารณาต่างๆ ของภิกษุรูปหนึ่ง ย่อมมีด้วยวิธีนี้. สำหรับในการพิจารณาเหล่านี้ ภิกษุรูปอื่นย่อมพิจารณาหลักสำหรับพิจารณาอย่างหนึ่ง ภิกษุรูปอื่นก็อีกอย่างหนึ่ง ดังกล่าวมานี้. การพิจารณาต่างๆ ของภิกษุต่างรูปกัน ย่อมมีด้วยประการฉะนี้. คำที่เหลือทุกแห่งตื้นแล. จบอรรถกถาปิณฑปาตปาริสุทธิสูตรที่ ๙ ---------------------------------------------- .. อรรถกถา มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ สฬายตนวรรค ปิณฑปาตปาริสุทธิสูตร จบ. |