ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 15 / 1อ่านอรรถกถา 15 / 555อรรถกถา เล่มที่ 15 ข้อ 559อ่านอรรถกถา 15 / 563อ่านอรรถกถา 15 / 956
อรรถกถา สังยุตตนิกาย สคาถวรรค พรหมสังยุต ปฐมวรรคที่ ๑
คารวสูตรที่ ๒

               อรรถกถาคารวสูตรที่ ๒               
               ในคารวสูตรที่ ๒ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
               บทว่า อุทปาทิ ความว่า ความตรึกนี้เกิดขึ้นในสัปดาห์ที่ ๕.
               บทว่า อคารโว ความว่า เว้นคารวะในบุคคลใดบุคคลหนึ่ง คือไม่ทรงตั้งใครๆ ไว้ในฐานะเป็นที่เคารพ.
               บทว่า อปฺปติสฺโส ความว่า เว้นจากความยำเกรง คือไม่ทรงตั้งใครๆ ไว้ในฐานะเป็นผู้เจริญที่สุด.
               ในบทว่า สเทวเก เป็นต้น มีวินิจฉัยว่า
               พร้อมด้วยเทวดาทั้งหลาย ชื่อสเทวกะ. เมื่อถือเอาพวกมารและพรหมด้วยเทวศัพท์ ก็ในคำนี้ ท้าววสวัตดีมารย่อมมีอำนาจเหนือมารและพรหมทั้งหมด ธรรมดาว่าพรหมมีอานุภาพมากใช้นิ้วมือนิ้วหนึ่งแผ่รัศมีไปในหนึ่งจักรวาล ใช้ ๒ นิ้วแผ่รัศมีไป ๒ จักรวาล ฯลฯ ใช้ ๑๐ นิ้วแผ่รัศมีไปหมื่นจักรวาล. พรหมผู้มีอานุภาพมากนั้น อย่าได้กล่าวกันว่ามีศีลดีกว่าพระผู้มีพระภาคเจ้านี้ ฉะนั้นจึงแยกตรัสว่า สมารเก สพฺรหฺมเก ดังนี้.
               อนึ่ง ธรรมดาสมณะทั้งหลายเป็นพหูสูตโดยรู้นิกายหนึ่งเป็นต้น มีศีลเป็นบัณฑิต แม้พราหมณ์ทั้งหลายเป็นพหูสูตโดยรู้วิชาดูพื้นที่เป็นต้น สมณพราหมณ์บัณฑิตเหล่านั้น อย่าได้กล่าวกันว่าดีกว่าพระผู้มีพระภาคเจ้านี้ ฉะนั้นจึงตรัสว่า สสฺสมณพฺราหฺมณิยา ปชาย ดังนี้.
               ก็คำว่า สเทวมนุสฺสาย นี้ ตรัสรวบเพื่อแสดงโดยสิ้นเชิง.
               อีกอย่างหนึ่ง ในคำนี้ ๓ บทข้างต้น ตรัสโดยมุ่งโลก. ๒ บทหลัง ตรัสโดยมุ่งหมู่สัตว์.
               บทว่า สีลสมฺปนฺนตรํ ความว่า สมบูรณ์กว่าคือยิ่งกว่า โดยศีล.
               แม้ในบทที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน.
               ก็ในที่นี้ธรรม ๔ ประการมีศีลเป็นต้น ท่านกล่าวไว้ทั้งโลกิยะทั้งโลกุตระ. วิมุตติญาณทัสสนะเป็นโลกิยะเท่านั้น และวิมุตติญาณทัสสนะนั้นเป็นปัจจเวกขณญาณ.
               บทว่า ปาตุรโหสิ ความว่า ท้าวสหัมบดีพรหมคิดว่า พระศาสดานี้ไม่ทรงเห็นผู้ที่ยิ่งใหญ่กว่าพระองค์โดยศีลเป็นต้น ตั้งแต่อเวจีจนถึงภวัคคพรหม ทรงดำริว่า เราจักเคารพโลกุตรธรรม ๙ ที่เราบรรลุแล้วนี่แหละอาศัยอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงคิดถึงเหตุ ทรงคิดถึงประโยชน์พิเศษ จำเราจักไปทำอุตสาหะให้เกิดแก่พระองค์ ดังนี้แล้วได้ปรากฏองค์ต่อหน้า คือยืนในที่เฉพาะพระพักตร์.
               ในบทว่า วิหรึสุ วิหรนฺติ จ นี้มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้
               ผู้ใดพึงกล่าวว่า แม้ในปัจจุบันก็มีพระพุทธเจ้ามาก โดยพระบาลีว่า วิหรนฺติ ดังนี้ ผู้นั้นพึงถูกคัดค้านด้วยคำนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในบัดนี้แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าก็เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่พึงแสดงแก่ผู้นั้นว่า พระพุทธเจ้าอื่นๆ ไม่มี โดยพระบาลีเป็นต้นว่า
                         เราไม่มีอาจารย์ คนเสมือนเราไม่มี ในโลก
                         พร้อมทั้งเทวโลก ไม่มีคนทัดเทียมเรา ดังนี้.

               บทว่า ตสฺมา ความว่า เพราะเหตุที่พระพุทธเจ้าทุกพระองค์เป็นผู้เคารพพระสัทธรรม.
               บทว่า มหตฺตมภิกงฺขตา ได้แก่ ปรารถนาความเป็นใหญ่.
               บทว่า สรํ พุทฺธานสาสนํ ได้แก่ ระลึกถึงคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย.

               จบอรรถกถาคารวสูตรที่ ๒               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา สังยุตตนิกาย สคาถวรรค พรหมสังยุต ปฐมวรรคที่ ๑ คารวสูตรที่ ๒ จบ.
อ่านอรรถกถา 15 / 1อ่านอรรถกถา 15 / 555อรรถกถา เล่มที่ 15 ข้อ 559อ่านอรรถกถา 15 / 563อ่านอรรถกถา 15 / 956
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=4483&Z=4534
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=11&A=5004
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=11&A=5004
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๒๘  กันยายน  พ.ศ.  ๒๕๔๙
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :