ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 15 / 1อ่านอรรถกถา 15 / 202อรรถกถา เล่มที่ 15 ข้อ 204อ่านอรรถกถา 15 / 207อ่านอรรถกถา 15 / 956
อรรถกถา สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เทวตาสังยุต ฆัตวาวรรคที่ ๘
วุฏฐิสูตรที่ ๔

               อรรถกถาวุฏฐิสูตรที่ ๔               
               พึงทราบวินิจฉัยในวุฏฐิสูตรที่ ๔ ต่อไป :-
               บทว่า พีชํ ได้แก่ ธัญญพืช ๗ ชนิด ชื่อว่าประเสริฐกว่าพืชทั้งหลายที่เกิดขึ้น เพราะว่า เมื่อธัญพืชนั้นงอกขึ้นแล้ว ชนบทย่อมเป็นแดนเกษม คือมีภิกษาหาได้โดยง่าย.
               บทว่า นิปตตํ ความว่า แม้บรรดาสิ่งที่ตกไปทั้งหลาย เมฆฝนประเสริฐเพราะเมื่อเมฆฝนมีอยู่ ข้าวกล้าทั้งหลายชนิดต่างๆ ย่อมเกิดงอกขึ้น ชนบทย่อมเจริญเป็นแดนเกษม มีภิกษาหาได้โดยง่าย.
               บทว่า ปวชฺชมานานํ ความว่า บรรดาสัตว์เดินด้วยลำแข้ง คือไปด้วยเท้าทั้งหลาย โคประเสริฐ เพราะสัตว์ทั้งหลายได้อาศัยบริโภคเบญจโครสแล้ว ย่อมอยู่สบาย.
               บทว่า ปวทตํ แปลว่า บรรดาผู้แถลงคารม. อธิบายว่า บุคคลผู้พูดในที่ทั้งหลายมีท่ามกลางแห่งราชสกุลเป็นต้น บุตรประเสริฐ เพราะบุตรนั้นย่อมไม่กล่าวร้ายให้มารดาบิดา.
               ได้ยินว่า เทวดาองค์หนึ่งยืนอยู่ในที่ใกล้ฟังปัญหานั้นก่อนที่พระผู้มีพระภาคเจ้าจะตรัสตอบว่า บรรดาสิ่งที่งอกขึ้นวิชาประเสริฐ ดังนี้ ได้กล่าวแก้ปัญหาตามลัทธิของตนว่า ดูก่อนเทวดา เพราะเหตุไร ท่านจึงถามปัญหานี้กะพระทศพล เราจักบอกแก่ท่านเอง ดังนี้.
               ลำดับนั้น เทวดานอกนี้จึงกล่าวกะเทวดานั้นว่า ดูก่อนเทวดา ผู้กำจัดทุกอย่าง ผู้คะนองปาก (ปากจัด) ตลอดเรื่องเราจะถามปัญหากะพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้แล้ว เพราะเหตุไร ท่านจึงกล่าวแก่เรา ดังนี้ แล้วกลับไปทูลถามปัญหานั้นกะพระทศพล.
               ลำดับนั้น พระศาสดา เมื่อจะทรงวิสัชนาปัญหานั้น จึงตรัสคำว่า วิชฺชา อุปฺปตตํ เป็นอาทิ แปลว่า
                         บรรดาสิ่งที่งอกขึ้น วิชชา (ความรู้) เป็นประเสริฐ
                         บรรดาสิ่งที่ตกไป อวิชชาเป็นประเสริฐ
                         บรรดาสิ่งที่เดินด้วยเท้า พระสงฆ์เป็นประเสริฐ
                         บรรดาชนผู้แถลงคารม พระพุทธเจ้าเป็นประเสริฐ.
               บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วิชฺชา ได้แก่ วิชชาในมรรค ๔ เพราะว่าวิชชานั้น เมื่อเกิดย่อมถอนขึ้นซึ่งอกุศลธรรมทั้งปวง ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า วิชฺชา อุปฺปตตํ เสฏฺฐา แปลว่า บรรดาสิ่งที่งอกขึ้น วิชชาเป็นประเสริฐ.
               บทว่า อวิชฺชา ได้แก่ มหาอวิชชาอันมีวัฏฏะเป็นมูล เพราะอวิชชาที่ตกไป นั่นเป็นสิ่งประเสริฐกว่าสิ่งที่ตกไป คือที่จมลงไป.
               บทว่า ปวชฺชมานานํ ได้แก่ บรรดาสัตว์ผู้ไปด้วยเท้า คือผู้ไปด้วยลำแข้ง พระสงฆ์ผู้เป็นนาบุญอันไม่ทรามเป็นผู้ประเสริฐ เพราะว่า สัตว์ทั้งหลายเห็นพระสงฆ์นั้นในที่นั้นๆ แล้ว ย่อมถึงความสวัสดี.
               บทว่า พุทฺโธ อธิบายว่า บุตรหรือว่าบุคคลอื่นๆ จงพักไว้ก่อน บรรดาชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งผู้แถลงคารม พระพุทธเจ้าเป็นผู้ยอดเยี่ยม เพราะว่าเหล่าสัตว์ทั้งหลายจำนวนหลายแสนอาศัยการแสดงธรรมของพระองค์แล้ว ก็หลุดพ้นจากเครื่องผูกได้ ดังนี้แล.

               จบอรรถกถาวุฏฐิสูตรที่ ๔               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เทวตาสังยุต ฆัตวาวรรคที่ ๘ วุฏฐิสูตรที่ ๔ จบ.
อ่านอรรถกถา 15 / 1อ่านอรรถกถา 15 / 202อรรถกถา เล่มที่ 15 ข้อ 204อ่านอรรถกถา 15 / 207อ่านอรรถกถา 15 / 956
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=1282&Z=1296
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=11&A=2485
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=11&A=2485
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๒๘  กันยายน  พ.ศ.  ๒๕๔๙
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :