![]() |
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
![]() |
![]() | |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() เพราะเหตุไร พระเจ้าปเสนทิโกศลจึงตรัสถามว่า อตฺถิ โข เต มลฺลิเก เป็นต้น. ได้ยินว่า พระนางมัลลิกานี้เป็นธิดาของนายช่างทำดอกไม้ผู้เข็ญใจ. วันหนึ่ง ถือขนมจากตลาด คิดว่าจักไปสวนดอกไม้แล้วจึงจักกินขนม เดินไปพบพระผู้มีพระภาคเจ้ามีภิกษุเป็นบริวาร เสด็จเข้าไปแสวงหาอาหาร สวนทางกัน ก็มีจิตเลื่อมใส ได้ถวายขนมนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงอาการจะประทับนั่ง. พระอานนทเถระจึงได้ปูผ้าถวาย. พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่ง ณ ที่นั้นแล้วเสวยขนม ล้างพระโอษฐ์แล้ว ได้ทรง พระเถระทูลถามว่า ด้วยการถวายขนมนี้ จักมีผลอะไร พระเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า อานนท์ วันนี้นี่แหละ นางมัลลิกานั้นได้ถวายโภชนะแก่ตถาคตเป็นคนแรก วันนี้นี่แหละ นางก็จักได้เป็นอัครมเหสีของพระเจ้าโกศล. วันนั้นนั่นแล พระราชาผู้อันพระเจ้าหลาน (พระเจ้าอชาตศัตรู) ทรงให้ปราชัยในการรบที่หมู่บ้านกาสี (กาสิกคาม) พ่ายหนีไป กลับมาสู่พระนคร เสด็จเข้าไปยังสวนดอกไม้ ทรงคอยหมู่ทหารกลับมา. นางมัลลิกานั้นได้ทำการปรนนิบัติถวายท้าวเธอ. พระเจ้าปเสนทิโกศลทรง ต่อมาวันหนึ่ง พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงพระดำริว่า เราให้อิสริยยศอย่างใหญ่แก่ธิดาของตระกูลที่เข็ญใจผู้นี้ ถ้ากระไร เราจะควรถามนางว่าใครเป็นที่รักของเจ้า. นางจะตอบว่า พระ พระเจ้าปเสนทิโกศลนั้น เมื่อจะตรัสพระวาจาที่บันเทิง เพื่อให้เกิดความสนิทสนมกะกันแลกัน จึงถาม. ส่วนพระนางมัลลิกาเทวีนั้นเป็นบัณฑิต เป็นอุปัฏฐายิกาของพระพุทธเจ้า เป็นอุปัฏฐายิกาของพระสงฆ์ มีปัญญามาก เพราะฉะนั้น พระนางจึงทรงดำริอย่างนี้ว่า เราไม่พึงเห็นแก่หน้าพระราชา ตอบปัญหานี้. ครั้นตรัสตอบตามรสนิยมของตนแล้ว ก็ทูลถามพระราชาบ้าง. พระราชาเมื่อกลับพระวาจาไม่ได้ เพราะพระนางตรัสตามรสนิยมของพระนางเอง แม้พระองค์เองก็ตรัสตามรสนิยมเหมือนกัน ทรงพระดำริว่า จักให้พระนางกราบทูลเหตุนี้แด่พระตถาคต ดังนี้แล้ว ก็เสด็จไปกราบทูลแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า. บทว่า เนวชฺฌคา แปลว่า ไม่พบ. บทว่า เอวํ ปิโย ปุถุ อตฺตา ปเรสํ ความว่า ตนเป็นที่รักของตนเท่านั้นฉันใด คนอื่นก็เป็นที่รักของคนอื่นๆ แม้เป็นอันมาก ฉันนั้น. จบอรรถกถามัลลิกาสูตรที่ ๘ ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา สังยุตตนิกาย สคาถวรรค โกสลสังยุตต์ ปฐมวรรคที่ ๑ มัลลิกาสูตรที่ ๘ จบ. |