ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 16 / 1อ่านอรรถกถา 16 / 250อรรถกถา เล่มที่ 16 ข้อ 254อ่านอรรถกถา 16 / 263อ่านอรรถกถา 16 / 725
อรรถกถา สังยุตตนิกาย นิทานวรรค อภิสมัยสังยุตต์ มหาวรรคที่ ๗
สัมมสสูตร

               อรรถกถาสัมมสสูตรที่ ๖               
               ในสัมมสสูตรที่ ๖ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
               บทว่า อามนฺเตสิ ความว่า ถามว่า เพราะเหตุไรจึงตรัสเรียก.
               ตอบว่า เพราะพระธรรมเทศนาสุขุมนำพระไตรลักษณ์มาปรากฏ.
               เล่ากันว่า ในชนบทนั้น พวกมนุษย์เป็นคนมีเหตุผล มีปัญญา ได้ยินว่า โภชนาหารทั้งหลายในชนบทนั้นละเอียดอ่อน. เมื่อประชาชนบริโภคโภชนาหารเหล่านั้น ปัญญาก็งอกงาม พวกเขาสามารถแทงตลอดธรรมกถาที่ลึกซึ้งซึ่งนำพระไตรลักษณ์มาได้ เพราะเหตุนั้นแหละ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ตรัสพระสูตรที่ลึกซึ้งแม้อื่นๆ มีอาทิอย่างนี้ คือ มหาสติปัฏฐานสูตร มหานิทานสูตร อาเนญชสัปปายสูตร ในทีฆนิกายและมัชฌิมนิกาย จูฬนิทานสูตรเป็นต้นในสังยุตตนิกาย ในชนบทนั้นทีเดียว.
               บทว่า สมฺมสถ โน ได้แก่ พิจารณาหนอ.
               บทว่า อนฺตรํ สมฺมสํ ได้แก่พิจารณาปัจจัยในภายใน.
               บทว่า น โส ภิกฺขุ ภควโต จิตฺตํ อาราเธสิ ความว่า ภิกษุนั้นไม่พยากรณ์อย่างนั้น เมื่อพยากรณ์ด้วยอำนาจอาการ ๓๒ จึงไม่อาจยึดพระอัธยาศัยของพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มีพระประสงค์จะให้พยากรณ์ด้วยอำนาจปัจจยาการ.
               บทว่า เอตทโวจ ความว่า เทศนาไม่ไปตามอนุสนธิ ได้ตรัสคำนี้เพื่อเทศนาคำนั้นไปตามอนุสนธิ.
               บทว่า เตนหานนฺท สุณาถ นี้เป็นบทไม่แตกต่างกันในพุทธวจนะคือพระไตรปิฏก.
               จริงอยู่ ในที่อื่นชื่อว่าคำที่กล่าวอย่างนี้ไม่มี.
               บทว่า อุปธินิทานํ ได้แก่มีอุปธิคือขันธ์เป็นเหตุ
               จริงอยู่ ขันธ์ ๕ ในที่นี้ท่านเรียกว่า อุปธิ. อุปฺปชฺชติ แปลว่า ย่อมเกิด.
               บทว่า นิวิสติ ความว่า ย่อมยึดมั่นด้วยอำนาจความประพฤติบ่อยๆ.
               บทว่า ยํ โลเก ปิยรูปํ สาตรูปํ ความว่า รูปใดเป็นปิยสภาวะและมธุรสภาวะในโลก.
               พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า จกฺขุํ โลเก เป็นต้นดังต่อไปนี้.
               จริงอยู่ สัตว์ทั้งหลายในโลกยึดมั่นโดยถือว่าเป็นของเราในจักษุเป็นต้น ตั้งอยู่ในสมบัติ สำคัญปสาทรูปทั้ง ๕ อันผ่องใสโดยทำนองแห่งการยึดถือจักษุของตนว่าเป็นนิมิตในแว่นกระจกเป็นต้น เหมือนสีหบัญชรแก้วมณีที่ยกขึ้นในวิมานทอง ย่อมสำคัญจักษุปสาทนั้นเหมือนก้านเงิน และสายสังวาล สำคัญฆานปสาทที่ได้โวหารว่า ตงฺคนาสา (จมูกสูง) เหมือนเกลียวหรดาลที่เขาวางไว้ สำคัญชิวหาปสาทนุ่มสนิท เป็นที่รับรสอร่อย เหมือนผ้ากัมพลอ่อน สำคัญกายปสาทเหมือนเมล็ดสาละ และเสาระเนียดทองคำ สำคัญใจว่าใหญ่ยิ่งไม่เหมือนกับใจของชนเหล่าอื่น.
               บทว่า นิจฺจโต อทฺทกฺขุํ ความว่า ได้เห็นว่าเที่ยง. แม้ในบทที่เหลือก็นัยนี้.
               บทว่า น ปริมุจฺจึสุ ทุกฺขสฺมา ความว่า หลุดพ้นจากวัฏทุกข์แม้ทั้งสิ้น.
               บทว่า ทกฺขิสฺสนฺติ แปลว่า จักเห็น. บทว่า อาปานียกํโส เป็นชื่อของขันจอก ก็เพราะเหตุที่ชนทั้งหลายดื่มน้ำในขันจอกนี้ ฉะนั้น จึงเรียกว่า อาปานีย.
               อาปานีย นั้นด้วย ด้วย ชื่อว่า อาปานียกํส คำว่า อาปานียกํส นี้เป็นชื่อของขันจอกสำหรับใส่สุราใส. แต่ที่มันตั้งอยู่ในขันสำริดนั่นแล ท่านกล่าวไว้อย่างนั้น เพราะพระบาลีว่า วณฺณสมฺปนฺโน ถึงพร้อมด้วยสี.
               บทว่า ฆมฺมาภิตตฺโต แปลว่า ถูกความร้อนแผดเผา.
               บทว่า ฆมฺมปเรโต แปลว่า ถูกความร้อนสัมผัสแล้วแล่นไปตาม.
               บทว่า ปิวโต หิ โข ตํ ฉเทสฺสติ ความว่า น้ำดื่มนั้นจักเป็นที่ชอบใจของผู้ดื่ม หรือจักทำให้เกิดความยินดีแผ่ไปทั่วสรีระตั้งอยู่.
               บทว่า อปฺปฏิสงฺขา แปลว่า ไม่ได้พิจารณา.
               ในบทว่า เอวเมว โข นี้ มีคำเปรียบเทียบข้ออุปมาดังต่อไปนี้.
               จริงอยู่ อารมณ์ที่เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก พึงเห็นเหมือนขันสำริดสำหรับใส่น้ำดื่ม. ปุถุชนผู้อาศัยวัฏฏะเหมือนบุรุษผู้ถูกความร้อนแผดเผา ชนผู้ถูกอารมณ์ที่เป็นปิยรูปสาตรูปเชื้อเชิญในโลกเหมือนบุรุษผู้ถูกเชิญด้วยขันสำริดสำหรับใส่น้ำดื่ม กัลยาณมิตรมีอาจารย์และอุปัชฌาย์เป็นต้นเหมือนมนุษย์ผู้เชิญให้ดื่มน้ำ บอกคุณสมบัติและโทษในขันสำริดสำหรับใส่น้ำดื่ม, อาจารย์หรือพระอุปัชฌาย์ย่อมบอกคุณและโทษในกามคุณ ๕ แก่ภิกษุ เหมือนมนุษย์ผู้ยืนอยู่ในร้านตลาดบอกคุณและโทษในขันสำริดสำหรับใส่น้ำดื่มแก่บุรุษนั้น ในอุปมานั้น เปรียบเหมือนเมื่อเขาบอกกล่าวถึงคุณและโทษในขันสำริดใส่น้ำดื่มแล้ว บุรุษนั้น ด้วยคุณสมบัติมีสีเป็นต้นนั่นเองก็เกิดความระหายฉับพลันว่า "ถ้าจักตาย ก็จักรู้กันทีหลัง" ไม่พิจารณาโดยรอบคอบแล้วดื่มน้ำในขันสำริดนั้น ก็ประสบความตายหรือทุกข์ปางตายฉันใด
               ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน แม้ถูกอาจารย์และพระอุปัชฌาย์แสดงอานิสงส์และโทษอย่างนี้ว่า อัสสาทะเป็นเพียงโสมนัสที่เกิดขึ้นในกามคุณ ๕ ด้วยอำนาจการเห็นเป็นต้น แต่โทษมีประการต่างๆ เป็นอันมากเป็นไปในปัจจุบันและสัมปรายภพ กามทั้งหลายมีคุณน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก แล้วโอวาทอย่างนี้ว่า เธอจงปฏิบัติสมณปฏิปทา จงคุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย จงรู้จักประมาณในโภชนะ จงประกอบเนื่องๆ ซึ่งความเพียรเป็นเครื่องตื่น ดังนี้.
               เพราะตนมีจิตถูกอัสสาทะผูกพันจึงระรานอาจารย์และพระอุปัชฌาย์ว่า ถ้าจักมีโทษมีประการดังกล่าวแล้วไซร้ ผมจักรู้ในภายหลัง แล้วละอุเทศ (การศึกษา) และปริปุจฉา (การสอบถาม) เป็นต้น และวัตรปฏิบัติ พูดแต่เรื่องโลกามิส บอกลาสิกขาเวียนมาเพื่อเป็นคนเลว เพราะปรารถนาจะบริโภคกาม.
               ต่อแต่นั้นบำเพ็ญทุจริต ๓ ถูกเจ้าหน้าที่จับตัวได้ในขณะตัดช่องย่องเบาเป็นต้น แสดงต่อพระราชาว่า ผู้นี้เป็นโจร ก็ประสบอนิฏฐผลมีการถูกตัดมือตัดเท้าเป็นต้น หรือถูกตัดศีรษะในโลกนี้แล แล้วยังจะเสวยทุกข์เป็นอันมากในอบายทั้งสี่ในสัมปรายภพ.
               บทว่า ปานีเยน วา วิเนตุํ ความว่า นำไปด้วยน้ำเย็น.
               บทว่า ทธิมณฺฑเกน ได้แก่ ด้วยนมส้มที่ใส.
               บทว่า มฏฺฐโลณิกาย ได้แก่ ด้วยข้าวสัตตุและน้ำดื่มที่เค็ม.
               บทว่า โลณโสจิรเกน ได้แก่ โลณโสจิรกะที่ทำโดยใส่ข้าวเปลือกผลไม้และผลดองดึงเป็นต้น ทุกอย่างทำให้เป็นยาดองชื่อโสณโสจิรกะ ด้วยยาดองชื่อโสณโสจิรกะนั้น.
               ก็ในข้อนี้มีการเปรียบเทียบข้ออุปมาดังนี้
               พระโยคาวจรในเวลาอาศัยวัฏฏะ พึงเห็นเหมือนบุรุษถูกความร้อนแผดเผา การบรรลุอรหัตผลของภิกษุผู้ตั้งอยู่ในโอวาทของอุปัชฌาย์อาจารย์ กำหนดทวาร ๖ เป็นต้น เจริญวิปัสสนาโดยลำดับ พึงเห็นเหมือนบุรุษนั้นพิจารณาแล้วละขันสำริดสำหรับใส่น้ำดื่ม บรรเทาคามกระหายด้วยน้ำดื่มเป็นต้น มรรค ๔ พึงเห็นเหมือนฐานะ ๔ มีน้ำดื่มเป็นต้น เวลาที่พระขีณาสพดื่มน้ำคือมรรค ๔ บรรเทาตัณหา ไปสู่ทิศทางพระนิพพานที่ไม่เคยไป พึงทราบเหมือนการที่บุรุษดื่มน้ำดื่ม ๔ อย่างอย่างใดอย่างหนึ่ง บรรเทาความกระหายสุรามีความสุข ไปตามทิศทางที่ปรารถนา.

               จบอรรถกถาสัมมสสูตรที่ ๖               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา สังยุตตนิกาย นิทานวรรค อภิสมัยสังยุตต์ มหาวรรคที่ ๗ สัมมสสูตร จบ.
อ่านอรรถกถา 16 / 1อ่านอรรถกถา 16 / 250อรรถกถา เล่มที่ 16 ข้อ 254อ่านอรรถกถา 16 / 263อ่านอรรถกถา 16 / 725
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=16&A=2855&Z=3005
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=12&A=3020
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=12&A=3020
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๒๙  กันยายน  พ.ศ.  ๒๕๔๙
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :