![]() |
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
![]() |
![]() | |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() บทว่า สพฺพมญฺญิตสมุคฺฆาตสารุปฺปํ ความว่า สมควรแก่ข้อปฏิบัติอันจะเพิกถอนความสำคัญด้วยตัณหา มานะและทิฏฐิทั้งหมด. บทว่า อิธ ได้แก่ ในพระศาสนานี้. บทว่า จกฺขุํ น มญฺญติ ความว่า ย่อมไม่สำคัญจักษุว่าเรา ว่าของเรา หรือว่าผู้อื่น ของผู้อื่น. บทว่า จกฺขุสฺมึ น มญฺญติ ความว่า ย่อมไม่สำคัญว่า เรามีความกังวลในจักษุ คือมีความกังวลด้วยกิเลสเครื่องกังวลในจักษุของเรา มีความกังวลด้วยกิเลสเครื่องกังวลในจักษุของผู้อื่น. บทว่า จกฺขุโต น มญฺญติ ความว่า ย่อมไม่สำคัญแม้อย่างนี้ว่า เราปราศจากจักษุ คือความกังวลด้วยกิเลสเครื่องกังวล เราปราศจากจักษุ ปราศจากจักษุของผู้อื่น คือความกังวลด้วยกิเลสเครื่องกังวลปราศจากจักษุของผู้อื่น. อธิบายว่า ไม่ทำความสำคัญด้วยตัณหามานะและทิฏฐิ แม้อย่างหนึ่งให้เกิดขึ้น. บทว่า จกฺขุํ เมติ น มญฺญติ ความว่า ไม่สำคัญว่าจักษุของเรา. อธิบายว่า ไม่ทำความสำคัญด้วยตัณหาอันเป็นอัตตาของเรา ให้เกิดขึ้น. คำที่เหลือง่ายทั้งนั้นดังนี้แล. ในพระสูตรนี้ ตรัสวิปัสสนาให้บรรลุพระอรหัตในฐานะ ๑๔๔. จบอรรถกถาสารุปปสูตรที่ ๘ ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค สฬายตนสังยุตต์ สัพพวรรคที่ ๓ ๘. สารูปสูตร จบ. |