![]() |
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
![]() |
![]() | |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() บทว่า จิตฺตสฺเสโส อุปกฺกิเลโส ความว่า (เป็นอุปกิเลส) ของจิตดวงไหน? (เป็นอุปกิเลส) ของจิตที่เป็นไปในภูมิ ๔. ถามว่า (ฉันทราคะเป็นอุปกิเลส) ของจิตที่เป็นไปในภูมิ ๓ นับว่าถูกต้อง (แต่) (เป็นอุปกิเลส) ของโลกุตตรจิตได้อย่างไร? ตอบว่า เป็นได้เพราะห้ามการเกิดขึ้น (แห่งโลกุตตรจิต). อธิบายว่า ฉันทราคะนั้น พึงทราบว่าเป็นอุปกิเลส เพราะไม่ให้โลกุตตรจิตนั้นเกิดขึ้น. บทว่า เนกฺขมฺมนินฺนํ ได้แก่ (จิต) ที่น้อมไปในโลกุตตรธรรม ๙. บทว่า จิตฺตํ ได้แก่ จิตที่เจริญสมถะและจิตที่เจริญวิปัสสนา บทว่า อภิญฺญา สจฺฉิกรณีเยสุ ธมฺเมสุ ความว่า หรือเมื่อบุคคลจะยึดถือธรรมอย่างหนึ่ง ในบรรดาธรรมคืออภิญญา ข้อที่ ๖ ที่พึงรู้แล้วทำให้แจ้งด้วยปัจจเวกขณญาณ ก็พึงยึดถือว่า เนกขัมมะ ก็คือพระนิพพานนั่นเอง. บทที่เหลือในสูตรทั้งหมด มีความหมายง่ายทั้งนั้นแล. จบอรรถกถากิเลสสังยุต ----------------------------------------------------- รวมพระสูตรที่มีในสังยุตนี้ คือ ๑. จักขุสูตร ๒. รูปสูตร ๓. วิญญาณสูตร ๔. ผัสสสูตร ๕. เวทนาสูตร ๖. สัญญาสูตร ๗. เจตนาสูตร ๘. ตัณหาสูตร ๙. ธาตุสูตร ๑๐. ขันธสูตร อรรถกถาที่มีมาก่อนหน้านี้ :- .. อรรถกถา สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค กิเลสสังยุต ๕. เวทนาสูตร ว่าด้วยอุปกิเลสแห่งจิต จบ. |