![]() |
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
![]() |
![]() | |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() บทว่า อุปฺปชฺชติ รูปสญฺญา ได้แก่ สัญญาย่อมเกิดขึ้นในอารมณ์มีประการดังกล่าวแล้ว. บทว่า รูปสงฺกปฺโป ได้แก่ ความดำริประกอบด้วยจิต ๓ ดวง ในอารมณ์นั้นแล. บทว่า รูปสมฺผสฺโส ได้แก่ ผัสสะอันถูกต้องอารมณ์นั้นๆ. บทว่า เวทนา ได้แก่ เวทนาเมื่อเสวยอารมณ์นั้นแล. ธรรมมีฉันทะเป็นต้น มีนัยตามที่กล่าวแล้วแล. บทว่า รูปลาโภ ความว่า อารมณ์อันตนแสวงหาได้ พร้อมด้วยตัณหา เรียกว่ารูปลาภะ. นัยที่รวมไว้ทั้งหมดนี้ ครั้งแรก ท่านกล่าวไว้ด้วยอำนาจความเกิดขึ้นของธรรมทั้งปวง ในอารมณ์เดียวเท่านั้น. อีกนัยหนึ่งผสมกับอารมณ์ที่จรมา. ครั้งแรก ธรรม ๔ เหล่านี้ คือ รูปสัญญา รูปสังกัปปะ ผัสสะ เวทนา มีอยู่ในอารมณ์เป็นประจำสำหรับหน่วงเหนี่ยวรูปไว้ จริงอยู่ อารมณ์ประจำเป็นอารมณ์น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ย่อมปรากฏเหมือนมีอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง. ส่วนอารมณ์ที่จรมา ทำให้อารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง แม้ที่มีอยู่ พุ้งขึ้นตั้งอยู่. ในข้อนั้นมีเรื่องดังนี้ ได้ยินว่า บุตรอำมาตย์คนหนึ่ง อันคนอยู่ในบ้านห้อมล้อมอยู่ท่ามกลางบ้าน ทำการงาน. ก็สมัยนั้น อุบาสิกาของเขาไปยังแม่น้ำ อาบน้ำเสร็จแล้วก็ตกแต่งด้วยเครื่องประดับอัน ฝ่ายพระจุฬติสสเถระผู้อยู่ในอุรุเวลา กล่าวว่า ผัสสะและเวทนา พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงถือเอาในท่ามกลาง ตามลำดับ แม้ก็จริง ถึงกระนั้น แต่เมื่อเปลี่ยนลำดับ สัญญาที่เกิดขึ้นในอารมณ์มีประการดังกล่าวแล้ว ชื่อว่ารูปสัญญา. ความดำริในรูปนั้นแล ชื่อว่ารูปสังกัปปะ. ความพอใจในรูปสังกัปปะนั้น ชื่อว่ารูปฉันทะ. ความเร่าร้อนในรูปฉันทะนั้น ชื่อว่ารูปปริฬาหะ. การแสวงหาในรูปปริฬาหะนั้น ชื่อว่ารูปปริเยสนา. อารมณ์อันตนแสวงหาได้ พร้อมด้วยตัณหา ชื่อว่ารูปราคะ ส่วนการถูกต้องในอารมณ์ที่ได้แล้วอย่างนี้ ชื่อว่าผัสสะ. การเสวย ชื่อว่าเวทนา. เขาย่อมได้ธรรมสองหมวดนี้คือ รูปผัสสะและรูปสัมผัสสชาเวทนา. คนทั้งหลายถือเอาอารมณ์ ชื่อวาระแห่งอารมณ์ที่ไม่ปรากฏชัด แม้อื่นอีก. จริงอยู่ อารมณ์ (คือรูป) ที่เขาวางล้อมไว้ด้วยม่านและกำแพงหรือว่าปิดบังได้ด้วยหญ้าและใบไม้เป็นต้น. เมื่อแลดูอารมณ์นั้นอยู่คิดว่า รูปอารมณ์นั้นอันเราเห็นแล้วครึ่งหนึ่ง เราไม่เห็นรูปอารมณ์ชัด สัญญาที่เกิดขึ้นในอารมณ์นั้น ชื่อว่ารูปสัญญา. ความดำริเป็นต้นที่เกิดขึ้นในรูปนั้นแล พึงทราบว่า ชื่อว่ารูปสังกัปปะ ความดำริในรูปเป็นต้นดังนี้. อนึ่ง ในอารมณ์นี้ สัญญา สังกัปปะ ผัสสะ เวทนา ฉันทะ ได้ในชวนวาระเดียวกันบ้าง ในชวนวาระต่างกันบ้าง. ปริฬาหะ ปริเยสนา ลาภะ ได้ในชวนวาระต่างกันเท่านั้น ด้วยประการฉะนี้. จบอรรถกถาผัสสสูตรที่ ๙ ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา สังยุตตนิกาย นิทานวรรค ธาตุสังยุตต์ นานัตตวรรคที่ ๑ ผัสสสูตรที่ ๙ จบ. |