ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 15 / 1อ่านอรรถกถา 15 / 30อรรถกถา เล่มที่ 15 ข้อ 32อ่านอรรถกถา 15 / 34อ่านอรรถกถา 15 / 956
อรรถกถา สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เทวตาสังยุต นันทนวรรคที่ ๒
สกมานสูตรที่ ๕

               อรรถกถาสกมานสูตรที่ ๕               
               วินิจฉัยในสกมานสูตรที่ ๕ ต่อไป :-
               บทว่า ฐิเต มชฺฌนฺติเก แปลว่า ในเวลาเที่ยงวัน.
               บทว่า สนฺนิสินฺเนสุ ได้แก่ อาศัยพักอยู่ในที่อันไม่เสมอกันเพราะเข้าไปสู่ที่ตามความสบายอย่างไร. อธิบายว่า ชื่อว่าเวลาเที่ยงวันนี้เป็นเวลาทุรพลแห่งอิริยาบถของสรรพสัตว์ทั้งหลาย. แต่ในที่นี้ ท่านแสดงความทุรพลแห่งอิริยาบถของนกทั้งหลายเท่านั้น.
               บทว่า ปลาเตว ได้แก่ ดุจเสียงครวญคราง ดุจการเปล่งเสียงร้องใหญ่.
               ก็ในที่นี้ ท่านกล่าวเอาเสียงที่รบกวนเท่านั้น เสียงนี้แหละเปรียบดังเสียงครวญคราง.
               จริงอยู่ ในฤดูร้อนเวลาเที่ยงวัน พวกสัตว์ ๔ เท้าและพวกปักษีทั้งหลายมาประชุมกัน (พักเที่ยง) เสียงใหญ่ คือเสียงแห่งโพรงต้นไม้อันลมเป่าแล้วด้วย แห่งปล้องไม้ไผ่ที่เป็นรูอันลมเป่าแล้วด้วย แห่งต้นไม้ซึ่งต้นกับต้นเบียดสีกันและกิ่งกับกิ่งเบียดสีกันด้วย ย่อมเกิดขึ้นในท่ามกลางป่า เสียงครวญครางนั้น ท่านกล่าวหมายเอาเสียงใหญ่นี้.
               บทว่า ตํ ภยํ ปฏิภาติ มํ ความว่า ในกาลเห็นปานนั้น เสียงเช่นนั้นย่อมปรากฏเป็นภัยแก่ข้าพเจ้า.
               ได้ยินว่า เทวดานั้นมีปัญญาอ่อน เมื่อไม่ได้ความสุข ๒ อย่าง คือความผาสุกในการนั่ง ความผาสุกในการพูดของตนในขณะนั้น จึงกล่าวแล้วอย่างนี้.
               ก็เพราะในกาลเช่นนั้นเป็นเวลาสงัดของภิกษุผู้กลับจากบิณฑบาต แล้วนั่งถือเอากรรมฐานในป่าชัฏ แล้วความสุขมีประมาณมิใช่น้อยย่อมเกิดขึ้น.
               พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายเอาคำอันใดว่า
                         สุญฺญาคารํ ปวิฏฺฐสฺส    สนฺตจิตฺตสฺส ภิกฺขุโน
                         อมานุสี รตี โหติ    สมฺมา ธมฺมํ วิปสฺสโตติ จ๑-
                         ปุรโต ปจฺฉโต วาปิ    อปโร เว น วิชฺชติ
                         อติว ผาสุ ภวติ    เอกสฺส วสโต วเนติ จ.๒-
                    เมื่อภิกษุเข้าไปสู่สูญญาคาร (เรือนว่าง) มีจิตสงบแล้ว
                    ยินดีอยู่ในสิ่งที่มิใช่ของมนุษย์ จึงเห็นธรรมโดยชอบ ดังนี้๑-
               
และคาถาว่า
                    บุคคลอื่นข้างหน้าหรือว่าข้างหลัง ย่อมไม่ปรากฏ เมื่อ
                    เป็นผู้เดียวอยู่ในป่า ความผาสุกย่อมเกิดได้โดยเร็ว ดังนี้.๒-

____________________________
๑- ขุ. ธมฺม. เล่ม ๒๕/ข้อ ๓๕ สมฺพหุลภิกฺขุวตฺถุ
๒- เชิงอรรถ : ขุ. เถร. ข้อ ๒๖/ข้อ ๓๗๑ เอกวิหาริยตฺเถรวตฺถุ

               เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสพระคาถาที่ ๒.
               บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สา รติ ปฏิภาติ มํ อธิบายว่า ในเวลาเห็นปานนี้ ชื่อว่าการนั่งของบุคคลผู้เดียวอันใด นั้นเป็นความยินดีย่อมปรากฏแก่เรา.
               คำที่เหลือเช่นกับนัยก่อนนั่นแหละ.

               จบอรรถกถาสกมานสูตรที่ ๕               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เทวตาสังยุต นันทนวรรคที่ ๒ สกมานสูตรที่ ๕ จบ.
อ่านอรรถกถา 15 / 1อ่านอรรถกถา 15 / 30อรรถกถา เล่มที่ 15 ข้อ 32อ่านอรรถกถา 15 / 34อ่านอรรถกถา 15 / 956
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=192&Z=199
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=11&A=887
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=11&A=887
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๒๘  กันยายน  พ.ศ.  ๒๕๔๙
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :