ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 17 / 1อ่านอรรถกถา 17 / 170อรรถกถา เล่มที่ 17 ข้อ 182อ่านอรรถกถา 17 / 193อ่านอรรถกถา 17 / 594
อรรถกถา สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค ขันธสังยุตต์ มัชฌิมปัณณาสก์ ขัชชนิยวรรคที่ ๓
ปุณณมสูตร ว่าด้วยอุปาทานขันธ์ ๕

               อรรถกถาปุณณมสูตรที่ ๑๐               
               พึงทราบวินิจฉัยในปุณณมสูตรที่ ๑๐ ดังต่อไปนี้ :-
               บทว่า ตทหุโปสเถ เป็นต้น ได้อธิบายไว้แล้วอย่างพิสดารในปวารณาสูตร.

               พระถามปัญหาเรื่องเบญจขันธ์               
               บทว่า กิญฺจิ เทสํ ได้แก่ เหตุบางอย่าง.
               ถามว่า เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสอย่างนี้ว่า เธอจงนั่งบนอาสนะของตนแล้วถามปัญหาที่เธอจำนงหมายเถิด.
               ตอบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้ เพราะทรงทราบว่า ได้ยินว่า ภิกษุนั้นมีภิกษุเป็นบริวาร ๕๐๐ รูป ก็เมื่อภิกษุรูปที่เป็นอาจารย์ยืน (ปาฐะว่า วิตกฺเก ปุจฺฉนฺเต ฉบับพม่าเป็น ฐิตเก ปุจฺฉนฺเต แปลตามฉบับพม่า.) ทูลถามปัญหาอยู่ ถ้าภิกษุ (๕๐๐ รูป) นั้นนั่ง ก็เป็นการทำความเคารพในพระศาสดา (แต่) ไม่เป็นการทำความเคารพในอาจารย์ ถ้ายืน ก็เป็นการทำความเคารพในอาจารย์ (แต่) ไม่เป็นการทำความเคารพในพระศาสดา เมื่อเป็นเช่นนี้ จิตของภิกษุเหล่านั้นก็จักฟุ้งซ่าน พวกเธอจักไม่สามารถรองรับพระธรรมเทศนาได้ แต่เมื่อภิกษุรูปที่เป็นอาจารย์นั้นนั่งถาม จิตของภิกษุเหล่านั้นจักแน่วแน่ (ในอารมณ์เดียว) พวกเธอก็จักสามารถรองรับพระธรรมเทศนาได้.
               บทว่า อิเม นุ โข ภนฺเต ความว่า พระเถระนี้อันใครๆ ไม่ควรพูด (ตำหนิ) ว่า ผู้ที่เป็นอาจารย์ของภิกษุตั้ง ๕๐๐ รูป ไม่รู้แม้เพียงเบญจขันธ์ เนื่องจากว่า การที่เธอเมื่อถามปัญหาจะถามเหมือนคนรู้อย่างนี้ว่า อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ ไม่ใช่อุปาทานขันธ์เหล่าอื่น ไม่เหมาะเลย เพราะฉะนั้น ท่านจึงถามเหมือนคนไม่รู้.
               อนึ่ง แม้อันเตวาสิกทั้งหลายของท่านนั้น จักพากันคิดว่า อาจารย์ของพวกเราไม่พูดว่าเรารู้ แต่เทียบเคียงกับพระสัพพัญญุตญาณ ก่อนแล้วจึงพูด ดังนี้แล้ว สำคัญคำสอนของท่านว่า ควรฟัง ควรเชื่อถือ แม้เพราะเหตุนั้น ท่านจึงถามเหมือนคนไม่รู้.

               เบญจขันธ์มีฉันทะเป็นมูลเหตุ               
               บทว่า ฉนฺทมูลกา คือ (เบญจขันธ์) มีฉันทะ คือตัณหาเป็นมูล.
               บทว่า น โข ภิกฺขุ ตญฺเญว อุปาทานํ เต จ ปญฺจุปาทานกฺขนฺธา ความว่า เพราะเหตุที่เบญจขันธ์ที่พ้นไปจากฉันทราคะไม่มี ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสพระพุทธพจน์บทนี้ไว้. แต่เพราะเหตุที่ไม่มีอุปาทานที่พ้นไปจากขันธ์ทั้งโดยสหชาตปัจจัยหรือโดยอารัมมณปัจจัย ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงไม่ตรัสว่า อุปาทานมีนอกจากอุปาทานขันธ์ ๕. เพราะว่า เมื่อจิตที่สัมปยุตด้วยตัณหาเป็นไปอยู่ รูปที่มีจิตนั้นเป็นสมุฏฐานชื่อว่า รูปขันธ์. เว้นตัณหาเสีย อรูปธรรมที่เหลือจัดเป็นขันธ์ ๔ รวมความว่า ไม่มีอุปาทานที่พ้นไปจากขันธ์ทั้งโดยสหชาตปัจจัย อนึ่ง ไม่มีอุปาทานที่พ้นไปจากเบญจขันธ์ทั้งโดยอารัมปัจจัย เพราะอุปาทานทำขันธ์ใดขันธ์หนึ่งในบรรดาเบญจขันธ์มีรูปเป็นต้นให้เป็นอารมณ์เกิดขึ้น.

               ฉันทราคะมีต่างๆ กัน               
               บทว่า ฉนฺทราคเวมตฺตตา แปลว่า ความที่ฉันทราคะมีต่างๆ กัน.
               บทว่า เอวํ โข ภิกฺขุ ความว่า ความที่ฉันทราคะมีต่างๆ กัน พึงมีได้ เพราะฉันทราคะที่มีรูปเป็นอารมณ์อย่างนี้ ก็จะไม่ทำขันธ์ใด ขันธ์หนึ่งในบรรดาขันธ์มีเวทนาขันธ์เป็นต้นให้เป็นอารมณ์.

               บัญญัติ               
               บทว่า ขนฺธาธิวจนํ คือ นี้เป็นบัญญัติของขันธ์ทั้งหลาย. (ปาฐะว่า ขนฺธาติ อยํ ปญฺญตฺติ ฉบับสีหลเป็น ขนฺธานํ อยํ ปญฺญตฺติ แปลตามฉบับสีหล.) ก็บัญญัตินี้ไม่สืบต่ออนุสนธิกันเลย ไม่สืบต่ออนุสนธิกันก็จริง ถึงกระนั้น คำถามก็มีอนุสนธิ (ต่อเนื่องกัน) คำวิสัชนาก็มีอนุสนธิ (ต่อเนื่องกัน).
               ถึงพระเถระนี้ทูลถาม (ปัญหากะพระผู้มีพระภาคเจ้า) ตามอัธยาศัยของภิกษุเหล่านั้นๆ. ฝ่ายพระศาสดาก็ทรงแก้ (ปัญหา) ตามอัธยาศัยของภิกษุเหล่านั้นเหมือนกัน.
               บทที่เหลือในที่ทุกแห่งมีความหมายง่ายทั้งนั้น.

               จบอรรถกถาปุณณมสูตรที่ ๑๐               
               -----------------------------------------------------               

               ก็แล ในสูตรแต่ละสูตรของวรรคนี้ (มี) ภิกษุ ๕๐๐ รูปได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์แล.

               จบอรรถกถาขัชชนียวรรคที่ ๓               
               -----------------------------------------------------               

               รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
                         ๑. อัสสาทสูตร
                         ๒. สมุทยสูตร ๑
                         ๓. สมุทยสูตร ๒
                         ๔. อรหันตสูตรที่ ๑
                         ๕. อรหันตสูตรที่ ๒
                         ๖. สีหสูตร
                         ๗. ขัชชนิยสูตร
                         ๘. ปิณโฑลยสูตร
                         ๙. ปาลิเลยยกสูตร
                         ๑๐. ปุณณมสูตร.
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค ขันธสังยุตต์ มัชฌิมปัณณาสก์ ขัชชนิยวรรคที่ ๓ ปุณณมสูตร ว่าด้วยอุปาทานขันธ์ ๕ จบ.
อ่านอรรถกถา 17 / 1อ่านอรรถกถา 17 / 170อรรถกถา เล่มที่ 17 ข้อ 182อ่านอรรถกถา 17 / 193อ่านอรรถกถา 17 / 594
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=17&A=2228&Z=2356
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=12&A=7412
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=12&A=7412
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๒๙  กันยายน  พ.ศ.  ๒๕๔๙
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :