ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 18 / 1อ่านอรรถกถา 18 / 214อรรถกถา เล่มที่ 18 ข้อ 216อ่านอรรถกถา 18 / 218อ่านอรรถกถา 18 / 803
อรรถกถา สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค สฬายตนสังยุตต์ เทวทหวรรคที่ ๔
๓. ปัคคัยหสูตรที่ ๑

               อรรถกถาปฐมรูปารามสูตรที่ ๓               
               ในปฐมรูปารามสูตรที่ ๓ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
               บทว่า รูปสมุทิตา แปลว่า บันเทิงในรูป.
               บทว่า ทุกฺขา แปลว่า ถึงทุกข์.
               บทว่า สุโข แปลว่า ถึงสุข ด้วยสุข ในพระนิพพาน.
               บทว่า เกวลา แปลว่า ทั้งสิ้น.
               บทว่า ยาวตตฺถีติ วุจฺจติ ความว่า กล่าวว่า มีอยู่ประมาณเท่าใด.
               โว อักษร ในคำว่า เอเต โว นี้ เป็นเพียงนิบาต.
               บทว่า ปจฺจนิกมิทํ โหติ สพฺพโลเกน ปสฺสตํ ความว่า ความเห็นของบัณฑิตผู้เห็น ย่อมขัดแย้งผิดกับชาวโลกทั้งมวล.
               จริงอยู่ ชาวโลกสำคัญขันธ์ ๕ ว่าเที่ยง เป็นสุข เป็นอัตตา เป็นของงาม. บัณฑิตสำคัญว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ไม่งาม.
               บทว่าสุขโต อาหุ ได้แก่ กล่าวว่าเป็นสุข. บทว่า สุขโต วิทู ความว่า บัณฑิตทั้งหลายรู้ว่าเป็นสุข.
               คำทั้งหมดนี้ ท่านกล่าวหมายเอาพระนิพพานทั้งนั้น.
               ในบทว่า สมฺมูฬฺเหตฺถ นี้ ได้แก่ ผู้หลงพระนิพพาน. บทว่า อวิทฺทสุ ได้แก่ คนเขลาทั้งหลาย.
               จริงอยู่ เจ้าลัทธิ ๙๕#- ลัทธิทั้งหมด ความสำคัญว่า "พวกเราจักบรรลุพระนิพพาน" แต่พวกเขาย่อมไม่รู้แม้ว่า "ชื่อว่านิพพานคือสิ่งนี้".
____________________________
#- พม่าเป็น ๙๖

               บทว่า นิวุตานํ ได้แก่ ถูกเครื่องกางกั้น คือกิเลสหุ้มห่อ ร้อยรัดไว้.
               บทว่า อนฺธกาโร อปสฺสตํ ได้แก่ ความมืดมนย่อมมีแก่ผู้ไม่เห็น.
               ถามว่า ข้อนั้น ทำไมจึงเป็นอย่างนั้น.
               แก้ว่า คนเขลาย่อมไม่ประสบพระนิพพานหรือการเห็นพระนิพพาน.
               จริงอยู่ พระนิพพานก็ดี การเห็นพระนิพพานก็ดี ของคนพาลผู้ไม่เห็นอยู่ ย่อมเป็นเหมือนมณฑลพระจันทร์ที่ถูกเมฆดำปิดไว้. เหมือนภาชนะที่กะทะบังไว้ และเหมือนสิ่งของที่เปิดเผยอยู่แล้วเป็นนิจ.
               สองบาทคาถาว่า สตญฺจ วิวฏํ โหติ อาโลโก ปสฺสตามิว ความว่า วิวฏะคือนิพพาน ย่อมมีแก่ผู้สงบคือสัตบุรุษผู้เห็นอยู่ด้วยปัญญาทัสสนะ เหมือนแสงสว่างมีอยู่แก่บุคคลผู้เห็นอยู่.
               บทว่า สนฺติเก น วิชานนฺติ มคฺคา ธมฺมสฺส อโกวิทา ความว่า พระนิพพานใดชื่อว่าอยู่ใกล้ เพราะผู้แสวงหากำหนดส่วนในผมหรือขนเป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่งในร่างกายของตน เป็นอารมณ์พึงบรรลุได้โดยลำดับ หรือเพราะแสวงหาความดับขันธ์ทั้งหลายของตน พระนิพพานนั้นนั่นและแม้อยู่ใกล้ๆ เหล่าชนผู้แสวงหา ผู้ไม่ฉลาดในธรรม ก็ไม่รู้ซึ่งที่ใช่ทางและมิใช่ทาง หรือสัจจธรรมสี่.
               บทว่า มารเธยฺยานุปนฺเนภิ ได้แก่ ผู้เข้าถึงวัฏฏะอันเป็นไปในภูมิ ๓ อันเป็นสถานที่อยู่ของมาร.
               บทว่า โก นุ อญฺญตฺรมริเยภิ ความว่า เว้นพระอริยะทั้งหลายเสีย คนอื่นใครเล่าควรเพื่อจะรู้บท คือพระนิพพาน.
               บทว่า สมฺมทญฺญาย ปรินิพฺพนฺติ ความว่า รู้โดยชอบด้วยปัญญาอันสัมปยุตด้วยอรหัต ในลำดับนั่นแล เป็นผู้ไม่มีอาสวะ ย่อมดับสนิท ด้วยกิเลสปรินิพพาน การดับกิเลส.
               อีกนัยหนึ่งเป็นผู้ไม่มีอาสวะ เพราะรู้ชอบย่อมปรินิพพานด้วยขันธปรินิพพาน ดับขันธ์ในที่สุด.

               จบอรรถกถาปฐมรูปารามสูตรที่ ๓               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค สฬายตนสังยุตต์ เทวทหวรรคที่ ๔ ๓. ปัคคัยหสูตรที่ ๑ จบ.
อ่านอรรถกถา 18 / 1อ่านอรรถกถา 18 / 214อรรถกถา เล่มที่ 18 ข้อ 216อ่านอรรถกถา 18 / 218อ่านอรรถกถา 18 / 803
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=18&A=3277&Z=3317
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=13&A=1126
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=13&A=1126
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๔  ธันวาคม  พ.ศ.  ๒๕๔๙
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :