![]() |
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
![]() |
![]() | |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() บทว่า ทิวาทิวสฺส แปลว่า วันแห่งวัน. อธิบายว่า เวลากลางวัน (เที่ยงวัน). บทว่า สาปเตยฺยํ แปลว่า ทรัพย์. บทว่า โก ปน วาโท รูปิยสฺส ความว่า ก็จะป่วยกล่าวไปไยถึงสิ่งทั้งที่ทำเป็นแท่ง ต่างโดยเป็นเงิน ทองแดง เหล็ก สำริดเป็นต้น ทั้งที่เป็นรูปิยภัณฑ์ ต่างโดยเป็นภาชนะใช้สอยเป็นต้น คือจะพูดกำหนดอะไรกันว่า ชื่อมีเท่านี้. บทว่า กณาชกํ ได้แก่ ข้าวมีรำ (ข้าวกล้อง). บทว่า ทิลงฺคทุติยํ แปลว่า มีน้ำส้มพะอูมเป็นที่สอง. บทว่า สาณํ ได้แก่ ผ้าที่ทำด้วยเปลือกป่าน. บทว่า ติปกฺขวสนํ ได้แก่ ผ้าที่ตัดเป็น ๓ ชิ้น เย็บริมทั้งสองติดกัน. บทว่า อสปฺปุริโส แปลว่า บุรุษผู้เลว. ทักษิณาชื่อว่า อุทฺธคฺคิกา ในคำว่า อุทฺธคฺคิกํ เป็นต้น เพราะมีผลในเบื้องบน (สูง) โดยให้ผลในภูมิสูงๆ ขึ้นไป. ชื่อว่า โสวคฺคิกา เพราะเป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่สวรรค์ เหตุให้อุบัติในสวรรค์นั้น. ชื่อว่า สุขวิปากา เพราะทักษิณานั้นมีสุขเป็นวิบากในที่บังเกิดแล้วบังเกิดเล่า. ชื่อว่า สคฺคสํวตฺตนิกา เพราะเป็นที่บังเกิดของวิเศษมีวรรณะทิพย์เป็นต้นอันเลิศดี. อธิบายว่า ทักษิณาทานเห็นปานนี้ ย่อมประดิษฐานอยู่. บทว่า สาโตทกา ได้แก่ มีน้ำรสอร่อย. บทว่า เสตกา ได้แก่ น้ำอันขาว เพราะน้ำในที่คลื่นแตกกระจาย สีขาว. บทว่า สุปติตฺถา แปลว่า มีท่าอันดี. บทว่า ตญฺชโน ความว่า น้ำที่จืดสนิท โดยน้ำชนิดใด ชนหาพึงบรรจุน้ำชนิดนั้นใส่ภาชนะนำไปได้ไม่. บทว่า น ยถาปจฺจยํ กเรยฺย ความว่า. กิจด้วยน้ำใดๆ บุคคลพึงทำด้วยน้ำ เขาหาพึงทำกิจด้วยน้ำนั้นๆ ได้ไม่. บทว่า ตทเปยฺยมานํ แปลว่า น้ำนั้นเขาดื่มไม่ได้. บทว่า กิจฺจกโร จ โหติ ความว่า ผู้ทำกิจคือการงาน และผู้ทำกิจคือกุศลของตน ย่อมบริโภค ย่อมประกอบการงานและให้ทาน. จบอรรถกถาปฐมาปุตตกสูตรที่ ๙ ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา สังยุตตนิกาย สคาถวรรค โกสลสังยุตต์ ทุติยวรรคที่ ๒ ปฐมาปุตตกสูตรที่ ๙ จบ. |