บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
บทว่า ทุกฺขธมฺมานํ ได้แก่ ธรรมเป็นเหตุเกิดทุกข์ เมื่อขันธ์ทั้ง ๕ มีอยู่ ทุกข์แยก ____________________________ ๑- ปาฐะว่า ทุกขสมฺภวธมฺมตา ฉบับพม่าเป็น ทุกฺขสมฺภาวธมฺมาตฺตา แปลตามฉบับพม่า. บทว่า ตถา โข ปนสฺสา ความว่า กามทั้งหลายเป็นอันภิกษุนั้นเห็นแล้วด้วยอาการนั้น. บทว่า ยถาสฺส กาเม ปสฺสโต ความว่า เมื่อเธอเห็นกามทั้งหลายด้วยอาการใด. บทว่า ยถา จรนฺตํ ความว่า ผู้เที่ยวติดตาม การเที่ยวไปและการอยู่ โดยอาการใด. บทว่า องฺคารกาสูปมา กามา ทิฏฺฐา โหนฺติ ความว่า กามทั้งหลายเป็นอันภิกษุนั้นเห็นแล้วว่า มีความเร่าร้อนมาก เหมือนความเร่าร้อนในหลุมถ่านเพลิง ด้วยอำนาจทุกข์ที่มีการแสวงหาเป็นมูล และมีปฏิสนธิเป็นมูล. อธิบายว่า การแล่นเรือออกมหาสมุทร การเดินไปตามทางที่ยากลำบาก และตามทางที่โค้ง ย่อมมีแก่บุคคลผู้แสวงหากาม. จริงอยู่สำหรับผู้แสวงหากาม จะเกิดทุกข์มีการแสวงหา และมีมรดกเป็นมูล โดยการออกเรือ (หากิน) ทางทะเล การเดินทางวิบากและทางที่คดโค้ง และการเข้าสู่สงครามประชิดกันทั้งสองฝ่ายเป็นต้นบ้าง ๒- สำหรับผู้บริโภคกาม จะเกิดทุกข์มีความเร่าร้อนมาก มีเจตนาที่บริโภคกามให้เกิดปฏิสนธิในอบายทั้ง ๔ เป็นมูลบ้าง. กามทั้งหลายเป็นอันภิกษุเห็นว่า มีความเร่าร้อน อุปมาด้วยหลุมถ่านเพลิง ด้วยอำนาจทุกข์ทั้งสองอย่างดังพรรณนามานี้. ____________________________ ๒- ปาฐะว่า นาวาย มหาสมุทฺโทคาหณ อกุชฺชุปถสงฺกุปถปฏิปชฺชนํ อุภโต พฺยูฬฺ หาสงฺคามปกฺขนฺทนาทิวเสน ฉบับพม่าเป็น นาวาย มหาสมุทฺโทคาหณ อชปถ สงฺกุปถปฏิปชฺชนอุภโตพฺยุฬฺหสงฺคามปกฺขนฺทนาทิวเสน แปลตามฉบับพม่า. บทว่า ทายํ แปลว่า ดง. บทว่า ปุรโต กณฺฏโก ความว่า หนามอยู่ในที่ใกล้นั่นเอง ประหนึ่งว่าอยากจะตำที่ด้านหน้า. แม้ในบทว่า ปจฺฉโต เป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน แต่ข้างล่าง คือในที่ใกล้ซึ่งเท้าเหยียบ ได้แก่ตรงที่ที่เท้าเหยียบนั่นแล บุรุษนั้นพึงเป็นเหมือนเข้าไปสู่ดงหนามด้วยอาการอย่างนี้. บทว่า มา มํ กณฺฏโก ความว่า ระวังหนามจะตำ ด้วยคิดว่า หนามอย่าตำเราเลย.๓- ____________________________ ๓- ปาฐะว่า มา มํ กณฺฏโก วิชฺฌติ กณฺฏกเวทธํ ฉบับพม่าเป็น มา มํ กณฺฏโกติ วิชฺฌีติ กณฺฏกเวธํ รกฺขมาโน แปลตามฉบับพม่า. บทว่า ทนฺโธ ภิกฺขเว สตุปฺปาโท ความว่า การเกิดขึ้นแห่งสตินั่นแลช้า แต่เมื่อสตินั้นพอเกิดขึ้นแล้ว ชวนจิตก็จะแล่นไป กิเลสทั้งหลายก็จะถูกข่มไว้ ไม่สามารถดำรงอยู่ได้. อธิบายว่า ในจักษุทวาร เมื่อกิเลสทั้งหลายมีราคะเป็นต้นเกิดขึ้นแล้ว เพราะทราบโดยวาระแห่งชวนจิตที่สองว่า กิเลสทั้งหลายเกิดขึ้นแล้วแก่เรา ชวนจิตสหรคตด้วยสังวรก็จะแล่นไปในวาระแห่งชวนจิตที่สาม ก็ข้อที่ภิกษุผู้เจริญวิปัสสนา พึงข่มกิเลสทั้งหลายได้ในวาระแห่งชวนจิตที่สามไม่ใช่เรื่องน่าอัศจรรย์เลย. อนึ่งในจักษุทวาร เมื่ออิฏฐารมณ์ (อารมณ์ที่น่าปรารถนา) มาสู่ครอง ภวังคจิตก็จะระลึก ครั้นเมื่ออาวัชชนจิตเป็นต้นเกิดขึ้น ก็จะห้ามวาระแห่งชวนจิตที่มีกิเลสคละเคล้าเสีย ต่อจากโวฏฐัพพนจิตแล้วให้วาระแห่งชวนจิตที่เป็นกุศลเกิดขึ้นแทนทันที. ก็นี้เป็นอานิสงส์ของการที่ภิกษุผู้เจริญวิปัสสนา ดำรงมั่นอยู่ในการพิจารณาภาวนา. บทว่า อภิหฏฺฐุํ ปวาเรยฺยุํ ความว่า (พระราชาหรือราชอำมาตย์ก็ดี มิตรหรืออำมาตย์ ญาติหรือสาโลหิตก็ดี) พึงนำรตนะ ๗ ประการมามอบให้ตามกาล เหมือนที่นำมามอบให้แก่พระสุทินเถระและพระรัฐบาลกุลบุตร หรือกล่าวปวารณาด้วยวาจาว่า ท่านปรารถนาทรัพย์ของเราจำนวนเท่าใด จงเอาไปเท่านั้น. ๔- ____________________________ ๔- ปาฐะว่า ...กาเล สตฺตรตนานิ อภิหริตฺวา ตฺยา วา... แต่ฉบับพม่าเป็น ...กาเยน วา สตฺตรตนานิ อภิหริตฺวา วาจาย วา... แปลตามฉบับพม่า บทว่า อนุทหนฺติ ความว่า ผ้ากาสาวะทั้งหลายชื่อว่าเผาไหม้ให้เกิดความเร่าร้อน เพราะปกคลุมร่างกาย. อีกอย่างหนึ่ง หมายความว่า คล้องติดแนบสนิทอยู่ที่ร่างกายซึ่งเกิดเหงื่อไคลไหลย้อย. บทนี้ว่า ยํ หิ ตํ ภิกฺขเว จิตฺตํ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ เพราะเมื่อจิตไม่หวนกลับ ชื่อว่าความเป็นไป (หวนกลับ) ของบุคคลไม่มีและจิตเห็นปานนี้ ก็ไม่เป็นไป (ไม่หวนกลับ). พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงพลังของวิปัสสนาไว้ในสูตรนี้ด้วยประการดังพรรณนามาฉะนี้. จบอรรถกถาทุกขธัมมสูตรที่ ๗ ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค สฬายตนสังยุตต์ อาสีวิสวรรคที่ ๔ ๗. ทุกขธรรมสูตร จบ. |