![]() |
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
![]() |
![]() | |||||||
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ภิกษุเหล่านั้นทูลเหตุที่พระอานนทเถระกระทำดีในมนุษย์เหล่านั้น ดังนี้ว่า อิธ ภนฺเต รญฺญา. ได้ยินว่า แก้วมณี ๘ เหลี่ยมที่ท้าวสักกะประทานแก่พระเจ้ากุสราช มาสืบๆ กันตามประเพณี. เวลาทรงประดับ พระราชาตรัสสั่งให้นำแก้วมณีนั้นมา. มนุษย์ พระอานนทเถระเห็นคนเหล่านั้นแล้วก็ให้กั้นม่านไว้ แล้วบอกอุบายแก่ คนขโมยแก้วมณีคิดว่า เราไม่อาจจำหน่ายหรือใช้สอยของของพระราชาได้ กลับไปเรือนเอาแก้วมณีหนีบรักแร้ห่มผ้ามาแล้วใส่ลงในหม้อน้ำ แล้วก็หลีกไป. เมื่อมหาชนกลับไปแล้ว พวกคนของพระราชา เอามือควานในหม้อน้ำก็พบแก้วมณีแล้วนำไปถวายแด่พระราชา. ได้ยินว่า พระอานนทเถระเห็นแก้วมณี โดยนัยที่แสดงแล้ว. มหาชนก็โกลาหลแตกตื่น. ภิกษุเหล่านั้น เมื่อกราบทูลเหตุที่พระอานนทเถระทำดีนั้นแด่พระตถาคต จึงกราบทูลเรื่องนี้. พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไม่อัศจรรย์เลยที่อานนท์ให้นำแก้วมณีที่ตกอยู่ในมือพวกมนุษย์มาได้ พวกบัณฑิตแต่ก่อน ตั้งอยู่ในญาณของตนแล้วก็ให้นำสิ่งของที่ตกอยู่ในความครอบครอง แม้ของสัตว์ดิรัจฉานซึ่งบังเกิดใน
ในคราวปรึกษาต้องการคนไม่พูดพล่าม ในคราวมีข้าวน้ำต้องการคนรัก ในคราวเกิดคดีต้องการบัณฑิต. บทว่า น ตํ ทฬฺหํ ความว่า ปราชญ์ทั้งหลายไม่กล่าวว่าเครื่องจองจำนั้นมั่นคง. บทว่า ยทายสํ ได้แก่ เครื่องจองจำใดทำด้วยเหล็ก. บทว่า สารตฺตรตฺตา ได้แก่ ยินดีแล้วยินดีเล่าด้วยดี หรือยินดีแล้ว โดยยินดีนักแล้ว. อธิบายว่า ยินดีแล้วด้วยความสำคัญว่าสิ่งนี้เป็นสาระ. บทว่า อเปกฺขา ได้แก่ ความอาลัย ความเยื่อใย. บทว่า อาหุ แปลว่า กล่าว. บทว่า โอหารินํ ได้แก่ คร่าไปในอบาย ๔. บทว่า สิถิลํ ได้แก่ ไม่ห้ามอิริยาบถ เหมือนอย่างเครื่องจองจำมีเหล็กเป็นต้น. จริงอยู่ เหล่าคนที่ถูกจองจำด้วยเครื่องจองจำนั้น ย่อมไปประเทศอื่นก็ได้ สมุทรอื่นก็ได้ทั้งนั้น. บทว่า ทุปฺปมุญฺจํ ได้แก่ ไม่อาจแก้ได้ เว้นแต่โลกุตรญาณ. จบอรรถกถาพันธนสูตรที่ ๑๐ จบปฐมวรรค ----------------------------------------------------- รวมพระสูตรในปฐมวรรคที่ ๑ นี้ คือ ๑. ทหรสูตร ๒. ปุริสสูตร ๓. ราชสูตร ๔. ปิยสูตร ๕. อัตตรักขิตสูตร ๖. อัปปกสูตร ๗. อรรถกรณสูตร ๘. มัลลิกาสูตร ๙. ยัญญสูตร ๑๐. พันธนสูตร .. อรรถกถา สังยุตตนิกาย สคาถวรรค โกสลสังยุตต์ ปฐมวรรคที่ ๑ พันธนสูตรที่ ๑๐ จบ. |