ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 18 / 1อ่านอรรถกถา 18 / 124อรรถกถา เล่มที่ 18 ข้อ 128อ่านอรรถกถา 18 / 131อ่านอรรถกถา 18 / 803
อรรถกถา สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค สฬายตนสังยุตต์ ฉฬวรรคที่ ๕
๑. สังคัยหสูตรที่ ๑

               ฉฬวรรคที่ ๕               
               อรรถกถาปฐมสังคัยหสูตรที่ ๑               
               ในปฐมสังคัยหสูตรที่ ๑ ฉฬวรรคที่ ๕ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
               บทว่า อทนฺตา แปลว่า ไม่ฝึกแล้ว. บทว่า อคุตฺตา แปลว่า ไม่คุ้มครองแล้ว.
               บทว่า อรกฺขิตา แปลว่า ไม่รักษาแล้ว. บทว่า อสํวุตา แปลว่า ไม่ปิดแล้ว.
               บทว่า ทุกฺขาธิวาหา โหนฺติ ความว่า ย่อมนำมาซึ่งทุกข์มีประมาณยิ่ง ต่างด้วยทุกข์ในนรกเป็นต้น.
               บทว่า สุขาธิวาหา โหนฺติ ความว่า ย่อมนำมาซึ่งสุขมีประมาณยิ่ง ต่างด้วยฌาน และมรรคผล. บาลีว่า อธิวาหา ดังนี้ก็มี ความก็เหมือนกัน.
               บทว่า ฉเฬว แยกสนธิเป็น ฉ เอว. บทว่า อสํวุโต ยตฺถ ทุกฺขํ นิคจฺฉติ ความว่า บุคคลผู้เว้นจากการสำรวมในอายตนะเหล่าใด ย่อมถึงทุกข์.
               บทว่า เตสญฺจ เย สํวรณํ อเวทึสุ ความว่า ชนเหล่าใดประสบคือได้ความสำรวมอายตนะเหล่านั้น.
               บทว่า วิหรนฺตานวสฺสุตา ได้แก่ เป็นผู้อันราคะไม่ชุ่ม ไม่เปียกอยู่.
               บทว่า อสาทุํ สาทุํ ได้แก่ ไม่อร่อยและอร่อย.
               บทว่า ผสฺสทฺวยํ สุขทุกฺขํ อุเปกฺเข ได้แก่ ผัสสะในอุเบกขามี ๒ คือ สุขสัมผัสหรือทุกขสัมผัส. อธิบายว่า พึงให้อุเบกขา เกิดขึ้นในผัสสะ ๒ อย่างเดียว.
               อีกอย่างหนึ่ง บาลีว่า ผสฺสทฺวยํ สุขทุกฺขํ อุเปกฺขา (ผัสสะ ๒ สุขทุกข์ อุเปกขา). อธิบายว่า สุขทุกข์ อุเบกขา มีผัสสะเป็นเหตุ. บุคคลไม่ยังความยินดีให้เกิดขึ้นในสุข ไม่ยังความยินร้ายให้เกิดขึ้นในทุกข์ ก็พึงเป็นผู้อุเบกขาวางเฉย.
               บทว่า อนานุรุทฺโท อวิรุทฺธ เกนจิ ความว่า ไม่พึงยินดีไม่พึงยินร้ายกับอารมณ์ไรๆ.
               บทว่า ปปญฺจสญฺญา ความว่า ชื่อว่าเป็นผู้มีสัญญาเนิ่นช้า เพราะกิเลสสัญญา.
               บทว่า อิตรีตรา นรา ได้แก่ สัตว์ผู้ต่ำทราม.
               บทว่า ปปญฺจยนฺตา อุปยนฺติ ความว่า ยินดีธรรมเป็นเครื่องเนิ่นช้า ย่อมเข้าถึงวัฏฏะ.
               บทว่า สญฺญิโน ได้แก่ สัตว์ผู้มีสัญญา.
               บทว่า มโนมยํ เคหสิตญฺจ สพฺพํ ความว่า จิตสำเร็จด้วยใจอันอาศัยเรือนคือกามคุณ ๕ ทั้งปวงนั่นเอง.
               บทว่า ปนุชฺช แปลว่า บรรเทา คือนำออก.
               บทว่า เนกฺขมฺมสิตํ อิริยติ ความว่า ภิกษุผู้เป็นชาติบัณฑิตย่อมดำเนินจิตอาศัยเนกขัมมะ.
               บทว่า ฉสฺสุ ยทา สุภาวิโต ความว่า คราวใดใจอบรมด้วยดีในอารมณ์ ๖.
               บทว่า ผุฏฺฐสฺส จิตฺตํ น วิกมฺปเต กฺวจิ ความว่า หรือเมื่อบุคคลถูกสุขสัมผัสกระทบแล้ว จิตย่อมไม่หวั่นไม่ไหวในอารมณ์อะไรๆ.
               บทว่า ภวถ ชาติมรณสฺส ปารคา ความว่า จงเป็นผู้ถึงฝั่งแห่งชาติและชรา.

               จบอรรถกถาปฐมสังคัยหสูตรที่ ๑               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค สฬายตนสังยุตต์ ฉฬวรรคที่ ๕ ๑. สังคัยหสูตรที่ ๑ จบ.
อ่านอรรถกถา 18 / 1อ่านอรรถกถา 18 / 124อรรถกถา เล่มที่ 18 ข้อ 128อ่านอรรถกถา 18 / 131อ่านอรรถกถา 18 / 803
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=18&A=1745&Z=1787
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=13&A=666
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=13&A=666
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๔  ธันวาคม  พ.ศ.  ๒๕๔๙
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :