![]() |
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
![]() |
![]() | |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() บทว่า เอกวิหาเร ได้แก่ ในห้องหนึ่ง. ได้ยินว่า ครั้งนั้น ภิกษุอาคันตุกะประชุมกันเป็นอันมาก. เพราะฉะนั้น เสนาสนะแถวชายบริเวณหรือชายวิหารไม่เพียงพอ พระเถระสองรูปต้องอยู่ห้องเดียวกัน. พระเถระเหล่านั้น กลางวันนั่งแยกกัน แต่กลางคืนกั้นม่านไว้ในระหว่างพระเถระทั้งสอง พระเถระเหล่านั้นนั่งในที่ที่ถึงแก่ตนเท่านั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เอกวิหาเร. คำว่า โอฬาริเกน ท่านกล่าวหมายเอาความมีอารมณ์หยาบ. ด้วยว่า พระเถระนั่นอยู่ด้วยวิหารธรรมคือทิพยจักษุและทิพยโสต. จริงอยู่ รูปายตนะและสัททายตนะที่พระเถระทั้งสองนั้นฟังแล้ว เป็นอารมณ์หยาบ. วิหารธรรมนั้นชื่อว่าหยาบ เพราะเห็นรูปด้วยทิพยจักษุ และฟังเสียงด้วยทิพยโสตธาตุ. บทว่า ทิพฺพจกฺขุ ํ วิสุชฺฌิ ความว่า ทิพยจักษุได้บริสุทธิ์โดยที่ได้เห็นพระรูปของพระผู้มีพระภาคเจ้า. บทว่า ทิพฺพา จ โสตธาตุ ความว่า ทิพยโสตธาตุแม้นั้นชื่อว่าบริสุทธิ์โดยที่ได้ฟังพระ ได้ยินว่า ในกาลนั้น พระเถระคิดว่า บัดนี้ พระศาสดาประทับอยู่ที่ไหนหนอ จึงเจริญอาโลกกสิณ เห็นพระศาสดาประทับนั่ง ณ พระคันธกุฎี ในพระเชตวันวิหาร ด้วยทิพยจักษุ ได้ฟังพระสุรเสียงของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นด้วยทิพยโสตธาตุ. แม้พระศาสดาก็ได้ทรงกระทำเหมือนอย่างนั้นนั่นแล. พระศาสดาและพระเถระได้เห็นและได้ฟังเสียงกันและกัน ด้วยประการฉะนี้. บทว่า อารทฺธวิริโย ได้แก่ มีความเพียรบริบูรณ์ คือประคองความเพียรไว้แล้ว. บทว่า ยาวเทว อุปนิกฺเขปนมตฺตาย ความว่า ก้อนหินขนาดเท่าเมล็ดพันธุ์ผักกาดที่วางไว้ใกล้ภูเขาหิมวันต์ซึ่งกว้างสามพันโยชน์. ท่านอธิบายว่า ก้อนหินมีไว้เพียงเพื่อจะเทียบเคียงอย่างนี้ว่า ภูเขาหิมวันต์ใหญ่หนอ ก้อนหินเท่านี้หนอ. แม้ข้างหน้าก็นัยนี้แหละ. บทว่า กปฺปํ ได้แก่ ตลอดอายุกัป. ด้วยบทว่า โลณฑฏาย ท่านแสดงเปรียบเหมือนหม้อเกลือที่วางไว้กว้างเท่าขอบปากจักรวาลสูงจดพรหมโลก. ก็พระเถระเหล่านั้น เมื่อนำอุปมามาเปรียบเทียบกับสิ่งที่เห็นกันและกับคุณที่มีอยู่. อย่างไร. จริงอยู่ ธรรมดาว่าฤทธิ์นี้เป็นเสมือนภูเขาหิมพานต์ เพราะอรรถว่าสูงลิบ และเพราะอรรถว่าขนาดใหญ่. ส่วนปัญญาเป็นเสมือนรสเกลือที่ใส่เข้าไว้ในกับข้าวทุกชนิด เพราะอรรถว่าเข้าไปตั้งอยู่ในธรรมอันเป็นไปในภูมิ ๓ นำมาเปรียบเทียบ ด้วยอรรถว่าเห็นสมกัน อย่างนี้ก่อน. ส่วนลักษณะแห่งสมาธิปรากฏแจ่มชัดแก่พระมหาโมคคัลลานเถระ. ชื่อว่าฤทธิ์ที่ไม่มีอยู่ ย่อมไม่มีแก่พระสารีบุตรเถระก็จริง ถึงอย่างนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงตั้งพระมหาโมคคัล ส่วนลักษณะวิปัสสนาปรากฏแจ่มชัดแก่พระสารีบุตรเถระ. ปัญญามีอยู่แม้แก่พระมหาโมค เพราะฉะนั้น ท่านทั้งสองจึงรับหน้าที่แห่งกันและกัน นำมาเปรียบเทียบกับคุณที่มีอยู่ด้วยประการฉะนี้. จริงอยู่ พระมหาโมคคัลลานเถระบรรลุความสำเร็จในสมาธิลักษณะ พระสารีบุตรเถระบรรลุในวิปัสสนาลักษณะ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าบรรลุทั้งสองลักษณะ. จบอรรถกถาฆฏสูตรที่ ๓ ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา สังยุตตนิกาย นิทานวรรค ภิกขุสังยุตต์ ฆฏสูตร จบ. |