ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 16 / 1อ่านอรรถกถา 16 / 230อรรถกถา เล่มที่ 16 ข้อ 235อ่านอรรถกถา 16 / 240อ่านอรรถกถา 16 / 725
อรรถกถา สังยุตตนิกาย นิทานวรรค อภิสมัยสังยุตต์ มหาวรรคที่ ๗
อัสสุตวตาสูตรที่ ๒

               อรรถกถาอัสสุตวตาสูตรที่ ๒               
               ในอัสสุตวตาสูตรที่ ๒ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
               บทว่า สุขเวทนียํ ได้แก่ เป็นปัจจัยแห่งสุขเวทนา.
               บทว่า ผสฺสํ ได้แก่ จักขุสัมผัสเป็นต้น.
               ถามว่า ก็จักขุสัมผัสไม่เป็นปัจจัยแก่สุขเวทนามิใช่หรือ.
               แก้ว่า ไม่เป็นปัจจัยโดยสหชาตปัจจัย แต่เป็นปัจจัยแก่ชวนะเวทนา โดยอุปนิสสยปัจจัย ซึ่งพระองค์ตรัสหมายเอาคำนั้น. แม้ในโสตสัมผัสเป็นต้นก็นัยนี้.
               บทว่า ตชฺชํ ได้แก่ เกิดแต่เวทนานั้น คือสมควรแก่ผัสสะนั้น. อธิบายว่า สมควรแก่ผัสสะนั้น.
               บทว่า ทุกฺขเวทนียํ เป็นต้น พึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล.
               บทว่า สงฺฆฏสโมธานา ได้แก่ โดยการครูดสีกันและการรวมกัน. อธิบายว่า โดยการเสียดสีและการรวมกัน.
               บทว่า อุสฺมา ได้แก่ อาการร้อน.
               บทว่า เตโช อภินิพฺพตฺตติ ความว่า ไม่ควรถือเอาว่า ลูกไฟย่อมออกไป.
               ก็บทว่า อุสฺมา นี้ เป็นไวพจน์แห่งอาการร้อนนั่นเอง.
               บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทฺวินฺนํ กฏฺฐานํ ได้แก่ ไม้สีไฟทั้งสอง.
               ในสองอย่างนั้น วัตถุเหมือนไม้สีไฟอันล่าง อารมณ์เหมือนไม้สีไฟอันบน ผัสสะเหมือนการครูดสี เวทนาเหมือนธาตุไออุ่น.

               จบอรรถกถาอัสสุตวตาสูตรที่ ๒               
               -----------------------------------------------------               
๒. อัสสุตวตาสูตรที่ ๒ [ฉบับเฉลิมพระเกียรติฯ]
       ๒. ทุติยอัสสุตวาสูตร        ว่าด้วยปุถุชนผู้มิได้สดับ สูตรที่ ๒        [๖๒] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระกาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคฤหบดี ใกล้พระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มี พระภาคเจ้าได้ตรัสดังนี้ว่า        “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้มิได้สดับแล้วพึงเบื่อหน่ายได้บ้าง พึง คลายกำหนัดได้บ้าง พึงหลุดพ้นได้บ้าง ในร่างกายซึ่งเกิดมาจากมหาภูตรูป ๔ นี้ ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เพราะเหตุว่า ความเจริญก็ดี ความเสื่อมก็ดี ความ เกิดก็ดี ความตายก็ดีย่อมปรากฏแก่ร่างกายซึ่งเกิดมาจากมหาภูตรูป ๔ นี้ ฉะนั้น ปุถุชนผู้มิได้สดับแล้วจึงเบื่อหน่ายได้บ้าง คลายกำหนัดได้บ้าง หลุดพ้นได้บ้าง ในร่างกายนั้น        ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แต่ว่าในสิ่งที่ตถาคตเรียกว่า 'จิต' บ้าง 'มโน' บ้าง 'วิญญาณ' บ้างนั้น ปุถุชนผู้มิได้สดับแล้วไม่อาจที่จะเบื่อหน่ายได้ ไม่อาจที่ จะคลายกำหนัดได้ ไม่อาจที่จะหลุดพ้นได้เลย ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เพราะ เหตุว่าจิตนี้อันปุถุชนผู้มิได้สดับแล้วรวบไว้ ถือไว้ ยึดไว้ด้วยตัณหาทิฏฐิมาเป็น เวลาช้านานแล้วว่า 'นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา' ฉะนั้น ปุถุชนผู้มิได้สดับแล้วจึงไม่อาจที่จะเบื่อหน่ายได้ ไม่อาจที่จะคลายกำหนัดได้ ไม่อาจที่จะหลุดพ้นในจิตนั้นได้เลย        ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การที่ปุถุชนผู้มิได้สดับแล้วพึงยึดมั่นร่างกายซึ่งเกิด มาจากมหาภูตรูป ๔ นี้โดยความเป็นตัวตนยังดีกว่า แต่การยึดมั่นจิตโดยความ เป็นตัวตนไม่ได้เลย ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เพราะเหตุว่าร่างกายซึ่งเกิดมา จากมหาภูต ๔ นี้ย่อมปรากฏว่าดำราอยู่ได้ ๑ ปีบ้าง ๒ ปีบ้าง ๓ ปีบ้าง ๔ ปีบ้าง ๕ ปีบ้าง ๑๐ ปีบ้าง ๒๐ ปีบ้าง ๓๐ ปีบ้าง ๔๐ ปีบ้าง ๕๐ ปีบ้าง ๑๐๐ ปีบ้าง เกิน ๑๐๐ ปีบ้าง แต่ว่าสิ่งที่ตถาคตเรียกว่า 'จิต' บ้าง 'มโน' บ้าง 'วิญญาณ' บ้างนั้นในตอนกลางคืนและตอนกลางวัน ดวงหนึ่งเกิดขึ้น ดวง หนึ่งก็ดับไป        ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้วย่อมใส่ใจแยบคาย ด้วยดีซึ่งปฏิจจสมุปบาทในร่างกายและจิตนั้นว่า 'เพราะเหตุดังนี้ เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จึงไม่มี เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้จึงดับ คือ เพราะอาศัยผัสสะอันเป็นปัจจัยแห่งสุขเวทนา จึงเกิดสุขเวทนาขึ้น เพราะผัสสะอันเป็นปัจจัยแห่งสุขเวทนานั้นดับไป สุข เวทนาที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะอันเป็นปัจจัยแห่งสุขเวทนาจึงดับ จึงสงบ ไป เพราะอาศัยผัสสะอันเป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนา จึงเกิดทุกขเวทนาขึ้น เพราะผัสสะอันเป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนานั้นดับไป ทุกขเวทนาที่เกิดขึ้น เพราะอาศัยผัสสะอันเป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนานั้นจึงดับ จึงสงบไป เพราะ อาศัยผัสสะอันเป็นปัจจัยแห่งเวทนาที่มิใช่ทุกข์มิใช่สุขจึงเกิดอทุกขมสุขเวทนาขึ้น เพราะผัสสะอันเป็นปัจจัยแห่งอทุกขมสุขเวทนานั้นดับไป อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะอันเป็นปัจจัยแห่งอทุกขมสุขเวทนานั้นจึงดับ จึง สงบไป'        ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะไม้สองอันครูดสีกัน จึงเกิดความร้อน เกิดไฟขึ้น แต่ถ้าแยกไม้สองอันนั้นแหละออกเสียจากกัน ความร้อนซึ่งเกิด จากการครูดสีกันนั้นก็ดับไป สงบไป แม้ฉันใด เพราะอาศัยผัสสะอันเป็น ปัจจัยแห่งสุขเวทนา จึงเกิดสุขเวทนาขึ้น เพราะผัสสะอันเป็นปัจจัยแห่งสุข เวทนานั้นดับไป สุขเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะอันเป็นปัจจัยแห่งสุข เวทนาจึงดับ จึงสงบไป เพราะอาศัยผัสสะอันเป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนา จึง เกิดทุกขเวทนาขึ้น เพราะผัสสะอันเป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนานั้นดับไป ทุกขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะอันเป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนานั้นจึงดับจึงสงบไป เพราะ อาศัยผัสสะอันเป็นปัจจัยแห่งเวทนาที่มิใช่ทุกข์มิใช่สุขจึงเกิดอทุกขมสุขเวทนาขึ้น เพราะผัสสะอันเป็นปัจจัยแห่งอทุกขมสุขเวทนา นั้นดับไป อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะอันเป็นปัจจัยแห่งอทุกขสุขเวทนานั้นจึงดับจึงสงบไป ฉันนั้นเหมือนกัน        ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้วเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อม เบื่อหน่ายทั้งในผัสสะ ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในเวทนา ย่อมเบื่อหน่ายทั้งใน สัญญา ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในสังขารทั้งหลาย ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จึงหลุดพ้น เมื่อหลุด พ้นแล้ว ก็มีญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า 'ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มีอีก' ดังนี้แล” (๒)
-----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา สังยุตตนิกาย นิทานวรรค อภิสมัยสังยุตต์ มหาวรรคที่ ๗ อัสสุตวตาสูตรที่ ๒ จบ.
อ่านอรรถกถา 16 / 1อ่านอรรถกถา 16 / 230อรรถกถา เล่มที่ 16 ข้อ 235อ่านอรรถกถา 16 / 240อ่านอรรถกถา 16 / 725
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=16&A=2567&Z=2619
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=12&A=2570
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=12&A=2570
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๒๙  กันยายน  พ.ศ.  ๒๕๔๙
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :