ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 17 / 1อ่านอรรถกถา 17 / 425อรรถกถา เล่มที่ 17 ข้อ 427อ่านอรรถกถา 17 / 429อ่านอรรถกถา 17 / 594
อรรถกถา สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค ทิฏฐิสังยุต โสตาปัตติวรรคที่ ๑
กโรโตสูตรที่ ๖ ว่าด้วยอกิริยทิฏฐิ

               อรรถกถากโรโตสูตรที่ ๖               
               บทว่า กโรโต คือ ทำด้วยมือของตนเอง.
               บทว่า การยโต คือ ให้เขาทำตามคำสั่ง (ใช้ให้ทำ).
               บทว่า ฉินฺทโต คือ ตัดอวัยวะทั้งหลายมีมือเป็นต้นของบุคคลอื่น.
               บทว่า เฉทาปยโต คือ เบียดเบียนด้วยอาชญา.
               บทว่า โสจยโต ความว่า ทำความเศร้าโศกแก่บุคคลอื่นเองก็ดี ใช้ให้ผู้อื่นทำก็ดี ด้วยทุจริตกรรม มีลักของของบุคคลอื่นไปเป็นต้น.
               บทว่า กิลมโต ความว่า ทำตัวเองให้ลำบากก็ดี ทำผู้อื่นให้ลำบากก็ดี ด้วยการงดให้อาหารและการถูกกักขังในเรือนจำเป็นต้น.
               บทว่า ผนฺทโต ผนฺทาปยโต ความว่า ในเวลาเบียดเบียนบุคคลอื่นผู้ดิ้นรนอยู่ ชื่อว่าทั้งทำตัวเองให้ดิ้นรน ทั้งทำให้บุคคลอื่น แม้นั้นดิ้นรนด้วย.
               บทว่า ปาณมติปาตาปยโต ความว่า ฆ่าสัตว์เองก็ดี ใช้ให้ผู้อื่นฆ่าก็ดี.
               ในทุกๆ บท ก็พึงทราบความหมาย ด้วยอำนาจเหตุแห่งการกระทำอย่างนี้แล.
               บทว่า สนฺธึ ได้แก่ ที่ต่อของเรือน.
               บทว่า นิลฺโลปํ ได้แก่ การปล้นสะดมใหญ่.
               บทว่า เอกาคาริกํ ได้แก่ การล้อมเรือนหลังเดียวแล้วปล้น.
               บทว่า ปริปนฺเถ ได้แก่ ดักอยู่ที่ทางหลวง เพื่อตีชิงผู้คนที่ผ่านไปผ่านมา.
               ด้วยบทว่า กรโต น กรียติ ปาปํ อกิริยวาทีบุคคลทั้งหลายย่อมแสดงว่า เมื่อบุคคลแม้ทำอยู่ด้วยความสำคัญว่า เราทำบาปอย่างใดอย่างหนึ่ง บาปก็ไม่เป็นอันทำ บาปไม่มี เป็นแต่ว่าสัตว์ทั้งหลายมีความสำคัญอย่างนี้ว่า เราทำ.
               บทว่า ขุรปริยนฺเตน ความว่า ด้วยคมมีดโกน หรือด้วยปลาย (ที่คม) เช่นกับคมมีดโกน.
               บทว่า เอกํ มํสขลํ ได้แก่ กองเนื้อกองเดียวกัน.
               บทว่า ปุญฺชํ เป็นไวพจน์ ของบทว่า มํสขลํ นั้นนั่นแล.
               บทว่า ตโตนิทานํ ได้แก่ มีการทำให้เป็นลานเนื้อเดียวกันเป็นเหตุ.
               บทว่า ทกฺขิณํ ความว่า มนุษย์บนฝั่งขวาเป็นคนโหดร้ายทารุณ.
               พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายเอามนุษย์เหล่านั้น จึงตรัสคำว่า หนนฺโต เป็นต้น. มนุษย์บนฝั่งซ้ายเป็นผู้มีศรัทธาเลื่อมใส เป็นพุทธมามกะ ธรรมมามกะ สังฆมามกะ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายเอามนุษย์เหล่านั้น จึงตรัสคำว่า ททนฺโต เป็นต้น.
               บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยชนฺโต ได้แก่ ทำการบูชาใหญ่.
               บทว่า ทเมน คือ ด้วยการฝึกอินทรีย์ ได้แก่ด้วยอุโบสถกรรม.
               บทว่า สํยเมน คือ ด้วยการรักษาศีล.
               บทว่า สจฺจวชฺเชน คือ ด้วยการกล่าวคำสัตย์.
               บทว่า อาคโม แปลว่า การมา. อธิบายว่า ความเป็นไป.
               อกิริยวาทีบุคคลปฏิเสธการทำบุญและบาปอย่างสิ้นเชิง.

               จบอรรถกถากโรโตสูตรที่ ๖               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค ทิฏฐิสังยุต โสตาปัตติวรรคที่ ๑ กโรโตสูตรที่ ๖ ว่าด้วยอกิริยทิฏฐิ จบ.
อ่านอรรถกถา 17 / 1อ่านอรรถกถา 17 / 425อรรถกถา เล่มที่ 17 ข้อ 427อ่านอรรถกถา 17 / 429อ่านอรรถกถา 17 / 594
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=17&A=5043&Z=5095
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=12&A=8168
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=12&A=8168
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๓๐  กันยายน  พ.ศ.  ๒๕๔๙
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :