ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 15 / 1อ่านอรรถกถา 15 / 106อรรถกถา เล่มที่ 15 ข้อ 112อ่านอรรถกถา 15 / 115อ่านอรรถกถา 15 / 956
อรรถกถา สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เทวตาสังยุต สตุลลปกายิกวรรคที่ ๔
สัทธาสูตรที่ ๖

               อรรถกถาสัทธาสูตรที่ ๖               
               พึงทราบวินิจฉัยในสัทธาสูตรที่ ๖ ต่อไป :-
               บทว่า สทฺธา ทุติยา ปุริสสฺส โหติ แปลว่า ศรัทธาเป็นเพื่อนสองของคน คือได้แก่ เมื่อคนไปสู่เทวโลก และพระนิพพาน ศรัทธาย่อมเป็นเพื่อนสอง คือย่อมยังกิจของสหายให้สำเร็จ.
               บทว่า โน เจ อสทฺธิยํ อวติฏฺฐติ แก้เป็น ยทิ อสทฺธิยํ น ติฏฺฐติ แปลว่า หากว่า ความเป็นผู้ไม่มีศรัทธาไม่ตั้งอยู่.
               บทว่า ยโส แปลว่า ยศ ได้แก่บริวาร.
               บทว่า กิตฺติ แปลว่า เกียรติยศ ได้แก่การกล่าวยกย่องสรรเสริญ.
               บทว่า ตตฺวสฺส โหติ แปลว่า ย่อมมีแก่เขานั้น คือว่า ต่อจากนั้น ย่อมมีแก่เขา.
               บทว่า นานุปตนฺติ สงฺคา แปลว่า กิเลสเป็นเครื่องเกี่ยวข้อง ย่อมไม่เกาะเกี่ยว คือได้แก่กิเลสเครื่องเกี่ยวข้อง ๕ อย่างมีราคะเป็นเครื่องเกี่ยวข้องเป็นต้น ย่อมไม่เข้าถึง.
               พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
                         พวกคนพาลผู้มีปัญญาทราม ย่อมตามประกอบความ
                         ประมาท ส่วนนักปราชญ์ย่อมรักษาความไม่ประมาท
                         เหมือนบุคคลรักษาทรัพย์อันประเสริฐ บุคคลอย่าตาม
                         ประกอบความประมาท และอย่าตามประกอบความ
                         สนิทสนม ด้วยอำนาจความยินดีทางกาม เพราะว่า
                         บุคคลไม่ประมาทแล้ว เพ่งพินิจอยู่ ย่อมบรรลุบรมสุข.

               บทว่า ปมาทมนุยุญฺชนฺติ แปลว่า ย่อมตามประกอบความประมาท.
               อธิบายว่า ชนเหล่าใดย่อมกระทำ คือย่อมให้ความประมาทเกิดขึ้น ชนเหล่านั้นชื่อว่าย่อมประกอบตามซึ่งความประมาทนั้น.
               บทว่า ธนํ เสฏฺฐํว รกฺขติ แปลว่า เหมือนบุคคลรักษาทรัพย์อันประเสริฐ คือได้แก่เหมือนบุคคลรักษาทรัพย์อันอุดมมีแก้วมุกดาและแก้วมณีอันมีสาระเป็นต้น.
               บทว่า ฌายนฺโต แปลว่า เพ่งพินิจอยู่.
               อธิบายว่า เพ่งอยู่ด้วยลักษณูปนิชฌาน และอารัมมณูปนิชฌาน.
               ใน ๒ อย่างนั้น วิปัสสนา มรรคและผล ชื่อว่าลักขณูปนิชฌาน.
               จริงอยู่ วิปัสสนา ชื่อว่าลักขณูปนิชฌาน เพราะอรรถว่าเข้าไปเพ่งซึ่งลักษณะทั้งสาม. มรรคชื่อว่าลักขณูนิชฌาน เพราะอรรถว่าย่อมให้สำเร็จซึ่งปหานกิจที่มาถึงแล้วโดยวิปัสสนา. ผลชื่อว่าลักขณูนิชฌาน เพราะอรรถว่าย่อมเข้าไปเพ่งซึ่งนิโรธสัจจะ อันเป็นตถลักษณะ.
               แต่สมาบัติ ๘ บัณฑิตพึงทราบว่าเป็นอารัมมณูปนิชฌาน เพราะการเข้าไปเพ่งอารมณ์แห่งกสิณ.
               อรหัตสุขชื่อว่าบรมสุข อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประสงค์เอาแล้วดังนี้แล.

               จบอรรถกถาสัทธาสูตรที่ ๖               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เทวตาสังยุต สตุลลปกายิกวรรคที่ ๔ สัทธาสูตรที่ ๖ จบ.
อ่านอรรถกถา 15 / 1อ่านอรรถกถา 15 / 106อรรถกถา เล่มที่ 15 ข้อ 112อ่านอรรถกถา 15 / 115อ่านอรรถกถา 15 / 956
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=731&Z=751
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=11&A=1720
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=11&A=1720
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๒๘  กันยายน  พ.ศ.  ๒๕๔๙
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :