![]() |
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
![]() |
![]() | |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() บทว่า สมติคฺคยฺห แปลว่า ยึดไว้ได้. อธิบายว่า ถือไว้ได้. อัปปมาทธรรมที่หนุนให้ทำบุญ ชื่อว่าอัปปมาท ความไม่ประมาท. บทว่า สโมธานํ ได้แก่ ตั้งลงพร้อม คือรวมลง. ด้วยบทว่า เอวเมว โข พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า การาปกอัปปมาท (ความไม่ประมาทอันอุดหนุนบุคคลผู้กระทำตาม) เหมือนรอยเท้าช้าง กุศลธรรมที่เป็นไปในภูมิ ๔ ที่เหลือก็เหมือนรอยเท้าสัตว์ที่เหลือ กุศลธรรมเหล่านั้นย่อมประชุมลงใน อนึ่ง รอยเท้าช้างเลิศ ประเสริฐสุด ใหญ่กว่ารอยเท้าสัตว์ที่เหลือฉันใด อัปป จริงอยู่ อัปปมาทธรรมนั้น แม้เป็นโลกิยะอยู่ ก็ยังเลิศอยู่นั่นเอง เพราะอรรถว่าเป็นเหตุให้ได้ธรรมที่เป็นมหัคคตะและโลกุตระ. บทว่า อปฺปมาทํ ปสํสนฺติ ความว่า บัณฑิตทั้งหลายย่อมสรรเสริญความไม่ประมาทเท่านั้นว่า ผู้ปรารถนาอายุเป็นต้นเหล่านั้น พึงทำความไม่ประมาทอย่างเดียว. อีกอย่างหนึ่ง ก็เพราะบัณฑิตทั้งหลายสรรเสริญความไม่ประมาทในการกระทำบุญทั้งหลาย ฉะนั้น ผู้ปรารถนาอายุเป็นต้นพึงทำความไม่ประมาทโดยแท้. บทว่า อตฺถาภิสมยา ได้แก่ เพราะได้ประโยชน์. จบอรรถกถาปฐมอัปปมาทสูตรที่ ๗ ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา สังยุตตนิกาย สคาถวรรค โกสลสังยุตต์ ทุติยวรรคที่ ๒ ปฐมอัปปมาทสูตรที่ ๗ จบ. |