![]() |
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
![]() |
![]() | |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() บทว่า น เตนาสึสเต ภวํ ความว่า เขาไม่ปรารถนาภพใดภพหนึ่ง ด้วยเหตุนั้น. เทพบุตรผู้มีความเพียรติดต่อองค์นี้ คิดว่า ความสิ้นสุดกิจของพระขีณาสพไม่มี ด้วยว่า พระขีณาสพทำความเพียรมาตั้งแต่ต้น เพื่อบรรลุพระอรหัต ต่อมาก็บรรลุพระอรหัต เพราะเหตุนั้น ท่านจงอย่านิ่งเสีย จงทำความเพียร จงบากบั่นในที่นั้นๆ นั่นแล ดังนี้แล้ว จึงกล่าวอย่างนี้. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระดำริว่า เทพบุตรองค์นี้ไม่กล่าวการจบกิจของพระขีณาสพ กล่าวแต่คำสอนของเราว่าเป็นอนิยยานิก ไม่นำสัตว์ออกจากทุกข์ เราจักแสดงการจบกิจของพระขีณาสพนั้น ดังนี้แล้ว จึงตรัสว่า นตฺถิ กิจฺจํ ดังนี้เป็นต้น. ได้ยินว่า ในปิฏกทั้งสาม คาถานี้ไม่แตกต่างกัน. ด้วยว่า ขึ้นชื่อว่าโทษของความเพียร พระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ทรงแสดงไว้ในที่อื่น แต่ในทามลิสูตรนี้ ทรงปฏิเสธเทพบุตรองค์นี้ จึงตรัสอย่างนี้ เพื่อทรงแสดงการจบกิจของพระขีณาสพว่า เบื้องต้นภิกษุอยู่ป่า ถือเอากัมมัฏฐานทำความเพียร เพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะ สำเร็จเป็นพระขีณาสพ [สิ้นกิเลสหมด] แล้ว ต่อมา ถ้าเธอประสงค์จะทำความเพียรก็ทำ ถ้าไม่ประสงค์ เธอจะอยู่ตามสบาย ก็ได้ ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า คาธํ แปลว่า ท่าเป็นที่จอด. จบอรรถกถาทามลิสูตรที่ ๕ ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เทวปุตตสังยุต ปฐมวรรค ทามลิสูตรที่ ๕ จบ. |