![]() |
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
![]() |
![]() | |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() พระอานนทเถระเห็นพวกภิกษุเหล่าอื่น ยังพระศาสดาให้บอกพระกรรมฐานขันธ์ ๕ ประกอบแล้วสืบต่อแล้วบรรลุพระอรหัตต์ แล้วพยากรณ์พระอรหัตต์ในสำนักพระศาสดา จึงคิดว่า แม้เราก็จักยังพระศาสดาให้ตรัสบอกพระกรรมฐานขันธ์ ๕ แล้ว ประกอบอยู่สืบต่ออยู่บรรลุพระอรหัตต์แล้ว จักพยากรณ์พระอรหัตต์ ดังนี้ จึงเข้าไปเฝ้า. ก็พระศาสดาแม้ไม่ทรงเห็นการละกิเลสทั้งหลายอันมรรคเบื้องบนสามพึงฆ่าของพระเถระ ในเวลาที่พระองค์ยังทรงพระชนม์อยู่ ก็ตรัสบอกด้วยพระดำริว่า เราจักกำหนดดูจิตของภิกษุนี้. ก็จิตของพระเถระแม้นั้นฟังมนสิการพระกรรมฐานครั้งหนึ่งหรือสองครั้งก็พึงไปด้วยคิดว่า เวลานี้เป็นเวลาอุปฐากพระพุทธเจ้า. พระอานนทเถระนั้นมีธรรมเป็นเครื่องบ่มวิมุตติ ยังจิตของท่านให้ร่าเริงอยู่ เป็นผู้ประกอบเนืองๆ ในพระกรรมฐาน เกิดแล้วด้วยประการฉะนี้. จบอรรถกถาอานันทสูตรที่ ๑๐ จบอรรถกถาทิฏฐิวรรคที่ ๕ ----------------------------------------------------- รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ ๑. อัชฌัตติกสูตร ๒. เอตังมมสูตร ๓. เอโสอัตตาสูตร ๔. โมจเมสิยาสูตร ๕. มิจฉาทิฏฐิสูตร ๖. สักกายทิฏฐิสูตร ๗. อัตตานุทิฏฐิสูตร ๘. อภินิเวสสูตรที่ ๑ ๙. อภินิเวสสูตรที่ ๒ ๑๐. อานันทสูตร. ----------------------------------------------------- รวมวรรคที่มีในจุลปัณณาสก์นั้น คือ ๑. อันตวรรค ๒. ธัมมกถิกวรรค ๓. อวิชชาวรรค ๔. กุกกุฬวรรค ๕. ทิฏฐิวรรค รวม ๕ วรรค ตติยปัณณาสก์และนิบาตก็เรียกในขันธสังยุตนั้น รวมปัณณาสก์ที่มีในขันธสังยุต ๓ ปัณณาสก์. ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค ขันธสังยุตต์ ขันธสังยุตต์ จุลปัณณาสก์ ทิฏฐิวรรคที่ ๕ อานันทสูตร จบ. |