บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
พึงทราบวินิจฉัยในพระสูตรนั้นดังต่อไปนี้. บทว่า ยาว ปจฺฉิมา โสปานกเฬวรา ได้แก่ จนกระทั่งพื้นบันไดขั้นแรก. พราหมณ์แสดงว่า ปราสาท ๗ ชั้นไม่อาจสร้างได้เพียงวันเดียว แต่ปรากฏการกระทำโดยลำดับ (ขั้นตอน) เริ่มแต่การแผ้วถางพื้นที่แล้วยกตั้งเสา จนกระทั่งเขียนภาพจิตรกรรม ในปราสาทนั้น. ด้วยบทว่า ยทิทํ อชฺเฌเน พราหมณ์แสดงว่า พระเวทแม้ทั้ง ๓ ก็ไม่อาจเล่าเรียนได้โดยวันเดียวเท่านั้น ก็แม้ในการเล่าเรียนพระเวทเหล่านั้น ก็ย่อมปรากฏการกระทำโดยลำดับเช่นเดียวกัน. ด้วย บทว่า อิสฺสตฺเถ พราหมณ์แสดงว่า แม้ในวิชาว่าด้วยอาวุธ ขึ้นชื่อว่านักแม่นธนู ก็ไม่อาจทำได้โดยวันเดียวเท่านั้น ก็แม้ในวิชาว่าด้วยอาวุธนี้ย่อมปรากฏการกระทำโดยลำดับ โดยการจัดแจงสถานที่และทำเป้า (สำหรับยิง) เป็นต้น. บทว่า สงฺขาเน ได้แก่ โดยการนับ. ในข้อนั้น เมื่อแสดงการกระทำโดยลำดับด้วยตัวเอง จึงกล่าวคำเป็นต้นว่า พวกข้าพระองค์ให้นับอย่างนี้. ในคำที่ว่า เสยฺยถาปิ พฺราหฺมณ นี้ เพราะเหตุที่คนทั้งหลายเรียนศิลปในลัทธิภายนอก โดยประการใดๆ ย่อมกลายเป็นคนเกเรไปโดยประการนั้นๆ ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงเปรียบเทียบศาสนาของพระองค์ด้วยลัทธิภาย บทว่า มุขาธาเน แปลว่า ที่เก็บปากม้า (บังเหียน) บทว่า สติสมฺปชญฺญาย ได้แก่ เพื่อประโยชน์คือความพร้อมเพรียงด้วยสติสัมปชัญญะทั้งหลาย. ก็เหล่าพระขีณาสพมี ๒ พวก คือสตตวิหารีและโนสตตวิหารี. ในพระขีณาสพ ๒ พวกเหล่านั้น พระขีณาสพผู้สตตวิหารี แม้กระทำกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็อาจจะเข้าผลสมาบัติได้. ส่วนพระขีณาสพผู้เป็นโนสตตวิหารี เป็นผู้ขวนขวายกิจในกิจการมีประมาณเล็กน้อย ก็ไม่อาจแนบสนิทผลสมาบัติได้. ในข้อนั้นมีเรื่องดังต่อไปนี้ เป็นตัวอย่าง. ได้ยินว่า พระขีณาสพองค์หนึ่งพาสามเณรขีณาสพองค์หนึ่งไปอยู่ป่า ในการอยู่ป่านั้น เสนาสนะตกถึงพระมหาเถระ ไม่ถึงสามเณร. พระเถระวิตกถึงเรื่องนั้น ไม่อาจทำแนบสนิทผลสมาบัติได้แม้แต่วันเดียว. ส่วนสามเณรทำ บทว่า เยเม โภ โคตม ความว่า ได้ยินว่า เมื่อพระตถาคตกำลังตรัสอยู่นั่นแล นัยว่า บุคคลเหล่านี้ย่อมไม่สำเร็จ ดังนี้ เกิดขึ้นแก่พราหมณ์ เมื่อจะแสดงนัยนั้น จึงเริ่มกล่าวอย่างนี้. บทว่า ปรมชฺชธมฺเมสุ ความว่า ธรรมของครูทั้ง ๖ ชื่อว่าธรรมอย่างแพะ และวาทะของพระโคดมสูงสุดอย่างยิ่งในธรรมเหล่านั้น. คำที่เหลือในที่ทุกแห่งง่ายทั้งนั้นแล. จบอรรถกถาคณกโมคคัลลานสูตรที่ ๗ ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เทวทหวรรค คณกโมคคัลลานสูตร จบ. |