บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
ในบทว่า อนิจฺจโต เป็นต้น พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :- อุปาทานขันธ์ ๕ ภิกษุพึงใส่ใจว่าไม่เที่ยง โดยอาการที่มีแล้วกลับไม่มี (เกิดแล้วดับ) พึงใส่ใจว่าเป็นทุกข์ โดยอาการที่เบียดเบียน บีบคั้น พึงใส่ใจว่าเป็นโรค เพราะหมายความว่าเจ็บป่วย พึงใส่ใจว่าเป็นฝี เพราะหมายความว่าเสียอยู่ข้างใน พึงใส่ใจว่าเชือดเฉือน เพราะเป็นปัจจัยของฝีเหล่านั้น หรือเพราะหมายความว่า ขุด พึงใส่ใจว่าโดยยาก เพราะหมายความเป็นทุกข์ พึงใส่ใจว่าเป็นผู้เบียดเบียน เพราะหมายความว่าเป็นปัจจัยให้เกิดอาพาธอันมีมหาภูตรูปที่เป็นวิสภาคกันเป็นสมุฏฐาน พึงใส่ใจว่าเป็นอื่น เพราะหมายความว่าไม่ใช่ของตน พึงใส่ใจว่าทรุดโทรม เพราะหมายความว่าย่อยยับ พึงใส่ใจว่าว่าง เพราะหมายความว่าว่างจากสัตว์ พึงใส่ใจว่า เป็นอนัตตา เพราะไม่มีอัตตา. ในที่นี้พึงทราบอธิบายเพิ่มเติมอย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถึงการใส่ใจว่าไม่เที่ยง ด้วยสองบทว่า อนิจฺจโต ปิโลกโต (ไม่เที่ยง, แตกสลาย) ตรัสถึงการใส่ใจว่าเป็นอนัตตา ด้วยสองบทว่า สุญฺญโต อนตฺตโต (ว่าง, เป็นอนัตตา) ตรัสถึงการใส่ใจว่าเป็นทุกข์ ด้วยบทที่เหลือ บทที่เหลือในพระสูตรนี้ มีความหมายง่ายแล. จบอรรถกถาสีลสูตรที่ ๑๐ ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค ขันธสังยุตต์ จุลปัณณาสก์ ธัมมกถิกวรรคที่ ๒ ๑๐. สีลสูตร ว่าด้วยธรรมที่ควรใส่ใจโดยแยบคาย จบ. |